เป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์กำลังวางแผนร่วมกับคู่ค้าของบริษัทในการที่จะสร้างโน้ตบุ๊กราคาถูกเพื่อเป็นการต่อกรกับคู่แข่งในตลาดอย่าง Chromebook ที่กำลังกินส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์พกพาราคาถูกของไมโครซอฟท์ไปอย่างรวดเร็ว และหนึ่งในผลงานนั้นคือโน้ตบุ๊กสาย Stream ที่ร่วมมือกับทาง HP ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายนที่สหรัฐอเมริกา

ผ่านไปหลายเดือน ทาง HP ประเทศไทยได้ตัดสินใจเอาเข้ามาจำหน่ายในบ้านเราอย่างเป็นทางการ ด้วยราคาค่าตัวเริ่มต้นที่ 11,990 บาท สำหรับรุ่น 11 นิ้ว ซึ่งมาพร้อมกับความสามารถในการเชื่อมต่อ 3G ได้ด้วย ซึ่งทาง HP ได้ส่งเครื่องให้กับ Blognone เพื่อรีวิว และนี่คือรีวิวครับ

HP Stream 11, Horizon Blue - Top Shell

####ตัวเครื่องและสเปค####

สเปคของ HP Stream 11

  • หน่วยประมวลผลกลาง Intel Celeron N2840 ทำงานที่ความถี่ 2.16 GHz
  • หน่วยความจำ 32 GB (eMMC), แรม 2 GB
  • หน้าจอขนาด 11.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1366x768 พิกเซล เป็นจอด้าน (Anti-Glare)
  • ระบบเสียง DTS Studio Sound พร้อมลำโพงคู่แบบสเตอริโอ
  • รองรับการเชื่อมต่อ 3G/Wi-Fi/Bluetooth
  • รองรับการ์ดหน่วยความจำ SD (ไม่ใช่ microSD)
  • รองรับการเชื่อมต่อ HDMI และ USB 3.0
  • มาพร้อมประกัน 1 ปี (ซื้อเพิ่มได้)
  • น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.2 กิโลกรัม
  • มาพร้อมกับ Windows 8.1 with Bing และ Office 365 Personal ฟรี 1 ปี

ในแง่สเปค HP Stream 11 ถือว่าเป็นสเปคพื้นฐาน ไว้สำหรับการใช้งานทั่วไป อย่างเช่นทำงานเอกสาร และดูหนังฟังเพลง มากกว่าที่จะเอาไปใช้ทำงานเฉพาะทางเป็นหลัก อีกทั้งด้วยแนวคิดที่ถูกวางเอาไว้ในฐานะเป็นอุปกรณ์ซึ่งอิงกับ cloud storage เป็นหลัก ทำให้หน่วยความจำหลักของเครื่องให้มาในระดับที่ "พอใช้ได้" มากกว่าที่จะเป็นโน้ตบุ๊กเครื่องหลัก (สเปคของ HP Stream 13 ก็จะคล้ายกัน แต่ปรับหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น)

เรื่องของหน่วยความจำที่ให้มา 32 GB ทาง HP ระบุอย่างชัดเจนว่า เป็นเพราะแนวคิดของเครื่องที่ถูกสร้างให้เป็น "wireless machine" หรือเครื่องที่ทำงานโดยเน้นการเชื่อมต่อตลอดเวลากับอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเน้นไปที่ cloud storage ซึ่งทำให้หน่วยความจำในเครื่อง ได้มาเพียงเท่านี้ โดยระบุว่า พื้นที่ของหน่วยความจำที่เหลือให้ใช้จริง จะมีเพียง 16 GB โดยประมาณ ซึ่งที่ถูกใช้ไปประมาณครึ่งหนึ่ง แบ่งได้ดังนี้

  • ระบบปฏิบัติการ 7 GB (Windows 8.1 with Bing)
  • พาร์ทิชันของระบบ (ไม่ระบุว่าเป็นสำหรับการกู้คืนหรือไม่) อยู่ที่ 4 GB
  • แอพต่างๆ ที่แถมมากับตัวเครื่อง 5 GB

สำหรับตัวเครื่อง HP Stream 11 มาด้วยสีสันที่สดใส โดยรุ่นที่เอามาจำหน่ายในประเทศไทยจะมีสองสีหลัก คือ Orchid Magenta (สีชมพูเข้ม) และ Horzion Blue (สีฟ้า) ส่วน HP Stream 13 จะมาเฉพาะสีฟ้าเท่านั้น ซึ่งทุกรุ่นที่จำหน่ายในเมืองไทยจะมาพร้อมกับโมเดม 3G ในตัว ใช้ซิมการ์ดขนาดปกติเสียบทำงานได้ทันที เครื่องที่ได้รับมารีวิวเป็นสีฟ้า ซึ่งส่วนตัวแล้วชอบสีสันของเครื่องเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะแตกต่างจากโน้ตบุ๊กโดยทั่วไปแล้ว สีของเครื่องยังดูดี ไม่จัดจนเกินไป ส่วนพลาสติกของเครื่องถือว่าแน่นหนาดี ไม่ให้ความรู้สึกว่าเป็นพลาสติกก๊อบแก๊บ

HP Stream 11, Horizon Blue (Inside Shell)

HP Stream 11, Horizon Blue (Inside)

ด้านใต้ของเครื่องที่มาเรียบๆ

HP Stream 11, Bottom Shell Cover

ด้านซ้ายของเครื่องประกอบไปด้วย (ซ้ายไปขวา) ช่องสำหรับ Kensington Lock, ช่องสำหรับอแด็ปเตอร์ชาร์จไฟ, ไฟ LED แสดงสถานะการชาร์จ, ช่องใส่ซิม และช่องใส่การ์ด SD

HP Stream 11, Left side

ด้านขวามือของเครื่องประกอบไปด้วย (ซ้ายไปขวา) ช่องเสียบหูฟังและไมโครโฟน, พอร์ต USB 2.0, พอร์ต USB 3.0 และพอร์ต HDMI

WP_20141206_16_42_45_Pro__highres

สิ่งแรกที่ผมเห็นด้วยสายตาจากการเปิดเครื่องและชอบอย่างมาก คือแป้นพิมพ์และทัชแพดที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่ต้องเกร็งมือเวลาพิมพ์แม้แต่น้อย ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีอย่างมากๆ เพราะทุกวันนี้โน้ตบุ๊กเครื่องหลักที่ผมใช้ทำงานประจำ ให้ประสบการณ์ในการพิมพ์ที่ถือว่า "เข้าขั้นแย่"

HP Stream 11 Keyboard & Touchpad

####การใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน####

เรื่องของซอฟต์แวร์ Windows 8.1 with Bing คือรุ่นที่ไมโครซอฟท์แจกจ่ายให้กับผู้ผลิตเครื่องในราคาที่ต่ำมากๆ (ไม่แน่ใจว่าฟรีหรือไม่) โดยบังคับให้ผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนตัวค้นหาที่เป็นค่าเริ่มต้น (default) ของเครื่องได้ แต่ผู้ใช้เอามาเปลี่ยนเองได้อย่างอิสระในภายหลัง ทั้งนี้รุ่นที่ติดมาจะเป็นรุ่นที่รองรับ 64-bit ตั้งแต่แรกเริ่ม

HP Stream 11, Desktop

Desktop, HP Stream 11

เรื่องของหน่วยความจำที่ให้มาเพียง 32 GB นั้น ถือได้ว่าเป็นข้อจำกัดอันหนึ่งที่บังคับให้ผู้ใช้ต้องเรียกใช้งานข้อมูลผ่าน OneDrive ที่เป็น cloud storage ของทางไมโครซอฟท์แทบจะตลอดเวลา (หลักการคล้ายๆ กับ Chromebook) อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการใส่การ์ดหน่วยความจำ SD และการทำงานแบบออฟไลน์ที่ทำงานได้เต็มที่ กลายเป็นจุดแข็งสำคัญที่ชดเชยข้อเสียในจุดนี้ไปได้พอสมควร

สำหรับประสิทธิภาพของเครื่อง ต้องยอมรับว่าอาจจะไม่ได้เด่นกว่า HP Pavillion X2 สักเท่าไหร่ กล่าวคือ เปิดเครื่องได้รวดเร็ว ใช้ทำงานปกติได้ดี แต่ถ้าเริ่มทำงานที่ต้องใช้ทรัพยากรเครื่องมากๆ เช่นการเปิดแท็บใน Internet Explorer ในจำนวนเยอะๆ ก็ช้าลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนสำหรับคนที่ใช้ Google Chrome อาจจะเป็นข่าวร้ายเสียหน่อยตรงที่เริ่มต้นทำงานค่อนข้างช้า (แต่ก็ไม่ได้ช้าจนน่าเกลียด) พอเล่นเกมธรรมดาๆ หรือเกมเก่าๆ บางเกมได้อยู่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสเปคโดยรวมเอง และอีกส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการใช้ชิปหน่วยความจำประเภท eMMC ด้วย

ผมเคยมีโอกาสใช้ Acer C7 Chromebook มาก่อน ซึ่งก็ต้องตอบว่าประสบการณ์ด้านประสิทธิภาพนั้นคล้ายๆ กัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือเรื่องของการทำงานแบบออฟไลน์ที่ Stream 11 ให้นั้น ถือว่าเหนือกว่ามาก (ตรงนี้เป็นจุดแข็งของระบบปฏิบัติการ Windows มาอย่างยาวนาน)

เรื่องของจอ ด้วยความที่เป็นจอด้าน (Anti-Glare) ทำให้มองสบายตาอย่างมาก ลืมเรื่องของการสะท้อนแสงทั้งหมดแบบที่จอกระจกมีไปได้เลย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตามมาคือเรื่องของการที่จอกลับไม่ "สู้แดด" กล่าวคือ ถ้าเอาไปใช้งานนอกสถานที่และมีแสงส่องมาโดยตรง หน้าจอก็แทบจะมองอะไรไม่เห็นเลย นอกจากนั้นแล้วหน้าจอยังเอียงได้ระดับหนึ่งเท่านั้นก็จะติด ซึ่งสร้างข้อจำกัดในบางเวลา อย่างเช่น ช่วงที่ผมยืน ก็จะไม่สามารถอ่านข้อความจากจอได้ถนัดอย่างที่ควรจะเป็น

WP_20141206_14_08_16_Pro__highres

สิ่งที่ดีมากของโน้ตบุ๊กเครื่องนี้คือเรื่องของแป้นพิมพ์ ผมชอบโน้ตบุ๊กเครื่องนี้ตรงที่แป้นพิมพ์นั้นพิมพ์ได้ดีมากจนเหลือเชื่อ (รีวิวนี้ก็พิมพ์บนเครื่อง Stream 11) แป้นให้สัมผัสที่ดีอย่างมากโดยไม่เมื่อยมือ การพิมพ์ต่อเนื่องนานๆ ไม่มีอาการเมื่อยล้ามือ และสำคัญที่สุดตรงที่ปุ่มทุกอันกดแล้วลึก ทำให้ความมั่นใจในการพิมพ์ด้วยเครื่องนั้นดีมากๆ นอกจากนั้นที่พักมือ (palm rest) ก็ไม่ยวบยาบ

ในทางตรงกันข้ามทัชแพดที่มีขนาดใหญ่ กลับทำงานได้ไม่ค่อยเสถียรในบางครั้ง กล่าวคือเวลาสั่งเลื่อนหน้าจอขึ้นลง (scroll) บางครั้งก็ติดบ้าง ไม่ติดบ้าง คลิกแล้วไปบ้าง ไม่ไปบ้าง ซึ่งถ้าใช้ทำงานแบบปกติก็อาจจะไม่ได้หงุดหงิดมาก แต่ถ้าทำงานแบบจริงจัง การต่อเมาส์ข้างนอกใช้อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า (และแน่นอนว่าสร้างความหงุดหงิดน้อยกว่า)

เรื่องของเสียงถือว่าดังมากและให้เสียงที่ดีมากๆ เกินราคาค่าตัวไปมากโขอยู่ทีเดียว ผมลองเทียบความดังเมื่อเทียบกับเครื่องปัจจุบันที่ผมใช้อยู่ ก็พบว่า HP Stream ถือว่าดังมาก

ส่วนที่ประทับใจอย่างสุดท้ายเห็นจะเป็นแบตเตอรี่ที่ทำงานได้ยาวนานมาก ผมไม่ได้ทดสอบและวัดระยะเวลาอย่างจริงจัง แต่ที่ใช้มาแบบปิดๆ เปิดๆ เครื่อง สามารถใช้งานได้ประมาณ 6 ชั่วโมงตามที่ HP บอกไว้ ซึ่งผมจับภาพหน้าจอเอาไว้ว่า แม้แบตเตอรี่จะเหลือเพียง 15% ระบบก็ยังแจ้งว่าทำงานได้ต่อนานถึง 45 นาทีด้วยกัน

Power Alert

####สรุป####

HP Stream 11, Outdoor

เท่าที่ได้ใช้งานเครื่องมา ก็ต้องยอมรับว่า HP Stream 11 ถือเป็นโน้ตบุ๊กที่ดีอันหนึ่งในย่านราคาที่ไม่ได้แพงมากจนเกินไป โดยเฉพาะเรื่องของแป้นพิมพ์ที่ดีมาก เสียงที่ออกมาจากลำโพงของเครื่องซึ่งดังและชัด รวมถึงการทำงานโดยทั่วไปของเครื่องก็ถือว่าตอบสนองได้ดี โดยภาพรวมถือว่าสอบผ่านในจุดนี้ ส่วนเรื่องของระบบปฏิบัติการ ซึ่งสามารถทำงานแบบออฟไลน์ได้อย่างเต็มที่ เป็นอีกจุดแข็งหนึ่งถ้าเทียบกับ Chromebook ซึ่งต้องการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแทบจะตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม หน่วยความจำของเครื่องที่ถือว่าให้มาค่อนข้างน้อย (บังคับให้ผู้ใช้ต้องขึ้นไปใช้ cloud storage โดยปริยาย) ทัชแพดที่ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร หน้าจอที่ไม่สู้แดด และประสิทธิภาพของเครื่องที่ไม่ได้ดีอะไรมากมาย ย่อมเป็นจุดอ่อนของ Stream 11 ตัวนี้ (แต่เรื่องของประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับราคาแล้ว ถือว่าอยู่ในระดับที่พอให้อภัยได้)

ด้วยราคาจำหน่ายพร้อมโมเดม 3G ในตัวที่ 11,990 บาท ผมคิดว่าราคานี้มีความสมเหตุสมผลระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาว่าทุกวันนี้สมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก สามารถทำหน้าที่เป็น hotspot ปล่อยสัญญาณไวไฟให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ คำถามสำคัญคือ ด้วยราคา 11,990 บาทนี้ ถือว่า "แพงเกินไปหรือไม่" ซึ่งถ้า HP นำรุ่นที่เป็น Wi-Fi อย่างเดียวเข้ามาจำหน่าย อาจจะกดราคาได้มากกว่านี้ และแน่นอนว่าย่อมทำตลาดได้ดีมากกว่านี้ด้วยเช่นกัน

โดยสรุปคือ หากคิดว่าจะซื้อโน้ตบุ๊กสักเครื่อง ซึ่งทำหน้าที่ไม่ต่างจาก Chromebook (เปิดอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต พิมพ์ข้อความในเอกสารง่ายๆ สั้นๆ และใช้งานดู YouTube ทั่วไป) HP Stream 11 เป็นโน้ตบุ๊กที่ถือว่าเหมาะสมอย่างมาก ซึ่งน่าจะเหมาะกับคนที่เป็นนักศึกษา หรือต้องการคอมพิวเตอร์ตัวที่สองในการพกพาหรือใช้ทำงานนอกบ้าน อย่างไรก็ตาม หากมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการทำงานที่เน้นประสิทธิภาพ หรือมีข้อมูลมากๆ Stream 11 อาจจะไม่เหมาะกับตัวท่านครับ

ข้อดี

  • แป้นพิมพ์ดีมากในระดับราคาของโน้ตบุ๊กที่ใกล้เคียงกัน
  • เสียงลำโพงดังและชัดเจน
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนาน

ข้อเสีย

  • ประสิทธิภาพกลางๆ เวลาทำงานหนักๆ บางครั้งก็ช้า
  • ทัชแพดที่ทำงานแบบครึ่งๆ กลางๆ
  • หน้าจอที่ไม่สู้แดด

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

ผมว่าตัวนี้ออกแบบช่องใส่ Sim ได้ดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาละ เอาเข้าเอาออกง่ายๆ

แต่เสียดายน่าจะแถม Office ตัวเต็มแบบ RT ไปเลยนะ

ก็แจ๋วนะคับ สำหรับราคานี้ ถูกกว่า iPhone 6 , iPad แต่ ... ข้องใจในบริการหลังหมดประกัน หย่าร้างกับ hp ก็เพราะเรื่องนี้ - เครื่องสุดท้ายทำงานไปพักนึงดับ ส่งซ่อมที่ศูนย์ที่อื้อจือเหลียง โดน charge หมื่นนึง กลับมาใช้ไปพักนึง เหมือนเดิม ส่งเข้าไปใหม่ บอกว่าคนละสาเหตุ จะเก็บตังอีก ส่วนพริ้นเตอร์ หมดประกัน บอกว่าไม่มีอะไหล่ ให้ซื้อเครื่องใหม่ - แต่นั่นเหตุการณ์เมื่อยาวนานมาแล้ว ไม่รู้เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแล้วยัง

เทียบกับ iphone ipad เลยเหรอท่าน 555

ประสบการณ์ย่ำแย่กับ hp ผมเคยได้ยินมาเหมือนกัน แต่ก็มีเรื่องดีๆ บ้างนะครับ อย่างตอนที่ printer ของผมเสียในประกัน บริษัทเปลี่ยนเครื่องใหม่แกะกล่องให้โดยไม่ถามอะไรเลย

Nb ตัวนี้เสียดายน่าจะทำมาแบบมีแต่ตัว Windows ล้วนๆ ให้ผู้ใช้มาลงโปรแกรมเอง จะได้มีพื้นที่เหลือเพิ่มอีกหน่อย เห็นด้วยกับคนรีวิวว่า ชิพ 3G ตอนนี้ไม่ใช่จุดแข็งสำคัญแล้วเพราะมือถือทำหน้าที่แทนได้ ถ้าเป็นสัก 4-5 ปีที่แล้วก็ว่าไปอีกอย่าง ส่วน Office 365 เป็นของแถมที่พอพ้นปีแรกก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ใช้งาน ตรงนี้ต้องบวกเผื่อไปด้วยเลย(ไม๊) สุดท้ายจำได้ว่า chrome ทำโปรโมชั่นกับสถานศึกษาใน usa เหลือราคา 199$ เท่านั้น ถ้าตัวนี้จะทำแบบนั้นในไทยที่ราคา 6-7 พันจะน่าสนใจขึ้นอีกเยอะเลยครับ

ส่วน Office 365 เป็นของแถมที่พอพ้นปีแรกก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ใช้งาน

จริงๆ ก็ไม่ได้บังคับให้ซื้อต่อนะครับ ถึงเวลานั้นแล้วจะไปใช้ Google Docs ผ่าน Chrome ก็ยังไม่มีปัญหาเลย ;)

ของChrome ก็2ปีนี่ครับ พอหมดก็ต้องจ่ายอยู่ดี
แล้วของOffice365 มัน Unlimited Storageนี่ครับ ถึงปีเดียว แต่ก็มีข้อดีกว่าหลายอย่าง

ปล. มันใช้USB HDD ไม่ได้หรือครับ? ผมสงสัย เห็นแถมมาให้หลายช่อง ขนาดเล่นเกมสตีมก็installลงไดรฟ์ภายนอกได้นี่นา

คนเมือง นวยไฮโซ Sun, 12/07/2014 - 05:34

พาร์ทิชันของระบบ (ไม่ระบุว่าเป็นสำหรับการกู้คืนหรือไม่) อยู่ที่ 4 GB
...เปิดเครื่องเข้าไปดูไม่ได้หรือ ว่าเป็นพาร์ติชั่นอะไร ตอนรีวิว

nrad6949 Sun, 12/07/2014 - 11:01

In reply to by คนเมือง นวยไฮโซ

เปิดได้ และเปิดดูครับ แต่ไม่ได้เอามาแปะไว้กับรีวิวตอนแรก ทั้งนี้ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องพูดให้คนทำรีวิวรู้สึกว่ากำลังถูกเสียดสีหรือถูกประชดนะครับ

diskstructure

นี่คือแบบเครื่องได้มาใหม่ๆ เลยรึเปล่าครับนี่ ใช้ไปเยอะกว่าที่ผมคิดพอสมควรเลยสำหรับ Wim Boot

ขอผมเดาชี้แจงหน่อยนะครับ คิดว่าข้อมูลตรงนี้น่าจะผิดนะครับ

พื้นที่ของหน่วยความจำที่เหลือให้ใช้จริง จะมีเพียง 16 GB โดยประมาณ ซึ่งที่ถูกใช้ไปประมาณครึ่งหนึ่ง แบ่งได้ดังนี้
•ระบบปฏิบัติการ 7 GB (Windows 8.1 with Bing)
•พาร์ทิชันของระบบ (ไม่ระบุว่าเป็นสำหรับการกู้คืนหรือไม่) อยู่ที่ 4 GB
•แอพต่างๆ ที่แถมมากับตัวเครื่อง 5 GB

คือจากด้านบน ระบุว่าดิสก์ 29 GB เนี่ย มี 3 partition ครับ

  • อันแรก 260 MB เก็บข้อมูล EFI กับ winre.wim
  • อันที่สอง 21.68 GB ใช้ไปจนเหลือแค่ 9.84 GB ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหลือให้เราใช้จริงๆ อยู่แค่นี้
  • อันที่สาม สำหรับกู้คืนกับ install.wim ที่ใช้ทำ Wim Boot

อาจจะแค่เข้าใจผิดกันนะครับ แต่พอดีผมงงๆ ว่าพาร์ทิชันของระบบ 4 GB นี่หามาจากไหนยังไง

ข้อมูลมาจากทาง HP ซึ่งผมเองก็อดสงสัยไม่ได้ว่า อีก 4 GB มาจากตรงไหน ดังนั้นก็ต้องเขียนตามข้อมูลที่ได้รับมาครับ

ได้รับคำตอบที่กำกวมในประเด็นนี้ครับ เพราะทางผู้รับผิดชอบผลิตภัณฑ์บอกว่าตอนนี้ยังไม่มีการนำเข้า แต่ในใบที่แจกให้ในงานเปิดตัวนั้น เป็นแบบในภาพด้านล่างครับ (มีตัว d005TU ซึ่งเป็น Wi-Fi อย่างเดียวครับ)

Leaflet

Celeron กับ Atom รุ่นปัจจุบัน พื้นฐานมาจาก Baytrail เหมือนกัน ... ส่วนตัวผมคิดว่าสมรรถนะไม่น่าจะหนีกันมากเท่าไร ... ครับ

http://www.cpu-world.com/Compare/839/Intel_Atom_Z3745D_vs_Intel_Mobile_Celeron_N2840.html

เหมือน Intel จะให้ Atom อยู่ในตลาด Tablet โดยยังคง Celeron ไว้ที่ตลาดของ Notebook/Desktop พื้นฐาน (ล่างหรือกลาง ผมไม่แน่ใจว่าใช่ไหม)

สังเกตสเปคของ Atom จะเหมาะกับการใช้งานที่ยังไม่ได้เน้นพลังมากเท่า เพราะใช้ความถี่ไม่ได้สูงมาก เพื่อให้รับประทานพลังงานต่ำกว่า Celeron

แต่หากเป็นงานที่สามารถใช้ประโยชน์จาก multi-core ได้ ... สมรรถนะของ Atom ก็น่าจะดีกว่า Celeron ครับ

การเลือกว่าจะใช้ Stream หรือ Pavillion x2 ผมคิดว่า เป็นลักษณะการนำไปใช้งานมากกว่า ที่เราต้องการใช้งานเป็น Tablet .... หรือ ต้องการ Notebook ขนาดเล็กสำหรับทำงานเอกสารทั่วๆ ไป สังคมออนไลน์

กรณีผม ซื้อ Asus T100 เพราะอยากได้ Tablet แต่ต้องการนำมาทำงาน พิมพ์งานได้สะดวกพอประมาณด้วย ... แต่พอใช้งานมาได้สามสี่เดือนแล้ว ... พบว่าผมแทบไม่ได้ใช้งาน T100 ในลักษณะ Tablet เลย (แทบไม่ได้ถอดออกจาก keyboard dock เลย)

ท่านผู้เขียนแก้ด้วยครับ หน่วยความจำหลัก Main Memory คือ RAM ครับ ที่เหลือถ้าจะให้เรียกก็เรียกเป็นหน่วยความจำสำรอง(Secondary memory หรือ Storage)หมดครับ

หน่วยความจำหลัก คือหน่วยความจำที่ CPU สามารถดึงข้อมูลไปประมวณผลได้ตรงๆครับ ซึ่งก็ไอ้ที่เราเรียกว่า RAM จนติดปากนั่นแหล่ะ CPU ติดต่อถึงข้อมูลได้แค่จาก RAM เท่านั้นครับ ถ้าเป็นอุปกรณ์ I/O อื่นๆ ต้องดึงมาใส่ RAM ก่อนครับ ขอบคุณครับ

คนเมือง นวยไฮโซ Sun, 12/07/2014 - 16:57

In reply to by Bigkung

+1
หน่วยความจำหลัก 32 GB (eMMC), แรม 2 GB # ผิด
...หน่วยความจำหลัก RAM 2 GB
...หน่วยความจำสำรองชนิด eMMC ขนาดความจุ 32 GB

ช่องสำหรับ Kensington Lock, ช่องสำหรับอแด็ปเตอร์ชารจ์ไฟ

ชารจ์ => ชาร์จ

ลืมเรื่องของการสะท้อนแสนทั้งหมดแบบที่จอกระจกมีไปได้เลย

สะท้อนแสน => สะท้อนแสง

จากที่ดูๆ เหมือน MS อยากเปิดศึกพร้อมกันสองทางนะ จากที่เคยอ่านเรื่อง 3 ก๊ก IT ฝั่ง Apple ก็โจมทีทาง Harware นั่นคือ Surface เอามาตบกับ Macbook Air กับ iPad (เพราะมันแทนได้ทั้ง 2 อย่าง) ส่วนสงครามฝั่ง Google ก็ ออกตัวนี้มาโดยจับมือเป็นพันธมิตรกับ HP แล้วร่วมมือกันโจมตี ระบบ Cloud Storage เพราะของ Microsoft ก็ไม่น้อยหน้าเหมือนกันนะเพียงแต่เพราะ บริการของ Google มันเอื้ออำนวยให้ใช้มากกว่า One Drive เลยเงียบๆ

ฟังเหมือนหนังสงครามมะ ฮ่าๆๆ

คนเมือง นวยไฮโซ Sun, 12/07/2014 - 17:20

In reply to by Bigkung

กูเกิล-แอนดรอยด์ เจ๊งก่อน ไมโครซอฟต์สู้ได้สบาย
สังเกตุได้ว่าเริ่มหันมาทำ ไคลเอนต์ราคาถูกจากจีนเยอะแยะมาก
ส่วนแอปเปิลนี่ ตอนนี้ก็มุ่งทำคลาวด์ที่ icloud.com มาสกัดเต็มที่ จากการที่เริ่มฟรีชุดออฟฟิศไปแล้ว

อย่าลืมว่า MS ก็เจ็บมากับ Netbook มาเยอะนะครับ

เจ้านี่นี่ดูกันจริง ๆ มันก็คือ Netbook เวอร์ชั่น 2014 นี่แหละ (แถมแพงกว่าด้วย)

+1 ครับ พอมองว่ามันเป็น netbook ก็ไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับมันเลย เหมือนเอาของที่มีอยู่แล้วมาขายในราคาสูงขึ้น (หรือเปล่า)

คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือแข่งอะไรกับใครได้อย่างจริงจัง จริงๆ นั่นแหละครับ

เขาแก้ปัญหาเรื่องแบตเตอรีได้แล้ว
แต่ราคานะสิ ทำไมถึงยังแก้ไม่ได้ หรือว่าต้องให้จีนผลิต

เปนแค่ที่ไทยรึป่าว.. ตัว 13 นิ้วนั่น ที่เมการาคา $250 คือไงก้อยังต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท ส่วนที่มาเลย์ราคา RM1199 ก้อเฉียดๆ หนึ่งหมื่นสองพันบาท

ถ้าเอาตัว wifi มาขาย ของไทยจะราคาเท่าไรไม่รุ แต่ที่เมกานี่ตัว 11 นิ้ว $200 (มีบัตรของขวัญ $25 ติดมาด้วย) .. หรือถ้าเปนตัว asus x205 นี่ถล่มกันอยุ่ที่ $100

ส่วนพวกแทบเลต.. ตัว 10 นิ้วมีราคา $180 หรือว่าเปนราคา $220 ถ้ามีคียบอรดด้วย, หรือถ้าเอาจอเลกกว่านั้น ก้อมีเริ่มตั้งแต่ $99 เลย

ทำไมราคาของเมืองไทยมันแพงนักนะ

http://arstechnica.com/gadgets/2014/12/chromebook-in-the-streets-windows-in-the-sheets-hps-200-stream-11-reviewed/

สำหรับสเปกแค่นี้ ราคาเกินหมื่นนี่ ให้อภัยไม่ได้จริงๆ

ตัว 13 นิ้วที่ของไทยราคาเฉียดหมื่นสี่.. ที่มาเลย์ราคา RM1199 คือเฉียดหมื่นสอง ต่างกันเกือบ 20%, ส่วนที่เมการาคา $250 คือเฉียดๆ หมื่น ต่างกันเกือบ 40%

ไหนจะยังมีโปร 10% สำหรับนักเรียนหรือคนที่ทำงานในสถานศึกษาอีก.. มาเปรยเบาๆ เผื่อ msth จะได้ยินได้ฟังได้คิดพิจารณาดู

ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่นโยบายของ MSFT นะครับ แต่อยู่ที่ HP

และอย่างที่บอก จะเทียบก็ต้องเทียบรุ่น 3G นะครับ เทียบ Wi-Fi กับ 3G ตรงๆ ไม่ได้

กับ msth .. หมายถึงที่ลด 10% ให้นักเรียนหรือคนในสถานศึกษาน่ะครับ

ส่วนราคาตัว 13 นิ้วที่บอกไปนี่เปนแบบใส่ซิมได้.. แต่ขอแก้ราคาของเมกาเปน $300 ตามที่หาเจอล่าสุด (amazon.com/b?node=10140458011) เข้าใจว่าปรับโปรดาต้าเปนตลอดชีพ ซึ่งคิดเปนบาทแล้วก้อยังป้วนเปี้ยนแถวหนึ่งหมื่นอยุ่ดี เผื่อให้เปนหมื่นสองอย่างราคามาเลย์เลย

เรื่องนโยบายสถานศึกษา เป็นเรื่องของทาง Microsoft Store เมืองนอกนะครับ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ของไทยที่ไมโครซอฟท์ไม่มีร้านของตัวเอง ก็ต้องอยู่กับทาง HP อยู่ดี

อันนี้ไม่รุแล้วอ่ะ ผมแค่จะจ่ายตังคซื้อ.. เคสผมจิงๆ ท้ายสุดก้อสอย surface ไปเลย ซื้อจากนอกมาถุกกว่าด้วย แต่ยังเชคสิทธิกับสถานศึกษาในไทยได้ โชคดีไป มีต้องแค่ลุ้นเรื่องประกัน

อย่างไรก้อขอขอบคุณสำหรับข้อมุลนะคร้าบ ^.^

ย้ายมาเล่น ASUS X200MA ดีกว่า

สเป็คใกล้เคียงกัน ราคาที่ headdady เจ็ดพันเก้าเองครับ

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg