เมื่อเวลาประมาณห้าทุ่มกว่าๆ ของคืนวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมามีรายงานว่าสายเคเบิลใต้น้ำ AAG ที่เชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านเกาะกวมและฮาวายชำรุดเสียหายบริเวณส่วนเชื่อมต่อระหว่างฮ่องกงมาทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ
เคเบิลดังกล่าวมีความจุที่ออกแบบไว้สูงถึง 2.88 Tbps และมีการใช้งานอยู่ค่อนข้างมาก การชำรุดครั้งนี้ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช้าลงมากในหลายๆ ประเทศรวมถึงไทยด้วย ผู้ใช้หลายๆ รายในไทยก็พบว่าค่า latency เพิ่มสูงขึ้นและมีความเร็วลดลงจริง
สายเคเบิลใต้น้ำเส้นนี้เคยมีประวัติชำรุดเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแล้วครั้งหนึ่ง ในช่วงนั้นใช้เวลาซ่อมแซมถึง 2 สัปดาห์ครับ
Comments
ก็ว่า ทำไมช่วงนี้ Skype มันกระตุกรัวๆเลย อาจจะเป็นสาเหตุนี้ด้วยสินะครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ผมงงว่าเน็ตนอกแย่มาตั้งแต่เมื่อวาน เปิดไม่ค่อยขึ้นเอาซะเลย (โดยเฉพาะ secret.ly นี่แทบเปิดไม่ได้) ขนาด Facebook ยังแย่ แต่โทรสไกป์ไม่มีปัญหาเลยครับ เมื่อกี้โทรด้วยเน็ตติด FUP 128kbps บนรถเมล์ก็โอเคดี >_<
เรื่องเน็ตนอกแย่จริงครับ วันนี้ก็ยังมีปัญหา Facebook โหลดได้บ้างไม่ได้บ้าง เกม LoveLive! SIF (ต่อเน็ตตลอดเวลาที่เล่น) เกิดปัญหาเน็ตโหลดข้อมูลไม่ได้หลายรอบครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ภาพไม่ขึ้นครับ
ลอง refresh ดูอีกทีฮะ ขึ้นมั้ยเอ่ย
มันยังไม่ขึ้นครับ
ถึงว่าทำไม ช่วงนี้เน็ตอืดๆ - - ใช้ CAT Fiber อยู่ที่บริษัท บางอ้อแระ
เคเบิลดังกล่าวมีความจุที่ออกแบบไว้สูงถึง 2.88 Tbps > เคเบิลดังกล่าวออกแบบไว้ให้มี Bandwidth สูงถึง 2.88 Tbps
เมื่อคืนอืดสนิทเลยครับ
ถึงว่าช้ามาก (ใช้ของทรู)
ปลาฉลามกัดสายขาด หรือป่าวครับ
หรือไม่ก็เพราะว่าแผ่นดินไหวที่กวม
พังช่วง เวียดนาม-ฮ่องกง ครับ
@mamuang
แผ่นดินไหวอันนี้มาทีหลังครับ และอยู่นอกจุดที่เคเบิลชำรุดด้วย (มันขาดแถวๆ ช่วงฮ่องกง ที่วิ่งมาแถบ SEA)
ขาดตรงนั้นฟิลิปปินล์ก็รอด 1 ประเทศครับ ใน อาเซียน ดูตำแหน่งสายสิ
ใช่ครับ อิจฉาเลยทีเดียว T_T
เมื่อวานนี่อาการหนักเกือบทั้งวันเลยครับ ด่า ISP กันเละเทะ
GW2 ได้แต่มองบอสตาปริบๆ และก็อดหีบ
มาๆ WvW กัน >__<
เล่น HeartStone ไม้ได้ (Server USA) =,=
:: DigiKin8 ::
diablo3 ก็บ่นกันระงม
เป็นตั้งแต่เมื่อวานเที่ยงๆ แล้วครับ
ถึงว่าเน็ตหอกากสุด ๆ (เน็ตหอใช้ True) =_=
Coder | Designer | Thinker | Blogger
มิน่า youtube ช้าเป็นเต่าเลยครับ
มิน่าล่ะ มะวานรถติดมากกก /ใช่เหรอ
The Dream hacker..
ทำไมมันขาดอ่ะ เจออะไร
ถึงว่า iOS8 ไม่มาสักที รอนานละ
คห แต่ละอัน - -
แต่ทำไม ยูทูปต์ ผมเข้าได้ปกตินะ
เน็ตของ TOT Fttx
ถึงว่าช่วงนี้ไม่ค่อยมีตังใช้...
ก็ว่าช่วงนี้พุงยื่นสุดๆ
Submarine Cable Map 2014
วัยรุ่นเซ็งครัช
เวนกรรม ก็ว่าทำไอลามสัตว์เลี้ยงผม ตรงฝันมาสายใยแก้วขาดๆติดอยู่ /เพ้อ
ขออนุญาตอธิบายเสริมสำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ
AAG (Asia-American Gateway)
ในวันที่ 27 เดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 2007 ที่กรุงกูลาลัมเปอร์ ได้บรรลุข้อตกลง ในการวางระบบเคเบิลใต้ทะเล(ใต้น้ำ) ที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง เอเชียกับอเมริกา โดยใช้ชื่อย่อว่า AAG (Asia-American Gateway)
สายเคเบิลเอเอจีนี้ มีบริษัทให้บริการในด้านโทรคมนาคมสื่อสารมวลชนทั้ง 19 บริษัทเข้าร่วมลงขันฑ์(ลงทุน) คือ AT&T Inc., Bayan, Bharti, BT Global Network Services, CAT Telecom, ETPI, FPT Telecom, the Government of Brunei Darussalam, PT Indosat, PLDT, Saigon Postel Corporation, StarHub, Telcotech, TELKOM Indonesia, Telstra, Telekom Malaysia, TNZL, Viettel ใน 7 ประเทศ(สิบจุดการเชื่อมต่อ)
สายเคเบิลใต้น้ำ AAG มีความยาวทั้งสิ้น 20000 กิโลเมตร รองรับปริมาณข้อมูลได้สูงสุด 2880 Gigabit/sec. หรือ 2.88 Tarabit/sec. ซึ่งถือได้ว่ามีความเร็วสูงในสมัยนั้น (และสมัยนี้) เป็นสายทีเชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับสหรัสอเมริกา มีประเทศ Malaysia, Singapore, Thailand, Brunei Darussalam, Vietnam, Hong Kong SAR, Philippines, (Guam(เกาะ), Hawaii (บางจุดก็เป็นเกาะ),= USA) เป็นจุดเชื่อมต่อ(ชุมสาย) แล้วเดินสายเคเบิลเสร็จในปี 2009 เริ่มให้บริการในปี 2010
และสายเคเบิลใต้ทะเล AAG จุดที่เชื่อมต่อกับประเทศไทยอยู่ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มันอาจจะไม่แปลก ว่าทำไมเมื่อสายเคเบิลเส้นนี้ขาดแล้ว ระบบอินเทอร์เนตที่วิ่งผ่านสายเส้นนี้ ต้องเปลี่ยนไปวิ่งเส้นอื่นแทน ทำให้ความเร็วเดิม 2.88 Tbps หายไป และลดความเร็วเพื่อไปวิ่งร่วมกับสายเคเบิลอื่นที่มีจุดเชื่อต่อแบบอ้อมโลก (AAG เปรียบเหมือนทางด่วนพิเศษ) ไม่แวะพักตามอำเภอหรือจังหวัด แต่จะแวะพักเฉพาะตามประเทศเท่านั้น (เฉพาะเมื่อต้องการติดต่อกับ USA)
เท่าที่ผมลองไล่สายดูตามแผนที่ เขาน่าจะเปลี่ยนไปใช้สาย ASE ที่สามารถรองรับประมาณข้อมูลสูงถึง 15 Tbps. และสายเคเบิล SJC 28 Tbps. เพื่อเชื่อมต่อไปยัง USA ผ่านชุมสายที่ประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปินส์ และ เกาะกวม (อันนี้แค่เดาน่ะครับ)
สายใหม่ก็ติดตั้งเพิ่มไปแล้วก็ใช้คู่ขนาน (เอ๊ะ คำคุ้นๆ) สายเก่าก็ยังคงใช้งานอยู่จนกว่ามันจะพังไปข้าง เค้าคงไม่เปลี่ยนกันดื้อๆ หรอกครับ... เสียดายความจุ ตั้ง 2.88 Tbps ... (ถ้ามันได้แค่ gbps ก็คงน่าเปลี่ยนอยู่)
น่าจะหมายถึง เปลี่ยนไปวิ่งผ่านทางนู้นในตอนนี้ ที่กำลังซ่อมของเก่านะครับ
เผื่อใครยังไม่ทราบว่า 2.88 Tbps นี่มากขนาดไหน ทางออกจากประเทศเรารวมทุกเส้นแล้ว 1 Tbps ครับ (รู้จากทวิตเตอร์ @icez นี่แล)
เสียดายความจุ ตั้ง 2.88 Tbps คือจริง ๆ ผมอยากให้ใช้คำนิยามใหม่จะดีกว่า น่ะครับ ความจุ ไม่เหมาะกับการใช้เป็นคำนิยามในการเรียกการโอนถ่าย หรือส่งผ่านข้อมูล มันเหมาะกับ Hard Disk ถังน้ำ etc. อะไรประมาณนี้
คำที่ควรใช้ : ปริมาณข้อมูล,แบนด์วิดท์,ความเร็ว วิธีใช้เช่น : สามารถรองรับปริมาณข้อมูลได้สูงสุดถึง 2.88 Tarabit/sec. (เทราบิตต่อวินาที) เป็นต้น (คือ ทุก ๆ 100Km. จะมีตัวทวนสัญญาณแสงในสาย(Fiber Optic) เพื่อทำให้ปริมาณแบนด์วิดธ์คงที่(ความเร็วคงที่)
แล้วทำไมต้องใช้หน่วย Tbps การส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจะคำนวณเป็นบิตต่อวินาที เช่น ส่งข้อความว่า AAG ต้องใช้จำนวนบิตทัังหมด 8*3 เท่ากับ 24 bit หรือ 25bit บิตที่ซ่อนไว้เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลจะไม่นับในทางทฤษฎี
ท่านทั้งหลายลองคิดดูซิว่า 2.88 Tbps มันส่งข้อมูลได้ไวหรือไม่ต่อวินาทีน่ะครับ ไม่ใช้ต่อชั่วโมง
แต่ถ้าเป็นการจัดเก็บข้อมูลจึงจะเรียกว่า ความจุ เช่น มีปริมาณความจุดสูงสุดถึง 3 Tarabyte เป็นต้น หรือย่อเป็น TB. 3000 GB. ส่งผ่านสาย SATA III มีความเร็วถึง 6 Gbps หรือ 6 Gigabit/sce. (ส่วนความเร็วในการอ่านเชียนเขาจะใช้หน่วย IOPS(อ่านเขียน-ครั้งต่อวินาที) และ Bit ต่อวินาที เหมือนกัน)ที่ว่าความเร็ว 6 Gbps นี้ มันหมายถึงความเร็วระหว่าง Hot to Hot หรือระหว่าง SATA Contoller กับ Cache ของฮาร์ดดิสก์(เมนบอร์ดของฮาร์ดดิสก์(จะมีแคชสำหรับเก็บข้อมูลที่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ ถ้ามีมากมันก็ไว แต่ก็แพง)
ประมาณนี้ได้ไหมครับ
เทียบจากแผ่นหนัง bluray แบบธรรมดา
25GB = 1 bluray
2.88TB = 2880GB = 115.2bluray
โอ้ววว transfer แผ่น bluray 115 แผ่น/วินาที
นึกถึงข่าว DDOS เรื่องนึง
ที่มีเปรียบเทียบเป็นแผ่น บลูเรย์เหมือนกัน
คือหน่วยเหล่านี้เอาไปเทียบไม่ได้น่ะครับ
เพราะมาตรฐานบูเลร์ดิสก์นี้ ถ้าจำไม่ผิด น่าจะ 50 Gigabyte หรือ อย่างน้อยก็ 25 GB. ตามที่ความเห็นด้านบนกล่าวไว้
อีกอย่างหนึ่ง ปริมาณความจุ กับปริมาณความเร็ว จะมีค่าแตกต่างกัน
เช่นเนตความเร็ว 30M(FTTx) นี้ มีความเร็วจริง แค่ 3.7 Mbit/sec. เองเมื่อเทียบด้วยปริมาณความจุ อย่างที่ท่านเข้าใจ
ดังนัันข้อมูล 2880 GB เมื่อเทียบกับหน่วยการโอนถ่านข้อมูลจะมีปริมาณแบนด์วิดธ์เท่ากับ 360 Gbps หรือ 36000 Mbit/sce. เท่านั้นเอง ยังไม่ถึง 2.88 Tbps เลยครับ
แล้ว 2.88 Tbps เมื่อเทียบเป็นปริมาณความจุ ก็จะได้ความจุที่ 23.04 Tarabyte (TB). เช่นกัน
ทีนี้เห็นหรือไม่ว่า การใช้หน่วยผิด ก็ทำให้ข้อมูลคลาดเดลื่่อนได้
หน่วยความจุใช้ 1000 byte = 1 Kb ใครเคยแบ่งพาร์ติชั่นได้จำนวนพื้นที่เท่ากับจำนวนที่ระบุบนโน๊ตเพดของฮาร์ดดิสก์บ้าง
หน่วยความเร็วใช้ 1024 byte = 1 Kb เนตบ้านใครเคยวิ่งได้เท่ากับความเร็วที่เราใช้งานบ้าง เช่น 10M 15M 30M 50M 100M ก็คงจะไม่ต่างกัน
ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ ไม่ตอบต่อแล้วน่ะครับ เพราะความรู้เหล่านี้ทั้งหมดที่ตอบแก้ ครบถ้วนแล้ว
Bandwidth IS NOT Speed
ผมจำมาจากคำว่า bandwidth capacity ครับ ความจุของความกว้างช่องสัญญาณ (band "width" -- take it literally) และผมจะไม่เรียก bandwidth ว่าความเร็วโดยเด็ดขาดครับ มันคนละความหมายกัน
bandwidth ใกล้เคียงที่สุดต้องเทียบกับถนนครับ มันคือความกว้าง(จำนวนเลน)ของถนน bandwidth ยิ่งกว้าง รถ(ข้อมูล)ยิ่งส่งไปได้มากขึ้นในเวลาเท่ากัน
อันนี้ผมจะอธิบายให้อ่าน เพื่อความเข้าใจของผู้ที่ยังเข้าใจผิดบางประการน่ะครับ
ลักษณะที่เรียกว่าความจุนั้น (ต้องมีทั้งความกว้าง ความลึก (ลึกหมายถึงลักษณะที่สิ่งใด หรือพื้นที่ใด ๆ วัดจากพื้นดินลงไป หรือวัดจากปากใด ๆ เข้าไปยังเป้าหมายนั้นๆ ในดิน หรือในภูเขา เป็นต้น
ลักษณะที่ใช้เรียกความจุคือสิ่งที่ไม่รั่วไหลไปไหน อยู่กับที่เฉพาะส่วน เช่น สระน้ำ ถังน้ำใดๆ หม้อน้ำ หม้อน้ำใดๆ ไห ฯลฯ โอ่ง หรือเขื่อนเป็นที่สุด (ส่วนทะเลหรือมหาสมุทร จะไม่กล่าวถึงในที่นี้)
ส่วนลักษณะความจุในด้านเทคโนโลยี เช่นฮาร์ดดิสก์ แฟรชไดร์ เอสดีการ์ด (สื่อบันทึกข้อมูลใด ๆ )ที่มีชื่อเรียกมากไปกว่านี้ ก็ควรเรียกว่าความจุ (หรือมีขนาดความจุ, ปริมาตรความจุ ปริมาณความจุ)
ทีนี้มาวิเคราะห์คำว่า Bandwidth ในทางภาษาเทคโนโลยีกัน (โดยส่วนมากจะนิยมใช้คำว่า มีปริมาณแบนด์วิดธ์สูงสุด(มีปริมาณแบนด์วิดธ์ภายในสูงสุด 34 Gbps.) วิธีใช้เช่น CPU A10-7850K มีความเร็ว 4.0 Ghz มีแบนด์วิดท์สูงสุดที่รองรับได้ ((มีปริมาณความจุของข้อมูลที่รองรับได้สูงสุด 34 Gbps.) ถ้าใช้คำเรียกอย่างนี้มันจะผิดกับหลักการเรียกตามลักษณะการทำงานเพราะข้อมูลเหล่านี้เมื่อไหลไปแล้วจะไม่ถูกจัดเก็บโดยปราศจากกระไฟฟ้า เมื่อไหลก็ไหลกับ(ส่งรับ)) 34Gbps. สามารถรองรับหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงสุดในรุ่น DDR3 2133 Mhz และ DDR3 2400Mhz ในโหมดโอเวอร์คล๊อก ซึ่งหนาดความจุมาตรฐานเริ่มต้นที่ 2GB 4GB 8GB 16GB สำหรับ DDR3-2133 มีปริมาณแบนด์วิดธ์สูงสุด 17.7 Gbps. ส่วน DDR3-2400 มีแบนด์วิดธ์สูงสุด 19.2 Gbps. ถ้าเราต้องการให้ iGPU ทำงานได้เร็ว ก็ควรใส่แรมสองตัวเพื่อให้มีปริมาณแบนวิดธ์เพียงพอต่อความเร็วหรือต่อปริมาณแบนวิดท์ของ CPU รุ่นนี้ (หรือให้เพียงพอต่อปริมาณความจุของ CPU รุ่นนี้ เท่ากับว่าข้อมูลวิ่งเข้าไปแล้วก็หยุดอยู่ไม่ย้อนกลับและเต็มในสุด)= กับว่า ความเร็ว แบนด์วิดธ์ (มีความหมายอันเดียวกันแต่ใช้ต่างสถานะกัน) ความจุนั้น ทำอย่างไรมันก็ไม่เหมาะที่จะใช้เรียกสาย Fiber Optic หรือสาย UTP แน่นอนครับ ลองอ่านดูแล้วพิจารณาให้ดีอีกสักนิดหนึ่งครับ (บางครั้งคำแปลกับความหมายของการนำเอาไปใช้งานอาจจะไม่ตรงกันก็ได้)
ดังนั้น
สายเคเบิลใต้ทะเลลึก AAG จึงควรใช้คำว่า ความเร็ว มีเหตุผลคือ รองรับปริมาณความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล(โอนถ่ายข้อมูล)(ในการส่งรับข้อมูล)ที่ 2.88 เทาราบิตต่อวินาที
สายเคเบิลใต้ทะเลลึก AAG จึงควรใช้คำว่า แบนด์วิดท์ มีเหตุผลคือ รองรับปริมาณแบนด์วิดธ์จาก Thai-ศรีราชา(ในการส่งรับข้อมูล)ที่ 2.88 เทาราบิตต่อวินาทีไปยังเป้าหมายปลายทางที่ USA (ทั้งนี้ไม่ได้เกิดจากสาย Fiber Optic เกิดจากเร้าเตอร์ที่ควบคุมการทำงานของสายเส่นนี้ที่มีความเร็วระหว่างประเทศต่อประเทศที่สามารรองรับปริมาณแบนด์วิดธ์(ความเร็ว) ในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 2.88 Tbps.)(ส่วนข้อดีของสายคือการลดค่าหน่วง เช่นการใช้สาย UTP แบบ Cat5e และ แคท6 นั้นมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่างกัน (แต่สวิทย์)มันก็รองรับปริมาณข้อมูลได้สูงสุดเพียง 100Mbps/1000 Mbps. เพราะอะไรเพราะความถี่ในรับสัญญาณรับส่งข้อมูลของสายแต่ละเส้นมีความแตกต่างกัน (แล้วเกิดจากอะไร เกิดจากขนาดลวดทองแดงหนึ่ง วิธีป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกหนึ่ง ทำให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของสายแต่ละเส้น(ความเร็วในการจุข้อมูล(บรรทุกข้อมูล))ต่างกัน
สรุปว่า
การไหลไปของข้อมูลจะใช้ความเร็ว แบนด์วิดท์ / วินาที ก็ว่ากัน เช่น
แม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรองรับปริมาณน้ำไหล(ความเร็วน้ำ)สูงสุดที่ 3590 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะนี้วันนี้ 18/09/2557 มีปริมาณความเร็วน้ำไหลผ่าน 826 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
เขื่อนภูมิภล มีปริมาณความจุสูงสุด(สามารถรองรับน้ำได้สูงสุด) 13462 ล้านลูกบาศก์เมตร (ดังนั้นการใช้ความจุขึ้นต้นหรือลงท้ายได้ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นหยุดอยู่กับที่หรือเป็นสิ่งเฉพาะส่วน เหมือนสระน้ำ เขื่อน หนอง บ่อน้ำ กระบอกสูบ/ข้าวหลามตัด/ ฮาร์ดดิสก์ หรือสื่อบันทึกข้อมูล ทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร
ดังนั้นคำว่าแบนด์วิดธ์ ที่เกิดจากความเร็วของปริมาณการไหลผ่าน(ส่งรับ)ข้อมูลที่วิ่งได้ซึ่งมี (ความถี่ เช่น Ghz Mhz) และมี Butwidth ความกว้างของช่องสัญญาณ (bitWidht)(ปริมาณความเร็ว(ความจุ))ต่อหนึ่งรอบสัญญาณ(ส่ง/รับ)ที่เรียกว่า Bandwidth (ซึ่งเกิดจากการเอาความถี่ คูณ ด้วยความกว้างของช่องสัญญาณ ก็จะได้ปริมาณแบนด์วิดธ์ในที่สุด นั่นเองครับ)
สรุปอีกครั้ง ใช้ความจุก็ถูก แต่ไม่ใช่หลักนิยม เกี่ยวการใช้เป็นมาตราในการเรียก หรือคำนิยามในการใช้เรียกถึงเท่านั้นเอง (สรุปถูกทั้งสองฝ่าย)ในแง่ความคิด แต่ในแง่ทางเทคนิคการใช้คำนิยามเรียกแนะนำว่า ควรใช้ ความเร็ว แบนด์วิดธ์ น่าจะดีกว่าครับ (เพราะมันรวมกับทั้งความจุ ความถี่ ความกว้างรวมไว้ด้วยกันแล้ว) นั่นเอง
ขอบคุณครับ ความรู้แน่นปึกเลยครับพี่
ถึงตอนนี้ก็ยังช้าอยู่เลยครับ ช้าตั้งแต่เมื่อคืนละ True Docsis
มิน่า.. ผมถึงน้ำหนักขึ้น //ใช่หรอ
ว่าเเล้ว ไมออกนอกเนตทุยมันช้ามากกกก >.<
มาเห็นผลตอนโหลด iOS 8 เนี่ยหล่ะครับ (พระเจ้า 1.1 GB !)
จาก Remaining 1 ชม กลายเป็น 4 ชม.. ตอนนี้ 8 แล้ว จะช้ากันไปไหน..
ผมโหลดบน desktop 40 นาทีฮะ
แต่โหลดบน iPhone ก็ 4 ชั่วโมงแหะ
iPad mini with Retina display ผม 1.3 GB 13 นาทีเองนะครับเมื่อตอนเช้า ผมว่าน่าจะเพราะคนโหลดเยอะ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เหมือนผมไม่รู้สึกอะไรอยู่คนเดียว
555+