ต่อเนื่องจากข่าว วงการลิขสิทธิ์มึน ภาพถ่าย "ลิงเซลฟี่" ใครควรเป็นเจ้าของภาพ? ที่ยังถกเถียงกันไม่จบว่าควรลงเอยอย่างไร

สำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา (United States Copyright Office) ออก "ร่าง" เอกสารแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฉบับปรับปรุงครั้งที่สาม (Third Edition) และเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ครั้งแรกในรอบ 20 ปี (ลิงก์ดาวน์โหลด) โดยเอกสารฉบับใหม่นี้ระบุไว้ชัดเจนว่าสำนักงานจะรับรองลิขสิทธิ์เฉพาะผลงานที่สร้างโดย "มนุษย์" (human beings) เท่านั้น

ข้อความในเอกสารเขียนชัดว่างานที่สร้างโดยธรรมชาติ สัตว์ พืช รวมถึงงานที่อ้างว่าสร้างโดย "พระเจ้า" หรือ "สิ่งเหนือธรรมชาติ" นั้นไม่สามารถมีลิขสิทธิ์ได้ ในเอกสารยังยกตัวอย่างกรณีว่า "รูปที่ถ่ายโดยลิง" หรือ "ภาพที่ช้างวาด" ย่อมไม่มีลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ในเอกสารไม่ได้เจาะจงถึงกรณีของ "ลิงเซลฟี่" ที่เป็นข่าว

ตอนนี้เอกสารยังมีสถานะเป็นฉบับร่างอยู่ระหว่างการรีวิวไปจนถึงเดือนธันวาคมนี้ ส่วนกรณี "ลิงเซลฟี่" ที่เจ้าของกล้องขู่จะฟ้อง Wikipedia คงต้องไปว่ากันในชั้นศาลครับ

ที่มา - LA Times, Engadget

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก

เข้ามาหัวเราะกับทุกเม้นอย่างบ้าคลั่ง ฮ่า ฮ่า ฮ่า

กำลังเบื่อๆ ที่ต้องมาทำงานวันเสาร์ ได้อ่านแล้วหัวเราะมีความสุขครับ

เรากำลังพูดถึงกฎหมาย(ของมนุษย์) ไม่ใช่กฎของดาร์วินหรือกฎทางชีววิทยานะครับ
อีกอย่าง จีนัส Homo ไม่มีลิงแล้วนะครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Homo
เพราะงั้น คน != ลิง sapiens sapiens นะครับ

เกือบทุกประเทศจะพัฒนามาจากข้อตกลง Berne Convention ครับ หลักใหญ่ใจความเหมือนกัน รายละเอียดปลีกย่อยแตกต่าง

กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่เป็น International ในแง่ของการบังคับใช้ครับ (ที่จริงๆ ก็กฎหมายแทบทั้งหมด) แต่เกือบทุกประเทศก็จะอ้างอิงจากอนุสัญญาจึงมีลักษณะคล้ายกันครับ

พูดกันไปเยอะแล้ว

แต่ในกรณีนี้ผมเชียร์ เจ้าของกล้องครับ เพราะสิ่งที่ธรรมชาติ(หรือลิง)กระทำย่อมไม่มีลิขสิทธิ์ จึงควรตกทอดถึงเจ้าของกล้องครับ

เช่นกัน
ช้างวาดภาพ -> คนควบคุมช้างตอนวาดก็เป็นเจ้าของลิขสิทธิ

คนถ่ายรูปต้นไม้ -> ต้นไม้เจริญเติบโต โดยธรรมชาติ -> คนถ่ายรูปจึงเป็นเจ้าของลิขสิธ

คนถ่ายรูปต้นไม้อันนั้นก็เป็นลิขสิทธิ์​ของ​คน​ถ่าย​ครับ​ ถ้าต้นไม้กดชัตเตอร์​เอง​ก็ว่าไปอย่าง​

ถ้าผมตั้งกล้องไว้วัดแสงไว้อย่างเทพ และภาพนี้ต้อวถ่ายในนาทีนั้นเท่านั้น มีคนเดินมากด สิขสิทธิ เป็นของคนถ่าย -*-

เข้าใจว่าน่าจะอยู่ที่ตกลงกัน แต่จ้างปกติจะตกลงกันว่าเราเป็นเจ้าของหนิครับ เราจ่ายเงินให้เค้าเพราะเราต้องการรูป

ปัญหาคือมันไม่เอกสารรับรองหรือเปล่า แบบให้คนพนักงานร้านถ่ายรูปให้ อะไรแบบนี้ เช่นเดียวกับลิงบอกให้มันถ่ายรูปตัวเองแล้วจะเอากล้วยให้กิน(สมมติ)

กรณีจ้าง ตามความเห็นข้างล่างเลยครับ กฎหมายระบุไว้ เป็นของผู้จ้างยกเว้นระบุไว้เป็นอย่างอื่น กรณีให้ถ่ายให้ผมว่าได้เหมือนกันเพราะตามสามัญสำนึกเค้าให้ถ่ายรูปให้เพราะต้องการภาพ คนช่วยถ่ายให้รู้อยู่ก่อนแล้ว สัญญาไม่จำเป็นต้องมีเอกสารเสมอไปครับ

อันนี้คนจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธ์ครับ เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น กฎหมายไทยเขียนไว้แล้วครับ

คนจ้างเป็นเจ้าของสิทธิ์สิครับ แบบนี้ภาพงานของเราพวกตากล้องก็ไปเอาไปใช้ได้สิครับ กลับกันพวกงานถ่ายแบบที่พวกตากล้องจ้างนายแบนางแบบแบบนี้ตากล้องเป็นเจ้าของสิทธิ์แน่ เคยมีข่าวพวกนางแบบนู้ดบางคนเคยซื้อฟิล์มของตากล้องแพงกว่าค่าตัวที่ตัวเองรับอีกเพื่อไม่อยากให้รูปลงนิตยสาร

ในทางกฎหมายไม่มองสัตว์เป็นประธานแห่งสิทธิครับ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือมนุษย์เท่านั้นมีสิทธิตามกฎหมาย และสัตว์จะได้รับการคุ้มครองสิทธิไปเฉพาะเรื่องครับ เช่น กฎหมายคุ้มครองสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ฯลฯ

กรณีนี้ในทางกฎหมายไม่น่าเป็นประเด็นเลยครับ ไม่งั้นคงวุ่นวายโลกแตกในการไปคุ้มครองเหยื่อของสัตว์ป่าล่าเนื้อว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ล่ามั้ย อะไรอย่างงี้เป็นต้นครับ

ส่วนประเด็นสัตว์ที่มีเจ้าของอย่างที่เค้ายกตัวอย่างช้างวาดภาพ ส่วนตัวผมมองว่าน่าจะให้ลิขสิทธิ์ตกแก่เจ้าของสัตว์ครับ เพราะสัตว์ถือเป็นทรัพย์เช่นเดียวกับอุปกรณ์วาดภาพทั่วไป เจ้าของก็ควรจะได้สิทธิไปนะครับ (แต่ในทางปฏิบัติอาจจะมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นในการรับรองสิทธิว่ามากน้อยเพียงใด และคุ้มค่าพอที่จะรับรองสิทธินั้นหรือเปล่า)

กราบเรียนท่านศาลที่เคารพ ผมมีหลักฐานชัดเจนว่าสิงโตฝูงนี้ได้ก่อาชญากรรมโดยการพยามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน /หวั่งเฉา มาหั่น เบิกเครื่องประหารหัวสุนัข!!!

ถ้าคุณฝึกมัน ในกรณีนั้นจะถือว่า ลิงเป็นสัตว์เลี้ยงในความรับผิดชอบคุณครับ คุกแน่นอน ไม่ต่างกับสั่งหมาไปกัดคน

ถ้าผมตั้งใจเอากล้องให้ลิง กเดชัตเตอร์เล่น

ถ้าผมตั้งใจเอากล้องให้เด็กที่ยังไม่เข้าอนุบาล กดชัตเตอร์เล่น

ภาพที่ได้เป็นของใคร

  1. เป็นของคุณครับ (เหตุผลเรื่องประธานแห่งสิทธิด้านบน)
  2. เป็นของคุณครับ เด็กทำการในฐานะตัวแทนของตัวการ (คุณที่ยื่นกล้องให้เด็ก) ครับ

ตรงนี้ผมมองค่อนข้างต่างจากข่าวนะครับ ไม่แน่ใจว่าช้างวาดรูปที่เขาหมายถึงนั้นมีเจ้าของหรือไม่ ถ้าเป็นช้างมีเจ้าของก็น่าจะได้ลิขสิทธิ์ไป

ส่วนเรื่องช้างเอาหลักตัวการตัวแทน (Law of Agent) มาจับไม่ได้ครับ ต้องคนกับคนเท่านั้น

Bluetus Fri, 08/22/2014 - 19:26

จบข่าว ToT'' จริงๆอันนี้เราถือหางด้านเจ้าของกล้องนะ

โอ้ยยย

กลับมาอ่านอีกทีขำก๊ากเลยฮะ แต่ละคน น่ารักจริง ฮ่าๆ

ปล. ผมไม่ถือหางแล้วก็ได้ ถือห....

.
.
.
.

หัว

ปัญหาใหญ่กว่าคือ มันจะมีคนหัวหมอมาอ้างว่าเป็น public domain เอาบางส่วนไปทำใหม่แล้วทำออกขายพอโดนฟ้องอ้างว่าเป็น public domain จะทำอะไรก็ได้
ร่างตัวนี้ผมมองว่าสร้างความเสียหายมากกว่า และไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้สังคมเลย

เห็นด้วยครับ เพื่อให้เข้ากับ Blognone ผมว่าลองยกตัวอย่างเปลี่ยนเป็น วัสดุทุกอย่างที่ใช้ทำโทรศัพท์ล้วนแล้วแต่มาจากธรรมชาติและจักรวาลและการคำนวณต่างๆ เกิดจากความต่างศักดิ์ของกระแสไฟฟ้า เพราะฉะนั้นถือว่าเป็น Public domain ผมไม่ได้ลอกของคุณที่จดไว้นะ ผมแค่เอาของที่มีอยู่ทั่วไปมาทำเป็นมือถือที่เหมือนของคุณแค่นั้นเอง

จริงๆตัวอย่างนี้ผมไม่เห็นด้วยกับตัวอย่างที่คุณยกมานะ
แต่เคสนี้
ผมยกตัวอย่าง เช่น ผมมีกล้องตัวนึงผมไปเที่ยว ลิงขโมยกล้องผมไปถ่ายรูปมากมายมีรูปสวยๆด้วย
ถ้ามีร่างแบบนี้ออกมา สิ่งที่ผมจะทำคือเก็บไว้ดูคนเดียวครับ
ไม่มีเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพราะเผยแพร่ปุ๊บมันมีคนเอาไปทำมาหากินโดยหัวหมออ้าง public domain ส่วนผมไม่ได้อะไรกล้องก็กล้องผม ไฟแบต mem ก็ของผม ถ้ารู้ว่ามันเป็น public domain ผมก็ไม่ปล่อยรูปครับตูดูคนเดียวดีกว่าประมาณนั้น
แล้วผลเสียตกกับใครครับ
ผลเสียตกแก่สังคมครับ วงการศิลปะ ไม่มีรูปที่สร้างสรรค์หลุดมาให้ดู
สื่อก็ไม่มีรูปมาให้ขายข่าว ระเบียบที่ออกมาทำลายสังคมแบบนี้เลิกๆไปเหอะ

มันออกร่างมาได้กวนมากๆ ทำลายสังคมชัดๆไม่ได้ดูเจตนารมณ์ของกฎหมายเลย ถ้ารูปมันทำมาหาเงินไม่ได้เขาจะปล่อยรูปออกมาทำไมครับถูกไหม นอนอยู่บ้านดูหนังสบายใจไม่เสียเวลาไม่เปลืองแรง จริงไหมครับ ฝรั่งน่ะเวลาเป็นเงินเป็นทองนะ แล้วคนมันก็มีทั้งคนดีคนไม่ดี ดันตั้งระเบียบให้คนเอาผลงานไปใช้ได้ฟรีโดยไม่ต้องออกแรง มันเอาอะไรคิด

ดูที่เขา comment นะครับ "All those National Geographic photos taken in remote places by animals tripping a shutter release are now public domain." ถ้าร่างนี้ใช้ได้ NG เจ๊งแน่ มีคนหัวหมอขโมยรูปไปใช้แน่นอน

ครับผมอาจจะยกตัวอย่างแบบหลุดโลกไกลจากเรื่องนี้ไปหน่อย แต่โดยหลักในเรื่องนี้ผมก็เห็นด้วยกับที่คุณกล่าวมาครับ จากในมุมมองของคนที่เคยแบก DSLR ปีนขึ้นเขาไปเก็บรูปมาหลายรอบ

ยกตัวอย่างกรณีนี้ "เปิดคำฟ้อง"วู้ดดี้"คดีนำรูปไปไม่ขออนุญาต ทำ"จักริน"คิดเลิกสอนถ่ายภาพ!"

การถ่ายภาพมันมีองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ใช่แค่การกดชัตเตอร์ มันมาจากทั้งประสบการณ์ การลงทุนทั้งอุปกรณ์และการเดินทาง การพาตัวเองไปอยู่ถูกที่ ถูกเวลา การรอจังหวะ ความอดทน และโชค

แต่ไม่ใช่คนหรือครับที่คิดเดินเครื่องหรือสร้างกลไลให้ถ่ายเองอัตโนมันเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไงที่คนกำหนด
มันแตกต่างจากกรณีลิง นี่มากที่กล้องธรรมดา มีลิงกดปุ่มถ่ายเอง

จริงๆเจ้าเอกสารนี้อ้างไม่ได้หรอกครับ
แนวทางปฏิบัติของ United States Copyright Office ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายเลย เพราะมันมีคดีที่ United States Copyright Office แพ้คดีอยู่เยอะครับ คือแกเงิบมาเยอะ
สุดท้ายก็ต้องไปฟ้องกันในศาล เจ้าเรื่องภาพลิงเซลฟี่นี่ ศาลเวลาตัดสินเขาดูผลกระทบในภาพรวมด้วยครับ ไม่ใช่ว่า United States Copyright Office ออกระเบียบมายังไงเอาตามนั้นหมด
ถ้าบอกว่าไม่มีลิขสิทธิ์ นี่จบเลยครับเพราะต่อไปจะไม่มีใครคิดสร้างสรรค์ผลงานในแนวนี้ ไม่มีคนไปเข้าป่าแล้วให้ลิงถ่ายรูปตนเองเพราะถ่ายไปก็ไม่ได้ลิขสิทธิ์งั้นทำไปทำไมนอนอยู่บ้านดีกว่าเพราะถ้าไม่มีลิขสิทธิ์ใครก็เอาไปหาเงินได้ตนเองลงทุนลงแรง ลงค่ากล้องค่า mem ค่าไฟชาร์ทแบต แต่ไม่ได้อะไรเลยทำมาแจกคนอื่นฟรี มันขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายตั้งแต่แรก ลิขสิทธิ์ทำมาคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงาน แต่ร่างตัวนี้ทำมาทำลายผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผลสุดท้ายได้อะไรถ้าบังคับใช้ได้ คนก็แค่ไม่มีใครถ่ายรูปพวกนี้ออกมาอีกเลยเพราะถ่ายปุ๊บตกเป็นของสาธารณะปั๊บ แล้วจะเอากล้องไปทำไมนอนอยู่บ้านฟังเพลง มีประโยชน์กว่าไม่เหนื่อยและไม่เซ็ง
ทำอะไรก็ต้องคิดถึงผลดีผลเสียครับ

"ร่าง"นี้บอกว่าสำนักงานจะรับรองลิขสิทธิ์เฉพาะผลงานที่สร้างโดยมนุษย์ แต่ยังไม่มีใครเอาไปอ้างนิครับ เรื่องยังไม่ถึงศาล ยังไม่มีข่าวว่าใครไปฟ้องหรือยัง และถ้าฟ้อง ก็ยังไม่รู้ว่าผลจะออกมาแบบไหน ส่วนถ้าศาลตัดสินตัดสินว่าไม่มีลิขสิทธิ์​ ผลกระทบน่ะมีี (กฏหมายมักมีผลกระทบกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสมอ เป็นเรื่องปกติ) ถ้าช่างภาพจะเลิกถ่ายไปก็เรื่องของเขา เพราะมันมีวิธีรังสรรค์​ผลงานให้ทำเงินได้อีกร้อยแปด

ปล. รบกวนยกตัวอย่างคดีที่สนง. นี้แพ้หรือ "เงิบ" "มาเยอะ" สักสองสามคดีครับ คงไม่ลำบากอะไร เพราะคุณบอกเงิบมาเยอะ แสดงว่าเยอะ ยกมาเป็นวิทยาทาน​ให้หน่อย ความรู้ด้านกฏหมายผมน้อยครับ อยากเปิดหูเปิดตาครับ

http://www.justice.gov/osg/briefs/2000/2pet/6invit/1999-1489.pet.ami.inv.html
อันนี้พูดถึง ระเบียบของ United States Copyright Office ขัดกับกฎหมายสุดท้ายก็ต้องไปแก้
ตัวร่างตัวนี้ก็ เช่นกัน ที่บอกว่าแกเงิบบ่อยก็เพราะระเบียบตัวนี้โดนฟ้องก็ไปแก้ทีครับเป็นมานานหลายสิบปี
คือระบบพี่แกเป็นงี้ครับ พี่แกออกระเบียบมาที ใช้ๆไปสักพักคนไม่พอใจก็ไปฟ้องพอแพ้มาก็มาแก้
แล้วเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามคำพิพากษาศาลครับ
ส่วน draft ที่ว่าก็ต้องรอว่าช่างกล้องแกจะฟ้องไหม ถ้าฟ้องชนะเจ้าระเบียบนี้ก็ต้องเปลี่ยนครับ คือระบบมันถูกออกแบบมาให้เงิบซ้ำซากแบบนี้แหละครับ เพราะปกติจะฟ้องลิขสิทธิ์ในอเมริกา ประกาศโฆษณาอย่างเดียวไม่พอต้องจดทะเบียนด้วย ไม่งั้นขั้นตอนการฟ้องจะลำบากหน่อย ในเมื่อหน่วยงานบอกจดไม่ได้ เขาก็ต้องฟ้องหน่วยงานว่าเขาจดได้

ผมพูดถึง common sense นะครับ ระเบียบของ United States Copyright Office ไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย
มันเป็นระเบียบวิธีปฏิบัติของหน่วยงานหนึ่งว่าจะรับจดทะเบียนได้หรือไม่ เมื่อคนที่ไม่พอใจก็มีคนไปฟ้อง
แพ้ทีแกก็แก้ระเบียบทีแถมระเบียบตัวพี่แกก็แก้ไปเรื่อยๆ ผมไม่เอาระเบียบมาเป็นสาระสำคัญหรอกครับ
ระเบียบตัวดั้งเดิมก็ไม่ได้เป็นแบบที่เราเห็นครับ คือพอมีคดีที่เกี่ยวข้องทีนึงพี่แกก็แก้ทีนึง
ปัญหาคือ act of nature ในระเบียบพี่แก ยังไม่มีคดีในศาล พี่แกก็ยัดเอาไว้ให้เจ้าหน้าที่ทำงานสะดวก
พอแพ้คดีทีพี่แกก็แก้ระเบียบทีนึง

ปล. คำถามแบบนี้ถือว่าแกล้งกันนิดๆครับเพราะกฎหมายค้นทีหมายถึงผมต้องอ่านทั้งเคสนะครับมันเหนื่อย

ปัญหาคือ ที่ระบุในร่าง ที่ขอจดไม่ได้ เช่นภาพที่ถ่ายโดยลิง นิยามของคำๆนี้คือ
ถ้าเป็นกล้องที่คนตั้งไว้จงใจให้ลิงขโมยหลอกล่อให้เกิดเป็นภาพ เข้าข่ายตรงนี้รึเปล่า
คำพิพากษามันละเอียดอ่อนมากครับต้องดูแบบ case by case แล้วจะได้ข้อสรุปออกมา
ผมยกตัวอย่างของคดีที่ศาลยกฟ้อง เพราะศาลดูผลกระทบภาพรวม เช่น คดีขายหนังสือมือสองอันลือลั่นของ คนไทยที่สะเทือนทั้งอเมริกา
คดีนี้เขาชนะเพราะศาลให้ความคุ้มครองกับพวกห้องสมุดครับ ถ้าให้เจ้าของลิขสิทธิ์ ชนะคนซวยคือห้องสมุด ครับมันไปกระทบกับส่วนรวม
แต่เคสลิงเซลฟี่เนี่ย ถ้าพิพากษาให้เป็นตามร่างที่ว่า มันกระทบในแง่ที่ว่าคนก็ไม่สร้างสรรค์ผลงานแบบนี้เพราะไม่คุ้มครอง แต่สังคมได้ประโยชน์อะไร ผมไม่เห็นประโยชน์อะไรจากการให้เป็น public domain นอกจากพวกหัวหมอได้ประโยชน์ครับ

เอาจริงๆ มันก็คือ เรื่องของคนที่อยากได้เงินค่าลิขสิทธิ์จากภาพที่ออกมาจากกล้องของเค้า กับ คนที่ไม่อยากจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์

อนาคตมันต้องมีการแบ่ง Ownership Right Level แน่ๆ
ดูคล้ายๆ กับมรดก ถ้าคนถ่ายไม่มีสิทธิก็คงต้องเป็นของคนต่อไป เช่น

คนจ้าง
-> ลูกหลานคนจ้าง
--> คนถ่าย
---> เจ้าของอุปกรณ์

เรื่องนี้ไม่รู้ว่ามันเริ่มจากปัญหารูปลิงเซลซี่หรือเปล่านะ แต่ถ้าเป็นเพราะอย่างนั้นหน่วยงานทางภาครัฐก็มีการตอบสนองที่ดี

แต่กลับกันมาดูในประเทศเรา ก่อนหน้านี้ก็มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์รูปมาหลายครั้งแต่ไม่เคยเห็นหน่วยงานรัฐที่ดูแลเรื่องนี้มาให้ความกระจ่างหรือมาทำความเข้าใจเลย หรือว่ามันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เนตนะ หรือว่ามันยังไม่เกิดกับคนดังนะ หรือทางหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสิขสิทธิ์มองว่าไม่ใช่เรื่องของเค้าที่จะต้องมาทำให้คนเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์มากขึ้น

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png