หลังจากไมโครซอฟท์กลับลำ เลิกล็อคโซน Xbox One ทำให้ตอนนี้เหลือนินเทนโดเพียงรายเดียวที่ยังล็อคโซนเครื่องเกมของตัวเอง (ทั้ง Wii U และ 3DS)
Satoru Iwata ประธานนินเทนโดออกมาให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ ยืนยันว่าต้องล็อคโซนต่อไปแม้ลูกค้าจะเรียกร้องให้เลิกล็อคโซน ซึ่ง Iwata อธิบายว่าเหตุผลของการล็อคโซนเกิดจากข้อจำกัดทางกฎหมายและวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาคที่ต่างกัน ทำให้บริษัทเกมต้องหาวิธีบริหารจัดการข้อจำกัดเหล่านี้ (เช่น เกณฑ์อายุขั้นต่ำของผู้เล่นที่ต่างกันไป) มันไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวทางธุรกิจ (business ego) แต่อย่างใด
นินเทนโดมีประวัติล็อคโซนเครื่องคอนโซลของตัวเองมานานแล้ว ส่วนเครื่องพกพาเพิ่งเริ่มล็อคในยุค DSi ครับ
ที่มา - IGN via Ars Technica
Comments
ข้อจำกัดทางกฏหมาย แต่ก็น่าจะอลุ่มอร่วยกว่านี้แบบที่ Sony ทำ ก็คือยังกำหนด Zone แต่มาใช้ Restrict กับ Service บน Account แทน
ส่วนแผ่นก็ขายในประเทศนั้นๆ เหมือนเดิม แต่ลูกค้าที่สั่ง Import มา ก็สามารถเล่นบนเครื่องของตัวเองได้เช่นกัน
งงแค่ แล้ว sony ใช้กฎหมายฉบับไหนถึงทำได้...!?
พื้นฐานบริษัทก็เหมือนๆ กันนิหน่า
แล้วแบบนั้นทำไมไม่ล็อกรายประเทศไปเลยหว่า? (และการล็อกโซนมันแก้ปัญหายังไง????)
lewcpe.com, @wasonliw
+1 กฎหมายแต่ละประเทศต่างกัน แต่ล็อกเป็นโซน
หรือจะหมายถึงแบบ PSN ครับ? เห็นแยก Z3 ฮ่องกงกับ Z3 ไทย เล่นข้ามกันได้รึเปล่าผมไม่แน่ใจแฮะ
เกม Z3 ฮ่องกง กับ ไทย ถือว่า"เกือบ"เป็นโซนเดียวกันครับ
เกือบทุกอย่าง ใช้เหมือนๆกันได้ เล่นมัลติด้วยกันได้ แต่บางอย่าง เช่น DLC แยกกันครับ(ตาม store)
จริงๆแล้วข่าวต้นทางของทาง IGN ก็เขียนเอาไว้ถูกต้องนะครับ แต่เหมือนคุณ mk จะแปลผิดนิดนึง เลยกลายเป็นประเด็นไปเลย
แปลผิดตรงไหนก็บอกได้ครับ บอกว่าผิดเฉยๆ ผมก็แก้ให้ไม่ถูก
ตรงคำว่า region อาจจะต้องใช้คำว่า ภูมิภาค แทนคำว่า ประเทศ ดีกว่ามั้งครับ ซึ่งก็มีความหมายเหมือนกับคำว่าโซนที่เรียกๆกัน
อาจจะเป็นคำว่าพื้นที่เลยมากกว่านะครับ แต่เรื่องกฎหมายมันแตกต่างกันระดับประเทศก็ถูกแล้วคงไม่ใช่ระดับโซนหรือระดับภูมิภาค
แก้ตามนั้นครับ
คำแก้ตัวฟังไม่ค่อยขึ้นนะ แต่ก็น่าเห็นใจ ในโลกที่ทุกอย่างเปิดกันหมด ปู่นิน คงขวางกระแสไม่ได้นาน
แล้วทำไมบริษัทอื่นเค้าถึงไม่ล็อคได้หว่า?
ผมกลับมองว่า นิเทนโด ทำตามหลักจริยธรรมมากกว่า เพราะไม่เอาช่องโหว่ทางกฏหมายมาแสวงหาผลประโยชน์ครับ เพราะตามที่เขาพูดมันมีเหตุผลที่ว่า วัฒนธรรม กฏหมายของแต่ละประเทศต่างกัน จะอ้างสิทธิผู้ซื้อไม่ขึ้นครับ เพราะก่อนจะได้สิทธิ ควรจะต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศก่อน ไม่ใช่แสวงหาช่องโหว่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว แล้วถ้าจะมีคนโวยวายก็ควรไปเข้าชื่อแก้ไขกฏหมายของประเทศตัวเองก่อน แล้วค่อยไปร้องเรียน
แต่ปกติเราไปเที่ยวต่างประเทศเราก็ซื้อของกลับมาใช้ได้ไม่ใช่เหรอครับ
ถ้ามันไม่ผิดกฏหมายก็ใช้ได้ครับ สมมติ ประเทศ เอ สามารถซื้อขายยาบ้าได้ แต่ประเทศบีผิดกฏหมาย ถึงแม้เราจะไปซื้อประเทศเอ เราก็เอากลับมาประเทศบีไม่ได้นะครับ ติดคุกหัวโต (อาการเดียวกับทำไมตม.ต่างประเทศ มันยึดเสื้อผ้าก๊อบแบรนด์อะ แต่ไทยมันไม่จริงจัง)
มันก็ใช่นะครับ แต่ผมว่ามีไม่กี่เกมที่เข้าข่ายต้องล็อกขนาดนั้นนะครับ
เอาไปเทียบกับยาเสพติดมันก็เกินไปครับ
ขอพูดในฐานะผู้เล่นเกม มันมีบางเกมที่ออกที่ญี่ปุ่นแล้วเขาไม่ยอมทำภาษาอื่นด้วย แต่คนมันอยากจะเล่นครับ พอล็อคโซนก็ต้องซื้อเครื่องเพิ่ม เขาเลยโวยครับ
ใช่ครับ ตามนี้เลย
อ้าวพูดงี้ไม่ล๊อกเป็นประเทศไปเลย เพราะเห็นอ้างว่ากฎหมายแต่ละประเทศต่างกัน
ล๊อกโซนก็ไม่ครอบคลุมอยู่ดี
อาจเป็นเพราะว่าNintendo โฟกัสโซนที่กฏหมายแต่ละประเทศในโซนนั้นนั้นเหมือนๆกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วยอย่างโซนยุโรป
เดี๋ยวนี้ก็มีทางออกประเภทไปสร้าง account แล้วแจ้งประเทศไว้ พอเวลาเชื่อมต่อระบบก็เช็คเอาจากไอพีสิว่ามาจากประเทศนั้นจริงหรือเปล่า ถ้าอยู่ในประเทศที่คุมเข้มๆ ผู้ผลิตเกมส์ก็ล็อคเนื้อหาเกมส์เป็นส่วนๆไปสิ ไม่ใช่ไม่ให้เล่นยกเกมส์ ต้องรอเกมส์ที่ขายจาก'ขาใหญ่'ในประเทศเท่านั้น
จริงๆข้ออ้างทางเชิงการค้าเพื่อเอื้อตัวแทนจำหน่ายเกมส์ (publisher) รึเปล่า
เดี๋ยวนี้โลกมันแคบขึ้นมาก ถ้าเกมส์มันไม่วางขายไม่พร้อมกันทั่วโลกเอง พวกคนซื้อเค้าก็เซ็งแหล่ะ
โคตรจะไม่เข้าใจคำอธิบายเลย มันตอบคำถามไม่ได้อ่ะว่าล๊อกทำไม คือคำตอบมันกำปั้นทุบดินมาก
"เช่น เกณฑ์อายุขั้นต่ำของผู้เล่นที่ต่างกันไป" ประโยคนี้ใครช่วยอธิบายให้ผมทีว่ามันเกี่ยวกับการล๊อกโซนยังไง?
แผ่นที่ขายใน Z2 จะเขียนจำกัดอายุต่างจากที่ขายใน Z1 กรณีประเภทเกมนั้น ๆ จำกัดอายุต่างกันใน Z1 และ Z2 ครับ
ESRB กับ PEGI และ CERO จะกำหนดตัวเลขอายุแตกต่างกันใน requirement ข้อเดียวกันครับ (ตอบโจทย์ไหม?)
ก็ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่ช่วยขายเกมส์ที่ไม่มีปัญหากับ zone อื่นด้วยสิ (ภาษาญี่ปุ่นน่ะ)
:: DigiKin8 ::
ผมว่าหลายๆท่านเข้าใจผิดเรื่องใครๆก็ทำกันได้ ไอ้เจ้าอื่นมันทำกันน่ะใช่ แต่ก็เจอปัญหาเหมือนกันหมดเพราะกฏหมายที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่นที่เยอรมันมีฟ้อง steam เพราะว่าทำผิดกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค...
จริงๆ งงว่า สมมุติถ้าเอาเรื่องกฎหมาย/จริยธรรมออกไปก่อน การล็อกโซนนี่นินเทนโดได้อะไร?
การกระจายรายได้ระหว่างบริษัทที่คุมแต่ละโซนครับ ไม่งั้นโซนที่ขายถูกหรือโซนที่มีเกมเยอะกว่าจะรายได้สูง :p
มั่วนะครับ
รวมถึงรายได้ของบริษัทที่เป็น Publisher หรือนำเข้ามาแปลแล้วขายในโซนนั้นๆ ด้วยครับ ไม่งั้นเกมส์เดียวกันมันก็จะแย่งรายได้กันเองระหว่าง 2 Publisher
ป้องกันการลักลอบเอาของจากโซนหนึ่งไปขายในอีกโซนหนึ่งครับ
เห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ยุโรปอยู่ช่วงนี้
ข้ออ้าง ข้ออ้าง และข้ออ้าง
ถ้า PS3 กับ X360 ยังผ่านพ้นปัญหานี้ได้
NIN เอาอะไรมาพูด!
ตั้งแต่ Lock Zone นี่แหละที่ไม่จับ NIN อีกเลย
NIN เคยเข้าใจอะไรบ้างว่า "ความสนุกมันไม่มีพรมแดน"
เป็นแต่อ้างละ ปู่นิน เห็นแก่ตัวชัดๆ
โดยส่วนตัวแล้วค่อนข้างผิดหวังมากเลยที่ยังพูดอย่างงี้ได้อีก การล็อกโซนไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเลย
เพิ่งได้เครื่อง US มา ถ้าเทียบ 3DS US กับ 3DS JP จำนวนเกมนี่ต่างกันเยอะมาก
ในทางกลับกันผมกลัวว่าการล็อกโซนจะทำให้คน "ส่วนหนึ่ง" ไปพึ่งพาด้านมืดด้วยซ้ำ
ทำไมต้องไปพึ่งด้านมืดล่ะครับ เครื่องเกมที่ไม่ล็อคโซนก็มี ก็เล่นเครื่องนั้นสิ
หรือไม่อย่างนั้นก็ซื้อ 3ds JP เอา เกมก็ได้เล่นเยอะกว่า US อยู่แล้ว
นั่นหมายความว่าผมต้องซื้อเครื่องใหม่สินะครับ
อยากให้คุณมองอีกมุมครับ
ให้คิดไปเลยว่า 3DS Jp กับ 3DS Us เป็นเครื่องเกมคนละชนิดกันไปเลย เพราะไม่มีอะไรใช้ร่วมกันได้อยู่แล้ว
มันก็จะเหมือนคุณมีเครื่อง 3DS แต่อยากเล่นเกมของ PSVita คุณก็ต้องซื้อเครื่องใหม่ ไม่ต่างกัน
"มันก็จะเหมือนคุณมีเครื่อง 3DS แต่อยากเล่นเกมของ PSVita คุณก็ต้องซื้อเครื่องใหม่ ไม่ต่างกัน"
อันนี้ผมว่ามัน Compare กันไม่ได้อ่ะครับ เพราะมันเป็นเครื่องเล่นเกมของคนละค่ายแล้วครับ
กำหนดให้ต้องมีการลงทะเบียนที่เครื่องเล่นก่อน ลองรับบัญชีผู้เล่นหลายคน ให้กรอกข้อมูลประเทศ เพศ อายุ ไปตั้งแต่แรก แล้วตรวจสอบก่อนจะเล่นไม่ง่ายกว่าเหรอ .. ส่วนที่ต้องแยกประเทศจริงๆก็มีแค่แผ่นสลากกระดาษที่ติดบนกล่องเกมก็พอ เป็นภาษาสำหรับประเทศนั้นแล้วก็เตือนว่าสำหรับอายุเท่าไหร่ถึงเล่นได้ก็ว่าไป ... แยกโซน แยกพื้นที่ แยกประเทศ ล้าหลังสมฉายาปู่นินมาก