โลกของซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีเริ่มหมุนไปรับมือกับสิ่งที่เรียกว่า big data กันมากขึ้น ทำให้บทบาทของ data scientist’ หรือคนที่ทำหน้าที่เอาข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลเพื่อที่จะสร้างการคำนวณและวาดแนวโน้มได้อย่างแม่นยำ กลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้นเช่นกัน
ในระยะหลังเราพบเห็นบรรดานักประมวลผลข้อมูลเหล่านี้เริ่มจัดตั้งบริษัท แสวงหาเงินทุน และนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือที่เป็นไปในลักษณะโซลูชั่น หรือชุดของการบริการที่มุ่งจะตอบโจทย์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้อย่างเต็มที่
Palantir เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มที่ว่านี้ (ที่เราอาจจะยังไม่รู้จักกับมันนัก) นั่นก็เพราะความใหม่ในเชิงแง่ของแนวคิดอย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้าแล้วส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งคือเป็นบริษัทที่ทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับ Big Data ที่ตอบโจทย์ของหน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานความมั่นคงเป็นหลัก (ซึ่งอยู่ห่างไกลจากชีวิตเรามาก) แต่หากพิจารณาถึงการได้ทุนสนับสนุนครั้งล่าสุดที่ 9 พันล้านบาทแล้ว ก็นับว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
Palantir เกิดจากการรวมตัวกันของบรรดาอดีตพนักงาน Paypal จำนวนหนึ่ง (ซึ่งในนี้มี Peter Thiel ผู้ให้เงินลงทุนกับบรรดาบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Facebook) และบรรดานักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2005 (พ.ศ.2548)
ที่มาของชื่อ Palantir มาจากนวนิยาย Lord of The Rings มันเป็นลูกแก้ววิเศษที่พ่อมดขาวซารูมานเอาไว้ใช้สำหรับส่องหรือทำนายอนาคต (ถ้าเราเคยเห็นตามการ์ตูนในอดีตคงจะพอนึกภาพออก และความชอบส่วนตัวของ Thiel ในเรื่อง Lord of The Rings ก็มีผลไปถึงการตกแต่งภายในบริษัทหรือกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย) ส่วนซีอีโอของ Palantir คือ Alexander Karp ซึ่งสำเร็จการศึกษาด้านทฤษฎีสังคมวิทยาและปรัชญาจากเยอรมนี (คนคุมวิทยานิพนธ์คือนักปรัชญาชื่อดัง Jurgen Habermas และเขียนเป็นภาษาเยอรมัน)
แม้จะมี Peter Thiel หนึ่งในเจ้าพ่อของวงการสตาร์ทอัพของอเมริกาเป็นผู้ก่อตั้ง แต่บริษัทที่เข้ามามีบทบาทในการให้เงินทุนสนับสนุนเพิ่มเติมคือ In-Q-Tel ที่เป็นหน่วยงานลงทุนในบริษัทเกิดใหม่ของสำนักงานหน่วยข่าวกรองกลางของรัฐบาลสหรัฐ (CIA: Central Intelligence Agency) บทบาทของ In-Q-Tel ในส่วนนี้ทำให้ Palantir มีความแนบแน่นกับรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่แรก
โจทย์ของ Palantir ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ทำอย่างไรจะสามารถรักษาสมดุลของความเป็นส่วนตัวกับการป้องกันภัยหรือตรวจหาแนวโน้มของความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะแนวคิดทางความมั่นคงแบบเดิมๆ จะยอมสูญเสียความเป็นส่วนตัวเพื่อแลกกับการที่รัฐจะสอดแนมหรือได้รับข้อมูลมากขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ 9/11 เนื่องจาก Peter Thiel มีความเชื่อแบบเสรีนิยมสุดโต่ง (Libertarian เป็นแนวคิดที่ไปไกลกว่า Liberalism ถ้าให้อธิบายอย่างสั้นที่สุดคือ แทบจะให้รัฐอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร ภาคเอกชนจะจัดการตัวเอง) เขามองว่าปัญหาความขัดแย้งระหว่างความเป็นส่วนตัวกับการปกป้องประชาชนนั้นเป็นสิ่งที่ต้องหาทางออกได้ และทางออกคือการดึงเอาเทคโนโลยีไอทีมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลให้มากขึ้นนั่นเอง
กลุ่มลูกค้าของ Palantir ในระยะแรกเป็นหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานด้านความมั่นคงและสืบสวนสอบสวนทั้งหลาย ซึ่งต้องการระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง (แน่นอนว่าเพื่อให้ทันต่อการป้องกันเหตุร้าย) ลูกค้ารายใหญ่คงไม่ใช่อื่นไกลแต่เป็น CIA ซึ่งลงทุนอยู่ใน Palantir นั่นเอง (ส่วนเรื่องกำลังซื้อนั้นเราคงไม่จำเป็นต้องพูดถึง เพราะมีมหาศาลอย่างแน่นอน)
แต่ในระยะต่อมาฐานของลูกค้าได้ขยายไปจากกลุ่มตลาดของภาครัฐเข้าไปสู่หน่วยงานจำพวกสถาบันทางการเงินที่ต้องการระบบวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะเดียวกัน เพื่อตรวจหาการกระทำที่ทุจริตไปจนถึงความพยายามในการโจมตีสถาบันทางการเงินด้วยวิธีต่างๆ
ผลิตภัณฑ์ของ Palantir เป็นแพลตฟอร์มที่มาจากชุดของแอพพลิเคชัน/โปรแกรม สำหรับการจัดการข้อมูลและหาแนวโน้ม แบ่งได้เป็นสองตัวหลักๆ คือ Gotham และ Metropolis
ตัวแรกคือ Gotham เป็นชุดแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาสำหรับหน่วยงานภาครัฐและความมั่นคง ในชุดจะประกอบไปด้วย
ซอฟต์แวร์ทั้งหมดจะถูกกำกับโดยระบบติดตามเพื่อความมั่นใจว่าจะไม่มีการละเมิดความเป็นส่วนบุคคล และจะใช้งานได้ในสถานการณ์แบบออฟไลน์ได้ด้วยผ่าน Palantir Forward (แบบเดียวกับ Caching) หรือในมือถือผ่าน Palatir Mobile (ลองดูคลิปการทำงานด้านล่าง)
ตัวอย่างของแพลตฟอร์มแบบแรกคือเว็บไซต์อย่าง AnalyzeThe.US ที่อาศัยความได้เปรียบของข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะอยู่แล้วของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (เช่น data.gov) ในการวิเคราะห์แนวโน้มหรือความเชื่อมโยงของข้อมูลต่างๆ ตัวอย่างเช่นภาพด้านล่างที่ผมทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทไมโครซอฟท์ และเมื่อเจอว่าความสัมพันธ์มีกับรัฐบาลของสหรัฐ ผมเองสามารถเรียกข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องต่อกันได้ เช่น รัฐบาลสหรัฐสัมพันธ์กับหน่วยงานไหนบ้าง และถึงขั้นดูเอกสารได้ว่าแต่ละหน่วยงานมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร
หากภาพยังไม่ชัดเจน ลองดูวิดีโอการทำงานประกอบครับ
ตัวอย่างของการเอาไปใช้งานจริง เช่น การวิเคราะห์การโจมตีหรือความเคลื่อนไหวของฝั่งตรงข้าม อย่างเช่นกรณีของกลุ่มนิยมลัทธิเหมา (Maoism คือคนที่เชื่อหรือมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางของ เหมา เจ๋อตง อดีตผู้นำสูงสุดของจีน) ในอินเดีย ที่มีการใช้โดยประยุกต์เข้ากับแผนที่ เป็นต้น
Metropolis
อีกตัวหนึ่งคือ Metropolis (ชื่อเดิมคือ Palantir Finance) ที่แต่เดิมเน้นเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลในสายของการเงินและการธนาคารเป็นหลัก แต่ปัจจุบันถูกนำมาปรับใช้กับสายงานอื่นๆ เช่น การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การดึงข้อมูลพิจารณาและบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหรือความเป็นไปได้ ซึ่ง Metropolis นั้นเรามักจะไม่ค่อยได้เห็นกับแบบชัดเจนเท่า Gotham ที่มีเว็บไซต์ให้ลองเล่นและเข้าใจในแนวคิด (แต่ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน) ลองดูวีดีโอโครงสร้างของ Metropolis ได้ครับ
ในชุดของ Metropolis ประกอบไปด้วย
สิ่งที่ Palantir ขายนั้นไม่ใช่ตัวผลิตภัณฑ์ แต่เป็นโซลูชั่นที่เกิดจากการผสานผลิตภัณฑ์ทั้งสองให้ลูกค้าใช้งาน และยังออกแบบโซลูชั่นแบบพิเศษให้กับลูกค้าที่ต้องการโซลูชั่นเฉพาะทางด้วยเช่นกัน โดยโซลูชั่นของ Palantir นั้นครอบคลุมและใช้งานได้หลากหลายแบบและในหลากกลุ่มอุตสาหกรรม
ข้อมูลของบริษัท Palantir นั้นมีไม่ค่อยมากและไม่ชัดเจน คงเพราะสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ตั้งแต่เริ่มต้นบริษัท และกลุ่มลูกค้าเองก็เน้นความลับทางธุรกิจ
แต่จุดที่น่าสนใจคือ Palantir กลับได้รับเงินสนับสนุนจำนวนมากและบ่อยครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีในภาคธุรกิจจะมุ่งไปในทิศทางนี้มากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีภาพของการเป็นองค์กรซึ่งมีวัฒนธรรมแบบสตาร์ทอัพและเป็นโลกทางด้านไอที เช่น เวลาทำงานที่ยืดหยุ่นมาก มีห้องหรือกิจกรรมให้ผ่อนคลายในบริษัท และทุกปีจะมีกิจกรรมพักร้อนของบริษัทที่เรียกว่า ‘HobbitCon’
ใช่ว่าความลึกลับของ Palantir จะรอดพ้นจากเรื่องอื้อฉาวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริษัทมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ (ต้องไม่ลืมว่านอกจากเงินลงทุนบางส่วนจะมาจาก CIA แล้ว ที่ปรึกษาของบริษัทก็มีทั้งคนอย่างอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอย่าง Condoleezza Rice หรืออดีตผู้อำนวยการของ CIA อย่าง David Petraeus) เมื่อ Palantir และอีกสองบริษัท ถูกร้องขอจากบริษัท Hunton & Williams ให้ช่วยทำแผน ‘ตอบโต้’ กับกรณีของ WikiLeaks และโซลูชั่นของ Palantir ถูกวางแผนที่จะนำเอามาใช้ด้วย แต่ความแตกเสียก่อน และทำให้บริษัทต้องออกมาขอโทษต่อสาธารณะเป็นการใหญ่ เรื่องดังกล่าวจึงกลายเป็นหนึ่งใน ‘แผล’ ติดตัวของบริษัทมาจนทุกวันนี้
Comments
คล้ายๆ software ที่ตำรวจ ไทย เอาตรวจจับคนร้ายเลย
เคยมีด้วยเหรอครับ?
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
สตาร์ทอัพ ?
สตาร์ตอัพ ?
ทฤษฏี => ทฤษฎี
เป็นการยกใหญ่ => เป็นการใหญ่ / ยกใหญ่
แก้ไขตามที่แนะนำแล้วนะครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
นึกถึง หนัง jason bourne เลย ที่เจ้าหน้าที่ CIA ไล่ตามจับพระเอก
นี่ถ้าเป็นในหนัง เวลาคลิกต้องมีเสียงด้วยนะ...
Gotham นี่จะเป็นก้าวแรกของ The machine ใน person of interest มั้ย....
โดนการกำหนดถึงคุณสมบัติ
โดน?
เรียบร้อยแล้วครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
เยี่ยมครับ เรียบเรียงเองเลย
ขอบคุณค่ะ อ่านสนุกเลย
Palantir มาจากนวนิยาย Lord of The Rings
เป็นเครื่องมือสื่อสารทางไกลครับ ไม่ใช่ทำนายอนาคต