Sony Pictures ขู่ฟ่อพร้อมจะดำเนินคดีทางกฎหมายกับบรรดาสำนักข่าวหากนำเอาอีเมลหรือข้อมูลอื่นใดที่ได้จากแฮคเกอร์มาเผยแพร่
เอกสารความยาว 3 หน้าที่เขียนขึ้นโดยตัวแทนของ Sony Pictures ถูกส่งต่อไปยังสำนักข่าวและเว็บข่าวต่างๆ อาทิ New York Times, Bloomberg, Wall Street Journal, Variety, Gawker, the Los Angeles Times และ Re/code โดยมีใจความระบุชัดว่า
(Sony Pictures) ไม่อนุญาตให้ท่านครอบครอง, ตรวจสอบ, ทำสำเนา, เผยแพร่, ตีพิมพ์, อัพโหลด, ดาวน์โหลด หรือกระทำการอื่นใดเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ถูกขโมยไป
หนังสือที่เขียนโดยตัวแทนของ Sony Pictures ยังระบุอีกว่า
หากท่านไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอ, และข้อมูลที่ถูกขโมยไปถูกใช้หรือเผยแพร่โดยท่านไม่ว่าในทางใด, Sony Pictures ก็ไม่มีทางเลือกนอกจากบังคับให้ท่านรับผิดชอบต่อความเสียหายหรือความสูญเสียที่เกิดจากการใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวโดยท่านเอง
อย่างไรก็ตาม สื่อต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึงข้างต้นนั้นได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายของสหรัฐอเมริกาในสิทธิ์ซึ่งการนำเสนอข้อมูลในฐานะสื่อสารมวลชน จึงน่าสนใจว่าเส้นขอบเขตความเหมาะสมในการตีแผ่เรื่องราวและขยายความข้อเท็จจริงแห่งเหตุการณ์มหากาพย์การแฮค Sony Pictures นี้จะอยู่ที่จุดไหน?
ที่มา - Washington Post
Comments
U mad bro?
โซนี่เคยทำแบบนี้กับแฮกเกอร์ แล้วดูผลที่ตามมาสิครับ
ตอนนี้มาทำกับสื่ออีก
ก็เป็นซะแบบนี้ยังไงชาวบ้านเขาถึงได้เลือกเป็นเป้าซ้อมยิงกัน เกือบสงสารๆ ก็ออกลายแบบนี้ถึงได้สงสารเห็นใจไม่ลง
ถ้าสื่อเหล่านั้นเกิดหมั่นไส้แบบกลุ่มแฮคเกอร์เล่นข่าวโซนี่หนักๆ บ้างนี่ผมไม่สงสารนะ หุหุ
มันเป็นข้อมูลของเค้า ก็มีสิทธิ์ในการห้ามเผยแพร่สิครับ
เพราะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลในทางลับ
Sony ไม่ได้ทำผิดกฏหมายนะครับ และก็มีสิทธ์ในการแจ้งเตือน เพราะเค้าสามารถฟ้องร้องได้จริง
ผมงงว่าทำไมความเห็นบนๆถึงพูดเหมือนกับว่า ใครอยากจะทำอะไรก็ทำก็เรื่องของเค้า ถ้ามาบอกว่าไม่ให้ทำ จะเอาคืนให้สาสมเพราะหมั่นไส้? หือ?
คนดีเค้าคิดกันแบบนี้เหรอครับ ผมสงสัย
วิธีตอบโต้มันมีหลายวิธี แต่ละวิธีก็จะได้ผลตอบรับที่แตกต่างกันไปครับ
ผมมองว่าโซนี่เลือกวิธีที่สร้างปริปักษ์ ก็ได้ปริปักษ์กลับมาครับ
หมายถึง Sony ควรจะ ขอร้อง แทนที่จะ ขู่ฟ้อง ป่ะคับ
จริงๆ ผมคิดว่าแม้ Sony จะเลือกวิธีผิด แต่คนผิดไม่ใช่ Sony นะคับ
ผมว่าเป็นแค่การแจ้งเตือนในสิทธิ์แค่นั้นนะครับ
ไม่ใช่การตอบโต้แฮคเกอร์
แล้วมันเป็นการสร้างปริปักษ์ยังไงครับ
สื่อสมควรรู้ว่าอะไรควรเผยแพร่หรือไม่ ถ้าสื่อเห็นว่าการแจ้งเตือน หรือห้ามนำข้อมูลมาเผยแพร่ เป็นการริดรอนสิทธิ์ของสื่อก็ต้องว่ากันตามกฏหมาย
ไม่ใช่มองว่าผู้เสียหายคือศัตรู
ผมคิดว่าโซนี่เป็นองค์กรที่ใหญ่ น่าจะมีคนที่มีความสามารถในการสื่อสารดีกว่านี้ครับ
ผมเชื่อว่าองค์กรใดๆ ก็ตามสามารถสื่อสารด้วยถ้อยคำที่แสดงความแข็งกร้าวได้น้อยกว่านี้ แต่ยังสามารถคงความหมายเอาไว้ได้ครับถ้วยนะครับ
ตอนที่โดนแฮกครั้งแรก โซนี่ก็ทำแบบนี้แหละครับ การแจ้งเตือนแฮกเกอร์ที่แฮกเข้าระบบก็เป็นสิทธิตามกฏหมายของโซนี่ แต่ดูผลที่กลับมาด้วยนะครับ
เหตุการณ์มันเกิดขึ้นแล้ว แผลยังสดๆ เลือดยังไหลไม่หยุด ถ้าโซนี่จะยังทำแบบเดิมก็น่าเป็นห่วงครับ
ย้ำนะครับ ว่าสิ่งที่โซนี่ทำ "ถ้าเป็นมุมมองในด้านกฏหมายและสิทธิ" โซนี่ทำถูกทุกอย่าง
แต่ถ้าเป็นในเชิงกลยุทธ ... ต้องรอดูผลครับ
ที่คุณว่ามามันก็ถูกในส่วนนึง แตยังไง สื่อไม่ควรตั้งแง่กับ Sony
อย่างน้อยสื่อเองต้องทำให้รู้ว่าตัวเองก็เป็นคนดีมากกว่าพวกแฮคเกอร์
เพราะถ้าสื่อตอบโต้ Sony มาแบบไม่สมเหตุผล
มันก็จะแสดงให้เห็นว่าโลกนี้มันมีแต่คนที่ทำเพื่อความพอใจของตัวเองเท่านั้น
แต่ก็เป็นไปได้ว่า sony ขอร้องแต่สำนักข่าวบอกว่าเป็นขู่ฟ้องแทน จะได้เพิ่มหัวข้อข่าวเข้าไปอีก = =)
ผมนี่นึกถึงสื่อไทยเลย
ผมว่าน่าจะเป็นตามที่ PandaBaka บอกนะ
Sony คงไม่อยากหาศัตรูเพิ่มหรอก แต่สื่อก็ชอบใส่ไข่จะได้ขายข่าวได้
ต้นข่าวมีจดหมายแจ้งแสดงอยู่ครับ ผมเอาลิงค์มาแปะให้อ่านอีกทำตัวข่าวน่าจะเอามาแปะด้วยนะครับนี่
https://www.scribd.com/doc/250124033/Sony-Letter-to-Re-code
จดหมายสั่ง+ขู่ชัดเจนสินะ สินะสินะ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ปรปักษ์ หรือ ปฏิปักษ์ รึเปล่าครับ คำว่า ปริปักษ์ เหมือนจะไม่มีนะครับ ^_^
ปะ-ระ-ปัก ครับ ไม่ใช่ ปะ-ริ-ปัก
ผมไม่รู้ว่า ปรปักษ์ มันเหมือนหรือต่างกับ ปฏิปักษ์ ยังไงนะครับ
ปรปักษ์น่าจะเป็นแค่คู่ขัดแย้ง แต่ปฏิปักษ์นี่น่าจะเป็นศัตรู (มั้งนะ มั้ง)
ผมเห็นว่าข้างบนพิมพ์ว่า ปริปักษ์ น่ะครับ และก็มีคนเม้นตอบโดยใช้คำว่า ปริปักษ์เหมือนกันครับ
ส่วน ปรปักษ์ กับ ปฏิปักษ์ แปลว่าศัตรูเหมือนกันครับ
เออจริงแฮะ =_= ขอโต้ดงับ
มันอาจเริ่มมาจากแฮคเกอร์เคยซื้อpspมาแล้วเจอบอร์ดมรณะ หลังจากนั้นเขาก็แค้นโซนี่และฝึกฝนเรื่อยมากระมัง
แทนที่จะหาเพื่อนกับเพิ่มศัตรูอีก ไม่น่าเชื่อโซนี่พิคเจอร์จะคิดได้แค่นี้ นึกว่ามีแต่บริษัทในไทยที่ชอบใช้วิธีแบบนี้กับสื่อ
เจ๊งไปก็ดีแบบนี้ ไปทำอย่างอื่นดีกว่า เปลี่ยนชื่อใหม่ไปเลยดีไหม
เสียหายกันขนาดนี้
ทำไมหลายๆความเห็นในข่าว Sony ชอบโย้งเรื่องทะเลาะกับแฮคเกอร์มาอ้างทั้งๆที่ มันไม่เกี่ยวกันเลย
เพราะครั้งนี้ดูเหมือนเป็นโจทย์ใหม่มากกว่า ก็ยังจะตอบแบบเดิมๆ ว่าผลกรรมจากที่ทะเลาะกับแฮคเกอร์
ตอนนั้นตอนโน้นคือมันไม่เกี่ยวกันปะ ครั้งนี้เป็นเพราะหนัง แฮคเกอร์ก็ไม่ใช่ชุดเดิมๆ ผมละงง
เขาแฮคเพราะจะไม่ให้หนังได้ฉาย ไม่ใช่แฮคเพราะจะล้างแค้นอะไรเลย ถ้าล้างแค้นแฮคเสร็จไม่มาเรียกร้องหรอก
โจทก์ครับ ไม่ใช่โจทย์
โจทย์คณิตศาสตร์
โจทก์จำเลย
โจทก์เก่า นี่หว่า..ลุย
โจทย์ข้อนี้ทำไม่ได้เลย
บริการนี้สามารถตอบโจทย์ถึงสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดี
วันนี้วิ่งไปเจอโจทก์เก่า ตอนกำลังคิดแก้ไขโจทย์ยากๆ
โจทก์มาขึ้นศาลในขณะที่จำเลยกำลังตอบโจทย์ที่พนักงานอัยการถามอยู่ โจทก์นั่งฟังไปก็ครุ่นคิดไปส่วนจำเลยก็ตอบโจทย์ไม่ถูกจนโจทก์งงไปหมดจึงคิดไปว่าโจทย์ที่ถามจำเลยนั้นมันยากขนาดนั้นเลยหรือเพราะโจทก์เองคิดว่าตนเองนั้นก็ตอบได้แต่ทำไมจำเลยตอบโจทย์นี้ไม่ได้
เรื่องนี้เข้าข้างโซนี่
SONY มีช่องทางฟ้องสื่อที่ลงข่าวเบื้องหลังภาพยนต์ที่ยังไม่ฉาย ด้วยข้อหาละเมิดtrade secret ได้อีกครับ
สื่อจะอ้างไม่ได้ว่า ไปเจอมาจากhacker post เพราะในทางกลับกัน ก็เป็นไปได้ที่สื่อเป็นจ้างhacker เจาะระบบเพื่อหาข่าวให้เสียเองเช่นกัน
คงต้องแยกระหว่างความสะใจ กับการละเมิดกฎหมายนะครับ
"สื่อจะอ้างไม่ได้ว่า ไปเจอมาจากhacker post เพราะในทางกลับกัน ก็เป็นไปได้ที่สื่อเป็นจ้างhacker เจาะระบบเพื่อหาข่าวให้เสียเองเช่นกัน"
ช่วยเผยแพร่เยอะๆ นะครับ ผมอยากเห็น Re/Code อ่วมแบบ Gawker บ้าง หุหุ
จากที่ผมเห็นในกรณี gamergate แล้วผมว่างานนี้โซนี้เอาโดนเล่นข่าวหนักกว่าเดิมได้ (ถ้าไม่มีใต้โต๊ะกันนอกรอบ)
ถ้าฟ้องเรื่อง trade secret ผมว่ายากแต่ถ้าฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์จะง่ายกว่า
ปกติ trade secret คุ้มครองพวกสูตรลับต่างๆ เช่น สูตรการทำอาหาร สูตรการบริหารงาน สูตรทำน้ำหมัก
พวกนี้เป็น trade secret
แต่เบื้องหลังการถ่ายทำผมว่าเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ ไม่ใช่ความลับทางการค้าครับถ้าคุณไปฟ้องเรื่องความลับทางการค้า คุณแพ้แน่นอน ฟ้องกฎหมายผิดบทต่อให้จำเลยไม่ดียังไงโจทก์ก็ไม่ชนะครับ
ผมเรียนกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรงยังไม่เห็นว่าจะเข้าข่ายนี้เลยครับไปฟ้องเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ยังจะตรงกว่าเพราะเบื้องหลังการถ่ายทำพวกนี้เขาก็มักจะทำมาฉายตอนโปรโมตหนังอยู่แล้ว
A trade secret is an invented formula, practice, process, design, instrument, pattern, commercial method, or compilation of information which is not generally known or reasonably ascertainable by others, and by which a business can obtain an economic advantage over competitors or customers.
ความลับทางการค้า หมายความถึง สูตร วิธีฝึกฝน วิธีการ การออกแบบ เครื่องมือ รูปแบบ วิธีการทางการค้า หรือ ข้อมูลที่ถูกรวบรวม ในลักษณะ ที่ไม่พบเป็นการทั่วไป หรือ สามารถค้นพบโดยผู้อื่นโดยวิธีซึ่งมีเหตุผล และ สิ่งเหล่านี้ต้องก่อให้เกิดความได้เปรียบทางค้าต่อคู่แข่ง หรือ ลูกค้า
ความลับทางการค้าตามกฎหมายไทย
ความลับทางการค้า คือ ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าเนื่องจากการเป็นความลับและเป็น ข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้วิธีการที่ เหมาะสมรักษาไว้เป็นความลับ
จะเห็นว่าตามกฎหมายต่างประเทศตีความหมายไว้ค่อนข้างแคบ คือต้องก่อให้การความได้เปรียบทางการค้าต่อคู่แข่ง หรือ ลูกค้า ด้วย เบื้องหลังการถ่ายทำไม่สามารถก่อให้เกิดความได้เปรียบทางค้าต่อคู่แข่ง (ตอนขึ้นศาล Sony จะชี้แจงยังไงล่ะครับว่ามันได้เปรียบคู่แข่งหรือลูกค้าแบบว่าเอ้ยฉันมีเบื้องหลังการถ่ายทำนะมันได้เปรียบคู่แข่งนะ) ถ้าเอาวิธีการตัดต่อหนังให้ดูต่อเนื่องได้อรรถรสมาแฉยังจะเข้าข่ายมากกว่า
ซึ่งถ้ามองพวกสูตรทำซีอิ๊ว สูตรทำทองหยอด พวกนี้เข้าข่ายมากกว่าอีกครับคือถ้าคู่แข่งได้สูตร+เทคนิคไป ก็แพ้เลย
เบื้องหลังการถ่ายทำหนัง ไม่ใช่สิ่งที่สามารถจะเป็นความลับทางการค้าไปได้ มันไม่เข้านิยามเลย
ส่วนการละเมิดกฎหมาย ในแง่การฟ้องเรื่องละเมิดทั่วไปยังฟ้องได้แน่นอนเพราะมันครอบจักรวาล
แต่ผมว่า Sony เตรียมถูกฟ้องเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยหละหลวมได้เลยครับเพราะ Sony มีบริการบางอย่างที่ต้องเก็บหมายเลขบัตรเครดิตลูกค้าเอาไว้ถ้า weak จนเจาะง่ายแบบนี้เตรียมโดนแบบเดียวกับ TJ maxx ได้เลยครับ
รายนั้นประมาทประหยัดเงินไม่เข้าเรื่องเลยโดนเจาะ โดนอัยการรัฐฟ้องซะเละตุ้มเป๊ะเลย มันมีมาตรฐานของผู้ให้บริการที่ต้องเก็บหมายเลขบัตรเครดิตครับถ้าตกมาตรฐานแม้แต่ข้อเดียวโดนฟ้องแทบหมดตัว
ส่วนใหญ่ที่โดนเจาะได้ก็เพราะประมาท+ลดต้นทุนเพราะระบบ network security ก็เป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง เชื่อได้เลยว่า Sony ปล่อยปละละเลยจนถูกเจาะได้ ผมว่านี่แหละที่พวก hacker อยากจะสื่อจริงๆเพราะดูดหนังได้เป็นเรื่องๆนี่ IPS/IDS ทำอะไรอยู่ครับขนาดบริษัททั่วไปแค่เราส่งเมลล์เขายังรู้เลยเป็นไปไม่ได้ที่ Sony จะไม่รู้แล้วป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลได้
hacker มี2สายนะครับ white hat หรือ Ethical hacker พวกนี้เจาะระบบเพื่อประสานงานกับผู้ดูแลระบบแล้วรายงานให้ทราบว่าเจาะยังไงมีจุดโหว่ตรงไหนจะได้ไปปรับแก้ซึ่งทั้งผู้ดูแล+บริษัท กับ white hat มีการเซนต์สัญญากันเป็นกิจลักษณะ กับ Black Hat Hacker ครับ
รอบนี้ Sony เล่นด่า ทั้ง 2สาย เลยโดนสายขาว ปล่อยให้โดนโจมตีเพราะงอน ส่วนสายมืดเขากะจะเล่นแต่แรกแล้วครับ
ส่วนเรื่องไปฟ้องสื่อผมว่าถ้ามองประโยชน์สาธารณะ ผมว่าสื่อชนะนะครับเคสนี้
ผมเองก็เรียนโดยตรงมาทั้งสายนะครับ มองเห็นภาพชัดๆเลยว่ามันจะไปจบตรงไหน
เรื่องโดนฟ้องนั้น โดนละจ้า แต่ผมยังไม่มีเวลาแปล
http://www.theguardian.com/film/2014/dec/16/employees-sue-failure-guard-personal-data-leaked-hackers
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
เรื่องโดนฟ้องผมไม่แปลกใจเพราะถึงไม่อ่านข่าวมันเดาได้อยู่แล้วว่าต้องโดนเพราะมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการซึ่งค่าเสียหายสูงกว่าที่โซนี่ไปขู่สื่ออีกครับ TJ Maxx ยังอ่วม Sony พรุนยิ่งกว่าจะเหลือเหรอ
เผลอๆออกข้อสอบด้วย รอดูในหนังสือเล่มอัพเดทได้เลยว่ามี Sony เป็น case study แน่นอนแล้วเคสใหญ่ต่อจาก Target ด้วย
trade secretของเมกา ครอบคลุมเยอะกว่าของไทยครับ
ผมแค่ยกตัวอย่างเรื่องเบื้องหลัง(ที่ไม่ใช่แบบเอามาทำสารคดี) แต่อาจหมายถึงกระบวนการทำงานที่เป็นการเฉพาะ การใช้ผู้เชี่ยวชาญ การใช้อุปกรณ์เฉพาะ ซึ่งพวกนี้น่าจะปรากฎในข่าวบางส่วน
ผมไม่แน่ใจบ.หนังนะ แต่ถ้าเป็นบ.ทางเทคโนโลยี แม้แต่รายการlimit parameter บางตัวที่ดูcommonมากๆในสายตาของพนักงาน กลับถือเป็นtrade secret ได้เลย
เป็นทางเทคโนโลยีน่ะใช่ครับแต่ถ้าเป็นหนังนี่ยากครับ
เพราะผมบอกแต่แรกว่ามันต้องเป็นความลับในลักษณะที่ได้เปรียบคู่แข่งครับ
ผมเองเรียนเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรงครับหลักกฎหมายมันตัวเดียวกันทั่วโลกครับเพราะมันมาจากกฎหมายระหว่างประเทศหลักการแบบเดียวกัน
ผมถึงได้พูดถึงว่า เทคนิคการตัดต่อหนัง ซึ่งเจาะจงกว่าที่มีในข่าวครับ
แล้วการพูดอ้างอิงถึงเทคนิคพิเศษต่างๆไม่ได้ละเมิด Trade secret นะครับ
เพราะพวกนี้ข่าวจะต้องพูดถึงในเชิงลึกสุดๆจึงจะละเมิดซึ่งสำนักข่าวก็ไม่ได้งี่เง่าขนาดเอามาเปิดเผยทั้งดุ้นแบบเจาะลึก ซึ่งเวลาขึ้นศาลต้องพิสูจน์อีกว่าเปิดเผยในลักษณะเชิงข่าวหรือละเมิดซึ่ง Sony ไม่ได้เปรียบเลยในการนำสืบ
แต่ในข่าว Sony พูดถึงการฟ้อง "ละเมิด" ทั่วๆไปครับซึ่งฟ้องได้อยู่แล้ว
ผมไม่เห็นช่องที่ทำให้ Sony ฟ้องชนะในส่วนของ Trade secret ครับ
เพราะถ้าเอาตามที่ท่านพูดมามันคือการ troll ในแง่การดำเนินคดีมากกว่าครับคือขู่ไปงั้นแหละ
ซึ่งเอาจากที่ท่านพูดว่า "ผมไม่แน่ใจบ.หนังนะ แต่ถ้าเป็นบ.ทางเทคโนโลยี แม้แต่รายการlimit parameter บางตัวที่ดูcommonมากๆในสายตาของพนักงาน กลับถือเป็นtrade secret ได้เลย" แสดงว่าท่านไม่เข้าใจเจตนารมณ์ ของ trade secret ครับ สาระสำคัญไม่ใช่ว่ามันดู common หรือไม่แต่ต้องดูว่า มันมีผลในแง่การแข่งขันกับคู่แข่งรึเปล่า
ซึ่งทางเทคโนโลยีแล้ว parameter มีผลครับ แต่ถ้าเป็นหนังแล้วเทคนิคการทำแบบละเอียดใครที่ไหนจะโยนขึ้น network ละครับจะมีก็อย่างมากคือถ่ายทำเบื้องหลังไว้สำหรับโปรโมทหนังซึ่งเข้าข่ายลิขสิทธิ์มากกว่า
แต่ในข่าวมันหนังนะครับการพิจารณาแต่ละเรื่องจะต้องดูองค์ประกอบให้ชัดครับยิ่งเรื่องกฎหมายด้วยแล้วเนี่ย
ดูจากทัศนคติของ Sony กับทีมผู้บริหาร (อ้างอิงจากเมลที่โดนแฉไป) ผมว่าก็เป็นเรื่องปกติที่จะโดนนะ
เรื่องจะไม่เกิดหรอกครับ ถ้า Sony ไม่พยายามทำตัวหาเรื่อง อ้อ อย่าหาว่าโยงไปถึงกรรมเก่าของ Sony เลยนะ แต่พฤติกรรมมันเชื่อมโยงกันเลยครับว่า การปฏิบัติขององค์กร Sony คือการสร้างปฏิปักษ์ มากกว่าการเจรจาอย่างสงบ
ประการแรก ตรงไหนที่ยกมาที่เป็นการทำตัวหาเรื่องเหรอครับ?
ประการที่ 2 ถ้าการมีสิทธิ์ที่จะนำเสนอของโซนี่คือเช็คแล้วมันได้ จะโดยในทางช่องโหว่ของกม. รึถูกต้องแต่ไม่ถูกใจก็ตาม ก็คือว่าได้ใช่มั้ยล่ะครับ ขณะที่ ส่วนของแฮกเกอร์ทำมันไม่ใช่การอิงกับขื่อแปรอะไรเลยนะครับ เปรียบไปก็เหมือนไม่พอใจกวนทีนนักเลยให้นักเลงมาตีหัวซะเลย แบบนี้มันคนละวาระกันนี่ครับ?
ประการแรก ตรงไหนที่ยกมาที่เป็นการทำตัวหาเรื่องเหรอครับ?
- ไม่ได้ยกมาหรอกครับ แต่ถ้าตามข่าว BN มาตลอด จะเห็นเป็นระยะ ๆ ครับ เช่น ขู่แฮกเกอร์คราวก่อน (เอาเถอะ ผมก็ไม่ได้รู้ลึกตื้นหนาบางเรื่องความสัมพันธ์ของบริษัท Sony Picture กับ Entertainment หรอกนะ ว่ามันจะมีผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงรึเปล่า), ขู่นักข่าวที่เผยแพร่อีเมล, ทัศนคติของผู้บริหารบางคน จากที่อีเมลหลุดออกมา
ประการที่ 2 ถ้าการมีสิทธิ์ที่จะนำเสนอของโซนี่คือเช็คแล้วมันได้ จะโดยในทางช่องโหว่ของกม. รึถูกต้องแต่ไม่ถูกใจก็ตาม ก็คือว่าได้ใช่มั้ยล่ะครับ ขณะที่ ส่วนของแฮกเกอร์ทำมันไม่ใช่การอิงกับขื่อแปรอะไรเลยนะครับ เปรียบไปก็เหมือนไม่พอใจกวนทีนนักเลยให้นักเลงมาตีหัวซะเลย แบบนี้มันคนละวาระกันนี่ครับ?
- ผมมองเรื่องนี้เป็นประเด็นคุณธรรม-จริยธรรม-ธรรมาภิบาล นะครับ ไม่ขอเถียงเรื่องกฎหมาย ว่าทำได้/ไม่ได้ยังไงนะครับ แต่เรื่องบางเรื่อง เลี่ยงที่จะทำ เพื่อรักษาน้ำใจกัน เรื่องบางเรื่อง ถึงมันจะถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นเรื่องที่ดี หรือเรื่องที่ควรทำเสียหน่อย ไม่งั้นจะมีคำว่า "ช่องโหว่ของกฎหมาย" ในโลกนี้เหรอครับ และผมก็ออกตัวแล้วว่า ชนวนเหตุยังไม่แน่ชัด และถึงจะมาจากสาเหตุนี้ ถ้า Sony หลีกเลี่ยงเรื่องนี้ได้ คิดว่า Sony จะได้/เสีย มากกว่ากันล่ะครับ
ป.ล. ส่วนตัวผมไม่ได้เชียร์แฮกเกอร์หรอกนะครับ แล้วก็พูดได้ตรงนี้เลยว่า Hacker ผิดเต็ม ๆ แต่ที่เขียนไว้ เพียงแต่ต้องการสื่อว่าที่ Sony โดน มูลเหตุมาจากตัวเองทำตัวเองแท้ ๆ
ป.ล.2 ขื่อแป ครับ ไม่ใช่ ขื่อแปร
ยังแฮ่กมาได้เรื่อยๆ เลยหรอครับ น่าจะปิดกั้นการแฮ่กได้แล้วนะ...
เขาน่าจะ hack มาหมดแล้วค่อยๆ ทยอยปล่อยออกมามากกว่าครับ
ผมเชียร์ Sony ในทุกกรณีฮ่ะ ผมไม่เชียร์โจรอย่างแน่นอน เพราะถ้าวันหนึ่งผมโดนแฮกเหมือนกันผมก็คงจะทำแบบเดียวกัน ของๆใคร ใครก็รักนะครับ ใครๆก็อยากปกป้องสิทธิ์ของตัวเองเหมือนกันครับ
คงประมาณเหมือนดาราโดนเอารูปหลุดมาปล่อย แล้วก็ขู่สำนักข่าวว่าห้ามเอารูปหลุดมาลงข่าวนะไม่งั้นจะฟ้อง
แบบนี้เรียกแขกชัด ๆ
ผมเห็นด้วยกับคุณ ZicmA เรื่องอื่นก็เหตุผลอื่น เรื่องนี้ก็เหตุผลนี้สมเหตุผล
หรือ จะตามดวกเลยครับ
ปล. คุณ PandaBaka อาจพูดถูก
กรณีของคุณ PandaBaka นี่ถือว่าผิดครับ เพราะมีการเอาเนื้อหาอีเมล์มาแสดงให้ดูแล้ว พบว่าขู่จริงๆ