จากที่ Seagate เผยข้อมูลฮาร์ดดิสก์ขนาด 8 TB ออกมาก่อนหน้านี้นั้น ตอนนี้ทาง Seagate ก็เริ่มวางจำหน่ายฮาร์ดดิสก์รุ่นดังกล่าวในราคา $260 แล้วครับ เมื่อคิดราคาต่อพื้นที่แล้วจะตกอยู่ที่ราว $0.03 นิดๆ ต่อพื้นที่ 1 GB เท่านั้น
Seagate จัดฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้ไว้ในกลุ่ม Archive HDD ที่เน้นใช้เก็บข้อมูลในระยะยาว เน้นไปที่การใช้พลังงานต่ำและความน่าเชื่อถือมากกว่าประสิทธิภาพ สเปคของฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้มีความเร็วการหมุนอยู่ที่ 5,900 รอบต่อนาที แคชขนาด 128 MB ความเร็วการอ่านและเขียนเฉลี่ยอยู่ที่ 150 MB ต่อวินาที (สูงสุดที่ 190 MB ต่อวินาที) และมี MTBF สูงถึง 800,000 ชั่วโมง
คู่แข่งอย่าง HGST (หน่วยธุรกิจฮาร์ดดิสก์ Hitachi เดิม ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ Western Digital) ก็มีฮาร์ดดิสก์สำหรับเก็บข้อมูลระยะยาวความจุสูงถึง 10 TB เตรียมออกสู่ตลาดอยู่เช่นกัน
ฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้มาพร้อมสัญลักษณ์เกล็ดหิมะหกแฉก สมกับการวางตัวในฐานะ cold storage ที่เน้นจัดเก็บข้อมูลในระยะยาวจริงๆ ครับ (ดูภาพได้ท้ายข่าว)
ที่มา - SlashGear
Comments
ปีหนึ่งประมาณ 8,000 ชั่วโมง 800,000 นี้ 100 ปีเลยหรอ O.o
archive นี้เก็บกันยาว ๆ เลยทีเดียว :D
ไม่ถึงครับ แค่ 91 ปีกว่าๆ เองครับ :p
เห็นตัวเลขแล้วผมนี่อยากได้มาเก็บภาพเลยครับ
อัพเดต ผลการแปลง 800,000 ชั่วโมง -> ปี
เสียที มีร้อง
อยากได้~~~~
รอรุ่นพกพา
มันเหมาะจะเป็น Cold Storage มากกว่าครับ พกไปพกมา บอร์ดเจ๊ง ก็หายทั้ง 8TB เลยทีเดียว
คงต้องรอให้พวกกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ใช้งานกันเยอะ ๆ ราคาถ้าถูกกว่านี้จะดีมาก :)
ดูแล้วราคาต่อความจุ น่าจะถูกกว่า 3TB ที่ประมาณ 15%~
3TB = 2793.97GiB = ราคาประมาณ 4100 บาท = 1.467
8TB = 7450.58GiB = ราคาประมาณ 9206 บาท = 1.235
(แต่ถ้าซื้อ 3TB จากพวกลาซาด้าหรืออื่น ๆ แล้วมีการใช้โปรลด 15% มาได้อาจจะเหลือ 3500~ ตกแล้วประมาณ 1.24)
ยี่ห้อนี้ไฟเลี้ยงต้องนิ่ง ถ้าไฟวูบเมื่อไหร่ก็โบกมือลาไว้เลย
ส่วน WD นั้น ถอด USB สุ่มสี่สุ่มห้าเจ๊งก็ทั้งลูก ยี่ห้อไหนก็วางใจยาก HDD สมัยนี้
ถ้าชัวว์สุด ssd ครับ ผมใช้ไม่เคยมีปัญหา เร็วด้วย
อย่าได้วางใจ ssd เชียวฮะ ทนกระแทกก็จริงแต่อยู่ๆก็ลาโลกไปง่ายๆเลย
มาแทน เทปแม่เหล็กมั้ง บัตรเจาะรู >> เทปแม่เหล็ก >> HDD >> SSD >> ???(อนาคต)
ตัวที่เป็นเทคโหโลยีก่อนหน้าจะใช้ในการเก็บข้อมูลระยะยาว ยกเว้นบัตนเจาะรู แต่ได้ดูสารคดี บอกว่าที่เยอรมัน เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้บนฟิมส์ ใส่ในกระบอกสูญญากาศ ซึ่งอยู่ในที่หลบภัยใต้ดินในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ของเยอรมันนี เก็บได้ประมาณ 400 ปีมั้ง
เทคโนโลยีนี้น่าสนใจดีครับ เก็บข้อมูลในคริสตอล เหมือนในหนังซุปเปอร์แมน, สตาร์เกต SG-1
DATA STORAGE IN CRYSTAL QUARTZ
http://thespiritscience.net/2014/02/13/data-storage-crystal-quartz-will-change-everything/
5D 'Superman memory crystal' heralds unlimited lifetime data storage
http://physicsworld.com/cws/article/news/2013/jul/17/5d-superman-memory-crystal-heralds-unlimited-lifetime-data-storage
ชีวภาพ อาจจะเก็บได้ไม่นาน แต่น่าจะได้เยอะ
ไม่ใช่ "น่าจะเยอะ" แต่เรียกได้ว่ามหาศาลครับ (สำหรับตอนนี้น่ะนะ)
ฮาวาร์ดประสบความสำเร็จในการบันทึกอีบุ๊กลงดีเอ็นเอครั้งใหม่ - ดีเอ็นเอสี่กรัมมากพอที่จะเก็บข้อมูลที่มนุษยชาติเคยสร้างขึ้นมาทั้งหมด เยอะพอมั้ยครับ ^^
ปกติ seagate นี่ mtbf เห็นพังก่อน wd ตลอดไม่ว่าจะเป็นตัว desktop, laptop, enterprise
Harddisk ได้ 100 ปี.... แต่ Mainboard 3 ปีพัง ไม่มีเปลี่ยน ถึงตอนนั้น Connector น่าจะเปลี่ยนแล้ว. ถ้าจะใช้จริง คงต้องมีแบบพวกสำเร็จเป็น NAS มาเลย ทำ RAID ให้ด้วย
Warun.in.th
^
ผมว่า board ของ HDD ก็พังก่อนเช่นกันครับ มีค่าเท่ากัน
ซื้อตัว รองถูกสุด แล้วเปลี่ยนทุก 3 ปี ดีกว่าครับ
อย่างตอนนี้ ให้ซื้อ HDD แบบ 2.5 นิ้ว usb3 ตัว 1Tb มา
ทำสำเนา ตัว 500 Gb สองลูก แล้วเอาวางเก็บไว้ เฉยๆ ในตู้
พอตัว 2Tb ราคาตกเหลือ ราวๆ 2600 - 2700 ก็ซื้อ 2 Tb
มา ทำสำเนา ลูก 1 Tb สองลูก แล้ว ตัว 500 Gb ก็จำหน่ายทิ้ง
หรือ เอาไปทำ archive cold data ก็ได้
คิดล้วถูกกว่าแผ่น Blu-ray R ซะอีก แถมใช้ง่ายกว่าด้วย
ส่วนตัว นิยม 2.5 นิ้ว มากกว่า 3.5 นิ้ว HDD เพราะถูกออกแบบมาให้มีความทนทานกว่า
ขอราคานี้นะ ซื้อแน่นอน
ที่มันทำตลาดเป็น Cold Storage เพราะมันใช้เทคนิค Shingle Magnetic Recording ที่เขียนแทร็คเหลื่อมๆ กัน เพื่อให้เก็บข้อมูลได้หนาแน่นขึ้น แต่เวลาเขียนดิสก์ มันจะไปลบแทร็กข้างๆ ทำให้ต้องเขียนใหม่ จึงทำให้การเขียนแบบ random write ช้ามาก
ดังนั้นไม่เหมาะกับการใช้แทน Hard disk ปกตินะครับ เหมาะกับใช้ backup หรือเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
ใช่ครับ ผมเลยคิดว่าจะเก็บภาพถ่ายอย่างเดียวเลย แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้ถ่ายภาพรัวแบบเมื่อก่อนแล้วด้วย ใช้แต่โทรศัพท์ - -"