เชื่อว่าหลายคนที่เรียนทางสายวิทยาศาสตร์มาคงรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อ Spectrometer ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดคุณสมบัติของแสงที่มาตกกระทบ โดยอุปกรณ์นี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบองค์ประกอบของสารที่นำมาทดสอบ หนึ่งในเทคนิคที่นำมาใช้คือ Near IR spectroscopy ซึ่งใช้วิธีการฉายแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะ(ช่วงอินฟราเรด)ไปที่สารและตรวจวัดแสงที่สะท้อนกลับมา โดยอาศัยหลักการว่าสารแต่ละชนิดจะดูดกลืนและสะท้อนแสงต่างกัน เครื่องยิ่งประสิทธิภาพสูง ยิ่งสามารถวัดสัดส่วนขององค์ประกอบของสารได้แม่นยำ
อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีราคาแพง มีขนาดใหญ่ และต้องใช้ความรู้เฉพาะทางและฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการอ่านค่าและตีความผลการทดสอบ โครงการ SCiO จึงตั้งเป้าหมายจะนำ Near IR spectrometer มาย่อส่วนลง โดยทีมงานได้พัฒนาตัวรับแสงให้มีขนาดเล็กลง ในขณะที่ยังมีความแม่นยำสูงพอสำหรับผู้ใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วไปได้
ตัวอุปกรณ์ที่ออกแบบไว้ขณะนี้มีขนาดเล็กประมาณแบตเตอรี่สำรองอันเล็กๆ เท่านั้น เชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือระบบ iOS และ Android ผ่าน Bluetooth 4.0 LE ความสามารถของมันมีตั้งแต่วัดระดับของโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันในอาหารรวมทั้งคำนวณปริมาณแคลอรี่ ตรวจวัดองค์ประกอบของเม็ดยา ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม ปริมาณน้ำในต้นไม้ ฯลฯ โดยวิธีการทำงานเพียงแค่จับคู่อุปกรณ์กับโทรศัพท์มือถือ เปิดแอพที่ใช้คู่กับอุปกรณ์ เลือกหมวดที่ต้องการ จากนั้นนำอุปกรณ์ไป "ส่อง" ของที่เราต้องการประมาณ 2 วินาที แล้วรอผลแสดงบนจอโทรศัพท์ (ต้องต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเช็กกับฐานข้อมูลด้วย)
ขณะนี้ SCiO เปิดระดมทุนผ่าน Kickstarter โดยชุดถูกสุดตอนนี้ราคา 199 USD + ค่าขนส่งนอก USA อีก 15 USD ตอนนี้เหลือเวลาอีก 14 วัน ใครสนใจเข้าไปช่วยลงทุนได้ครับ
ที่มา - Kickstarter
ภาพและวิดีโอประกอบครับ
Comments
จณะนี้ => ขณะนี้
ความเข้นข้น => ความเข้มข้น
Internet => อินเทอร์เน็ต
เช็ค => เช็ก
กะว่าคราวนี้จะไม่พลาดแล้วน้า.....
ขอแหล่งอ้างอิงคำว่าเช็กหน่อยได้มั้ยครับ ขอบคุณครับ
เช็ค หรือ เช็ก คำไหนใช้อย่างไร
ขอบคุณครับ
คำว่า cheque กับคำว่า check มันเป็นคำเดียวกันหนะสิครับ
คำว่า cheque เป็นภาษาฝรั่งเศส ดั้งเดิมของคำว่า เช็คธนาคาร พอแปลงมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะ American-English ก็ใช้คำว่า check แทน เช็คธนาคาร
A cheque (or check in American English)
ref: http://en.wikipedia.org/wiki/Cheque
เพิ่มเติม : บัญชีเดินสะพัด ที่เขียนเช็คได้ ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเรียก checking account
ภาษาอังกฤษ เรียก current account
วัตถุประสงค์คือการ adopt และ adapt cheque มาเป็น check แล้ว
คนไทย adopt มาใช้อีกที ไม่น่าจะ เปลี่ยนตัวสะกดนะครับ
ผมจึงไม่คิดว่าแหล่งอ้างอิงข้างต้นใช้อ้างอิงได้ครับ เพราะเป็นการคุยกันของคนใน webboard เท่านั้นเอง ไม่ใช่คำประกาศใดๆ
อ้างอิงเพิ่มเติมจากบทความของ รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
เธอใช้คำว่า "อีเช็ค (e-check)" ในควมหมาย cheque (เอกสารแลกเงิน)
ref: http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1863
ทั้งหลายทั้งปวง ราชบัณฑิตมีประกาศกฏการถ่ายเสียงจาก อักษรไทย เป็นภาษาโรมัน หรือว่าระบบ romanization แต่ไม่เคยมีประกาศหลักการถ่ายจาก อักษรโรมันเป็นไทย ครับ
ref: http://www.royin.go.th/upload/246/FileUpload/416_2157.pdf
Shipping แก้ไขเรียบร้อย ส่วน USD ผมไม่เห็นความจำเป็นต้องแก้ไขครับ
ใช่ Mass spectro หรอครับ
"โดยใช้วิธีการฉายแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะไปที่สารและตรวจวัดแสงที่สะท้อนกลับมา โดยอาศัยหลักการว่าสารแต่ละชนิดจะดูดกลืนและสะท้อนแสงต่างกัน เครื่องยิ่งประสิทธิภาพสูง ยิ่งสามารถวัดสัดส่วนขององค์ประกอบของสารได้แม่นยำ"
น่าจะหมายถึงพวก Spectroscopy มากกว่านะครับ
ตามรายละเอียดมันไม่ใช่ mass spec ครับ เป็นแค่ Near-IR-spectroscopy ซึ่งหลักการแตกกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เครื่องนี้มันจะวัดวัดการการดูดกลืนและสะท้อนกลับของแสงในช่วง near infrared แล้ว เทียบกับ library ที่เก็บเอาไว้ แปลงออกมาเป็นข้อมูลครับ
ส่วน mass spec นั่นใช้วิธีการยิงโปรตรอน/อิเล็คตรอนใส่โมเลกุล ทำให้โมเลกุลมีประจุ สามารถตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กที่สร้างขึ้นมาโดยการตอบสนองจะขึ้นกับมวลของโมเลกุลนั้นๆครับ
หน้าแตกกระจัดกระจาย....
ขอบคุณมากครับ ขอเวลาแก้ไขสักครู่
+1000