เหล่าสถาปนิกใน Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เริ่มงานก่อสร้างบ้านจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ขนาดเท่าจริง โดยอาศัยเครื่องพิมพ์ 3 มิติขนาดใหญ่
โครงการนี้เป็นของ Dus ซึ่งเป็นบริษัทสถาปนิก โดยมีงานประกาศเริ่มโครงการเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะใช้เวลาราว 3 ปีจึงจะแล้วเสร็จ แนวคิดคือการสร้างบ้านริมคลอง Amsterdam ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญของโครงการนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อพิสูจน์แนวคิดความเป็นไปได้ของงานออกแบบ และส่วนหนึ่งก็เพื่อจัดแสดงในเชิงงานศิลปะ โดย Dus เองได้เปิดพื้นที่ก่อสร้างให้นักท่องเที่ยวเข้าชมในระหว่างการทำงานได้ด้วย
ภายในบ้านที่ถูกสร้างขึ้นนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 13 ห้อง โดยงานก่อสร้างจะอาศัยชิ้นส่วนอิฐพลาสติกที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ชื่อ KamerMaker ทั้งนี้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นถูกออกแบบมาให้ประกอบและเข้าล็อกระหว่างกัน ซึ่งจนถึงขณะนี้การสร้างชิ้นส่วนบางชิ้นเสร็จไปบ้างแล้ว ดังเช่นชิ้นส่วนโครงสร้างมุมห้องสูง 3 เมตร
งานผิวผนังด้านในและด้านนอกของบ้านจะถูกออกแบบและขึ้นรูปในขั้นตอนการพิมพ์อิฐพลาสติกในคราวเดียวกันเลย ในขณะที่บริเวณใจกลางของอิฐพลาสติกจะมีการเว้นช่องว่างไว้เพื่อติดตั้งเดินท่อและร้อยสายไฟ และมีช่องว่างสำหรับเทคอนกรีตเพื่อเสริมความแข็งแรงในขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วนก่อสร้างจริง
นักออกแบบของ Dus กล่าวว่างานก่อสร้างโดยอาศัยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แทนการใช้วัสดุทั่วไปนั้นมีข้อดีอยู่ในตัว โดยการขึ้นรูปด้วยการพิมพ์นั้นจะช่วยลดการสูญเสียเนื้อวัสดุและลดค่าขนส่ง ทั้งนี้วัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ก็สามารถใช้พลาสติกที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วได้ด้วย หนำซ้ำการออกแบบวัสดุและห้องต่างๆ ก็สามารถทำได้โดยง่ายแม้จะไม่ใช่สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญก็ตาม ที่สำคัญคือห้องต่างๆ ของบ้านที่สร้างในลักษณะนี้ยังสามารถถอดประกอบได้ง่ายอีกด้วย
ที่มา - The Verge
Comments
ปัญหามันอยู่ที่วัสดุล่ะนะ
บ้านพลาสติก... จะได้รับการยอมรับกันแค่ไหน ก็ต้องดูกันต่อไป
+1 ประเด็นอยู่ที่บ้านพลาสติกมากกว่าครับ - -"
+1 เมืองหนาวต่างประเทศคงยอมรับใด้ แต่เมืองร้อนแบบไทย ... ไม่กี่ปีก็คงละลาย
... แต่ ถ้าเอาแบบนี้หละ
https://www.youtube.com/watch?v=ehnzfGP6sq4
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
กลัวไฟไหม้
อ่านวรรคแรกแล้วเข้าใจว่าใช้เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าบ้าน แต่อ่านต่อแล้วเข้าใจว่าเหมือนสร้างบ้านด้วยตัวต่อเลโก้นั่นเอง
พูดถึงเครื่องพิมพ์สามมิติ ต้องนึกไปถึงกระทู้ในตำนานของพันทิป
เว้นช่องวาง => เว้นช่องว่าง
ถ้าทำเป็นชิ้นๆ มาประกอบผมว่าไม่ต้องเครื่องพิมพ์ 3 มิติก็ได้
ก็โมเดลหลอมพาสติกธรรมดานี่แหละ ทำเป็นข้อต่อ ตัวล็อคมาตรฐาน
แล้วก็ใครจะประกอบเป็นแนวไหนก็ดัดแปลงเอา
ปัญหาคือการทำพลาสแบบล่อมันจบในงานอุตสาหกรรมอะครับ ถ้าคนทั่วไปทำคงเป็นเรื่องยากกว่าการสร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่แค่มีเครื่องพิมพ์(เงินซื้อมันด้วย)พลาสติกวัสดุและแบบก็สร้างได้ครับ(ส่วนมาประกอบได้)
อยากรู้ต้นทุนของโครงการนี้จัง
อยากเห็นของจริงจังเลย ต้องวางแผนเดินทางอีก 3 ปีข้างหน้าแล้วซินะ ^^!
นาทีที่ 2.37 โปรแกรมเท่มากเลยอะครับ เลื่อนให้ดูแต่ละส่วนเสร็จ มีจับมารวมกันด้วย ตอนท้ายคลิปนี่เค้าเอาเครื่องบินบังคับ 4 ใบพัด (จากเกม call of duty) ถ่ายวีดีโอด้วย เพลินเลยทีเดียว (มีแอบแวะส่องหน้าต่างบ้านแถวนั้นบ้างรึเปล่านะ)
อีก 3 ปีเสร็จสินะครับ (รอดูอิอิ) บ้านแบบนี้ไม่มีการตอกเสาเข็มใช่ไหมอะครับ ถ้าเกิดมีพายุลมฝนแรงๆ บ้านจะปลิวไหมครับ คงจะตื่นเต้นไม่น้อยที่เห็นบ้านปลิวกลิ้งเป็นลูกขนุนออกทางทีวี (เฮ้ลูก ดูนั่น บ้านเราออกทีวี (ขลุกๆๆๆ...) =_=!!...) เห็นบอกถอดประกอบได้ถ้าเทคอนกรีตก็ยังถอดประกอบได้ใช่ปะครับ ผมนึกภาพไม่ออกว่าเค้าเทใส่ตรงไหนอะ
ผมว่าอารมณ์มันเหมือนบ้าน precast อ่ะครับ อันนั้นก็ไม่มีเสาเข็มคือทำฐานใหญ่ๆไม่ลึกเป็นฐานแผ่
ส่วนกรณีถ้าพายุเข้า ผมว่าน้ำหนักมันไม่เบา ตามที่เขาบอกมีช่องเทคอนกรีตคือเหมือนตัวแบบ 3 มิติ
บางส่วนทำตัวเองเป็นไม้แบบให้เทคอนกรีต แต่ไม่ต้องถอดไม้แบบ
การถอดประกอบผมว่ามันถอดได้บางส่วนไม่ใช่ว่าพอเบื่อ ก็แกะได้หมด คือเหมือนรื้อผนังบางส่วนกลับมา
ใช้ใหม่ได้ในส่วนที่ไม่ได้เป็นโครงสร้าง เพราะส่วนที่เป็นโครงสร้างถูกเทคอนกรีตไปแล้ว
มันจะติดกับตัวกรอบไม้แบบ 3 มิติ ซึ่งน้ำหนักประมาณสองตันครึ่งต่อคิว
ส่วนที่ผมว่าน่าสนใจคือเรื่องวัสดุที่เอามาทำ จะสามารถเอามาปรับใช้กับบ้านเราได้ขนาดไหน
จะมีประเด็นกับกฎหมายอาคารในบ้านเราขนาดไหน ผมมองว่าเอามาทำบ้านเราได้
แต่อาจจะเป็นในรูปแบบอาคารชั่วคราว ไม่สามารถขอไฟ-น้ำจริงได้ เหมือนทำพวก sales office
รับออกแบบบ้าน ออกแบบบ้าน 3D โดยสถาปนิกมืออาชีพ