เหตุการณ์ของคดีเศร้าสลดนี้เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน เมื่อ Mark Sandland ชายหนุ่มวัย 27 ปี โทรเรียกรถพยาบาลในช่วงบ่ายวันหนึ่งให้มาช่วยเหลือลูกสาววัย 5 สัปดาห์ หลังเด็กน้อยหมดสติ
Sandland ให้การว่าเขาเป็นโรคลมบ้าหมู และเกิดอาการชักไปชั่วขณะหนึ่ง ก่อนจะได้สติกลับคืนมาและพบว่าลูกสาวของเขาถูกตัวเขาทับอยู่ที่โซฟา เจ้าหน้าที่พาเด็กน้อยไปยังโรงพยาบาลและพยายามยื้อชีวิตอย่างเต็มที่ แต่กระนั้นเด็กหญิงเคราะห์ร้ายก็เสียชีวิตในอีก 4 วันถัดมา เพราะอาการบาดเจ็บหลายอย่างทั้งรอยฟกช้ำตามร่างกายจำนวนมากและมีเลือดออกในสมอง
กระบวนการค้นหาความจริงดำเนินเรื่อยมา มีการสั่งฟ้องและล่าสุดศาลได้มีคำพิพากษาตัดสินความผิดของ Sandland หลังพิเคราะห์ได้ว่าสิ่งที่เขากล่าวอ้างนั้นเป็นเรื่องโกหก โดยเชื่อว่า Sandland ได้พลั้งมือฆ่าลูกสาวตนเองก่อนจะพยายามสร้างเรื่องมากลบเกลื่อนความผิดที่ได้ก่อขึ้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุระบุว่าตำแหน่งของโซฟาที่เกิดเรื่องนั้นมีเครื่องเล่นเกม PlayStation วางเอาไว้ด้วย ในขณะที่ทีวีซึ่งเชื่อมต่ออยู่ถูกปิดเอาไว้ ในขณะที่การตรวจสอบประวัติการใช้งานโทรศัพท์มือถือของ Sandland พบว่าเพียง 16 นาทีก่อนที่เขาจะโทรเรียกรถพยาบาลมาที่บ้าน Sandland ได้เข้าเว็บไซต์แนะนำเทคนิคการเล่นเกม Assassin's Creed 3 ทั้งยังมีประวัติการแชทสนทนาของ Sandland กับภรรยาผู้เป็นแม่ของเหยื่อไม่กี่ชั่วโมงก่อนเกิดเหตุ (ซึ่งในวันดังกล่าวเธอกำลังไปเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ห่างออกไป) ซึ่ง Sandland ได้พิมพ์ข้อความในเชิงบ่นกับภรรยาว่าลูกสาวของพวกเขาเอาแต่ร้องไม่หยุด
เมื่อนำข้อเท็จจริงข้างต้นมาประกอบกับความเห็นแพทย์ที่ประเมินว่าอาการชักของโรคลมบ้าหมูไม่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ร่างกายของเหยื่อตามที่ระบุไปข้างต้น ศาลจึงเชื่อว่า Sandland ได้กระทำการฆ่าลูกสาวของตนเองโดยการเขย่าร่างกายเธออย่างรุนแรง ซึ่งน่าจะเป็นเหตุจากการที่เด็กน้อยส่งเสียงร้องไม่หยุดจนทำให้เขาอารมณ์เสียเพราะไม่อาจเล่นเกมได้ดั่งใจ
บทสรุปของคดีนี้คือคำตัดสินจำคุก Sandland เป็นระยะเวลา 8 ปี
ที่มา - BBC, The Guardian
Comments
ถ้าเป็นสยามเมืองพุทธ ป่านนี้มีกระแสเรียกร้องให้ประหารเต็มเฟสบุ็คละ หุๆๆ
คนที่สมควรตายมันก็ควรจะตายจริงๆ นั่นแหละ คนเราถ้าไม่เจอกับตัวเองหรือญาติพี่น้องก็ทำตัวโลกสวยกันต่อไป หึหึ
เราจะรู้ได้ยังไงว่าคนไหนสมควรตายอ่ะครับ
คนที่กลัวโทษแรงๆ แสดงได้ว่ามีความกลัวในโทษดังกล่าว ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการกลัวว่าสักวันตัวเองจะถูกโทษนั้นเล่นงาน หมายความว่ามีความเสี่ยงว่าจะกระทำผิด หรือเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการกระทำความผิด ซึ่งโดยปกติแล้วคนทั่วไปที่รู้ตัวว่าตัวเองไม่มีทางกระทำความผิดได้ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวโทษระดับนั้น
ส่วนคนที่สนับสนุนโทษแรงๆ นั้นมาจากการกลัวหลังเจอเหตุการณ์เลวร้าย หรือกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้กับตัวเองหรือคนใกล้ชิดซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำ
แต่ลองคิดดูว่าถ้าคุณหรือคนใกล้ชิดของคุณถูกกระทำ แล้วตัวคุณจะรู้สึกเยี่ยงไร?
ซึ่งถ้ามีการใช้โทษแรงระดับนั้นแน่นอนว่าคนทำความผิดจะลดลงแต่ไม่ทั้งหมดเพราะคนที่หยุดการกระทำได้เนื่องจากโทษที่จะตามมานั้นเป็นคนที่มีสติและสามารถชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการกระทำความผิดได้ ส่วนคนที่ไม่สามารถหยุดได้นั่นคือคนที่ไม่มีสติมีอารมณ์อยู่เหนือเหตุผลและความเป็นมนุษย์
ดังนั้นการที่จะแก้ไขจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างนั้นคือการเลี้ยงดู การศึกษา เพื่อช่วยในเรื่องของการยับยั้งอารมณ์ และความเป็นมนุษย์ในตัวคน ส่วนอีกอย่างที่สำคัญคือโทษที่หนักพอที่จะใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจกระทำความผิดมันจึงจะช่วยทั้งการกระทำความผิดที่ จงจัย (มีสติ) และ ไม่จงจัย (ไม่มีสติ)
ซึ่งถ้าการมีโทษที่รุนแรงกับการกระทำความผิดที่รุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจจะช่วยลดการกระทำความผิดได้ทำไมจึงไม่ทำหรือจะเป็นการสนับสนุนในการกระทำความผิด? แต่ถึงยังไงสถาบันครอบครัวและการเรียนการสอนก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
ผมได้ไปอ่านความเห็นหนึ่งซึ่งดูน่าสนใจ เขาบอกว่าในกรณีที่ตรากฎหมายเรื่องข่มขิน = ประหารขึ้นมาแล้ว ในกรณีที่เกิดการข่มขืนเสร็จและหายหน้ามืดขึ้นมาแล้วก็จะมีทางเลือกเกิดขึ้นมา 1.ทิ้งเหยื่อไว้แล้วหนี 2.ฆ่าเหยื่อแล้วหลบหนีเพราะอย่างน้อยก็มีโอกาสรอดจากคดีอีกอย่างยังไงก็ต้องโทษประหารอยู่แล้ว และหากเจอตัวแล้วก็มีโอกาสที่จะสู้แบบหมาจนตรอกเพราะไม่มีอะไรจะเสียแล้ว
จากที่พิจารณาแล้วจากแต่ก่อนที่เหยื่ออาจจะมีโอกาสรอดในข้อ 1. มากกว่าแต่กลายเป็นว่าอาจจะเข้าข้อ 2. ทำให้เหยื่อมีโอกาสรอดน้อยกว่าเดิม
เอาจริง ๆ นะครับ ...
เวลาคนจะทำผิด มีใครคิดถึงสิ่งที่จะตามมาบ้างเหรอครับ ? ไม่ว่าจะโทษตายหรือจำคุก ถ้าคิดจริงๆ มีสติก็คงไม่ทำไปแล้ว ยกเว้นแต่ว่า คิดว่ามีหนทางที่จะหลุดจากความผิดที่ตัวเองทำไว้ได้ (พวกคดีเศรษฐกิจส่วนใหญ่ตกกรณีนี้ครับ)
ผมว่าคนที่ทำผิดส่วนใหญ่ทำเพราะขาดสติ เช่น เมา หรือเสพยา มากกว่านะ
สติอาจจะกลับมาหลังจากที่กระทำการไปแล้ว แต่ถึงจุดนี้ก็คงไม่คิดเหมือนกันว่าโทษมันคืออะไร ก็คงคิดแค่ว่า จะทำอย่างไรให้หลุดจากความผิดที่ตัวเองทำไว้ (เหมือนข้างบนอีกละ) มีเหรอครับทำไปแล้วมานั่งคิดว่า เฮ้ยตูจะโดนจำคุก 10ปี หรือจะโดนประหารหรือเปล่า ? ไม่มีหรอกครับ ไม่มีใครอยากเข้าคุกทั้งนั้นแหละ ถ้าเหยื่อเห็นหน้าแล้ว หลายคนคงเลือกฆ่าเหยื่อแหละ (ถ้าผมทำก็คงเลือกงี้ แต่พอดีว่าผมคงไม่ขาดสติขนาดไปไล่ข่มขืนสาว ๆ ที่ไหนหรอกมั้ง 555 เหล้ายังไม่กินเลย)
จากเหตุผลสองอันข้างบนผมสรุปได้คร่าว ๆ ว่า
สิ่งที่ได้จากการะเพิ่มโทษมีเพียงความสะใจของบรรดาคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีเท่านั้นเอง (รวมทั้งญาติใกล้ชิดของผู้เสียหาย) ผมไม่เชื่อว่าการลงโทษมันจะทำให้มีใครรู้สึกสบายใจได้
งั้นลองจำคุก 1 เดือนดูสิว่ามันต่างกับประหารชีวิตหรือเปล่า แม้ไม่ทำการทดลองก็คงรู้ผลแล้วหล่ะครับ :P เอาเป็นว่าท้ายที่สุดการป้องกันห้ามมันเกิดขึ้นถือว่าสำคัญที่สุด แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือการไม่ให้มันเกิดขึ้นซ่ำนั้นคือโทษที่เขาจะได้รับ แต่ละกรณีก็ไม่เหมือนกันอีก บางคนดีขึ้น บางคนไม่สำนึก บางคนแค้นสังคม เมื่อกลับเข้าสังคมอีกครั้งผลก็แตกต่างกัน ซึ่งผลนั้นก็คงจะเห็นข่าวบ่อยๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และบางที่เขาก็ตัดไฟตั้งแต่ต้นลมซึ่งบางคนไม่สมควรได้กลับเข้าสังคม
ซึ่งถ้าคุณบอกว่า "โทษมีเพียงความสะใจของบรรดาคน" คุณก็เข้าใจมันผิดมากๆ แล้วหล่ะครับ คิดได้แค่นี้ก็ไม่ต้องมีโทษกันแล้วคงต้องไปเรียนกฎหมายใหม่แล้วหล่ะ มันมีเหตุผลอยู่ 3 ข้อ
1.เพื่อป้องกันไม่ให้คนกระทำผิด ซึ่งถ้าบอกว่าข่มขืนจำคุก 1 เดือนคงมีคนข่มขืนกันเพียบเพราะมันไม่มีความน่ากลัว และคงไม่มี "ความสบายใจ" แน่ๆ แบบว่าคุณอยากอยู่ร่วมโลกกับคนแบบนั้นหรอ? ยกเว้นคุณเป็นแบบนั้น (ความแรงของโทษต่อการกระทำความผิด)
2.เพื่อทำให้เขาสำนึกผิด (ปรับ, จำคุก, ทั้งจำและปรับ)
3.บางครั้งเพื่อไม่ให้คนที่ไม่มีวันสำนึก (โรคจิตวิปริต) หรือมีความผิดแรงมากๆ ต่อหลักหลักมนุษยธรรมและสังคม ให้ไม่มีโอกาสได้กลับเข้าสังคม (จำคุกตลอดชีวิต, ประหาร)
เล่นเหมารวมว่าคนคัดค้านโทษประหารนี่มีแนวโน้มจะไปข่มขืนชาวบ้านงี้เลยเหรอครับ งั้นต้องเรียกตัวมาปรับทัศนคติหมดทุกคนเลยมั้ยครับ
ประเทศที่เค้าไม่มีโทษประหารนี่เค้าอยู่กันยังไงครับ ประชากรเค้าจ้องจะข่มขืนกันทั้งประเทศมั้ยครับ
แล้วคอมเม้นอื่นๆเค้าก็พูดกันแล้วนะครับ ว่าถ้าข่มขืนแล้วโทษประหารเนี่ย เหยื่อยิ่งจะโดนฆ่าเพื่อปกปิดความผิด จากปัจจุบันนี่ข่มขืน โทษ 4-20 ปี แต่ถ้าฆ่าเพื่อปกปิดความผิดด้วยนี่ประหารชีวิตอยู่แล้วนะครับ ถ้าโทษรุนแรงทำให้คนกลัวไม่กล้าทำได้ เหยื่อคงไม่โดนฆ่าตายหรอกครับ
ผมคิดว่ากระบวนการยุติธรรมมีปัญหาจริงครับ แต่การเพิ่มโทษไม่เห็นจะช่วยอะไร เคยอ่านคดีผู้พัน ต. มั้ยครับ โดนตัดสินโทษประหารทั้งสามศาลแล้วแท้ๆ แต่ติดจริงอยู่แค่ 13 ปี ตอนนี้ออกมาแล้ว ปัญหามันอยู่ที่การอภัยโทษต่างหาก ที่ทำให้กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ ถ้าจะค้าน ควรจะค้านให้ถูกจุด
ถ้าคิดแค่ว่าถ้าเราโดนจะรู้สึกยังไง นี่มันการแก้แค้นแล้วครับ ไม่ใช่กฎหมาย
ป.ล.คุณเรียนกฎหมายมาจริงๆเหรอ
เราควรมีโทษประหารเพื่อไม่ให้คนบางคนกลับมาอยู่ในสังคมอีกครับ แต่ผมกลัวอย่างเดียว คือ คนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถตัดสินอะไรด้วยความเป็นกลางได้ ถ้ามีผลประโยชน์ อารมณ์ ความเชื่อ อคติ แรงกดดันภายนอก เข้ามาเกี่ยว
มนุษย์ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ และใช้เหตุผลในการสนับสนุนการตัดสินใจครับ
จากตำราฝรั่งสักเล่มนึง
ฟังดูหม่นหมองครับ แต่ผมก็ไม่อาจปฎิเสธ
โทษประหารเขาเอาไว้ให้คนดีกลัวไม่กล้าทำผิด ส่วนที่คนที่เลวเกินจะแก้ไขโทษร้ายแรงกว่าโทษประหารเขาก็ไม่กลัว การแก้ไขปัญหาไม่ใช่แก้ไขเพื่อความสะใจ หรือแก้ตามกระแส เพราะยิ่งเต้นตามกระแส มันก็จะสร้างปัญหาอื่นๆ ในอนาคต การแก้ไขปัญหาต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ และดูเป็น Long Term เพื่อให้ปัญหาลดลงในอนาคต
อย่าลืมคนเลว โทษประหารมันก็ไม่กลัว ตัวอย่างง่ายๆ ก็นักโทษคดียาเสพติด ก็มีโทษประหารเช่นกัน แต่ทำไมก็ยังมีคนอยากลอง อยากค้า แล้วก็ติดคุก รอประหาร ทั้งๆ ที่ก็มีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่
ถ้าคนเรามีอำนาจที่จะตัดสินให้ใคร "ตาย" ได้ ผมว่าโลกคงวุ่นวายน่าดู
ยังโชคดีที่เรามี ระบบ ยุติธรรม มีการสอบสวน ไต่สวน วิจัย วิชาการ มีคนสองฝั่งมาสู้กัน อีกหลายๆอย่างประกอบ แม้บางครั้งอาจจะทำงานไม่ถูกใจนัก แต่ยังดีกว่าที่จะให้ใครมาตัดสิย "ชีวิต" ใคร ด้วยความคิดเบ็จเสร็จในตัวคนเดียว
ไม่หรอกครับ สยามเมืองพุทธมีเคสแบบนี้เยอะแยะออก
อันนี้ถามจริงจังนะครับ (ขออนุญาต rep ตรงนี้)
ตามหลักพุทธศาสนา...ควรจะทำอย่างไรกับคนร้ายคนที่เป็นประเด็นในสังคอมอยู่ตอนนี้อะครับ
ตอบตามความเห็นของผมเอง
เป้าหมายหลักของศาสนาพุทธคือสอนให้พ้นทุกข์
คำสอนส่วนใหญ่จึงเกี่ยวกับการจัดการกับกิเลส และทุกข์ในตัวเรา
การจัดการเรื่องนี้จึงควรเป็นหน้าที่ของแต่ละสังคมมากกว่า
ได้แต่เสริมว่า การจะทำอะไรนั้นอย่าได้ทำเพราะมาจาก โลภะ(ความอยากได้) โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) โมหะ(ความหลงผิด) ในตัวเรา
ผมว่ากรณีที่พอจะเทียบเคียงได้ก็น่าจะเป็น องคุลีมาล กระมัง
เราควรมีจิตเมตตาแม้แต่กับฆาตกรครับ แต่ไม่ได้หมายถึงให้ละเลยการดำเนินคดี/การลงโทษ หมายถึงควรลงโทษด้วยจิตเมตตาและด้วยวิถีทางที่จะไม่ทำให้เขาผิดซ้ำสองอีก
(ตอบแบบนี้จะมีดราม่าตามหลังมาไหมหว่า 555 ตอบยากจัง)
ถ้าเราลงโทษด้วยจิตอาฆาตแค้น ตัวเราเองก็ไม่ได้ต่างอะไรกับฆาตกรนั่นหรอกครับ เวลาเราคิดว่าไอ้หมอนั่นมันสมควรตายเนี่ย ... เรามีความสุขไหมครับ ? ลองคิดดูเล่น ๆ ก็ได้นะ
ปล. รู้สึกว่า Code Breaker รวมเล่มเล่มใหม่เล่นประเด็นคล้าย ๆ กันอยู่แฮะ (ให้คนหมู่มากโหวตวิธีการลงโทษอาชญากร)
โหดมาก คนติดเกมนี่มันน่ากลัวจริง ๆ (ต้องเตือนตัวเองไว้ว่าอย่านั่งเล่นเกมใกล้ลูก -*-)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เกมส่งเสริมให้เกิดความรุนแรง ควรสั่งยกเลิกจำหน่าย
/..
แบนเกมให้หมดเลย ตัดการเกิดปัญหา
(รอลดราคา)
ฝั่งนึงก็อยู่ในกระแสเรียกร้องให้ประหาร
อีกฝั่งก็บอกว่าอีกฝั่งดัดจริต เห่อตามกระแสไม่คิด
แต่ไม่มีอะไรชัดเจนว่าอะไรจะแก้ไขได้ ก็ได้แต่หาเรื่องว่าคนอื่นสนุกปาก
ผมว่ามีคนหลงประเด็นเยอะนะ คือโทษในคดีที่กำลังเป็นข่าวจริงๆ ก็คือประหารชีวิตอยู่แล้ว บางคนยังเข้าใจว่าคดีนี้ไม่โดนประหารชีวิต เพราะเอาไปรวมกันกับแคมเปญข่มขืน = ประหาร
แต่โดยส่วนตัวหลังจากอ่านเหตุผลของหลายฝ่ายที่บอกว่าทำไมถึงไม่ควรเพิ่มโทษเป็นประหารชีวิต ก็ทำให้ค่อนข้างเอนเอียงไปอีกด้าน แต่ที่แน่ๆ คิดว่าควรเพิ่มโทษและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงหามาตรการปกป้องผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายกล้าแจ้งความเพื่อดำเนินคดีมากยิ่งขึ้น
โทษจริงๆ ของกฏหมายบ้านเราในกรณีคดีอาญานั้น ผมว่ารุนแรงพอสมควรแล้วครับ
ข่มขืน (ไม่ฆ่า) ถ้าติดคุก 8-10 ปี ผมว่าเยอะอยู่นะ
แต่ปัญหาของบ้านเรา ศาลตัดสินจำคุก 10 ปี
ถ้าสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง (ไม่ค่อยเห้นกรณีแบบ ไม่ลดดทษ เพราะสารภาพเนื่องจากจำนนด้วยหลักฐานสักเท่าไหร่)
สุดท้ายติดจริงๆ ไม่ถึงที่ศาลตัดสิน ถ้า 10 ปี ก้จะเหลือแค่ 2-3 ปี
อืม หลายๆเคสเท่าที่ผมเห็น โทษแรง แต่พอสารภาพปุ้ป ลดโทษไปกึ่งหนึ่ง เหลือนิดเดียวซะงั้น
บางคนสองต่อ กลายเป็นรอลงอาญาแทน
เศร้าอ่ะ เง้อ
..: เรื่อยไป
การเล่นเกมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าว แต่การไม่ได้เล่นเกมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าวกว่า....
/ไทยรัฐไม่ได้กล่าวไว้
ผมเข้าใจคนที่เรียกร้องโทษประหาร ผมก็เคยเห็นด้วย แต่ความคิดส่วนใหญ่มาจากอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล และยังไม่มีโอกาสได้มองเห็นอะไรในหลายๆ มุม พอมีโอกาสได้อ่านคดีที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ยกเลิกโทษประหารในอังกฤษก็เริ่มเข้าใจอะไรมากขึ้น ยิ่งได้ดูหนังเรื่อง Lincoln Lawyer ตอนที่สปอยล์ได้มีการเข้าไปหาคนในเรือนจำเพื่อถามย้อนถึงเรื่องราวในคดีที่เขาถูกตัดสินว่าผิดฐานฆ่าหญิงสาว(ไม่แน่ใจว่าข่มขืนด้วยหรือไม่)เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวโยงกับคดีที่กำลังทำอยู่ ตอนที่เขาพูดถึงการต้องสารภาพในสิ่งที่เขาไม่ได้ทำเพื่อแลกกับโทษที่เบาลง ผมร้องไห้ตามเลย นักแสดง(Michael Pena)แสดงดีมาก เป็นเหตุผลให้ผมเข้าไปโหวต10คะแนนในimdbเลย ใครมีโอกาสก็ลองหามาดูนะครับ ผมไม่รู้ว่าคุณจะอินเหมือนผมรึเปล่านะ แต่อย่างน้อยก็น่าจะมองเห็นอะไรเพิ่มในอีกมุมนึง
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.