ก่อนหน้านี้ประชาชนผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ETL (ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศลาว) ที่อาศัยอยู่ในเมืองเวียงจันทน์ประสบปัญหาคลื่นสัญญาณมือถือถูกรบกวนโดยคลื่นสัญญาณของเครือข่าย DTAC จากประเทศไทย จนส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการของ ETL ลดลงอย่างมากเพราะลูกค้าต่างย้ายไปใช้งานเครือข่ายอื่น ล่าสุด DTAC ตัดสินใจยอมลดความแรงสัญญาณลงเพื่อแก้ปัญหานี้แล้ว
ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปี โดยสัญญาณของ DTAC ในย่านความถี่ 850MHz บริเวณจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย มีกำลังส่งสูงจนไปรบกวนสัญญาณของ ETL ในลาวซึ่งใช้งานในช่วงความถี่ 900Mhz ทำให้ กสทช. ต้องเรียก DTAC มาคุยเพื่อหาทางออก ก่อนจะมีการเข้าพูดคุยกับตัวแทนจากฝั่งลาว ณ เมืองปากเซ จนได้ข้อสรุปข้างต้น
แนวทางแก้ปัญหาของ DTAC คือการลดความแรงของสัญญาณโทรศัพท์ลงโดยควบคุมไม่ให้เกินกึ่งกลางแม่น้ำโขง ซึ่งผลพวงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นจะทำให้ผู้ใช้บริการ DTAC ในเขตจังหวัดอุดรธานีและหนองคายได้รับสัญญาณอ่อนลงไปด้วย
ทั้งนี้ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือตามแนวชายแดนยังมีปัญหาอีกประการเรื่องการโรมมิ่งสัญญาณไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์ของประเทศเพื่อนบ้านโดยอัตโนมัติจนทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งดูเหมือนขณะนี้การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดนั้นอยู่ที่ตัวผู้ใช้จะต้องตั้งค่าเพื่อปิดการโรมมิ่งอัตโนมัติ และเลือกกำหนดจุดเชื่อมต่อสัญญาณด้วยตนเองเท่านั้น
ด้าน กสทช. เสนอต่อตัวแทนจากลาวให้มีการประชุมร่วมกันปีละ 2 ครั้ง (จากเดิมปีละครั้ง) และจะหยิบประเด็นเรื่องปัญหาสัญญาณเครือข่ายรุกล้ำพื้นที่ของแต่ละประเทศมาถกกันเพื่อหาทางออกและทำบันทึกความเข้าใจร่วมกันต่อไปในอนาคต
ที่มา - ผู้จัดการ
Comments
แล้วปัญหาตรงชายแดนเขมรเมื่อไรจะแก้ครับ ขนาดผมอยู่ในดินแดนไทยเข้ามาตั้ง 30 กิโล สัญญาญ Beeline ของเขมรยังแรงกว่าสัญญาณ dtac อีก กลายเป็นว่า อยู่ในดินแดนไทยแต่ต้องใช้คลื่นเขมร ไม่งั้นโทรไม่ออก กรรมจริงๆ
ตอนผมไปกึ่งชชายแดนเขมรก็ตกใจ Beeline ชื่อน่ารักเฉียว -,,-
ผมสงสัยว่าทำไมคลื่น 850 ถึงกวนคลื่น 900 ได้
ผมเดาว่าเวลาใช้กำลังส่งสูงๆ คลื่นมันจะกระจายไปยังความถี่ข้างเคียงได้ครับ เพราะผมเห็นข่าวคลื่นวิทยุชุมชนที่ใช้กำลังส่งเกินกฎหมายกำหนด ไปรบกวนคลื่นวิทยุการบินประจำ ทั้งๆที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะคลื่นของการบินไม่ได้อยู่ในย่านของ FM ด้วยซ้ำ
downlink 850 อยู่ที่ 869-894
uplink 900 อยู่ที่ 870-915
แต่ก็แปลกที่ว่าบ้านเรามีทั้ง GSM 850 900 ก็ไม่กวนกัน(มีการปรับจูนหลบหลีก)
แล้วคนที่บ้านอยู่ใกล้เสาจะมีผลต่อสุขภาพหรือเปล่าครับ แบบโดนประจำทุกวันแบบนี้อ่ะ
อันนี้ล้อเล่นหรือเปล่าครับ????
ปล.จะบอกว่าถ้ามีผลจริงคนอยู่กลางๆจะมีผลมากกว่าครับเพราะเสาสัญญาณออกแบบมาให้ยิ่งไกลยิ่งเข้ม แต่ ในความเป็นจริงมันไม่มีครับ= =
เหคยเห็นว่าวิธีแก้คือ เลือกเครือข่ายในมือถือแบบ manual อย่าตั้งแบบ auto แต่กรณีนี้เป็นการสัญญาณกวนสัญญาณ อาจจะแก้ไม่ได้
DTAC Trinet ไม่ตั้งโรมมิ่งใช้เนตไม่ได้นะ
ผมไม่เปิดโรมมิ่งใช้ได้ปกติ Dtac Trinet
เสาที่อุดรฯ ไม่น่าจะไปถึง สปป.ลาว นะครับ
มันดูจะไกลไปหน่อยสัญญาณไม่น่าจะแรงขนาดนั้น -_-
คลื่น 850 มันไปไกลนะครับ ผมว่า
แล้ว 850 ของ DTAC ไม่กวน 900 ของ AIS เหรอครับ
A smooth sea never made a skillful sailor.
เอ่อ นั่นน่ะสิครับ ผมงงมากกะเรื่องนี้ รอผู้รู้
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมเค้าไม่ทำสัญญานแรงๆซะเองล่ะครับ จะได้มากวนเรามั่งล่ะ ทำไมเราต้องลดด้วย
ถ้าไม่ทำเสาแรงๆ นี่ผมไม่รู้ แต่ในเมื่อเรารุกล้ำพื้นที่เค้า เราก็สมควรต้องเป็นฝ่ายลดครับ
อ่านแล้วให้อารมณ์เหมือน ห้องข้างๆ เปิดเพลงเสียงดัง ทำไมเราไม่อัดเสียงสุดขีดกลับไป
คุณเคยขับรถผ่านช่วงรอยต่อของอำเภอแล้วฟังวิทยุไหมล่ะครับ บางที่คลื่นใกล้ๆกันอัดความแรงแข่งกัน สุดท้ายคนฟังไม่รู้เรื่องเพราะมัน jam กันหมด
ในกรณีของโทรศัพท์ก็จะเป็นแบบนั้น ที่ต่างออกไปก็คือลูกค้าอาจจะโทรออก-รับสายไม่ได้เป็นพักๆเลย
เวลาผมไปลาว (เวียงจันทร์) สัญญาณ dtac ก็แรงดีครับ ในบางจุด
ไม่ต้องใช้ roaming เลย ครับ