ปัญหาเรื่องนโยบายการกำหนดอายุบริการโทรศัพท์แบบพรีเพด ซึ่ง กสทช. ต้องการให้ไม่มีวันหมดอายุ ในขณะที่ฝั่งโอเปอเรเตอร์ไม่ยอม และมีผลให้ กสทช. สั่งปรับทางปกครอง ตอนนี้ได้ข้อยุติแล้ว โดย กสทช. อนุญาตให้บริการพรีเพดมีวันหมดอายุได้ ถ้าผ่านเงื่อนไขดังนี้
นอกจากนี้ทางโอเปเรเตอร์เองต้องยื่นเงื่อนไขการหมดอายุของตัวเองเข้ามาให้ กทค. พิจารณาเท่านั้น ถ้าไม่ยื่นหรือยื่นแล้ว กทค. ไม่เห็นชอบ ก็จะยังต้องปฏิบัติตามกฎเรื่องไม่มีวันหมดอายุต่อไป ปัจจุบันมี AIS/Truemove ยื่นเข้ามาและได้รับคำอนุมัติจาก กทค. แล้ว
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
เปิดเบื้องลึกกทค.เดินเกมบีบผู้ประกอบการอุ้มผู้บริโภค รากหญ้าเฮ.!ปัญหาเรื้อรังบัตรเติมเงิน“พรีเพด”ได้ข้อยุติ
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกฎหมายในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่ข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ห้ามมิให้ผู้ประกอบการกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการในระยะเวลาที่กำหนด หรือห้ามไม่ให้มีบัตรเติมเงินพรีเพดหมดอายุ แต่นับตั้งแต่มีการใช้ประกาศดังกล่าวก็ยังไม่สามารถบังคับได้อย่างจริงจัง ส่งผลให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยขณะที่ประกาศนี้ต้องการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ฝั่งผู้ประกอบการก็โต้แย้งตลอดมาว่า การไม่ให้บัตรเติมเงินพรีเพดไม่มีวันหมดอายุเลย และไม่ระงับการให้บริการเลยนั้นจะส่งผลกระทบเกิดภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และจะมีเลขหมายโทรศัพท์ตกค้างโดยที่ไม่มีการใช้งานอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก
ที่จริงแล้วตัวประกาศ กทช.ฯ ข้อ 11 ก็มีความยืดหยุ่นโดยมีข้อยกเว้นให้สิทธิผู้ประกอบการกำหนดวันหมดอายุพรีเพดได้ แต่ต้องขอความเห็นชอบจากกสทช.เป็นการล่วงหน้า และให้ กสทช.กำหนดเงื่อนไขการให้บริการประกอบด้วย เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
ปัญหาเรื่องบัตรเติมเงินพรีเพดคาราคาซังมาตั้งแต่ยุคของ กทช. มีการโจมตีว่าไม่มีการบังคับตามกฎหมาย จริงๆแล้วมีการดำเนินการในเรื่องนี้มาโดยตลอด แต่อาจจะเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด จากการตรวจสอบข้อมูลตั้งแต่อดีตมาทำให้ทราบว่า หลังจากที่กทช.ออกประกาศนี้มาและเกิดปัญหาการบังคับใช้ กทช.และหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็เห็นตรงกันว่าบัตรเติมเงินพรีเพดสามารถมีวันหมดอายุได้ตามข้อยกเว้นของประกาศ กทช.ฯ ข้อ 11 เพียงแต่จะกำหนดเงื่อนไขกำกับไว้อย่างไรให้เกิดประโยชน์และไม่เป็นภาระต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากเกินไป ในยุคของ กทช. จึงมีความพยายามจะแก้ไขปัญหานี้ โดยรับฟังความคิดเห็นของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องจนออกมาเป็นมติของ กทช. กำหนดเงื่อนไขมาตรฐานไว้ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2551 แต่เงื่อนไขดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยในส่วนของผู้บริโภคการกำหนดให้ต้องมีการชำระเงินล่วงหน้าเป็นจำนวนถึง 500 บาทเสียก่อน บัตรพรีเพดจึงจะไม่มีวันหมดอายุนั้น ทำให้เป็นภาระต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือกลุ่มรากหญ้า ฉะนั้นการแก้ปัญหาในขณะนั้นจึงไม่ได้ผล
ทั้งนี้กสทช. โดย กทค. ได้มีการดำเนินการเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยเคยมีการประชุมร่วมกันระหว่าง กทค. กลุ่มผู้บริโภค และ กลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งก็เห็นค่อนข้างจะตรงกันในเรื่องการมีวันหมดอายุในบางกรณี เพียงแต่เงื่อนไขที่จะใช้ในการกำกับยังมีแนวคิดที่แตกต่างกันอยู่ จึงได้มีการประชุมหารือในกลุ่มย่อยหลายต่อหลายครั้ง จนเริ่มเห็นทางออกในการแก้ไขปัญหา จนกระทั่งในปี 2556 ที่ กสทช. ประกาศให้ปีนี้เป็นปีทองแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค เราก็ต้องการกำหนดมาตรการและเยียวยาปัญหาต่างๆของผู้บริโภคให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในเรื่องบัตรเติมเงิน
ด้วยเหตุนี้ในวันที่ 14 มกราคม 2556 สำนักงาน กสทช.จึงได้เชิญผู้ประกอบการมาหารือร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาบัตรเติมเงินให้ได้ข้อยุติแล้วหารือเรื่องเงื่อนไขมาตรฐานขั้นต่ำที่จะกำหนด โดยก่อนหน้านี้ได้มีการค้นคว้า และมีการประชุมกับหลายฝ่ายมาหลายครั้ง จนได้เงื่อนไขมาตรฐานที่ตกผลึกร่วมกัน ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้ โดยในการหารือดังกล่าวได้แจ้งว่าหากผู้ประกอบการต้องการจะมีคำขอให้กำหนดวันหมดอายุตามข้อยกเว้นก็ให้ยื่นเข้ามา แต่กรอบจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานที่กสทช.กำหนด หากไม่อยู่ในกรอบนี้ กสทช.ก็จะไม่อนุญาต
แม้แนวทางปฏิบัตินี้ ในฝั่งของผู้ประกอบการ จะไม่ชอบเท่าไรนัก แต่เนื่องจากมาตรฐานดังกล่าวมีความยืดหยุ่น จึงมีแนวโน้มให้ความร่วมมือมากกว่าเดิม ดังนั้นผู้ประกอบการจึงกลับไปเสนอคำขอตามข้อยกเว้นในข้อ 11 เพื่อยื่นเข้ามาให้ กสทช.พิจารณา แต่ในระหว่างที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้ยื่นคำขอเข้ามา เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคทันที และเป็นการกดดันผู้ประกอบการ สำนักงาน กสทช.จึงขอความร่วมมือให้บริษัทไม่กำหนดวันหมดอายุไปก่อน ซึ่งหากปฏิบัติตามก็จะส่งผลให้ค่าปรับจะหยุดลงนับแต่วันที่มีการปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นการกดดันผู้ประกอบการให้รับเสนอคำขอและเงื่อนไขเข้ามาโดยเร็ว ในขณะเดียวกัน กสทช. โดย กทค. ก็ออกสุ่มตรวจบัตรเติมเงินอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เพื่อเป็นการกดดันผู้ประกอบการอีกทางหนึ่งด้วย
ต่อมาเมื่อผู้ประกอบการยื่นคำขอเข้ามาเพื่อขอกำหนดวันหมดอายุของบัตรเติมเงินพร้อมเงื่อนไข ที่ประชุมกทค.จึงพิจารณาคำขอและเงื่อนไขของผู้ประกอบการว่าสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำที่กทค.กำหนดไว้หรือไม่ โดยในการประชุมกทค.ครั้งที่ 5-6/ 2556 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ได้พิจารณาคำขอและเงื่อนไขที่บริษัททรู มูฟ จำกัด และบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เสนอเข้ามาแล้วเห็นว่าสอดคล้องกับแนวทางมาตรฐานขั้นต่ำของกทค. จึงมีมติให้กำหนดวันหมดอายุตามข้อยกเว้นของประกาศ กทช.ฯข้อ 11 และเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้กำหนดเงื่อนไขกำกับไว้ ดังนี้ 1. การเติมเงินเข้าสู่ระบบของผู้ให้บริการในทุกมูลค่าที่เคยให้บริการอยู่ก่อนและ/หรือที่จะให้บริการ ผู้ใช้บริการจะต้องได้รับระยะเวลาใช้งานไม่น้อยกว่า 30 วัน 2. การเติมเงินเข้าสู่ระบบของผู้ให้บริการทุกครั้ง ให้นับรวมระยะเวลาการใช้งานที่ได้รับกับระยะเวลาที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีระยะเวลาการสะสมวันสูงสุดอย่างน้อย 365 วัน และ 3. กรณีที่ผู้ให้บริการมีเงินค้างชำระแก่ผู้ใช้บริการเมื่อสัญญาเลิกกันผู้ให้บริการจะต้องคืนเงินค่าบริการที่คงเหลืออยู่ในระบบให้แก่ผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ผู้ให้บริการอาจกำหนดเงื่อนไขให้สามารถโอนเงินค่าบริการที่ชำระล่วงหน้าไว้ไปยังเลขหมายอื่นที่อยู่ในโครงข่ายเดียวกันด้วยก็ได้
“ขอทำความเข้าใจว่ามติของ กทค. นี้ไม่ได้เป็นการยกเลิกการห้ามกำหนดวันหมดอายุของบัตรเติมเงินแต่อย่างใด ผู้ประกอบการที่ไม่ได้ยื่นคำขอเข้ามา หรือยื่นเข้ามาแล้วแต่ กทค.ไม่เห็นชอบ ก็ยังจะต้องผูกพันตามกฎหมายที่ห้ามกำหนดวันหมดอายุของบัตรเติมเงิน อย่างไรก็ตามมติของกทค. เป็นเพียงดำเนินการตามข้อยกเว้นของกฎหมายตามที่ผู้ประกอบการยื่นคำขอเข้ามา ซึ่งมีการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานกำกับไว้ ผลจากการกำหนดเงื่อนไขนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะในกลุ่มรากหญ้า เพราะในการเติมเงินล่วงหน้าแต่ละครั้ง จากที่เคยต้องเติมเงินเป็นจำนวนมากเพื่อจะให้ได้วันสะสมเยอะๆ จากเงื่อนไขมาตรฐานที่กำหนดจะทำให้สามารถเติมเงินเป็นจำนวนเท่าไรก็ได้ ก็จะได้วันสะสมไม่ต่ำกว่า 30 วัน ในทุกโปรโมชั่น ส่วนที่เคยได้โปรโมชั่นเกินกว่า 30 วัน ก็ยังคงได้ประโยชน์ต่อไป เพราะสอดคล้องกับเงื่อนไขมาตรฐานขั้นต่ำนี้ และสามารถสะสมวันไปได้อย่างน้อย 365 วัน และถ้ายังเติมเงินไปเรื่อยๆ ระยะเวลาก็จะสะสมไปเรื่อยๆ โดยบัตรก็จะไม่หมดอายุการใช้งาน” ดร.สุทธิพล กล่าวทิ้งท้าย
Comments
ท่านประธานไม่แข็งเลยอ่ะ..
อะไรที่ไม่แข็งครับ :)
หลายอย่างครับ อิอิ
บู่ ... ปีเดียวนี่ไม่ใจเลย
สักสามปีกำลังดี
ส่วนตัวผมคิดว่าการเติมเงินทุกครั้งให้เริ่มบวก 365 วันไปเลยก่อนหมดอายุดีกว่า
ง่า - -"
ก็ทำใจอยู่แล้วล่ะนะ แต่อย่างน้อยขอเป็น "เมื่อวันหมด จะทำการหักค่ารักษาเบอร์ ...บาท/เดือน ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีเงินให้หักแล้วปิดเบอร์" เลยไม่ได้เหรอครับ เอาแบบบัญชีเงินฝากไปเลย
ทำไมไม่ใช้บริการเพิ่มวันละครับ True กับ Dtac มีนะบริการนี้ Ais ผมไม่รู้นะ :D
มีครับ เสียเงิน 30 บาท ได้ 30 วัน (แถมโทรฟรี 30 นาที ภายใน 5 วัน)
ถ้ามีให้เปิดหักเงินอัตโนมัติผมก็ยอมนะครับ
dtac 180 วัน 12 บาท
เติมเงินเท่าไหร่ได้ 30 วัน อันนี้ผมเห็นด้วยนะ
แต่ใอสะสมวันสูงสุด 365 วันเนี่ย น้อยไปนะ น่าจะซักสองสามปีอะ
แต่ผมอยากได้ซัก เติมครั้งนึงได้ 3 เดือน
แต่สูงสุด 365 วันนี้เห็นด้วย ระยะเวลากำลังดี ...
ไม่น้อยไปหรอกครับ ผมถือว่าถ้าไม่เติมเงินเลยปีนึง มันเข้าข่ายสมควรเก็บค่ารักษาเบอร์ได้แล้ว
กลืนน้ำลายตัวเองป่าวเนี่ย
เสียดายอ่า = ="
เห้ย แข็งมาเป็นปี ไหงมางี้
กากจริงๆ
ผู้ใช้บริการจะต้องได้รับระยะเวลาใช้งานไม่น้อยกว่า 30 วัน
อ่านแล้วผมรู้สึกว่า บัตรเติมเงินราคา แบบน้อยๆ 30 บาทไรงี้ จะหายไป
หยอดเหรียญ, ATM, 7-11, น่าจะเติมแบบน้อยๆ ได้เหมือนเดิม
คนโทรเยอะไม่ได้ประโยชน์อันใดเลยสินะ แถมคนโทรน้อยอาจพลอยซวยไปด้วย เพราะเผลอ ๆ บัตรราคาถูก ๆ จะหายไปจากท้องตลาด
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
จากข้อแรก แปลว่าหยอดบุญเติมสิบบาทก็ได้เดือนนึงใช่มั๊ย?
ผลประโยชน์ลงตัว (แต่ไม่ใช่ของประชาชนนะ)
สุดท้ายก็ทำได้แค่นี้ เหอะ
ไม้หลัก ปักเลน
มวยล้มต้มคนดูเจรงๆ
เหมือนสร้างกระแสแฮะ พอถึงเวลาก็ทำไม่ได้
ไร้น้ำยา
ผมก็คิดแบบนี้น่ะแค่ทำข่าวเฉยๆ ถึงเวลาก็เงี้ย
555+ สั้น ๆ แต่ได้ใจ
ระยะเวลา 30 วัน ก็เท่ากับไม่ได้มีอะไรดีขึ้นมาเรย กสทช. กาก
ครับ...ต่อไปก็ค่าบริการ 3G ผมคงไม่ต้องฝันอะไรอีกแล้ว ครับ
แล้วบริการเสริมล่ะครับ เช่น happy 99บาท 75M/30วัน ถ้าใช้ไม่หมดใน30วันทำงัย คืนเงินมั๊ย อย่างน้อยอันนี้ไม่น่าจะกำหนดอายุเลย ยังงัยsimก็มีวันหมดอายุแล้ว
อันนั้นมันถือเป็นโปรพิเศษนี่ครับ คิดว่าถ้าทำโปร 75MB ไม่จำกัดวันควรจะแพงกว่านั้น
ว่าล่ะ
ไม่ต่างจากเดิมเลย จึงได้ฉายา "เสือกระดาษ"
น่าจะกำหนดให้ต้องสามารถเติมเงินได้ตั้งแต่ 1 บาทขึ้น เติม 12 บาทก็จะได้ครบปี
ผมว่าแนวคิดแบบค่ารักษาบัญชีของธนาคารเหมาะสมดีนะ
ถ้าไม่ใช้งานใน xx วัน ก็หักเงินจากยอดไปเรื่อยๆ เดือนละครั้ง ครั้งละเท่าไหร่ก็ว่าไป ถ้าเงินหมดก็ยึดเบอร์ แต่ก่อนยึดต้องส่งจดหมายไปยืนยันก่อน
+1 ส่วนปีหนึ่งถือว่าโอเคน่ะ เติมเท่าไหรก็วันเพิ่ม สงสัยต้องมีขั้นต่ำ xx บาทแน่ๆ
สุดท้าย กสทช. ก็ใจดี (กับ operator ทั้ง 3) ประชาชน เสียประโยชน์
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ถ้าซื้อหวยแล้วแม่นแบบนี้ คงรวยไปแล้ว
สุดท้ายก็แค่กฏหมายที่ร่างมาขำๆ ใช้จริงไม่ได้ (หรือใช้ไม่จริง)
เหมือนซ่อง หวย และบ่อน
ที่ผิดดฏหมายแต่ ก็เปิดกันเยอะพอๆ กับ 7~11
ก็ได้เท่านี้แหละประชาชน
สรุปแล้วก็เหมือนได้ซิม "คงกระพัน" กันเป็นแถว ๆ ใช่มะ..?
เป็นที่น่าผิดหวังอย่างมาก
กลืนน้ำลายกันแบบหน้าไม่อายเลยทีเดียวเชียว
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ย่อหน้าสุดท้าย
ออกกฏจากเดิมไม่ให้ มาเปลี่ยนเป็นให้ แล้ว มาบอกว่า ไม่ได้เป็นการยกเลิก
แต่ อ้างว่า
ต่อไป ถ้าอะไรที่เคยๆ ห้ามไว้ พอ มีช่องทางหน่อย ก็ปล่อยให้ผ่านได้ทันทีใช่หรือเปล่า
สรุปว่า ประเทศนี้ มีอะไรที่ เชื่อถือได้บ้างมั้ย
งอลแล้วนะ กสทช.
กสทช = การจัดสรรทรัพยากรให้(กระทบ)เอกชน(น้อยที่สุด)
คำเดียวโหดๆ ไอ้สาาาาาดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
เข้าหน้าร้อนแล้วครับ สาดน้ำกันหน่อย