Oona Räisänen แฮกเกอร์ชาวฟินแลนด์ได้ดูวิดีโอตำรวจใช้เฮลิคอปเตอร์ไล่ล่าผู้ร้ายในสหรัฐฯ แล้วสังเกตว่ามีสัญญาณรบกวนทางลำโพงซ้ายเป็นระยะ เธอจึงทดลองแยกข้อมูลออกมา พบว่าเป็นสัญญาณวิทยุที่เข้ารหัสแบบ BFSK (binary frenquency shift keying) ที่อัตรา 1200 บิตต่อวินาที
เมื่อแยกสัญญาณออกมาได้แล้วลองดูจังหวะการส่งพบว่าข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตยาว 47 ไบต์ส่งออกมาเป็นห้วงๆ โดยมีข้อมูลที่ต่างกันแต่ละชุดเพียงสามตำแหน่ง เธอจึงคาดว่าจะเป็นข้อมูลพิกัดและเวลา เมื่อถอดรหัสด้วยการเข้ารหัสแบบ 7-bit ASCII จึงพบว่าเป็นข้อมูลพิกัดจริงๆ และแสดงพิกัดของเฮลิคอปเตอร์ตลอดการไล่ล่าอย่างละเอียด
ปรากฎว่าวิดีโอที่นำมาโพสลง YouTube นั้นเป็นวิดีโอที่ส่งมาจากเครื่องส่งเฉพาะ ที่สามารถส่งพิกัดของวิดีโอได้ด้วย
คราวหน้าจะโพสข้อมูลอะไรลงอินเทอร์เน็ตอาจจะต้องดูหนัาดูหลังว่ามีข้อมูลอะไรติดไปบ้างครับ
ที่มา - Windytan.com
Comments
อันนี้ข้อเสียของ In-band signaling ที่รวม metadata กับ user data payload ไว้ด้วยกัน
ดูหนัาดูหลัง => ดูหน้าดูหลัง
โพส (pose?) => โพสต์ (post)
อันนี้เป็น G+ ของเธอ https://plus.google.com/u/0/116317362025285673698/posts
Stalker
คาราวะ สุดยอดแห่งการสังเกตุเลย
ตอนดูคลิป เสียงลำโพงฝั่งซ้ายมันก็ขัดๆ จริงๆ แหละครับ แต่คนธรรมดาๆ อย่างผมคงคิดว่าแค่เป็นเสียงรบกวน
สร้างระบบสื่อแบบใหม่ผ่าน VDO มันซะเลย อ่านค่าได้เฉพาะ software ที่รองรับ ส่วนคนอื่นเห็นเป็นวีดีโอปรกติื
ต่อไปคงมี extension บน chrome เอาไว้ถอดรหัสเสียงบนยูทูบขณะเล่นแบบเรียวไทม์
โหดสุดปี๋
โหดมาก
..: เรื่อยไป
เก่งมากเจ๊ ชาบูๆ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.