Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

แม้ในปัจจุบันเราจะมีช่องทางในการเก็บข้อมูลมากมาย แต่การใช้เทคโนโลยีเก่า อาทิเช่นเทปคาสเซตก็ยังมีความจำเป็นในการเก็บข้อมูลที่มีจำนวนมาก หรือข้อมูลที่ไม่มีการเคลื่อนไหวแล้ว และก็ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังเช่นในข่าวนี้

Sony ใช้การผลิตชั้นฟิล์มสำหรับเก็บข้อมูลจากการใช้เทคโนโลยีพ่นชั้นรองรับสะสมที่หนาน้อยกว่า 5 µm ในระบบสุญญากาศบนแผ่นฟิล์มโพลิเมอร์ เพื่อสร้าง soft magnetic underlayer และ underlayer ที่มีความละเอียด และสร้างชั้นฟิล์มบางจากการบังคับให้ Argon ชนกับแผ่นชั้นทั้งสองโดยอาศัยการคายประจุไฟฟ้าสถิต ทำให้การจัดเรียง crystalline เป็นไปอย่างเป็นระเบียบ จนสามารถสร้างชั้นแม่เหล็กสำหรับเก็บข้อมูลที่มีขนาดอนุภาคแม่เหล็กละเอียดเฉลี่ย 7.7 nm

จากการทดสอบและวัดผลโดย IBM โดยเทียบจากการเก็บข้อมูลในรูปแบบ LTO-6 high-end LTO Ultrium พบว่าสามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด 185 TB หรือ 148 Gb/sq.inch มากกว่า conventional coated tape ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลโดยทั่วไป ซึ่งเก็บข้อมูลได้ประมาณ 2.2 TB ต่อตลับ หรือ 2 Gb/sq.inch

อย่างไรก็ตาม Sony ประกาศว่าจะเน้นการทำตลาดไปที่ผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลมากและเป็นข้อมูลที่ไม่มีการเคลื่อนไหวแล้วมากกว่ากลุ่มผู้ใช้รายย่อยหรือในระดับครัวเรือน (แต่อย่างน้อยผมคนหนึ่งล่ะที่อาจจะซื้อมาเก็บข้อมูลสักอย่างไว้สัก 1 ม้วน :P )

ทั้งนี้ Sony จะเปิดตัวเทปดังกล่าวร่วมกับ IBM ซึ่งมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลเทปดังกล่าวอย่างเป็นทางการในงานการประชุมเกี่ยวกับแม่เหล็กระหว่างประเทศ หรือ INTERMAG ที่กรุง Dresden ประเทศเยอรมนีในวันที่ 4 พฤษภาคมนี้

ที่มา: Sony via Engadget (รูปประกอบท้ายข่าว)

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 2 May 2014 - 01:34 #699985
itpcc's picture

ใช้แท็ก sup ให้เป็นตัวยกไม่ได้หรือครับ ;A;


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: sdh on 2 May 2014 - 09:44 #700039 Reply to:699985

จนสามารถสร้างชั้นแม่เหล็กสำหรับเก็บข้อมูลได้ที่ความหนาเฉลี่ย 7.7 nm

ไม่ใช่ความหนาของชั้นกระมังครับ แต่เป็นขนาดอนุภาคแม่เหล็ก

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 2 May 2014 - 10:14 #700052 Reply to:700039
itpcc's picture

This enabled Sony to create a nano-grained magnetic layer composed of fine magnetic particles with an average size of 7.7 nm.

อ่า~ ใช่จริงๆ ด้วย
ขอบคุณมากครับ


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 2 May 2014 - 07:02 #700013
hisoft's picture

ความหนาแน่นสูงนี่ความเร็วก็ต้องเพิ่มขึ้นด้วยใช่มั้ยครับ หรือกลายเป็นว่าต้องขยับเทปผ่านหัวอ่าน/เขียนช้าลงไปด้วย

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 2 May 2014 - 09:33 #700036 Reply to:700013
itpcc's picture

ต้นทางไม่ได้ระบุเรื่องนี้ไว้ครับ แต่ในความเห็นผม คงจะพัฒนาหัวอ่านให้อ่านได้เร็วอย่างน้อยเท่าของเดิมแหละครับ


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: freeriod on 2 May 2014 - 10:24 #700064 Reply to:700036
freeriod's picture

อ่านช้ากว่าพวก hdd กี่เท่าครับ

By: Dino
iPhoneSymbian
on 3 May 2014 - 00:20 #700293 Reply to:700064
Dino's picture

พวก Tape มันเหมาะกับการอ่านเขียนแบบต่อเนื่องครับ
ตาม Spec ณ ปัจจุบัน
TS1140 อ่านแบบ sequence read ได้ 250 MB/sec (เก็บ Raw ม้วนละ 4TB, Compressed 8-12TB) อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ประมาณ 5 ชั่วโมงต่อม้วน
LTO-6 อ่านแบบ sequence read ได้ 160 MB/sec (เก็บ Raw ม้วนละ 2.5TB, Compressed 5-6.25TB)

ถ้า sequence read เร็วกว่า HDD ครับ

พวกนี้ใส่ Tape Drive หลายๆ ตัว (4-20 Drive ขึ้นไป) แล้วเขียนพร้อมกันนี่ Backup ขี้น Tape ได้ไวแบบว่า SAN 8Gb นี่เต็ม Bandwidth เอาง่ายๆ (เผลอๆ บางกรณี SAN Storage จ่ายข้อมูลไม่ทันอีกตะหาก)

แต่ถ้าเป็น random read เมื่อไหร HDD เร็วแบบทิ้งห่าง แบบไม่ต้องเทียบความเร็วเลยครับ

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 2 May 2014 - 11:47 #700100
itpcc's picture

ยังรอพี่ๆ มาตรวจข่าวอยู่นะครับ ;___;


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 2 May 2014 - 11:54 #700103 Reply to:700100
nuntawat's picture

มาแล้วครับ คุณตรวจเองเลยก็ได้ครับ

  • ขึ้นย่อหน้าใหม่ให้เคาะ ENTER ครับ ไม่นั่นแต่ละย่อหน้าจะพิมพ์ติดกันไปหมด
  • ใส่ break เร็วไป ลองกะตามความเหมาะสม(ผมว่าข่าวนี้ใส่ break หลังย่อหน้าสองได้)
  • Soft magnetic underlayer สะกดด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นเป็นคำเฉพาะ
  • server เขียนเป็นภาษาไทยได้
  • แท็ก Storage แทน Data storage และไม่ต้องแท็ก Tape
By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 2 May 2014 - 12:37 #700117 Reply to:700103
itpcc's picture

ขอบคุณมากครับ แก้ตามคำแนะนำแล้วครับ


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 2 May 2014 - 12:20 #700111 Reply to:700100
panurat2000's picture

โดยอาศัยการคายประจุไฟฟ้าสถิตย์

ไฟฟ้าสถิตย์ => ไฟฟ้าสถิต

By: cartier
iPhoneAndroid
on 2 May 2014 - 13:09 #700123
cartier's picture

ความคงทนในการเก็บลงเทปคาสเซตเทียบกับ HDD อันไหนจะอยู่นานกว่ากันครับ ถามผู้รู้หน่อย
ผมเข้าใจว่าขนาดความจุต่อพื้นที่มากกว่าก็จริงแต่เรื่องความคงทนและอายุของข้อมูลนี่นานจริงไหน

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 2 May 2014 - 17:05 #700194 Reply to:700123
mr_tawan's picture

ที่ทำงานผมถูกกฎหมาย (ต่างประเทศมั้ง?) บังคับเอาไว้ว่าต้องเก็บ backup ข้อมูลเอาไว้นาน 10ปี เข้าใจว่าเทปแบ็คอัพน่าจะอยู่ได้นานกว่านั้นนะครับ


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: Dino
iPhoneSymbian
on 3 May 2014 - 00:19 #700295 Reply to:700123
Dino's picture

Tape Cartridge นี่เก็บในสภาพแวดล้อมเหมาะสม (อุณหภูมิ และความชื้นได้ระดับ) อายุ Guarantee ประมาณ 50 ปีขึ้นไป (พวกนี้ส่วนใหญ่เป็น Archive Tape)

แต่ถ้าเป็น Tape ที่ใช้อยู่ใน Backup cycle (Daily/Weekly/Monthly Tape) อายุราวๆ 5 ปีก็ต้องโยนทิ้งเปลี่ยนใหม่แล้วครับ ส่วนใหญ่เนื้อ Tape จะยับก่อน หรือไม่ก็ทำตก เท่ากับเสียทิ้งทั้งม้วนครับ (โดยเฉพาะถ้าใช้ Standalone Tape Drive อายุบางทีสั้นกว่านั้นอีก)

By: xbird007
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 2 May 2014 - 19:11 #700225

ถ้าความเร็วเท่า LTO-6 ต้องใช้เวลาอ่าน 14 วัน LOL