หลายคนคงเคยประสบปัญหาพื้นที่ซึ่งมีคนอยู่หนาแน่น การใช้งานโทรศัพท์มือถือก็อาจเป็นเรื่องยากลำบากซึ่งก็พอเข้าใจได้ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ฉุกเฉินอย่างโรงพยาบาลก็อาจจะลำบากมากขึ้น ซึ่งทางกสทช. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ครับ
โดยคุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ได้เปิดเผยวันนี้ว่า ได้มีการสั่งการให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายเพิ่มเซลล์ไซต์ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชและพื้นที่ใกล้เคียง หลังได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าโทรเข้า-ออกได้ยาก รวมทั้งจะมีการใช้รถตรวจสอบคุณภาพสัญญาณด้วย
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ
Comments
มันเป็นเรื่องที่ลำบากใจเหมือนกันนะครับ เราต้องการการติดต่อสื่อสารที่มีคุณภาพดี แต่ก็กลัวการรบกวนอุปกรณ์ทางการแพทย์ใน รพ. เหมือนกัน
I need healing.
นั่นสิ ผมก็สงสัยอยู่ว่าจะเอาแต่เรื่องคุณภาพสัญญาณโดยไม่ห่วงเรรื่องนั้นเลยรึไง
ถ้ามันจะกวน ถึงสัญญาณคุณภาพห่วย มันก็กวนครับ
อุปกรณ์ทางการแพทย์มันไม่ได้กากขนาดนั้น
ถ้ามัน sensitive ขนาดนั้น เค้าคงเอาไปเก็บในห้องที่กันคลื่นและรังสีครับ
ผมเคยทำงาน รพ ก็เห็นบางห้องกันคลื่นรังสีนะ
ห้องที่ต้องตัดสัญญาณรบกวนเช่นห้อง x-ray น่าจะมีการออกแบบเป็นพิเศษอยู่แล้วหรือป่าวครับ อันนี้ผมไม่แน่ใจนะครับ
รังสีในห้องยังออกมาไม่ได้ ก็คงกันไม่ให้เข้าได้อยู่แล้ว
นึกว่าจะให้เน้นคุณภาพเพิ่มขึ้นในบริเวณโรงพยาบาลทุกแห่ง หรือในแห่งที่มีผู้คนใช้บริการมาก
อันนี้ดันไปเน้นแค่แห่งเดียว เอาใจคนแถวนั้น เลือกปฏิบัติไปหน่อย แทนที่จะมีนโยบายให้เหมือนกัน
ผมว่ามันก็ก้ำกึ่งครับ ถ้าออกมาสั่งว่าให้เน้นคุณภาพทุกที่ที่มีคนใช้บริการมาก มันก็ฟังดูลอย ๆ กว้าง ๆ ไปหน่อย
ผมก็เห็นด้วยนะครับ น่าจะให้ข่าวประมาณว่า กสทช. จะเริ่มตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้สูง ว่าเพียงพอหรือไม่ โดยเริ่มต้นที่ รพ.ศิริราช อะไรก็ว่าไป ให้มันดูเท่าเทียมหน่อย
อย่างผมอยู่ในตัวเมืองของจังหวัดนึง บางพื้นที่ยังได้รับสัญญาณเป็น EDGE อยู่เลย
ผมไม่อิจฉาคนแถวนั้นเลยแฮะ เพราะบางทีญาติพี่น้องผมก็ไปรับการรักษาที่ศิริราชหรือ รพ.เอกชนละแวกนั้นเหมือนกัน ถ้ามันจะทำให้ดีขึ้นได้โดยไม่กระทบคุณภาพชีวิตคนแถวนั้นผมว่าน่าสนับสนุนนะ :-)
เค้าห้าม(ใช้)โทรศัพท์ในโรงพยาบาลครับ เพราะตอนเวลาใช้สนทนา เค้าวัดว่าเครื่องมือถือมันแผ่พลังงานออกมามาก เกรงว่าจะไปรบกวนอุปกรณ์อันละเอียดอ่อน ซึ่งปกติเครื่องตอน standby ก็ไม่ได้แผ่รังสีน่ากลัวขนาดนั้น
แต่เดียวนี้ผมว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์เดี๋ยวนี้น่าจะป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีแล้ว
และที่สำคัญ โรงพยาบาลเค้าไม่ได้บอกให้ปิดกั้นสัญญาณมือถือครับ ไม่งั้นที่อเมริกาเค้าเพจตามตัวหมอกันอย่างไง ?!?
อย่าลืมว่า เพจ ไม่เท่ากับ มือถือ นะครับ ที่เค้าใช้เพจกัน ก็เพราะเค้าพยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้มือถือนั่นหละครับ
iPAtS
เคยอ่านการ์ตูนเจอว่าในรพ. ที่ญี่ปุ่นนี่เค้าใช้โทรศัพท์อีกแบบนึงครับ เหมือนพวก PCT ที่สัญญาณอ่อนกว่ากันมาก (PCT ไทยใช้ 0.01 วัตต์)
http://www.wepct.com/phone2/be_buddy.html
ที่อเมริกาไม่รู้ครับ แต่ที่ไทยเค้าตามหมอกันโดยโทรเข้ามือถือหมอเนี่ยแหละครับ
ขอ reference หน่อยครับ จะตามไปอ่านบทความเต็มๆ
ถ้าอยากให้สัญญาณมันแรงก็ต้องรวมตัวกันร้องกสทช.สินะ
แถวเอกมัย-ทองหล่อ คืนวันศุกร์-เสาร์ สัญญาณแย่มากครับ
ผมคิดว่ามันต้องมีเงี่ยนนงำแน่ๆ?!? คิดว่าทำไมอยู่ดีๆต้องมาประกาศอะไรแปลกๆขนาดนี้ทั้งที่ไม่เคยทำมาก่อนต้องการเอาใจใครแถวนั้นตอบมาเสียดีๆคุณเลขา:P
+1
ถ้ามองจากมุมมองกลางๆนะ
โทรไม่ติด:
การใช้งานได้ของมือถือขึ้นกับหลายปัจจัย อันหนึ่งคือ อัตราส่วนของตัวรับสัญญาณ กับ จำนวนโทรศัพท์ ในสถานที่นั้นๆ ใครเคยไปงานกาชาดที่ถนนราชดำเนิน หรือ งานรับปริญญา จะรู้ว่า โทรไม่ติด
ใครรู้:
คนใช้มือถือจะรู้เวลาต้องการโทรออก แต่ไม่รู้ว่าคนโทรเข้าโทรไม่ติด คนโทรเข้าจะกลายเป็นติดต่อไม่ได้ คิดว่าอยู่ในสถานที่อับสัญญาณ (แต่จริงๆไม่ใช่)
โอเปอร์เตอร์มีข้อมูลเหล่านี้หมด ว่าแถวไหน ความหนาแน่นของมือถือกับเซลล์เป็นเช่นไร การโทรที่ล้มเหลว
ใครรับผิดชอบ:
ถ้ามองว่าผู้ใช้มือถือเป็นผู้บริโภค ก็ไปแจ้งสคบ.(สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค)เหมือนเรื่องบิลค่าโทรศัพท์ผิด แต่เรื่องโทรไม่เข้าโทรไม่ออก อาจจะเห็นไม่ง่าย เหมือนข้อมูลที่มาในใบแจ้งหนี้ค่าโทรศัพท์
โอเปอร์เตอร์ ?
หน่วยงานอื่นที่มีส่วนช่วย เรื่องหลายเรื่องเป็นเรื่องทางเทคนิค ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ หลายเรื่องไม่เคยดำเนินการมาก่อน และ หลายเรื่องอาจสำคัญในกรณีฉุกเฉิน เช่น จนท.หรือประชาชนเดินทางเข้าไปในพื้นที่ปฏิบัติการ แล้วไม่สามารถใช้มือถือได้ โดยไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อน
จริงๆอยากให้โอเปอร์เตอร์ทำรายงานรายวันส่ง หน่วยงานที่รับผิดชอบว่า มีเหตุการณ์โทรไม่ติด มากน้อยเพียงใด ไม่ต้องการแค่เห็นในบิลค่าโทรศัพท์ว่า ชดเชยสายหลุด 2 ครั้ง 5 บาท
กสทช.น่าจะมาช่วยผู้บริโภคในเรื่องคุณภาพการบริการ โดยไม่ต้องรอให้เราไปร้องทุกข์ที่ละราย ที่ผ่านมาคนที่ทุนเยอะๆ ทำอะไรก็ได้ตามใจ (ตีความกันเอาเอง)
ดอยบ้านผมยังไม่มีเสาเลยครับ มาตั้งให้หน่อย ห่างจากถนนใหญ่แค่ 3 กิโลเอง ใช้เอไอเอสมาสิบกว่าปีไม่เคยใจดีไปตั้งเสาให้ทั้งๆที่ลักษณะภูมิประเทศก็ไม่ใช่ว่าจะสูงไปกว่าพื้นราบเสียเท่าไหร่
อุปกรณ์การแพทย์ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้รังสีก็อาจจะรบกวนครับ แต่สำหรับอุปกรณ์อื่นๆไม่รบกวนหรอกเพราะมันก็คอมพิวเตอร์ดีดีๆนี่เอง อันนี้ต้องดูวิธีการวัดของอุปกรณ์ด้วยว่าวัดปริมาณรังสีคลื่นสะท้อนหรือว่าวัดอะไร เครื่องมือแลบวิทยาศาสตร์แพงๆยังไม่ขนาดนั้นเลย แต่แปลกนะอย่างเครื่อง NMR, X-ray diffractometer อะไรพวกนี้ก็ไม่ต้องกันอะไรเลย ทั้งๆที่ใช้หลักการคล้ายๆกันกับเครื่องมือทางการแพทย์บางตัว อันนี้ผมไม่รู้ในเชิงหลักการมากนะเพราะผมไม่เคยใช้ อิอิ
ก็ไม่รู้สินะ! true4G ทั้งในและนอกตึก ใช้ได้แบบรุนแรงและเร็วมากอ่ะ คงไม่ต้องปรับปรุงอะไรแล้วล่ะ
อิอิ