ก่อนหน้านี้ลูกค้าที่ได้ซื้อแผ่นซีดีเพลงมาฟังที่บ้านในสหราชอาณาจักร ไม่สามารถที่จะทำก็อปปี้ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บได้อย่างถูกกฎหมาย แม้ว่าการกระทำลักษณะเดียวกันนี้ในสหรัฐอเมริกาถือว่าทำได้ตามกฎหมาย ด้วยกฎ Fair Use Permission แต่ล่าสุด สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอังกฤษ ได้เริ่มทำการปฏิรูประบบลิขสิทธิ์ใหม่แล้ว ที่เริ่ม "ยอมรับ" พัฒนาการในยุคดิจิทัลต่าง ๆ และปรับเนื้อหาทางกฎหมายหลาย ๆ อย่าง ให้กระชับมากขึ้น (และกระชับกว่าของสหรัฐฯ เสียอีก)
ต่อไปนี้ การ rip เพลงจากแผ่นซีดีมาอยู่ในสื่อรูปแบบอื่น ๆ สามารถทำได้อย่างถูกกฎหมายแล้ว ตราบใดที่เพลงหรือเนื้อหาต้นฉบับได้มาอย่างถูกกฎหมาย และจะถูกนำไปใช้ส่วนตัว ในขณะเดียวกัน นักวิจัย ครู สามารถนำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้ได้ผ่านทางเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต หากนำมาใช้เพื่อการศึกษาและไม่ใช่ทางการค้า
ที่มา - Engadget
Comments
แล้วของประเทศไทย ตอนนี้เป็นแบบไหน มีใครพอทราบบ้างไหมครับ
-- ^_^ --
คนเก็บขยะขายซีดี โดนปรับ 2 แสนครับ
แต่นั่นมันก็ผิดจริง ๆ นะครับ
คดีนั้นโดนจับในข้อหาขายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะในประเทศนี้การขายภาพยนตร์ต้องมีใบอนุญาตตาม พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ครับ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องลิขสิทธิ์
ขายมือสอง ตามเว็บบอร์ดก็ไม่ได้แล้วซิ T_T
คดีถูกต้อง แต่อาจไม่ถูกใจครับ
อันนี้ต้องเรียกว่า บังคับใช้กฏหมายไม่เสมอภาค
อันนี้โดนใจ
ของเราใช้ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ครับ
เผื่อใครลืม สัปดาห์หน้าเราจะเข้าสู่ พ.ศ. 2556 ครับ
อยากรู้มีอะไรใหม่บ้าง
เข้าใจว่าจะสื่อถึงกฎหมายออกมาเกือบ 20 ปีที่แล้วมั้งครับ
อยากทราบเหมือนกัน เมืองไทยข้อเสียของรัฐคือไม่ค่อยมี publication ที่สะอาด อ่านง่าย เข้าใจง่าย และหาง่ายให้เห็นเลยจริงๆ
@TonsTweetings
หลายเม้นต์แล้วก็ยังไม่มีใครมาตอบ ผมลองหยิบซีดีมาดู เห็นแต่ unauthorized copying of this record prohibited ไม่รู้ครอบคลุมขนาดไหน
ต่อไปนี้ทำอะไร อ้างทำเพื่อการศึกษาไว้ก่อน แล้วจะดีเอง
สถานการณ์ตัวอย่าง....
ถ้า 3 นาทีผ่าน.....ไป
สรุปใครถูก
เอาจริงๆเลยผมคิดว่า ถ้าจะส่งให้เพื่อนถอดคอร์ดกีต้าร์ มันส่งแบบ Private ก็ได้ป่ะ 4shared มันดูจะเวอร์ไปหน่อย คงจะดูที่เจตนาอ่ะครับ ผมคิดว่าศาลก็น่าจะตัดสินยังงี้ ถ้าเกิดการฟ้องร้องอ่ะนะ
แต่ประชาชนแอนตี้แกรมมี่ไปเรียบร้อยแล้วไงครับ ที่สำคัญตัวแอนตี้ไม่ได้อ่านข่าวเลยสักกะบรรทัด ฟังเขาพูดต่อมาล้วนๆ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา 32 วรรค 2
ภายใต้บังคับบทบัญญัติ ในวรรคหนึ่ง การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่า
เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้
...
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
...
ตามกฏหมายเราสามารถทำซ้ำเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บได้อย่างถูกกฎหมายครับ หากทำภายใต้มาตรา 32
กฏหมายไทย ไม่ค่อยไวกับเรื่องพวกนี้ครับ เพราะนักกฏหมายที่เป็นคอนเซอร์เวทีฟมากๆ ใช้อุปกรณ์ไอทีไม่เป็นเลย ดังนี้ จะให้ออกกฏหมาย rip เพลง โดยมี DRM ไม่มี DRM พวกนี้เขาไม่ค่อยรู้จักครับ สส. จะรู้จักคำว่า iTunes ถึงครึ่งสภา เพื่อยกร่างให้ พรบ.ลิขสิทธิ์ดิจิตอล ผ่านได้ไหม ยังต้องกุมขมับเลยครับ
ไวหรือไม่ไว ทันสมัยหรือไม่ทันสมัย ไม่ใช่เป็นปัญหา เจตนารมณ์ตัวกฎหมายต่างหากที่สำคัญ
สำหรับเรื่องนี้ ผมเข้าใจว่า rip ลงเครื่องตัวเองไม่ผิดครับ ไม่ได้สร้างกำไรต่อแต่อย่างใด