Churnalism US เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบเนื้อหาข่าวจากสื่อต่างๆ เพื่อดูว่าเนื้อหาเหล่านั้นถูกลอกมาจากแหล่งข่าวหรือไม่
Churnalism นั้นหมายถึงการที่นักข่าว ลอกข้อความหรือเนื้อหาจากแหล่งข้อมูลใดก็ตามแบบคำต่อคำ โดยไม่มีการเรียบเรียงหรือจับประเด็นเนื้อหาด้วยตนเอง ซึ่งในบางโอกาสอาจดูว่าไม่ค่อยเหมาะสมนัก ถือเป็นปัญหาที่มีอยู่ทั่วไปในวงการสารสนเทศทั่วโลก จึงมีผู้พัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ตรวจสอบเนื้อหาข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้
Churnalism US ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างมูลนิธิ Sunlight Foundation กับ Media Standards Trust โดยมันจะตรวจสอบเนื้อหาที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป เพื่อเทียบเคียงกับแหล่งข้อมูลจากหลายที่ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข่าวที่มีความโปร่งใส เช่น EurekAlert และ MarketWire ตลอดจนการรับ RSS เพื่อรับข้อมูลข่าวของบริษัทในกลุ่ม Fortune 500, องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร, องค์กรการค้า, หน่วยงานราชการ รวมไปจนถึง Wikipedia
ก่อนหน้านี้มีเครื่องมือแบบเดียวกัน Churnalism.com ถูกพัฒนาขึ้นโดย Media Standards Trust เพื่อใช้ตรวจสอบเนื้อหาข่าวเทียบกับสื่อในสหราชอาณาจักรหลายแห่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ BBC
เชื่อว่าใครหลายคนคงปรารถนาอยากให้มีซอฟต์แวร์คล้ายๆ กันที่รองรับเนื้อหาภาษาไทยอยู่เป็นแน่
ที่มา - Ars Technica
Comments
ปราถนา => ปรารถนา
panurat2000 เครื่องมือตรวจเช็คภาษาไทยระดับ bit
ตรวจเช็ค => ตรวจเช็ก
เช็ก -> เช็กโกสโลวาเกีย
เช็กโกสโลวาเกีย => เชโกสโลวาเกีย
โอ้ว กราบบบบบ orz
Dream high, work hard.
Orz ด้วยย ย ย ย - -''
Orz ... T___T
ไม่กล้าพิมพ์ภาษาไทยอีกเบย
บอทนี้สามารถตรวจสอบภาษาอังกฤษได้ด้วยครับ
Orz
อยากให้มีภาษาไทยเพราะปัจจุบัน หลายเว็บในบ้านเรา ลอกกันเองไปมาๆ แถมบางเว็บไม่ให้เครดิต
รูปกัน hotlink ได้แต่ไม่ 100% แต่ก็ดีกว่าไม่มีกัน... -,-
+100
คนไทยไม่ลอกหรอกครับ .. เพราะไม่เคยรู้ว่าที่ทำอยู่คือการลอก ฮ่าๆ ;D
my blog
เท่าที่อ่านดู ผมคิดว่า ประเด็นหลักของ churnalism ไม่ใช่เรื่องการลอกแบบขี้โกง เอาเปรียบ (แบบเครื่องตรวจนักศึกษาลอกการบ้านในมหาวิทยาลัย) แต่เป็นประเด็นเจาะจงว่า นักข่าวลอก press release ขององค์กรต่างๆ มาโดยตรง
ปัญหาหลักของ churnalism มันเลยเป็นว่า สื่อทำหน้าที่แค่เอาข่าวประชาสัมพันธ์ขององค์กร (เช่นภาคธุรกิจ) มาเป็นข่าวเอาตรงๆ เหมือนเป็นกระบอกเสียง แทนที่จะทำหน้าที่ค้นคว้าเรียบเรียงอย่างที่ควรจะเป็น (นึกภาพ Blognone เอาข่าวประชาสัมพันธ์ที่บริษัทมือถือเขียนเองมาเป็นเนื้อข่าวเลย)
สังเกตว่า ฐานข้อมูลที่ใช้ คือฐานข้อมูลของพวก press release บริษัทต่างๆ เพราะเป้าหมายของเครื่องมือนี้คือ ตรวจดูว่า ข่าวที่สำนักข่าวเผยแพร่ ลอกจาก press release มาตรงๆ หรือไม่ ไม่ได้ตรวจว่าเป็นการลอกมาจากสื่ออื่นๆ หรือเปล่า
จะลองปรับเนื้อความข่าวให้เหมาะสมนะครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ถ้านักข่าวลอก press release ไปลงแทบจะทั้งดุ้นนี่
... องค์กรดีใจนะครับ
ถ้านักข่าวคนนั้นทำโดยไม่ได้อามิสสินจ้างล่ะก็ ถือว่าถูกหลอกใช้
แต่ถ้านักข่าวได้อะไรบางอย่างแลกกันนี่
ถือว่าองค์กรเกิดการรั่วไหล แถมทำให้คุณภาพเนื้อหาต่ำลง
...
สังเกตหลายหนละมันจะมีบางเว็บรู้สึกจะเอาข่าวจากที่นี่ไปไปย่อย แล้วไปเครดิตต้นทางต่างประเทศ
ตรวจสอบแล้วทำอะไรต่อหรือครับ
ถ้าแค่ประกาศว่าเว็บนี้เป็น Churnalism ผมว่าคนไทยก็ยังอ่านต่ออยู่ดีแหละ
คนไทยอาจจะอ่านต่อ แต่ฝรั่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่"น่ารังเกียจ"ครับ ผลของการตรวจสอบจะตกอยู่ที่ผู้คัดลอกครับ อันนี้ก็คงแล้วแต่บรรทัดฐานของแต่ละสังคมนะครับ คนอ่านอย่างเราๆคงไม่มีอะไรครับ
ภาษาไทยลำบากหน่อยครับเพราะไวยากรณ์ภาษา ภาษาไทยเขียนติดกันไม่มีเว้นวรรคระหว่างคำเหมือนกลุ่มภาษาลาตินทำให้การทำตัวจับการคัดลอกทำได้ลำบากครับ(แต่ในใจอยากให้มีเหมือนกันนะครับ โดยเฉพาะถ้าใช้ในภาคการศึกษาเหมือนที่ฝั่งยุโรปและอเมริกาเค้ามีกัน
ของไทยก็พอมีนะครับ anti-kobpae ที่ NECTEC พัฒนา น่าจะพอได้นะครับ โดยเฉพาะถ้าใช้ในภาคการศึกษา
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
แย่ละ
ล้อเล่น
blog
ถ้า Google เอาจริงเอาจังกับ content duplication ของเวปไทยมากขึ้นนะ... ผมโครตสะใจเลย เพราะมีแต่หลอกข่าวๆๆๆๆๆ