การเขียน resume ตามบริษัทซอฟแวร์ เราต้องเขียนทุกอย่างที่เราเคยทำ
(รวมทั้งเรื่องนอกเหนือจาก programming) ด้วยรึปล่าว
A: เขียนทุกอย่างที่เคยทำ เช่น ประกวดนางนพมาศ , ประกวดดาวเดือน , กิจกรรมต่างๆ , เคยเป็นเด็กเสิร์ฟที่ร้าน aaa , เล่นกีตาร์เป็น etc ประสพการณ์อื่นๆนอกเหนือจากการตำแหน่งที่เราอยากสมัครด้วย เช่น ถ่ายรูปเป็น ทำโฟโตชอฟได้ etc
หรือ
B: เขียนทุกอย่างที่จะ Offer ในเงินเดือน เช่น หากเขียนว่าเคยชงกาแฟร้าน A แปลว่าหน้าที่ชงกาแฟประจำออฟฟิสรวมใน salary ไปด้วย
หรือ
C: เขียนเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ programming ที่เราทำได้ ถ้าเขียนอย่างอื่นก็ไม่ถูกอ่านอยู่ดี
หากไม่ได้จบทางด้าน CS หรือ SE มาโดยตรงควรจะระบุในหมวดประวัติการศึกษาอย่างไรดี เช่นเราศึกษาจากหนังสือ PPP , ทำแบบฝึกหัดของ MMM , เรียนคอร์สของ OOO แบบนี้จะมีผลอย่างไรบ้าง
เวลาสมัครต้องทำข้อสอบพื้นฐาณอะไรมั้ย ควรอ่านเรื่องใดบ้าง คำถามปราบเซียนเช่นอะไรบ้าง
หากผ่านแล้ววันแรกที่เข้าฝึกงานจะต้องทำอะไรบ้าง เค้าจะ traning เรามั้ย หรือเราต้องตีปีกบินให้รอดเองแบบว่าบอกให้ทำ AAA ก็ต้องกลับบ้านอ่านหนังสือเอาเองหมดเลย
ไม่รู้กฎเกณฑ์ในการพัฒนาซอฟแวร์แบบกลุ่มมาก่อนเคยเป็นแต่นั่งเขียนคนเดียว จะหาที่ศึกษาก็ไม่รู้จะทำยังไง ต้องปรับตัวยังไงบ้าง
ข้อผิดพลาดที่คนเดบิวมักพลาดบ่อยๆในการทำงานพัฒนาแบบกลุ่มได้แก่อะไรบ้าง
คนที่ไม่ได้เรียน CS - SE โดยตรง ไม่เคยติด Olympic Software
เป็นเพียง wannabe อ่านเองลองผิดถูกเอง เขียนเองมั่วๆ จำ framework ได้บ้างไม่ได้บ้าง มีโอกาสรอดในอาชีพโปรแกรมเมอร์กี่ %
สมมุติสถานการณ์ในการทำงาน ต้องศึกษา framework ใหม่
เราต้องจำทุกคำสั่ง อย่างแม่นยำแบบว่าเขียนโปรแกรมลงกระดาษได้เลย
เลยหรือว่าจำผ่านๆ ว่าคำสั่งชื่อ addNewItemFromBundle : ........ (จำไม่ครบ) เอาแล้วกางหนังสือเอา เป็นพอ
ปรกติใน 1 สัปดาห์มีวันเสาว์อาทิตย์ที่ว่างมั้ย
ขอบคุณครับ
ผมข้อ C. นะ อย่างอื่นก็ไม่รู้จะเขียนอะไรอะ เขียนว่าเคยทำอะไรบ้าง ตอน thesis ทำระบบอะไร
คิดว่าก็ควรจะเป็นคอร์สที่ได้มาตรฐาน (อย่างพวกสอบใบ Cert อะไรพวกนั้น) แต่ผมว่าที่เค้าอยากรู้ก็คือ ไอ้ที่เราทำแบบฝึกหัด หรือไปเรียนคอร์สนี้ หรืออ่านหนังสือเล่มนี้มา แล้วเราเอาไปทำอะไรบ้างล่ะ? ออกมาเป็นรูปธรรมมั้ย
แล้วแต่บริษัทล่ะนะ ของผมไม่เชิงบริษัท Software house (ที่ทำ Software ขาย) แต่หลักๆก็เขียนโปรแกรม (COBOL, Java, etc) จะเจอให้สอบ Logic Test เช่นมีรูป A , B มา ให้ตอบว่าอะไรเข้าพวก
ตอนสัมภาษณ์ก็แค่มานั่งคุยกัน ถามเรื่องว่าโปรเจ็คจบทำอะไร เล่าหน่อยได้มั้ย
แล้วแต่ บ. แล้วแต่ทีม ของผมทำ COBOL มีเทรนให้สามเดือน แต่ถ้าเป็นภาษาอื่นก็เทรน on the job ขึ้นไปทำงาน แต่มี mentor นั่งคุม บางทีมก็เป็น pair programming ให้พี่นั่งทำงาน แต่คอยอธิบายให้น้องฟังว่าทำอะไรอยู่
ผมว่าสาย IT จะรอดไม่รอดอยู่ที่การหาความรู้เพิ่มเติม ถ้าเป็นคนอ่านเอง ลองผิดถูกเองอยู่แล้ว ผมว่ารอดไปส่วนหนึ่งละ
ของผม เนื่องจากไม่ได้จำไปสอบ ก็เอาแค่พอเข้าใจหลักการ ไอ้พวก Syntax ทั้งหลายตอนทำงานจริง เปิดหนังสือเอา
ผมว่า Programmer (ถ้าไม่ได้เจอโปรเจ็ครีบๆ) ไม่ค่อยต้องมาทำวันหยุดนะ (ยกเว้น Support) เห็นพวก DBA น่ะ ที่ไม่ว่าง ตีสองตีสามยังนั่งเช็คอินที่บริษัท
ขอบคุณคับ
A. B. โยนทิ้งไป ไว้เวลาสัมภาษณ์เขาถามเรื่อยเปื่อยค่อยบอก เขียนแค่
-ประวัติการศึกษาคร่าวๆ
-ประวัติการทำงาน
-เราทำอะไรได้บ้าง เช่น เขียน software ภาษาอะไรก็ว่ากันไป ตัวไหนถนัดก็เอาขึ้นก่อน
ส่วนข้อ C น่ะเอาแค่ project ที่เคยทำก็พอ แล้วเขียนอธิบายสักนิดว่ามันทำงานยังไง
-เขาไม่สนใจหรอกว่าจบที่ไหนเรียนยังไงทำงานได้เป็นพอ
-ข้อสอบพื้นฐานเขาก็เอางานที่ง่ายที่สุดเวลาทำงานมาให้ลองทำนั่นล่ะ งานจริงมักจะยากกว่านั้นเยอะ
-ที่ผ่านมาถ้าไม่ใช่ภาษาเฉพาะที่คนเขียนเป็นกันน้อยมากๆจะไม่มีการ training ใดๆ นะยิ่งที่ไหนเขียนว่า มีประสบการณ์ด้วยล่ะก็ลืมเรื่อง training ไปได้เลย
-การพัฒนาเป็นกลุ่มไม่ต้องกลัว มันก็คืองานเป็นชิ้นนั่นล่ะ
-ข้อผิดพลาดในสายนี้มีไม่กี่อย่าง คือ มักง่าย กับ มองโลกในแง่ดีมากเกินไปแค่นั้น
-ไม่เกี่ยวกับเรียนที่ไหน ถ้าอยากอยู่รอดในสายนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณนอนดึกได้แค่ไหน พยายาม ได้แค่ไหนต่างหาก สายนี้ห้ามนิ่งครับ ต้องหาความรู้เพิ่มอยู่เสมอ
-การกางหนังสือดูคำสั่งเป็น 1ในความอับอายที่สุดในฐานะ programmer หาคำสั่งไม่เจอเปิด Google เร็วกว่า...
-ปรกติเขามักไม่ให้มาทำงานกันวันหยุดซะเท่าไหร่นะ เปลืองค่า OT
ผมเขียน COBOL หา Google ไม่ค่อยเจอครับ = =
555+ ภาษาในตำนานสายนี้ต้องปั้นเอาลูกเดียวครับ ส่วน Google ไม่แน่ใจนะบางทีถ้าค้นด้วยภาษาคาสตีล น่าจะเจอบ้างล่ะมั้งครับ เพราะโซนโน้นยังเหลือผู้ใช้อยู่พอควร เหมือนพวก Delphi ช่วงหลังๆ ถ้าจะเอาอะไรลึกๆหน่อยต้องใช้ภาษาจีนค้นลูกเดียว
COBAL อันนี้ต้องทำใจว่ามันเกิดและได้รับความนิยมก่อน Google จะเกิดค่อนข้างหลายปีอยู่ ดังนั้นต้อง Back to basic ครับ คือหนังสือ reference โลด 555+ แตกต่างจาก PHP JAVA หรือ HTML5 ที่เกิดช่วงมี Google แล้ว หา ref ได้ง่ายมาก แม้กระทั่ง Youtube ที่มีคลาสสอนจนถึงขั้นสูงเลยทีเดียว ผมเองยังอิจฉาเด็กสมัยนี้ที่หาข้อมูลในกูเกิลได้ง่ายไม่ต้องซื้อหนังสือเป็นกองๆ แบบสมัยผมมัธยมปลาย ในยูทูปก็มี tutorial สอนมากมายไม่ต้องไปนั่งเรียนคอร์สแพงๆ
หรือว่านับพวกที่เราเคยเรียนผ่านๆ พอมีประสพการณ์ เช่น
ในคลาสสอนภาษานี้ๆเพื่อเขียน ศึกษา paradigm เฉยๆ ไม่ได้ให้ทำโปรเจคแบบมีอะไรจิ้มๆจริงๆ
ทำแบบง่ายๆเช่น ใส่ตัวเลข แสดงกราฟกับตาราง x y กดปุ่มเปลี่ยนสี , ทำ space invader , ทำเกมยุค atari แบบปิงปอง
แบบนี้เราควรใส่ชื่อภาษานี้ไปด้วยมั้ย
หรือเราควรใส่เฉพาะที่เราเขียนแล้วทำมีอะไรจิ้มๆได้จริง
โปรเจคที่จะเอาไปโชว์เค้า แบบใหนดีกว่ากันระหว่าง
Q : เน้นจำนวนโปรเจค ความหลากหลาย เช่น ทำ App วีดีโอ App รูป App เกม App แผนที่ เน้นความหลากหลาย ของ libary แต่ทำไม่ลึกเลย เป็น App บ้านๆผุๆ ที่แจกฟรีคนจะโหลดรึปล่าวก็ไม่รู้
G : มีโปรเจคตัวเดียว พัฒนาต่อทำนานมากๆ ปรับปรุงเยอะ แต่ในการเขียน App แบบอื่นไม่มีประสพการณ์เลย ถ้าคุยเรื่อง libary อื่นๆเราจะคุยไม่รู้เรื่องเลย
แบบใหนดีกว่ากัน
จำเป็นต้อง อัพ App ลง store รอผ่าน QC ของ Apple ก่อนมั้ยจึงจะนำไปสมัครงานได้ หรือว่าเราหอบ iPad ไปให้เค้าจิ้มเล่นในวันสัมภาษณ์ เป็นเรื่องปรกติมั้ย หรือปรกติเค้านิยมอัพลง Apple Store ให้ได้ก่อน
ในออฟฟิสส่วนมากต้องใส่แสลก เสื้อมีปก รองเท้าหนัง กันมั้ย
-ภาษาไหนถ้าไม่คล่องจริงถ้าอยากจะเขียนให้ใส่เป็นอันดับท้ายๆ ได้ครับ แล้วเวลานำเสนอให้ลองคิดย้อนกลับว่า บริษัทเขาจะใช้ประโยชน์จากงานที่เราทำได้ไหมถ้าไม่สิ่งนั้นคือของส่วนเกิน ที่ผู้สัมภาษณ์ไม่เอาไปพิจารณาอยู่ดี
-เวลาเอาไปโชว์แนะนำว่าเอาอันที่คิดว่าดีที่สุดก็พอ ที่เหลือ print ยัด resume ไปก็ได้ครับ
-คนที่ up app ขึ้นไปบน store จริง มักจะได้ภาษีดีกว่า เพราะอย่างน้อยๆ เขาก็โหลดไปดูก่อนมาเรียกสัมภาษณ์
-การแต่งกายยังไงก็แต่งให้สุภาพไว้ก่อนดีกว่าครับ ไว้ได้งานก่อนค่อยดูสภาพแวดล้อมเอา
ขอบคุณคับ
แล้วตอนทำงานเราต้องพก notebook ไปเสียบจอเขียนที่ออฟฟิส
หรือว่าเขียนลง คอมที่ทำงาน แล้วเอาแล้วเอางานใส่ flashdrive กลับมาทำต่อที่บ้าน คับ
พวก code snippet เราต้องไปทำใหม่บนคอมโต๊ะใหม่หมดเลยมั้ย
พวกนั้นที่ทำงานปัจจุบันผมห้ามหมดเลยนะ คอมก็ใช้แบบตั้งโต๊ะที่ office เอา -_-)
A ไม่เอา B ไม่แคร์ ถ้ามีพวก staff ห้องเชียร์ยิ่งไม่อยากรับ (ทำตัวน่ารังเกียจในสังคม)
บริษัทผมไม่มี HR ฉะนั้นไม่สนเรื่อง Resume ถามแค่ว่าเขียนอะไรเป็นมั่ง กับโค้ดที่เคยเขียน ถ้าเขียนได้คือรับ ไม่ได้ก็ให้ไปฝึกมาใหม่
เขียนทุกอย่างที่เคยทำครับ
เขียนแบบไหน แนะนำว่า อยู่ที่ว่าอยากได้หัวหน้าแบบไหนครับ เพราะมันขึ้นกับประสบการณ์ ของหัวหน้าที่เขาอ่าน resume
A.ครับ
สำหรับพี่เห็นคุณค่ากับทุกงานที่เคยทำครับ ยิ่งลงลึกในรายละเอียด ของแต่ละงาน ได้มาก พี่ยิ่งชอบครับ
งานแต่ละงาน พี่ว่ามันให้ประสบการณ์ที่ต่างกัน และพี่เชื่อว่า น้องจะเอาประสบการณ์ที่ผ่านไป ไปประยุกต์ใช้ในงานได้ ลึกซึ้ง กว่า
พี่เคยเจอคนที่เก่งในงานมากๆ แต่ร่วมงานกับใครไม่ได้ สุดท้าย Project มันก็ไม่สำเร็จ เหมือนเดิม ทั้งที่เขาเป็นคนเก่งมากๆ เทียบกับคนที่เขียน software ไม่เป็นเลย แต่เขาทำให้ Project สำเร็จได้ คนแบบหลังนี้สำคัญกว่าคนแรกอีกนะครับ ทั้งที่เวลาเราร่วมงาน จะดูเหมือนคนหลังไม่เก่งเลย
สรุปแล้วอยู่ที่ดวงครับ ว่าคนที่กำลังอ่าน เป็นคนแบบไหน แต่พี่อยากให้แสดงตัวตนดีกว่า เพราะถึงแม้น้องจะเปลื่ยน resume เพื่อให้ได้งาน น้องก็จะเข้ากับหัวหน้าใหม่ไม่ได้อยู่ดี เพราะ มันคิดไม่ตรงกัน
แต่ถ้าเขียน ตัวเองไป หัวหน้าอ่าน อ่านเจอ เออคนนี้เข้าท่าแหะ นั่นคือ เคมี ไปกันได้ส่วนหนึ่งแล้ว ทำงานต่อไปจะราบรื่นครับ แต่ถ้าน้องไปเจอคนที่คิดแต่เรื่องงาน ประสบการณ์อย่างอื่นของน้องก็จะไม่มีค่าสำหรับเขา นั่นคือ เขาเน้น เทพด้าน Software ถ้าน้องไม่ถึงระดับนั่น คือผลงานน้องไม่ถึง (ถึงน้องจะชงกาแฟให้คนทั้งบริษัทได้ เขาก็ไม่เห็นคุณค่าน้องหรอกครับ) สรุปเขียนตัวเองไป และหวังว่าจะเจอคนที่เห็น คุณค่าในตัวน้อง แบบนั้นถึงจะทำงานได้มีความสุข และ ใช้ความเป็นตัวเองสร้างผลงานได้ครับ
HR บ้างคน บอกแค่ resume แค่ 1 A4 เพราะเขาไม่มีเวลาแยก resume ที่ส่งมาเป็น ร้อย แต่พี่ชอบแบบ คนที่ผ่านอะไรมาเยอะ มากกว่า คนที่เอาแต่เรียน ความรู้มันหาเพิ่ม มันสอนกันได้ ทำงานจริง ถ้าตั้งใจ มีคนสอน 6 เดือนมันก็ตามทันกันพอที่จะทำงานได้กันแล้ว แต่นิสัย ความรู้ ประสบการณ์ในอดีต มันสร้างใหม่กันไม่ได้ พี่อยากเห็นพวก นิสัย ทัศนะคติมากกว่าครับ ถ้าจะร่วมงานกันยาวๆ
เขียนทุกอย่างที่เคยทำ เช่น ประกวดนางนพมาศ , ประกวดดาวเดือน , กิจกรรมต่างๆ , เคยเป็นเด็กเสิร์ฟที่ร้าน aaa , เล่นกีตาร์เป็น etc ประสพการณ์อื่นๆนอกเหนือจากการตำแหน่งที่เราอยากสมัครด้วย เช่น ถ่ายรูปเป็น ทำโฟโตชอฟได้ etc
คราวนี้ มาดู สิ่งที่ปี่เห็นคุณค่าในตัวน้องนะ
ประกวดนางนพมาศ , ประกวดดาวเดือน => 1) น้องมีประสบการณ์การประกวด ,การตัดสิน => ถ้าพี่มีงานที่บริษัท ต้องไปประกวดแข่งขัน พี่จะเรียกน้องมาคุย เพราะการประกวด มันคือเกม แบบหนึ่ง
กิจกรรมต่างๆ => คนเคยทำกิจกรรม คือคนที่รู้จักประสานงานกับผู้อื่นเพื่อให้งานสำเร็จ ทักษะนี้ ห้องเรียนไม่มีสอน การทำงานเป็นทีม ให้ผลที่ดีกว่า ความสามารถส่วนบุคคล
เคยเป็นเด็กเสิร์ฟที่ร้าน aaa => รู้จักหัวใจงานบริการ งานบริการที่ดีเป็นยังไง คนไม่เคยผ่านด้านนี้มา ไม่เข้าใจหรอก และ ปัญหา การบริการที่พบเจอ และการแก้ไขสถานการณ์ เฉพาะหน้า ที่ทำให้ความเสียหายต่อบริษัทน้อยที่สุด นั่นสำคัญ Programmer ต่อให้เทพแค่ไหน ก็ต้องมีปัญหา ทักษะบริการ จะช่วยรักษาลูกค้าไว้
เล่นกีตาร์เป็น => มี sense ด้านดนตรี ,sense ทางเสียง และทุกอย่างที่เกี่ยวกับคน เสียง คือองค์ประกอบอย่างหนึ่ง
ถ่ายรูปเป็น ทำโฟโตชอฟ => คือคนที่เข้าใจหลักของแสง สี การสร้างภาพให้สวยงาม ,การจัดองค์ประกอบให้ภาพสวยงาม มันคือสิ่งที่เกี่ยวกับ ตา ของ ผู้คน
ที่สำคัญ คือ น้องรู้ปัญหา และความต้องการ ในทุกงานที่น้องเคยผ่านมา มันจะมีประโยชน์มาก ถ้าน้องใช้สิ่งเหล่านั้นมาเป็น โอกาสทางธุรกิจ
ทุกสิ่งที่กล่าวมา มันจะไม่มีค่าเลย ถ้าหัวหน้าของน้องไม่เห็นค่ามัน และถึงน้องจะเสนอความเห็นไป เขาก็ไม่เข้าใจ และ ความเห็นไม่ถูกนำไปใช้
นั่นคือความสามารถน้องถูกกดไว้ ไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์ ที่สำคัญคือ ผลงานที่ออกมาจะถูกจำกัด แค่ความสามารถ ของหัวหน้า (เขาตัดสินใจว่าอะไรทำหรือไม่ทำ และ คนไทยส่วนใหญ่ ทำงานตามคำสั่ง)
ขอให้เจอหัวหน้าดีๆ นะครับ อยากให้หางานที่เหมาะกับตัวเอง มากกว่า หางานที่ได้เงินเยอะ งานที่เหมาะ ผลงานจะปรากฏ
resume เขียนยาวไป คนอ่านก็ขี้เกียจอ่านครับ ถ้าจะมาทางสาย programming ต้องเขียนให้ชัดไปเลยว่า เขียนภาษาอะไรได้บ้าง ใช้ framework ไหนเป็นบ้าง พวกใช้ photoshop, office ได้นี่ไม่ต้องเขียนมาก็ได้
pittaya.com
เคยอ่านเรซูเม่ของเด็กจบใหม่ และของเพื่อนๆ ตอนเรียนจบ
"ชอบเล่นกีตาร์"
ผมขอ
- ประวัติการทำงาน
- git/bitbucket repo
- เว็บ/แอพ/พอร์ตงานดีไซน์ที่เคยทำ
- เงินเดือนที่คาดหวัง
อย่างอื่นไม่ต้องครับ เชื้อชาติอายุวุฒิการศึกษาไม่สนใจ
ขอบคุณมากคับ