เมื่อช่วงบ่ายของวันนี้ มีรายงานว่า น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ที่รับผิดชอบเรื่องการออกเงื่อนไขการประมูล เตรียมยื่นคำร้องต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม โดยขอให้ทบทวนการประมูล 3G ที่เพิ่งจบไปหมาดๆ ครับ
ทั้งนี้คุณประวิทย์ได้ให้ความเห็นว่า การประมูล 3G ของเมื่อวานนี้ 6 ใน 9 สล็อตถูกประมูลออกไปแค่ 4,500 ล้านบาทเท่านั้น ราคาต่ำกว่าที่ทางคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประเมินเอาไว้ที่ 6,440 ล้านบาท นั่นหมายความว่า การประมูลเมื่อวานไม่ได้เกิดการแข่งขันขึ้นเลย และแถมยังทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้อีกมหาศาล หรือก็คือรายได้รวมของเมื่อวาน ต่ำกว่าที่ทางจุฬาฯ ประเมินไว้คือ 57,960 ล้านบาทครับ (เมื่อวานรายได้รวมอยู่ที่ 41,625 ล้านบาทครับ คิดแล้วเสียรายได้ไปกว่า 2,000 ล้านบาทต่อ 1 สล็อต)
โดยคุณประวิทย์ได้เสนอให้ กทค. ทำการพิจารณาทบทวนการประมูลใหม่ทั้งหมด ว่าเป็นที่ชอบธรรมหรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ชอบธรรมก็ขอให้เพิกถอน ยกเลิกการประมูล และจัดการประมูลใหม่ แต่ทั้งนี้เสียงข้างมากลงความเห็นว่า กสทช. ทำดีที่สุดแล้ว จึงคาดการณ์ว่าจะมีการรับรองผลกันต่อไป
ที่มา - ไทยรัฐ
Comments
เห้อ วุ้นวายดีเนอะครับ !
Nobody Perfect in the world
ก็เงื่อนไขมันเป็นใจนี่
ต้องหาปัจจัยแข่งขันสิครับ จำนวนผู้เข้าร่วมประมูลมันก็มีเท่านี้จริงๆนี่นา
ผมมาติดใจตรงที สัมปทาน 15 ปีเนี่ยแหละ
เพราะยังมีค่าลงทุน cell site (ที่ถูกบังคับว่าต้องทำให้ครอบคลุมพื้นที่)อีกไงครับ เลยต้องมีระยะเวลานานพอที่จะให้ทำกำไรได้
แต่หลังจากใบนี้หมดก็มีเสาพร้อมเกือบหมดแล้ว ต่อไปราคาประมูลก้น่าจะสูงกว่านี้และระยะเวลาน่าจะสั้นกว่านี้ได้
ว่าแต่.......... ต้องแบ่งช่องละ 5MHz เท่านั้นเลยเหรอ??
ถ้ามีคนประมูลแค่ 3 คน เราทำเป็น 18-15-12 ไม่ได้เหรอ?
แทนที่ รัฐอยากได้เยอะๆ แล้วมาเก็บเงินกับประชาชนแพงๆ
น่าจะเอาไม่แพง แล้วบังคับให้เอกชนลดราคา ไม่ดีกว่าหรือ
ช่ายๆ ทำให้ลดราคาลงได้ไหม
ผมเกรงว่าจะกลายเป็น
รัฐได้เงินน้อย เอกชนเก็บเท่าเดิม ประชาชนจ่ายเท่าเดิม
มากกว่าครับ
+1
+1
แบบที่ท่านว่ามันมีแต่ใจโลกจินตนาการแค่นั้นล่ะครับ
ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการ เป้าหมายหลักคือ กำไรสูงสุด เท่านั้น!!!
ทำไมคิดว่าความคิดตัวเองเป็นเรื่องแต่จริง ส่วนความคิดคนอื่นเป็นเรื่องเหมือนเพ้อฝันละครับ
ซึ่งที่รัฐพยายามทำคือทำยังไงก็ได้ให้รัฐได้กำไรสูงสุด มันต่างกับผู้ประกอบการตรงไหน?
ต่างกันซิครับ กำไรสูงสุดที่รัฐจะได้มันก็จะวนกลับมาสู่ประชาชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอาจจะอยู่ในรูปของสวัสดิการจากรัฐ แต่กำไรของเอกชนมันก็จะเข้ากระเป๋าของเจ้าของซะเป็นส่วนใหญ่น้อยมากที่จะกลับคืนสู่สังคม แค่นี้ก็แตกต่างกันแล้วครับ
กำไรของเอกชนมันก็กลับมาเป็นภาษีเข้ารัฐเหมือนกันนะครับ แล้วเอกชนเค้าเป็นคนลงทุนเค้าก็ควรจะได้มากกว่ารัฐไม่ใช่รึครับ
โครงสร้างพื้นฐานหลายๆ รัฐต้องยอมลงทุน และยอมขายทุนด้วยซ้ำไป ไม่ใช่จ้องแต่หากำไรให้มากๆ
รัฐควรจะพยายามหาทางทำให้มันมี 3G นี่แหละสวัสดิการหนึ่งจากรัฐที่ควรจะพยายามทำ คือมีโครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสารที่ดีให้ประชาชน ไม่ใช่มุ่งหากำไรสูงสุดจากการให้สัมปทานคลื่นความถี่ ประชาชนก็รอ ภาคเอกชนก็รอกันไปเถอะ
ผมอยากบอกว่า ย้อนกลับมาดูสถิติดีกว่าครับ
เห็นรัฐบาลไทยทำแบบที่คุณบอกกี่ครั้ง?
เคยอ่านเจอว่าเค้าเก็บภาษี0% เพื่อให้เกิดการแข่งขัน
เพราะฉะนั้นมันคงไม่กลับมา
เก็บ 0% เพราะมันเกี่ยวข้องกับคดียึดทรัพย์อดีตนายก แต่มีข่าวว่าจะปรับเป็น 10% หลังจากออกใบอนุญาต
คุณเข้าใจผิดแล้ว ผมว่าในประเทศนี้ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนให้มี 3G มาตั้งนานแล้ว แต่เขาติงกันเรื่องราคาที่กสทช.ตั้งไว้มันต่ำเกินไป
แล้วที่คิดเรื่องจะมีรายได้จากภาษีนี่..
เอาไว้เป็นผู้ประกอบการที่ไปเสียภาษีเองแล้วค่อยมาคุยกันใหม่ได้ครับ
คิดว่าเงินสัมปทานทุกวันนี้ปีละสี่หมื่นล้านนี่ผู้ให้บริการเขาเสียกันเองไหมครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ในโลกความจริง ภาษีผู้ซื้อเป็นคนจ่ายครับไม่ใช่ผู้ขาย ต้นทุนของ+ภาษี+กำไร=ราคาขาย ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีเงินได้เขาคำนวนรวมไว้หมดแล้ว
ผมไม่เห็นด้วยกับการที่ให้ประเทศยอมขาดทุนเพื่อให้แก่คนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการใช้ของถูก คนที่ไม่ใช้ 3G ในประเทศนี้ยังมีอีกเยอะและทำไมเขาต้องยอมร่วมขาดทุนเพื่อคนเพียงกลุ่มเดียว
และผมเองก็ไม่ได้ใช้ 3G หรือ edge gprs หรือใดๆ ใช้โทรศัพท์ล้วนๆ
อากาศว่างๆ ใครไม่ใช้ ก็ไม่ได้เสียอะไร ไม่เห็นขาดทุนตรงไหน
การที่มันแพง ก็มีแต่คนที่รายได้ดีได้ใช้ คนจนๆ อดไป เหมือนโทรศัพท์มือถือสมัยก่อน
ถ้ามันถูก คนรวยคนจนก็ใช้ได้ทั้งนั้น
ไม่รู้เหรอครับว่าภายปีหน้าคุณก็จะไม่มีโทรศัพท์ใช้แล้ว เพราะสัมปทานคลื่น 2G มันกำลังจะหมด (ถ้าใช้ทรูนะ ส่วนเจ้าอื่นก็ตามๆกันมา)
มาถึงไม่กี่เปอร์เซ็นต์หรอกครับ เจอค่าผ่านทางหลายระลอกมาก
ประชาชนไม่ได้หมายความแค่คนใช้ 3G เท่านั้นครับ ถ้ารัฐเก็บน้อยคนใช้ได้ใช้ราคาถูก คนที่ได้ประโยชน์ก็แค่กลุ่มเดียว แต่ถ้ารัฐเก็บมาก เงินส่วนนั้นก็เท่ากับได้ให้คนทั้งประเทศจริง ๆ (แต่จะใช้จ่ายแล้วรั่วไหลหรือเปล่านี่อีกเรื่อง :P)
(ความคิดเห็นส่วนตัวอีกครั้ง) ไม่มีทางล้มประมูลครั้งนี้ได้หรอกครับ ไม่ต้องเป็นห่วง ธุรกิจนี้ไม่ใช่ขายข้าวแกง (มูลค่าการลงทุนเป็นหมื่นล้าน ทั้ง 3 บริษัท ไม่มีทางที่จะยอมให้การประมูลครั้งนี้ล้ม เพราะมีคนมาฟ้อง ไม่ว่าจะด้วยวิธีบนดินหรือใต้ดิน พูดแค่นี้น่าจะพอเข้าใจนะครับ)
ราคาประเมิน แล้วมันเกี่ยวไรหว่า ก็ของจริงมันมาแบบนี้ก็สรุปว่า ประเมินผิด ประเมินสูงเกินไป
แล้วถ้าเขาตั้งราคาเริ่มต้น 1000ล้าน ประมูลได้สูงสุดที่ 1000ล้าน ประเมินผิด?
ราคาประเมินเท่าไรละครับ ?
ประเมิน ก็ การประมานค่า นะครับ ไม่ใช่ การบังคับให้ได้อย่างน้อยเท่านี้สักหน่อย งั้นก็ตั้งราคาเริ่มให้เท่าราคาประเมินไปเลยไม่ดีกว่าหรอ ถ้าคุณให้ได้ราคาที่สูง
ราคาประเมิน 6440MB ครับ แต่กสทช.ไปกำหนดเพดานขั้นต่ำเอาไว้แค่ 4,500 ล้าน ทั้งๆ ที่ผู้ประกอบการพร้อมจ่ายในราคาที่สูงกว่านั้น
ผมว่าท่านรอง กสทช. แกตีหน้ามึนออกทีวีมาแหกตาประชาชน ใครๆ เค้าก็อ่านเกมออกอยู่แล้วว่านี่มันเอ้ือประโยชน์ให้เอกชนชัดๆ พอผลออกมายิ่งย้ำชัดว่ารัฐต้องเสียรายได้ที่ควรจะได้ไปร่วมๆ สองหมื่นล้าน มีอย่างที่ไหน ราคาประมูลเริ่มที่ 4,500 ล้าน แล้วก็จบแค่ 4,500 ล้าน แบ่งเค้กกันคนละสามก้อนจบๆ ไป รายใหญ่ออกเยอะหน่อยเพราะแค่อยากเลือกว่าจะหม่ำชิ้นไหน
ลองไป search ดูใน google ดูครับ ผมว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเค้ารับประทานข้าวเหมือนกัน
"ทั้งๆ ที่ผู้ประกอบการพร้อมจ่ายในราคาที่สูงกว่านั้น" << คิดไปเองรึเปล่าครับ?
ไปหาอ่านข่าวเก่าจาก คมชัดลึก เอาเองครับ ขี้เกียจหาละ
ลองอ่าน ความเห็น SIU ต่อผลการประมูลคลื่น 3G ของ กสทช. ประกอบด้วยดูครับ (หมายเหตุ คุณ mk เขียน)
เรื่องเอื้อไม่เอื้อนี้ผมว่าแล้วแต่มุมมองของแต่ละคน ใช้คำว่า "อ่านเกมออก" นี่ผมว่าก็ควรแจงมาเป็นข้อๆ ว่าอ่านออกยังไง อีกฝั่งที่เขาคิดว่าไม่เอื้อจะได้มาแย้งได้
มีแหล่งอ้างอิงมั้ยครับ ว่าผู้ประกอบการพร้อมจ่ายเท่าไหร่?
ราคาประเมิน 6xxxMB มาจาก
แปลไทยเป็นไทย "ประเมิน" ก็คือการคาดการณ์กันว่ามันควรจะเป็นเท่าไหร่ มันไม่ใช่ราคา "สุทธิ" หรือ "ต้องได้" นะครับ
ทำธุรกิจนะครับ ไม่ใช่ประมูลงานเขียนแวนโก๊ะมาสะสม ไม่มีใครอยากได้ราคาสูงหรอก
ขอโทษด้วยครับ เขียนสั้นไป
ผมอยากเสนอในมุมที่ว่าราคาที่เค้าประมูลได้มันคือราคาขั้นต่ำที่เริ่มประมูล
ซึ่งมันไม่ใช่ราคาของจริงอย่างที่คุณว่า ซึ่งถ้าเขาตั้งราคาเริ่มที่ 1000ล้าน
ราคาที่ประมูลได้ มันก็ 1000ล้าน แหละครับ ซึ่งในความเห็นส่วนตัวแล้ว
ผมคิดว่าราคาประเมิน 6000ล้าน เป็นราคาที่น่าเชื่อถือกว่าครับ
ใช่ครับ ประเมินอาจจะผิด แต่ การจัดการประมูลไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันครับ มีสามคนโยนมาเก้าก้อน แล้วบอกอย่าเอาไปเกินสามนะ ใครมันจะโง่แข่งราคา ตั้งมาเท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้นแหละ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ก็ถ้ามี คนประมูลเพิ่ม ก็จะเกิดการแข่ง แต่บังเอิญมีแค่สามเองก็ ได้แบบนี้ คงไปจ้างใครให้มาประมูลไม่ได้อะนะ
แล้ว Me จะได้ใช้ 3G 2100 GHz ไหมเนี่ย
Coder | Designer | Thinker | Blogger
Me so sad
Dream high, work hard.
ฮั้วประมูลค่อนข้างชัดนะ จากตอนแก้เงื่อนไขการประมูล จากแต่ละเจ้าประมูลสูงสุดได้ 4 สล็อต เป็น 3 สล็อต แล้วก็การตั้งราคาเริ่มต้นอีก สัญญาตั้ง 15 ปี ราคาแค่นี้เอง จ่ายถูกกว่าตอนจ่ายให้ CAT กับ TOT เยอะมากๆ อย่างน้อยก็น่าจะตั้งให้ใกล้เคียงที่ อ.จุฬาประเมินไว้
ถ้าหากแบ่งเป็น 20-15-10 ไปเลย น่าจะแข่งกันมันส์เลย ได้เห็นสู้กันเต็มเม็ดเต็มหน่วยแน่
งงเหมือนกัน ทำไมไปกำหนดกฎให้ 15-15-15 ซะยังงั้น
เบื่อจริงๆ สนใจแต่ผลประโยชน์ของรัฐ แล้วผลประโยชน์ของประชาชนเลยคิดถึงกันบ้างมั้ยเนี่ย
+1024
แล้วผมประโยชน์ของประชาชนคือ?
ได้มี3Gใช้ทัดเทียมชาติอื่นไงครับ
คุณยอมเสียเงินเดือนละ 300 เพื่อแลกกับ EDGE มั้ยล่ะถ้ารอบบ้านคุณเค้าใช้ 3G ได้ในราคาพอๆกัน หรือคุณคิดว่ามันไม่มีใครเสียประโยชน์ ?
คนที่กะจะแอบยักยอกเงินตรงเนี่ย รู้สึกว่าได้น้อยไปไง
เลยแจ้งนายเนี่ย มาฟ้องล้มประมูล
(แค่เอาฮานะ)
อาจจะใช่ ฮ่าๆ เลยรีบมาฟ้องว่าได้น้อยไป 55+
จริงๆ ยังไงก็กันไม่ให้เกิดการฮั้วขึ้นไม่ได้อยู่แล้ว
น่าจะตั้งราคาตั้งต้นมากกว่านี้
อ่านข่าวแล้วรู้สึกว่ารัฐฯชักจะโลภ
ตอนนี้ผมชักสับสนว่าระหว่างการได้เงินก้อนเข้ารัฐเยอะๆครั้งเดียว แต่ต้องแลกกับการเสียโอกาสพัฒนาศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว (เพื่อเป็นเครื่องมือให้เอกชนหาเงินเข้ารัฐฯอย่างต่อเนื่องในภายภาคหน้า) มันสมควรแล้วหรือ
จากที่ดูก็น่าจะฮั้วกันนั้นแหละ ตอนเช้ายังมีแย่งกัน ปล่อย 7 ว่างไว้ไม่มีใครเอา พอพักเที่ยงกลับมาปุ๊ป ลงตัวกันทั้ง 3เจ้าทันทีเลย
ออกเงื่อนไขเอง ฟ้องเอง เฮ้อ!!!
ขนาดคนไม่ค่อยรู้เรื่องอย่างผมยังดูออกแต่แรกเลยว่าเงื่อนไขมันจะทำให้ไม่เกิดการแข่งขันแล้วต้องได้ผลแบบนี้ แล้วทำไมระดับนายแพทย์ผู้เป็นถึงกรรมการ กสทช. ท่านนี้ถึงไม่ท้วงตั้งแต่แรก = "=) ก็พอเดาได้นะว่าเพราะอะไร แต่ไม่อยากพิมพ์ เฮอะ
ถ้าอ่านข่าวละเอียดหน่อย ชัดเจนว่าท่านทักท้วงแต่แรก แต่เป็นเสียงข้างน้อยครับ
กลับไปใช้โทรเลขกันเถอะ ผมชักรู้สึกสิ้นหวังกับประเทศนี้เต็มทนแล้ว
อย่าให้เห็นว่าใช้นะ พวกฟ้องทั้งหลายเนี่ย!!
ราคาประเมิน ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า 3G นั้นสำคัญมากที่ใครๆก็อยากได้ และไม่มีคลื่นใดมาทดแทนแต่ในที่นี่ true ก็ได้ hutch ไป อีกทั้งไม่นานก็อาจจะมี4Gแล้ว ราคาประเมินในความเป็นจริงน่าจะต่ำกว่านี้ด้วยซ้ำ จะเอาราคา6,440มาอ้างไม่ได้
กสทช. เป็นหน่วยงานที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไร ค่อยทำหน้าที่จัดสรร ให้เหมาะสมกับ รัฐ ประชาชน และเอกชน
มีบ.ที่รับเอกสารการประมูลไปหลายบ. แต่เข้ารอบแค่ 3 ก็จะไปโทษกสทช.ไม่ได้ และการที่ true, dtac รู้ว่าอย่างไงก็ได้คลื่นก็ไม่แปลก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ผ่านเข้ารอบและผู้ประมูล เป็นผมก็คงไม่เสนอราคาไปเมื่อรู้ว่าตัวเองได้ของอยู่แล้ว
ฮั้ว เป็นคดีอาญา หากจะฟ้องหรือกล่าวหาใคร ผู้พูดจะต้องเป็นคนฟ้องเอง และกล่าวโทษให้ศาลเห็นว่าผู้นั้นฮํ้ว มิฉะนั้นอาจโดดฟ้องกลับได้
เอ่อ.. คุณรุ้ได้ยังไงครับว่าอ.จุฬาเข้าไม่ได้คิดถึงที่ว่า ทรูมีฮัทช์ และ LTE เริ่มมา ในราคาประเมินแล้ว?
ตัวเลขราคามันไม่มีอะไรมาบอกว่าได้เที่ยงตรงหรอก แต่ทุกวันนี้คนคนอ้างว่า 6400ล้านเหมาะสมแล้วมันก็ไม่น่าจะถูกต้องสักเท่าไร
"ราคาประเมินเป็นการคำนวณด้วยโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า econometric โดยนำปัจจัยด้านราคาคลื่นและเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ มาประเมินหาราคาที่เหมาะสมของประเทศไทย ในความเป็นจริงสูตรคำนวณค่อนข้างซับซ้อน แต่อธิบายเป็นภาษาชาวบ้านๆ ก็คือเอาตัวเลขของประเทศอื่นมาเฉลี่ยเอา (ซึ่งจะผิดหรือจะถูกก็ได้)"
ราคาประเมิน ก็คือราคาประเมินใช้ได้แค่อ้างอิงเท่านั้น
ณ ตอนนี้เรายังบอกไม่ได้ว่ารัฐเสียหายมากน้อยแค่ไหน
แต่คงเสียแน่ๆ เพราะ 3g 2100MHz คงทำเงินได้เยอะอยู่
รุสึกพวกที่ฟ้องหลายๆคนนี่เหมือนจะไม่เกี่ยวกับรัฐเลยแหะ...
สรุปจะล้ม 3G กุให้ได้ชิมิว้อย
Dtac , True : กูจ่าย 13,500 ล้านบาท ก็ได้ 3 slot, กูจ่าย 14,625 ล้านบาท กูก็ได้ 3 slot, ต่อให้ดูจ่าย 100,000 ล้ายบาท กูก็ได้ 3 slot แล้วกูจ่ายจ่ายแพงหา "พ่อง" หรอครับ
อิอิ
สัจธรรม
หยุดให้อาหารนกโลก
ก็มันดันมีคนมาประมูลแค่ 3 เจ้านี่หว่า
ตั้งแพงก็กลัวจะไม่มีคนประมูล
ตั้งถูกก็กลัวได้น้อย
ผมว่ารัฐไปออกกฏหมายเรื่องเก็บภาษีกับคนที่ประมูลคลื่นไปหากินเลยมั้ย จะเก็บกี่ % ก็ว่าไป อีกหน่อยจะได้ออกใบอนุญาติคล่องๆ เก็บค่าต๋งเข้ารัฐได้เหมือนเดิม เข้าตรงๆ ไม่ต้องผ่านรัฐวิสาหกิจเหมือนแต่ก่อน
แต่ผมกลับมองว่าถึงจะสูงกว่านี้ ยังไงเค้กก้อนนี้ก็ต้องมีคนมาประมูลอยู่แล้วละ เพราะคนรอใช้ 3Gกันทั้งประเทศ
จริงๆ ก็คิดแบบนั้นเหมือนกันครับ ผมว่ามันอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้า คายไม่ออก เลือกทางไหนก็โดนติอยู่ดี ตอนตั้งกฏเกณฑ์ก็ไม่มีใครรู้อนาคตว่าจะมีคนมายื่นประมูลกี่บริษัท แต่ละบริษัทจะสู้ราคาแค่ไหน ฯลฯ
โดยรวมผมไม่อะไรมากกับการประมูลครั้งนี้ เพราะมันเป็นคั้งแรกที่ทำ จะแบบว่าผิดเป็นครูก็ได้มั้ง
จะประมูลใหม่ หรือใครจะฟ้องล้มประมูลก็เอาเถอะถ้ามันมีมูล ถือซะว่าเป็นการตรวจสอบอย่างนึง ดีกว่าไปเต้นเหยงๆ ฟ้องล้มประมูลสามวันก่อนงาน
แต่ที่แน่ๆ คิดว่าครั้งต่อไป กสทช. เค้าคงมีประสบการณ์มากขึ้น
ตั้งสูงกว่านี้ถ้ากลายๆ เป็นมีผู้เข้าประมูลแค่ 2 หล่ะ
ตอนนี้ดูเหมือน true กับ dtac ไม้ค่อยอยากจะจ่ายกันด้วยซ้ำ
ขนาดราคาเท่านี้ ตอนแรกมาขอระเบียบกับร่วม 10 ราย เหลือรอดมาจริงๆแค่ 3 ราย
สภาวะก่อนการประมูลมันเหมือน Schrodinger's cat ครับ
เราไม่มีทางรู้ว่าจะมีใครพร้อมจ่ายเท่าไรมั่ง จนกว่าเราจะเปิดกล่องที่ชื่อว่าการประมูลออกมาดู (เริ่มประมูล)
ข่าวนี้มีเนื้อหาคลาดเคลื่อนไปจากข่าวต้นฉบับอย่างมีนัยยะสำคัญนะครับ ผมขอเอาลงจากหน้าแรกก่อน
ประเด็นที่ผิดคือคำว่า "ฟ้อง"
ตามต้นฉบับของไทยรัฐ น.พ.ประวิทย์ จะเสนอกับบอร์ด กทค. (ซึ่ง น.พ.ประวิทย์เองก็อยู่ในบอร์ดชุดนี้ด้วย) ให้ "ทบทวนผลการประมูล" ซึ่งเป็นอำนาจของ กทค. อยู่แล้ว (เพราะ กทค. ยังไม่ได้รับรองผลการประมูลนะครับ) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับศาลเลยครับ
ส่วนบุคคลอื่นๆ จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองหรือ ป.ป.ช. นั้นก็เป็นอีกเรื่องนึง
ไม่เข้าว่าทำไมไม่ตั้งราคา 6,440 ล้านบาทต่อ 1slot เป็นราคาเริ่มต้นการประมูลตั้งแต่แรก
กลัวไม่มีใครมาประมูล <-----ผมเห็นคนของ กสทช ออกสื่อด้วยเหคุผลนี้นะ มันฟังแล้วแหม่งๆ
ไม่ได้กลัวไม่มีคนประมูลครับ เค้ากลัวขายไม่หมด.. เงิบครับ
อยากทราบว่าถ้าคลื่นเก่ามันหมดสัมประทานโดนยึด มีเหตุผลอะไรที่เค้าจะไม่แย่งคลื่นนี้กันครับ ซึ่งเป็นคลื่นที่อนุญาติใช้งานแบบ 3g ได้แบบถูกกฎด้วย
หลักเกณฑ์ที่ กสทช ตั้งขึ้น ไม่สมกับที่ควรเป็น กสทช เลย เพราะไม่ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาการประมูล มันมีนอกมีในรึเปล่า พูดแล้วหงุดหงิด
ผมคิดว่าถ้าเรายังประมูลไม่ได้ ก็ให้สัมปทานเหมือนเดิมเถิดครับ....
อย่าถอยหลังเข้าคลองเลยครับ
ปัญหามันมีต้องแก้ไขกันไปครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ผมว่ารายได้ส่วนนี้ไม่ได้เสียไปเลยนะ ถึงแม้จะได้เงินน้อยกว่าที่คาด แต่ก็ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถที่จะไปตั่งเสาสัญญาณและบริการให้ลูกค้าได้ดีขึ้น และอีกอย่างมันมีข้อตกลงในการแบ่งรายได้ให้ กสทช. หนิ ยิ่งเอกชนได้เงินเร็วเท่าไหร่ รายได้มันก็ทบทบกันเขามาเหมือนเดิม ก็เหมือนวางเงินดาวน์แล้วค่อยจ่ายผ่อน...
ทั้งหมดมี 9 สล๊อต มีผู้เล่น 3 คน ประมูลได้คนละ 3 สล๊อต
ผมไม่เข้าใจว่าเขาจะแข่งกันประมูลไปทำไม ราคาไม่สูงก็ไม่แปลก
ใครช่วยอธิบายได้ไหมครับว่า คนประมูลก่อน จะได้เปรียบจากอะไร ?
ได้เปรียบจากการที่ได้เลือกว่าจะหม่ำเค้กก้อนไหนไงครับ เค้าว่าบางก้อนมันอร่อยกว่า (มีคลื่นแทรกน้อยกว่า) อะไรประมาณนั้น
มีคลื่น 3 ช่วง ดีแย่ต่างกันนิดหน่อย
ผู้จัดประมูลบอกว่า จะแย่งกันช่วงกลาง เพราะว่าดีที่สุด
แต่ผู้ประมูลให้ราคาสูงสุด เลือกคลื่นช่วงบน หึหึ
ส่วนอีก 2 เจ้า ประมูลที่ราคาต่ำสุดที่จะประมูลได้
การแข่งขันสูงมากกกก
เห็นด้วยครับ... เป็นผม ผมก็ไม่เคาะราคา แบบ True และ DTAC
ได้คลื่นไม่ต้องช่วงดีมาก แต่ราคาถูกไว้ก่อนดีกว่า เพราะรู้ว่ายังไงก็ "จะได้" ช่วงใดช่วงนึงอยู่แล้ว..
แต่ถ้ามีผู้ร่วมประมูล 4 รายขึ้นไป หรือ แบ่งช่วงคลื่น ด้วยอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน ราคาไม่น่าจะต่ำแบบนี้แน่..
ถ้ามันถูกมาก เช่น ช่วงละ 100 บาท ก็คงมีผู้เล่นมากมายมาประมูลแข่งแล้วหละครับ
แต่ราคานี้มันก็สูงพอที่จะทำให้คนอื่นๆ ไม่เอา เลยเหลือคนสนใจมาประมูลแค่ 3 ราย
ค่าวางเสาและอุปกรณ์อีกหลายหมื่นล้านครับ ถ้าจะลงทั้งประเทศ
ค่าคลื่นเป็นแค่ส่วนหนึ่ง ถ้าค่าคลื่นหมื่นล้านยังหามาไม่ได้ก็แทบบอกได้เลยว่าไม่มีศักยภาพในการลงทุนเครือข่ายทั้งประเทศ
lewcpe.com, @wasonliw
ไม่ใช่เพราะว่าตั้งราคาแพงเกินไปจึงมีผู้ประมูลแค่ 3 ราย หรอครับ?
ถ้าตั้งราคาถูกกว่านี้ก็อาจจะเกิดการแข่งขันกันมากกว่านี้ก็เป็นได้ แต่ก็อาจจะจบที่ราคาต่ำกว่าปัจจุบันอยู่ดี
ผมว่านะ ตั้งราคาเริ่มต้น 10000ล้าน ก็มีคนประมูล 3 รายอยู่ดี
แต่จะได้เงินเข้ารัฐเป็น 10000ล้าน
ที่ยุโรปก็ประมูลกันแพงแท้เหลาครับ แต่ลองอ่านเหตุหลังจากนั้นประกอบครับ
** ภาษาอังกฤษผมไม่แข็งแรง ใครแข็งแรงอ่านแล้วเห็นแย้งก็เชิญตามสะดวก
โห ยังไม่ได้อ่านเยอะนะ แต่อนุมานได้ว่า ที่เศรษฐกิจยุโรปเดี้ยงอยู่ทุกวันนี้ก้อเพราะเรื่องประมูลแพงนี่ก้อว่าได้ เริ่มจากหุ้นตก และ ลามต่อกันไปเป็นลูกโซ่
เอาเป็นว่าที่ญีั่ปุ่นเขาแจกคลื่นฟรี แต่อยู่ที่บริษัทที่จะเข้ามาใคร present ตัว service ได้มากกว่าก็ได้ไป
ไทยคงจ่ายใต้โต๊ะกันสนุกครับ
ปัญหาคือมันมีแค่สามเจ้านี่ดิ แถมตอนประมูลยังมีเจ้านึงที่จะเอาแค่สองอีกด้วย
สมมุติว่าการประมูลครั้งนี้ยังใช้เงื่อนไขเดิมคือ ให้ใบอนุญาตได้สูงสุดบริษัทละ 4 ใบ การประมูลอาจจบด้วยการที่ราคาของแต่ละใบสูงขึ้นไปเกิน 100% ได้เงินเข้ารัฐเป็นกอบเป็นกำ
แต่
ลองคิดในระยะยาว จะต้องมี 1 รายที่ได้ไปแค่ 5 Mhz ซึ่งฟันธงได้เลย เป็นใครก็สละสิทธิ์ เพราะมันแทบจะไปทำอะไรไม่ได้เลย ถึงจะเอาไปทำ มันก็ห่วย ทำแล้วก็โดนด่า แล้วก็จะโดนค่าปรับเอาอีก สู้ไม่ทำเลยดีกว่า
แล้วผลกระทบกับผู้บริโภค คือ เหลือผู้ให้บริการ (เชิงพานิชณ์เต็มรูปแบบ) เพียง 2 ราย การแข่งขันก็ลดลง ราคาย่อมแพงขึ้น (ยังไม่นับรวมต้นทุนใบอนุญาตที่แพงขึ้นไปอีกมาก) แล้วคิดหรือว่า TOT และ CAT จะเปลี่ยนจากเสือนอนกินมาเป็นคู่แข่งได้ภายใน 2-3 ปี
ส่วนบริษัทที่ประมูลไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะก็เหลืออายุสัมปทานแค่ 1-6 ปี อย่างที่รู้ๆกันอยู่ แล้วระหว่างรอการประมูลครั้งใหม่ก็ไม่ต่ำกว่า 9 ปี มีแต่เจ้งกับเจ้งครับ
ของเดิมมันสูตร 20-15-10 =45 ไม่ใช่เหรอครับ จะมีคนได้ไปแค่ 5 ได้ยังไงครับ
20-20-5 ก็เป็นไปได้ครับ เบอร์สองก็เงินหนาเหมือนกัน
แล้ว เบอร์ 3 ทุนไม่หนาหรือครับ?
ถ้าเอาเข้าจริงผมว่าเขาก็สามารถระดมทุนมาแข่งกันได้แหละครับ
เพียงแต่ว่าจะทำเพื่ออะไรในเมื่อจ่ายเท่านี้แล้วก็ได้เหมือนกัน
ผมคิดมานานแล้วนะ ว่าจ่ายเข้ารัฐน้อยลง คนใช้จ่ายเท่าเดิม(อาจจะเพิ่มหรือลดบ้างเล็กน้อย) เพราะยังไงก็ไม่มีคู่แข่งภายนอกจะลมราคาแข่งกันทำไม ไม่เหมือนสมัยที่แข่งกันจนเหลือนาทีละ 25 สต. อันนั้นเพราะมีผู้ท้าชิงรายย่อยมาแข่ง
ตลาดแบบผู้แข่งขันน้อยรายก็เป็นแบบนี้แหละครับ ดูได้จากโมเดลน้ำมันของ ปตท.
แหมตอนประมูลรอบแรก n-1 เจ้าที่สามนี่แหละเป็นตัวเก็งที่จะตกรอบแรก เพราะเงินสดสู้สองเจ้าแรกไม่ได้เลยครับ สุดท้ายล้มประมูล รบ.สั่งแมวถอนตัวจากการเข้าซื้อฮัด แล้วเปิดทางให้เจ้าที่สามเข้าซื้อในราคาแสนถูก(แค่6พันล้าน)พร้อมสัญญา14ปี
ส่วนประมูลรอบใหม่ ต้องมองว่าเจ้าที่สามมีคลื่นในมือแล้ว ไม่คิดจะทุ่มสู้อยู่แล้ว ถ้ากำหนดราคาเริ่มต้นแพงไปเผลอๆมีเสนอแค่สองเจ้า กลายเป็นฮั้วผูกขาดไปซะอีก การลดเงื่อนไข(ราคา,slot)เพื่อเอื้อให้มีเจ้าเล็กเข้ามาแข่งบ้าง มีผู้เล่นสามเจ้ายังไงก็ดีกว่าสองเจ้าจ่ายรัฐแพงครับ
มันมองได้หลายแง่ครับ
ป.ล. ปตท.ก่อนแปรรูปเป็นบ.เล็กๆนะครับ ตลาดน้ำมันในไทยอยู่ในมือของบ.ต่างชาติล้วนๆ พอแปรรูปเพิ่มทุนได้ ลงทุนขุดเจาะเองได้ถึงเป็นยักษ์ใหญ่คุมน้ำมันในประเทศได้แบบนี้ โรงกลั่นในเครือเองก็ซื้อต่อถูกๆจากบ.ต่างชาติที่ถอนการลงทุนเพราะขาดทุนนะครับ น้ำมันแพงแต่กำไรต่อลิตรที่ขายมันได้น้อยลงนะครับ ถ้ากำไรมันดีจริง รับรองมีคนแข่งกว่านี้เยอะ ไม่ได้มีข้อจำกัดหรือกีดกันอะไรเหมือนกลุ่มธุรกิจโทรคมฯ
เบอร์ 3 ที่ทุนหนาคือบ.แม่ครับ
ส่วนตัวบ.ลูกที่ทำฝั่งโทรคมนาคมมือถือเนี่ยขาดทุนรัวครับ
เรียกว่าถ้าไม่ใช่บ.ลูกของเครือบริษัทที่ใหญ่อันดับต้นๆของไทย ป่านนี้เหลือมือถือค่ายใหญ่แค่ 2 ค่ายแล้วครับ
เสียดายว่าคุณ mk ยังติดสถานะอยู่จึงให้ความเห็นไม่ได้มาก
รอไว้หลุดจากสถานะ (ไม่ได้แช่งนะครับ) แล้วอยากจะให้วิเคราะห์เรื่องราคาในฐานะอดีตคณะกรรมการซะหน่อย
ขอบคุบครับจุ๊บๆ
"ทางออกที่เป็นไปได้
ถ้าหากว่า กทค. มองว่าผลลัพธ์แบบ 20-20-5 เป็นปัญหาต่อผู้ให้บริการรายที่สามจริงๆ แล้วล่ะก็ ทางออกที่ตอบโจทย์ได้ทั้งสองกรณีคงเป็นการยกเลิกการประมูลแบบบล็อคไปเสีย และล็อกขนาดของใบอนุญาตให้ตายตัวที่ 20-15-10 ไปตั้งแต่ต้นเสียเลย ซึ่งเงื่อนไขแบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาการเหลื่อมของเวลาแบบกฎ N-1 และยังรักษาสภาพการแข่งขันระหว่างผู้เข้าประมูลเอาไว้ได้ (โดยแข่งกันที่ขนาดของใบอนุญาตไม่เท่ากัน) แถมยังการันตีว่าผู้เข้าประมูลรายที่ได้คลื่นน้อยที่สุดยังได้คลื่นไป 10MHz ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อการให้บริการในระดับสากล"
สงสัยเจ้าเล็กเส้นใหญ่ไม่อยากได้แค่ 10 Mhz ส่วนเจ้าใหญ่อีกสองเจ้าก็ไม่อยากเสียเงินเพิ่มเพื่อแย่งก้อนใหญ่
ผมว่าถ้ามีเจ้านึงได้ 20 คงแย่งกันกระจุยแน่
ถ้า 6440 แล้วขายได้แค่ 3-2-2 หรือ 2-2-2 จะโดนฟ้องมั้ยเนี่ย
อยากทราบว่า ในเมื่อสัญญาเก่าจะโดนคืน อยากให้ผู้รู้ช่วยตอบผมหน่อยว่า
เหตุไดจึงคิดว่าเค้าจะไม่แข่งกันแย่ง สัมประทานคลื่นใหม่นี้ครับ ทั้งที่สามารถเอาไปทำ 3G ได้แบบถูกต้อง บริษัทพวกนี้จะยอมไม่มีคลื่นใช้ เสียลูกค้าเจ๊งหรือครับ
แล้วทำไมอ้างว่าคิดกันมาเป็นหลายเดือนเพื่อให้ดีที่สุด ทำไมถึงไม่คิดถึงกรณีที่เป็นไปได้สูงมากอยู่แล้วที่จะมีคนแประมูลสามเจ้าใหญ่ไว้ด้วย? แล้วถึงกระนั้น การทำให้เกิดการแข่งขัน แค่ใส่เงื่อนไขว่า ผู้ที่ได้รับการประมูลมูลค่าต่ำสุด สามารถเปิดใช้ได้หลังเจ้าอื่นปีนึงหรือ หกเดือนก็ได้ เพื่อนให้เกิดการแข่งขันกันที่จะเปิดก่อนเพื่อดึงลูกค้า ไม่ก็สูตร N-1 แล้วค่อยเปิดประมูลที่เหลือรอบต่อไปในหกเดือนข้างหน้าก็ได้ เจ้าใหญ๋ๆเค้าจะยอมเสียฐานลูกค้ารึ เค้าก็แย่งกัน หรือไม่จริง?
ท่านคิดว่าการได้สัมประทานไปถูกๆแล้วไม่มีเงื่อนไขด้านราคาผูกมัดเค้า เค้าจะใจดีให้ใช้ถูกๆหรือครับ สัมประทานคลื่นเก่า กำไรมามหาศาลแล้ว ค่าโทรเมืองไทย ยังแพงกว่าที่ควรจะเป็นเลย มีช่วงแข่งกันถูก 0.25 สตางค์ แต่สุดท้ายก็สุ่มหัวกันเพื่อไม่อยากแข่งกันจนมันหายไป แล้วคิดว่า 3G มันจะไม่สุมหัวกันหรือครับ ทั้งที่ของใครก็อยากใช้ แบบนี้สุมหัวกันไม่ต้องแข่งกันมาก สบายกันไปอิ่มกันไป รัฐไม่ได้บังคับไว้ด้วย เรียกร้องอะไรได้ ต้องอ้อนวอนเอาสินะ สัญญาณล่มเป็นวัน อาจจะทำให้ธุรกิจล่ม เสียหาย รัฐก็ไม่เป็นจะอะไรมากมายเลย ปรับเข้ารัฐจบ ตนเสียหายมองตาปริบๆ
มี 9 slot ประมูลได้สูงสุดไม่เกินเจ้าละ 3 slot แล้วจะแข่งราคากันทำไม สุดท้ายยังไงรัฐก็ต้องจัดคลื่นให้ก่อนสัมปทานเดิมหมดอายุโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง มิเช่นคนเดือดร้อนคือประชาชนไม่มีคลื่นโทรศัพท์ใช้
บังคับให้เปิดขายไม่พร้อมกัน มันคือปล่อยให้เกิดการแข่งขันแบบไม่ยุติธรรม ส่วน N-1 เจ้าที่หลุดก็เตรียมเจ๊งได้เลย หรือไม่ก็ฮั๊วกันจ้างบริษัทที่สี่มาร่วมประมูล
เขาก็ออกกฎมาเรื่อยๆ นะ เช่น ค่าโทรไม่เกิน 0.99 บาท เติมเงินแล้วห้ามตัด ค่าปรับ ค่าชดเชย (ไม่รู้ว่าอะไรบังคับใช้ไปแล้วบ้าง)
ถ้าจะแก้ ต้องแก้ให้มีความแตกต่างระหว่างใบอนุญาตสามใบมากกว่านี้ เช่น 20Mhz 15Mhz 10Mhz (ต้องสรุปกันก่อนว่าจะมีกี่ใบ เช่น ถ้าสี่ใบ 15-12-10-8 เป็นต้น) แล้วก็ประมูลใบใหญ่ก่อน เพราะใครก็อยากได้ ผู้แพ้ก็ไปประมูลใบที่สอง ผู้แพ้จากใบที่สองก็ได้ใบที่สามในราคา 2 ใน 4 ของราคาใบแรก หรือ 2 ใน 3 ของราคาใบที่สอง อยู่ที่ใบไหนราคาต่อ Mhz ถูกกว่ากัน ต้นทุนต่อ Mhz จะได้ไม่ได้เปรียบกว่าเจ้าที่ชนะ แล้วก็เก็บภาษีสรรพสามิต 10% เป็นรายได้รัฐเพื่อชดเชยรายได้ที่จะหายไปเพราะสัมปทานหมดอายุ การกำหนดราคาค่าบริการควรเป็นไปตามกลไกลตลาด หรือออกกฎมาควบคุมทีหลังก็ได้ถ้ามันแพงจริง
รัฐเสียรายได้ หรือ ใคร เสียรายได้กันแน่นะ -*-
ยอดประมูลน้อยกว่าที่นักเศรษญศาสตร์จุฬาคำนวณไว้ แล้วมันยังไง? มาจากจุฬาต้องไม่ผิด? เหอะๆ ทำตัวแบบนี้แล้วอ้างตลอดว่าเพือประชาชน เพื่อประชาชน คุณเคยถามประชาชนหรือยังว่าเขาต้องการอะไร -*-
เหมือนอยากกินกระเพราหมูสับ แต่เอาอาหารหมาให้กิน
หงุดหงิดๆๆ
แล้วคุณคิดว่าความคิดดุณเอง = ประชาชนทั้งประเทศรึเปล่าครับ?
ผมไม่เดือดร้อนเรื่อง 3G ไม่ได้อยากใช้จนไข่สั่นตัวสั่น
ผมอยากใช้ 3G ที่ยอมรับได้และมีการแข่งขันในตลาดที่ประชาชนอย่างผมได้ผลประโยชน์ครับ
ไม่ใช่แบบว่า 3 เจ้ารวมหัวกันตั้งราคาเดียว ราคานี้ไม่จ่ายก็อดไปทางเลือกอื่นไม่มี
ไม่ใช่เพราะมี 3BB กันหรือ? ที่ทำให้ทุกวันนี้ถึงมีเน็ตขั้นต่ำที่ 8Mbps ไม่ใช่ 2Mbps ดังเช่นเมื่อ 8ปีที่แล้วใช้แต่ที่จริงโครงสร้าง network รองรับได้ 10+ Mbps ได้ตั้งนานแล้วแต่ไม่รีบเพราะไม่มีคู่แข่ง
ปล.ผมก็หงุดหงิดๆ ที่เห็นพวกอยากใช้ 3G จนตัวสั่นออกมาดิ้นพราดๆทำยังกับความคิดตัวเองเป็นของประชาชนทั้งประเทศ
อยู่ในความสุภาพนะครับ ผมเตือนครั้งเดียวนะ
lewcpe.com, @wasonliw
+1 ครับ
ผมไม่เห็นว่าไม่สุภาพนะ
ผมสงสัยว่าแบ่งเป็น 20-15-10 ไม่ได้หรอครับ ประมาณว่าถ้าเอ็งไม่สู้ เอ็งได้อันเล็กนะเว้ย
แค่อยากใช้ 3G หน้ามืดตามัว จนไม่สนใจสภาวะแวดล้อมที่ควรจะเป็น
มันก็ไม่ต่างจาก
ยอมรับให้มีการโกงแต่ตัวเองได้ประโยชน์(อ้างอิงจากโพลล่าสุด:คนไทย)
ให้ผมเดา กสทช. ต้องรับรองการประมูลแน่ (เสียงข้างมาก)
แน่นอนว่ามีคนฟ้องตามมาอีกเพียบ สุดท้าย กสทช. ติดคุกตามเคย
เป็นโมฆะ การประมูลก็จะเลื่อนออกไปอีก
ผมชอบประโยคนี้
+1
ติดคุกข้อหาอะไรครับ? ตอนนี้มีผู้ฟ้องอยู่ที่ประมาณ 5-6 ราย (และอาจเพิ่มขึ้นหลังมีการรับรอง) แต่ว่าข้อหาไหนที่จะทำให้ติดคุกครับ อยากให้ช่วยชี้แนะ
ตัวเองถือคลื่นไว้ในมือเป็นสิบๆปีไม่คิดจะทำ พอคนอื่นเค้าจะทำหน่อยกลัวจนตัวสั่น
บอกตามตรงว่า ยิ่งคุณคอมเมนท์มากเท่าไหร่ องค์กรคุณยิ่งติดลบมากเท่านั้นครับ
ทำไมถึงคิดว่าเค้าอยู่องค์กรที่ว่าอ่ะครับ (สงสัยเฉยๆ)
เค้าบอกไว้ในลายเซ็นก่อนจะแก้เป็นอันปัจจุบันครับ
ที่โพลเป็นแบบนั้น เพราะมันมีไอพวกโกงแล้วพวกเค้าไม่ได้ประโยชน์อะไรสักนิดมาโดยตลอดไงครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
เกรงว่ายิ่งล่าช้าออกไป ประเทศจะเสียหายมากกว่า ที่รัฐเสียรายได้ที่นักวิชาการหวังจะได้ไปนะครับ ตัวเลขแวบๆวันละ217ล้าน นี่ก็ล่าช้ามาสองปี เสียหายไปแสนกว่าล้านแล้ว จะให้เสียหายเพิ่มไปอีกเรื่อยๆงั้นหรือ?
ส่วนนึง ในมุมของนักวิชาการ
http://www.youtube.com/watch?v=6Da2ppPUVF4
กสทช. ควรกำหนดเพดานราคา ค่าใช้บริการให้เรียบร้อยก่อนการประมูล ถ้าได้ราคานี้ แต่เพดานราคามีการกำหนดไว้ชัดเจน เหมาะสม คงไม่มีปัญหา
Texion Business Solutions
เป็นแผนของแมวกับคนร้องไห้รึเปล่า
แบบนี้หมายความว่า "ถ้าทำประโยชน์เพื่อคนหมู่มากได้" รัฐจะเสียหายก็ไม่เกี่ยว เพราะนี่คือประชาธิปไตย?
ถ้าอย่างนั้นจะต่างอะไรจากจำนำข้าวที่รัฐต้องเสียประโยชน์จำนวนมาก เพื่อให้คนที่ ทำงานหนักที่จนที่สุด ลำบากที่สุด ได้สบายบ้าง และเป็น 70% ของประเทศ
แทนที่จะเป็น 30% ของประเทศที่เข้าถึง 3G
ประชาธิปไตย คือฟังเสียงคนส่วนใหญ่และรักษาสิทธิคนส่วนน้อยนะครับ
รัฐไม่ต้องเอาเงินไปละลายกับการชดเชยส่วนต่างอย่างการประกันราคาข้าวที่รัฐมีแต่จ่ายกับจ่ายแถมรัฐไม่ได้อะไรกลับมาเลย ข้าวทุกเมล็ดเป็นของพ่อค้าคนกลางที่มีแต่ได้กับได้
รัฐเสียประโยชน์เพื่อคนหมู่น้อยหละครับ แบบนี้
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ