สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ส่งหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้พิจารณาทบทวนตัว "พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่)" ใน 3 ประเด็น ดังนี้
- เดิมทีสำนักงาน กสทช. มีหน้าที่ทำงบประมาณประจำปีเสนอบอร์ด กสทช. อนุมัติ ทำให้ขาดการควบคุมและการตรวจสอบเช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ ซึ่ง สตง. เสนอให้ปรับกระบวนการต้องผ่านขั้นตอนเหมือนหน่วยงานรัฐทั่วไป
- กฎหมายระบุว่า รายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ด้านวิทยุ-โทรทัศน์ให้ส่งเข้ากองทุน กสทช. แต่รายได้จากการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคม กลับต้องเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่ง สตง. เสนอให้ปรับเปลี่ยนเป็นรายได้จากการประมูลทุกประเภทต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
- ประเด็นเรื่องคุณสมบัติและกระบวนการคัดเลือก บอร์ด กสทช., เลขา กสทช. และซูเปอร์บอร์ด กสทช. (คณะกรรมการติดตามประเมินผล กสทช.) มีปัญหาหลายจุด แยกย่อยได้ดังนี้
- บอร์ด กสทช. ใช้การเสนอชื่อจากสมาคม สถาบัน องค์กร ตามที่กฎหมายระบุ อาจถูกแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ได้
- เลขาธิการ กสทช. กฎหมายระบุให้ประธาน กสทช. มีอำนาจทั้งแต่งตั้งและถอดถอนเลขาธิการ ทำให้ไม่เกิดการคานอำนาจกันระหว่างบอร์ดกับเลขาธิการ ดังนั้นควรปรับกระบวนการสรรหาเลขาธิการให้เป็นไปตามกฎหมาย (เช่น ผ่านสภา)
- ซูเปอร์บอร์ด กสทช. หน้าที่อาจซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการตรวจสอบภายใน (audit committee) และที่ผ่านมา ซูเปอร์บอร์ดใช้เงินในปี 2556 ไป 52 ล้านบาท, ปี 2557 ของบเพิ่มเป็น 170 ล้านบาท แถมยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องอายุขั้นต่ำของบอร์ดและเลขา กสทช. ที่กฎหมายระบุว่าต้องไม่น้อยกว่า 35 ปี ในขณะที่องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญมักกำหนดไว้ที่ไม่น้อยกว่า 45 ปี จึงอาจไม่เหมาะสมในเรื่องวัยวุฒิและวุฒิภาวะได้
ที่มา - สำนักข่าวอิศรา (กรุณาอ่านหนังสือฉบับเต็มของ สตง. ตามลิงก์ก่อนคอมเมนต์)
Comments
ซูเปอร์บอร์ด กสทช. ท่าทางจะแรงมาก
ข้อ 2. นิดนึงครับ "ความถี่"
ข้อ 3. 2.เลขาธิการ "อำนาจ" ครับ
ประเด็นอายุนี่ผมไม่เห็นด้วยนะ
เอาวัตถุโบราณมาคุมเรื่องไอที ก็เจ๊งสิ (ปัจจุบันก็ไม่ใช่ว่าดีหรอกนะ)
เรื่องเสนองบประมาณนี่จะทำให้ยืดยาดรึเปล่า ไอ้หน่วยงานรัฐปัจจุบันเนี่ยมันตรวจสอบแล้วก็ไม่เห็นจะดูโปร่งใสขึ้นเลย (แค่อ้างว่าตรวจแล้วนะ คนตรวจเชื่อถือได้?นะ ผ่านฉลุย อยู่หน่วยงานรัฐนี่เหมือนสังคมตอแหล) ถ้าคิดว่าตรวจแล้วดีก็ตรวจไป
"เอาวัตถุโบราณมาคุมเรื่องไอที ก็เจ๊งสิ"
Steve Jobs, Tim Cook, และ CEO อีกหลายคนก็สูงอายุนะครับ
ผมเองก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเรื่องจำกัดอายุครับ เพราะคิดว่าวุฒิภาวะและวิสัยทัศน์ในการบริหารมันไม่ได้แปรผันตามอายุ...ต่อให้อายุน้อย เก่งเรื่องไอที แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะบริหารไม่เจ๊ง
คนไทยไม่ใด้ยอมรับคนที่มีความคิดแปลกใหม่แบบนั้นให้เป็นหัวหน้านิครับ
ส่วนใหญ่เน็น แบ่งกันกิน เส้นสายดี เลียเก่ง
จะแทรกแซง/ยุบ กสทช. แสดงออกมานานแล้ว
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
นั่นฝรั่งนะครับ เขาอยู่กับคอมมานานแล้ว โนวฮาวด้านนี้มีมากกว่าไทยเยอะ ผู้ใหญ่ไทยไม่รู้เรื่องไอทีเยอะมากครับโดยเฉพาะแวดวงข้าราชการนี่ยิ่งน้อยไปใหญ่เลย (ผมอยู่ในแวดวงนี้นิดหน่อย)
แล้วไอ้ที่คุณยกมานี่มันระดับ ส่วนน้อยถึงมากที่สุดนะครับ สตีฟจ๊อบ ตอนก่อตั้งแอปเปิ้ลก็อายุไม่ถึง 45 ถ้าคุณบอก 45 ถึงเป็นคนมีวุฒิภาวะแสดงว่าคุณบอกว่าตอนนั้นสตีฟจ๊อบไม่มีความสามารถเหรอครับ
อีกอย่าง การแก้กฏนี้ยิ่งลดโอกาสของคนมีความสามารถเข้าไปอีก มันไม่ได้ลดเพดานของคนอายุมากเลยนะครับมันไปลดโอกาสคนอายุน้อยต่างหาก ผมค้านเพราะมันลดโอกาสคนครับ ไม่ใช่ค้านว่าแก่เกินแล้วบริหารไม่ดี
Steve jobsพึ่งมาเป็น CEO ตอนอายุเยอะเหรอครับ?
เห็นละทนไม่ได้ ต้อง login มาตอบ
จะบอกอะไรให้ คุณไปดูคนทำงานใน truemove ais dtac ช่อง 3, 5 ,7 9 บลาๆ
คนเก่งมากๆ ในองค์ ทั้งเรื่องโทรคมนาคม โทรทัศน์พวกนี้ ส่วนใหญ่มีอายุทั้งนั้น
ยิ่งอาจารย์วิศวะฯ จุฬา ลาดกระบัง ดูผลงานที่โดดเด่น ส่วนใหญ่ก็มาจากคนมีอายุหมด
แล้วเด็กๆ ก็ให้การยอมรับนับถือ ประเด็นคือคนเก่งทั้งความรู้และมีทั้งวัยวุฒิ เรามีเยอะ
แต่น้อยคนนักที่จะถูกเลือกมาทำงานตรงนี้
ผมเห็นแล้วทนไม่ได้ ล็อกอินอยู่แล้วก็เลยมาตอบ
คำว่าวัตถุโบราณไม่ใช่หมายถึงอายุ แต่หมายถึงภาวะทางความคิดครับ
นี่เรามาถึงจุดที่ต้องช่วยตีความให้คนไทยด้วยกันแล้วเหรอครับ
ผมว่าผมก็อธิบายในเม้นตอบท่านข้างบนแล้วนะ
ตกลงคนไทยนี่อ่านหนังสือไม่ถึงปีละ 5 บรรทัดจริงๆใช่ไหม
ว่าผมค้านเพราะลดโอกาสคน ไม่ได้ค้านเพราะแก่แล้วต้องไม่เก่ง แล้วไอ้แก่ๆเก่งๆไม่โกงนี่เยอะเหรอ ไปลดโอกาสคนอีก การโฟกัสยิ่งแคบไปอีก แล้วมันจะได้คนมีคุณภาพจริงๆเหรอครับ คนเก่งมันกระจายตัวอยู่ในทุกช่วงอายุคนอยู่แล้ว ไปลดขอบเขตโอกาสคนอีก มันก็ยิ่งทำให้เราหาคนเก่งคนดีได้ยากขึ้น
ผลก็เห็นอยู่แล้วในสภาวะบ้านเมืองเราคนเก่งแก่ๆนี่เยอะจริงๆ บ้านเมืองถึงเป็นแบบนี้ เพราะโอกาสถูกปิดกั้นจากกฏเกณฑ์ที่ดูยังไงก็ตั้งมาเอื้อประโยชน์คนบางกลุ่มนี่ละ
กลับกันผมว่าอายุไม่น้อยกว่า 45 ปีนี่'ส่วนมาก'เป็นพวกหมดไฟ และมีแนวโน้มที่จะทำเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องตนเองมากกว่าแฮะ
เรื่องคุณสมบัติข้ออื่นๆนี่เห็นด้วย แต่ไม่เห็นด้วยที่จะโอนเงินเข้า สตง และส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (ที่มีรายจ่ายต่างๆที่...มาก)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เป็นการ lock spec ประเภทนึงมั้งครับ :)
อยากให้เหมืองไทยเอาระบบ KPI มาใช้เหมือน มาเลเซีย
วัดผลงานันไปเลย
ห้ะ! KPI เอาจริงหรอครับ! ดูระบบระบบการศึกษาไทยเป็นตัวอย่างเลยครับ ไอ้การวัดผลงานโรงเรียน ผู้สอนด้วยการทำเอกสารผลงาน (จริง ๆ หรอ) เนี่ย
ครูโดนผู้ปกครองด่าประจำก็แบบนี้แหละครับ ไม่มีเวลาสอนนักเรียนเลย น่าเห็นใจครับ
(บางทีก็แอบเชียร์หัวโจกอยากให้โดนกักนานๆหน่อย(ขังลืมเลยก็ได้) วันไหนมีข่าวนักเรียนสอบตกพี่แกยัดประเมินลูกเดียว)
มันเป็นเพราะเรากำหนดเกณฑ์ KPI ที่เราเอามาใช้วัดผิดประเด็นหรือเปล่าครับ?
ถ้าเปลี่ยนเป็นวัดผลงานโรงเรียนด้วยการ.... ไม่มีเด็กตีกัน หรือมีเด็กสอบติดมหาลัยหรือจบไปหางานทำได้กี่ % อาจจะเหมาะกว่า
เห็นด้วยเป้นอย่างยิ่ง
น่าจะมีวิธีการ วัดผลงานโรงเรียนกันบ้างนะ
เอาอำนาจมาได้ยังไงครับนั่นน่ะ
มันเป็นเรื่องตลก! ที่ใช้อายุมาวัดความสามารถคน
+1
ผมว่าเรื่องกำหนดอายุ สตง มองแง่ "วุฒิภาวะ" มากกว่าครับ เพราะคนอายุมาก มีโอกาสตัดสินใจรอบคอบกว่าคนอายุน้อย มาจากอายุที่มากขึ้นจึงนิ่ง มองรอบด้าน และมีประสบการณ์
เรื่อง "ความสามารถ" บอกไม่ได้หรอกครับ แล้วแต่บุคคล
แต่ประเด็นสำคัญอันนึงคือ กสทช เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต่างจากความรู้ทางเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม ที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เทคโนโลยีทีมีทั้งการสื่อสาร 3g 4g การแพร่ภาพบอร์ดแคส อินเทอร์เน็ต ที่แต่ละเรื่องมีรายละเอียดของมันเยอะมาก และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ....เรื่องการเรียนรู้ตลอดเวลามากๆ แบบนี้ คนอายุมาก "ส่วนใหญ่" จะมีการเรียนรู้ช้าลง กระตือรือร้นน้อยลง กว่าคนอายุน้อยกว่า
ดังนั้น....การคุมหน่วยงานนี้จึงน่าจะมีข้ออนุโลม เรื่องอายุ
+1 ประสบการณ์การทำงานนั้นสำคัญสุดครับในระดับนี้เพราะปัญหาที่คุณเจอคุณไม่สามารถหาเฉลยจากตำราเหมือนวิชาเรียนได้ โจทย์มันไม่ได้เหมือนเดิมตลอดคุณต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาหลายๆแบบมาวิเคราะห์สถานการณ์ ปะติดปะต่อ ถ้าคุณมีประสบการณ์แล้วคุณสามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว แก้ปัญหาได้ฉับไวตรงจุด แต่ถ้าหากเป็นหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง คุณก็อาจจะแก้ปัญหาได้เหมือนกัน แต่อาจจะใช้เวลานานกว่าในการทำให้ชัวว่าจะไม่ผิดพลาด คำว่าเวลานั้นสำคัญนะครับในการแก้ปัญหา มันไม่ใช่ตอนเรียนครับนี่มันคือชีวิตจริงผิดแล้วทำใหม่ไม่ได้ ผมเลยเห็นด้วยกับประเด็นการกำหนดอายุนี้ แต่การเลือกผู้ที่มีอายุแล้วนั้นมาทำงานก็ต้องดูเรื่องวิสัยทัศน์ด้านต่างๆมีหัวก้าวหน้าใหม่ เป็นผู้นำที่ดีหรือไม่ ที่สำคัญคือผู้ใหญ่ก็ต้องเคารพความคิดของผู้ที่เด็กกว่าด้วย ต่างฝ่ายต่างใช้เหตุผลเข้าหากัน ไม่ใช่ว่าเด็กห้ามเถียงผู้ใหญ่ความคิดผู้ใหญ่เป็นเด็ดขาด ถ้าทำแบบนี้ได้ผมว่าโอเคนะครับน่าจะไปได้ดีเลยทีเดียว
ผมให้น้ำหนักไปในเรื่องวิสัยทัศน์ซึ่งเป็นปัจเจกและก็ไม่มีใครรับรองว่าคนอายุมากน้อยจะทำได้ดีกว่า แต่ในบ้านเราปัญหามักเกิดถ้าคนอายุน้อยกุมบังเหียน ต้องไม่ลืมว่าคนรุ่นใหม่บางคนหรือหลาย ๆ คนก็อาจมีวุฒิภาวะทางอารมณ์การตัดสินใจดีกว่าผู้ใหญ่ก็เป็นได้
ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่า พลเอก -> พล.อ. จะย่อทำไม ในเมื่อก็มีพยัญชนะเท่ากัน
หึหึ
นี่คือ พล. คือตัวย่อของ พล สินะครับ