หลังจากที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ผ่านกฎหมาย Net Neutrality เมื่อสองปีที่แล้วเป็นประเทศแรกของยุโรป ในที่สุด รัฐสภายุโรปก็ผ่านกฏหมายในลักษณะเดียวกัน โดยกฎหมายของรัฐสภายุโรปมีความเข้มแข็งกว่าของประเทศเนเธอแลนด์เสียอีก แต่ว่ากฎหมายนี้ก็ยังขาดข้อกำหนดการบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าน่าจะผ่านได้ในปลายปีนี้
Net Neutrality คือหลักการที่กำหนดให้การเข้าถึงบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตไม่ควรถูกจำกัดโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เช่น ผู้ให้บริการไม่ควรมีสิทธิ์ที่จะจำกัดการใช้งานยูทูบหรือบิตทอเรนท์เพราะบริการเหล่านั้นใช้ทรัพยากรเครือข่ายมากกว่าบริการอื่น ๆ ซึ่งกลุ่มผู้สนับสนุนการจำกัดสิทธิ์การใช้งานเช่นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ ก็จะให้เหตุผลว่าบริการเหล่านั้นใช้ทรัพยากรเครือข่ายมากเกินไป ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าใช้บริการอื่น ๆ ได้สะดวก ในขณะที่ผู้สนับสนุน Net Neutrality ก็ให้เหตุผลส่วนหนึ่งว่ามันควรเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่จะจัดสรรทรัพยากรเครือข่ายให้พอเพียงกับการใช้งาน ไม่ใช่โยนภาระหรือข้อจำกัดมายังผู้ใช้ ซึ่งก็ยังมีการถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้อย่างกว้างขวาง โดยในสหรัฐอเมริกาที่มักจะโน้มเอียงไปทางผู้ให้บริการก็ได้ออกกฎหมาย Limited Net Neutrality (ข่าวเก่า) เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งอนุญาตให้ผู้ให้บริการสามารถจำกัดสิทธิ หรือเรียกเก็บค่าบริการมากกว่าปกติสำหรับผู้ใช้ที่ใช้บริการเครือข่ายมากกว่าผู้ใช้คนอื่น ๆ
สำหรับกฎหมาย Net Neutrality ที่รัฐสภายุโรปเพิ่งผ่านนี้ ดีกว่ากฏหมายของเนเธอแลนด์ที่เป็นต้นฉบับในแง่ที่ว่า ได้นำเอาเงื่อนไขพิเศษที่อาจจะเป็นช่องโหว่ให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ตนำไปใช้ในการจำกัดสิทธิ์ของผู้ใช้งานออกไป แต่ตราบใดที่ข้อกำหนดการบังคับใช้ยังไม่ผ่านออกมาเป็นกฎหมาย ก็ยังถือว่ากฏหมายนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างแท้จริง
ที่มา: Gigaom
Comments
กฏหมาย => กฎหมาย
เข็มแข็ง => เข้มแข็ง
แก้ละครับ
กฏหมาย => กฎหมาย
เนเธอแลนด์ => เนเธอร์แลนด์
ISP พวกนี้ตลกมาก สัญญาบอกว่าใช้เน็ตได้ด้วยความเร็วหนึ่งตลอดช่วงเวลาที่กำหนดไว้ คนจ่ายเงินก็จ่ายด้วยเชื่อตามสัญญาว่า เน็ต 10 m หมายถึงเล่นได้ 10 m ตลอด ถ้าผู้ใช้จะใช้งานเต็ม 10 m ทุกวัน 24 ชั่วโมงมันก็เป็นไปตามสัญญา ทำไมต้องมาเก็บเงินเพิ่มอีก ไม่ได้ใช้มากขึ้นกว่าเดิมเสียหน่อย หรือว่าก่อนหน้านี้ราคาที่กำหนดมาเป็นราคาบวกค่ากินเปล่าจากคนที่ไม่ได้ใช้งานเต็มเวลา แบบนั้นสามารถเรียกว่าหลอกลวงผู้บริโภคได้หรือไม่
ถ้า ISP จะอ้างว่าการให้บริการที่ต้องใช้ bandwidth สูงอย่างวิดีโอสตรีมมิ่งส่งผลกระทบกับผู้ใช้งานบริการด้านอื่นนั่นก็หมายความว่า ISP นั้นไม่มีความสามารถเพียงพอ ตัวเองไม่มีขีดความสามารถในการให้บริการตามที่สัญญาแล้วจะมาผลักภาระไปให้ผู้ใช้ สงสัยว่ารายได้หดเลยต้องออกมาเต้น
+1
บางครั้งเหมือนผมจะคิดแทนผู้ให้บริการมากเกินไปจนลืมนึกว่าเค้าโฆษณาว่าอะไรเพื่อธุรกิจเค้า
ถ้ามีเงื่อนไขก็ต้องบอกให้ชัดเจนไม่เช่นนั้นเอาเปรียบผู้บริโภคชัดๆ
ถ้าอ่านในสัญญา เขาจะบอกว่า"สูงสุด" 10M ส่วนจะใช้งานจริงได้เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับสภาพเครือข่ายในขณะนั้น อย่างของ 3BB ลองดูตรงเงื่อนไขด้านล่างดูครับ http://www.3bb.co.th/signup/register2.php?pkg=
ถ้าผมซื้อเนต 12 Mbps ผมก็ควรจะได้เนต 12 Mbps ไม่ว่าผมจะใช้ 12 Mbps เล่นทวิตเตอร์ โหลดบิต หรือ Skype คุยกับสาว จริงไหมครับ ไม่ควรมีกฏว่าใช้โปรแกรมไหนจะโดนลดความเร็วเหลือน้อยกว่าที่ผมซื้อแพคเกตไว้
ในโลกความเป็นจริงทุกอย่างมีต้นทุน และต้นทุนของพวกนี้ไม่ใช่ถูกๆ ใครที่อยู่ในวงการ IDC จะพอรู้ตัวเลขอยู่ ปัญหาของบ้านเราคือ content ไม่ค่อยอยู่ข้างในประเทศ ทำให้ทุกอย่างต้องวิ่งไปนอก ซึ่งต้นทุนสูงกว่าการวิ่งในกระเทศมาก
ในมุม ISP น่าจะต้องหาทางออกเบื้องต้นด้วยการทำ Cache (ที่ไม่ห่วยแบบผู้ให้บริการบางเจ้าบ้านเรา) แต่สุดท้ายบริการบางอย่างถ้าสุดท้ายแล้วไม่สามารถ Cache ได้ และกฏหมายนี้บังคับใช้กันจริงจัง ค่าเน็ทน่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 100 เท่าได้ หรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นแบบจ่ายจริงตาม MB ที่ใช้งาน
ถึงตอนนั้นทุกคนคงรู้สึกเอง
ค่า link inter แพงจริงครับ confirm ใครอยากรู้ลองไปเชคราคากับพวก link internet lease-line ที่การันตี bandwidth ออก inter ดูเอานะครับ 555+ (น้ำตาจะไหล)
ปล. แต่ยังไง ISP จ่ายราคาเดิมก็ได้ bandwidth เพิ่มขึ้นทุกปีนะ(มั้ง ก็มีแนวโน้มว่าราคา/bandwidth ลดลงทุกๆ ปีแหละ)
5 ปีลดทีนึงครับ น้ำตาจะไหล
อิ Dosmetic + Inter ของ Leased Line บางเจ้าก็ไม่ไหวนะครับ ล่มเป็นหย่อมๆไม่แพ้ ADSL เลย
กฎหมายนี้ก็ยังไม่ขาดข้อกำหนดการบังคับใช้ -> กฎหมายนี้ก็ยังขาดข้อกำหนดการบังคับใช้
แก้ละครับ :3
แต่ว่ากฎหมายนี้ก็ยังไม่ขาดข้อกำหนดการบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าน่าจะผ่านได้ในปลายปีนี้
ผมว่าท่อนนี้อ่านแล้วงงมากครับ