ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ยังเป็นประเด็นข่าวอย่างต่อเนื่อง ทาง Blognone เคยเสนอเนื้อหาบางส่วนของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ไปแล้ว แต่ก็เป็นการดีที่เราจะพิจารณาร่างกฎหมายจากหลายมุมมอง
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) มีบทความสรุปประเด็นและแสดง "ข้อกังวล" ต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ เราเลยนำมาเผยแพร่ต่อเพื่อให้กระจายข้อมูลกันในวงกว้างมากขึ้น ประเด็นสำคัญได้แก่
ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ.... หรือ ร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ เป็นหนึ่งใน "ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล 10+3 ฉบับ" ที่คณะรัฐมนตรีอนุมติหลักการไปแล้ว เพื่อรองรับ "การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล"
“การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล” คือนโยบายที่คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันทื่ 12 กันยายน 2557 จึงไม่น่าแปลกใจ ที่คณะรัฐมนตรีจะรับหลักการร่างกฎหมายเพื่อรองรับ “การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล” วันเดียวถึง 8 ฉบับ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2557 แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ เนื้อหาของกฎหมายที่ร่างขึ้นมาดูจะมีเนื้อหาเป็นกฎหมายด้านความมั่นคงเสียมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ
ร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ เขียนขึ้นเพื่อจัดตั้งองค์กรที่จะทำหน้าที่ป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ โดยให้จัดตั้ง "สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ" มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล แต่ไม่ใช่ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ และให้มี "คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ" หรือ กปช. อยู่ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทำหน้าที่เป็นองค์กรกลาง ประสานงาน และกำหนดแนวทางรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ โดยหวังว่าหน่วยงานเหล่านี้จะช่วยให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนในการทำธุรกิจออนไลน์และจะช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นไปได้อย่างราบรื่น
ร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ เขียนคำนิยามศัพท์ไว้แบบกว้างๆ เหมือนกับกฎหมายด้านความมั่นคงฉบับอื่น เช่น พ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457(กฎอัยการศึก) พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) รวมทั้ง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (พ.ร.บ. ความมั่นคง)
ร่างกฎหมายฉบับนี้ให้ความหมายของคำว่า ความมั่นคงไซเบอร์ฯ ไว้ในมาตรา 3 วรรค 1 ว่า
“มาตรการและการดำเนินการที่กำหนดขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศให้สามารถปกป้อง ป้องกัน หรือรับมือกับสถานการณ์ด้าน ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียม อันกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ”
จะเห็นได้ว่า คำนิยามของกฎหมาย เขียนไว้อย่างกว้างๆ ประชาชนทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจได้ยาก จึงเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงานได้อย่างกว้างขวาง คำว่า ”ภัยคุกคาม” ตามวรรคนี้ก็ยังกำกวม เพราะไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่า เป็นภัยคุกคามในเชิงเทคนิคที่มีต่อตัวระบบ หรือรวมไปถึงการเผยแพร่เนื้อหาที่เจ้าหน้าที่เห็นว่ากระทบต่อความมั่นคงด้วย
ตามมาตรา 35 (1) พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานความมั่นคงไซเบอร์ฯ สามารถเรียกให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ หรือนำส่งเอกสารต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการรักษาการตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ มาตรา 35 (2) ให้อำนาจสำนักงานความมั่นคงไซเบอร์ฯ ส่งหนังสือ”ขอความร่วมมือ” ให้หน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชน ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) ส่วนมาตรา 35 (3) ก็ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ทั้งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
อำนาจใน (3) เป็นข้อที่น่ากังวลมากที่สุด เพราะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการสื่อสารของประชาชนได้ทุกช่องทาง โดยไม่มีขอบเขตและไม่มีกระบวนการตรวจสอบใดๆ เลย คล้ายกับการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันก็มีข้อเสนอเรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจดักฟังโทรศัพท์และข้อมูลการสื่อสารของประชาชนได้ แต่ต้องขออนุญาตอธิบดีผู้พิพากษาก่อน และมีกำหนดเวลาการใช้อำนาจที่ชัดเจน
นอกจากนี้การที่ (3) กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารทาง "ไปรษณีย์" ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในโลกไซเบอร์ และ "โทรเลข" ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารที่ไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ทำให้เห็นว่าขั้นตอนการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้อาจมีความรีบร้อนที่จะมุ่งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานใหม่มากเกินไป ยังไม่ได้ผ่านการไตร่ตรองและคิดให้รอบคอบเสียก่อน
หากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ก็แทบจะไม่มีอะไรที่จะยังสามารถความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารได้อีกเลย แม้ว่าครม.จะรับหลักการร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมกับการร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็อาจจะไม่ช่วยถ่วงดุลอำนาจของของพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้มากนัก เพราะเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นกปช. ก็อยู่ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย จึงได้แต่หวังว่า ครม.จะวางหลักเกณฑ์ที่ทำให้การใช้อำนาจตาม (3) เป็นไปอย่างจำกัดและมีแนวทางใช้อำนาจที่ชัดเจน
ร่างมาตรา 34 ให้อำนาจ กปช. สั่งให้หน่วยงานเอกชนกระทำการหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคง และต้องรายงานผลการดำเนินงานต่อ กปช. ด้วย ขณะที่มาตรา 35 (2) ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ออกจดหมาย “ขอความร่วมมือ” ให้หน่วยงานเอกชน ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กปช. ขณะที่ความในมาตรา 35 (3) ก็ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารทั้งในและนอกโลกไซเบอร์ได้โดยไม่มีกระบวนการตรวจสอบ
หากพ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ ทั้งบรรษัทข้ามชาติและบรรษัทไทยที่กำลังจะลงทุนในกิจการดิจิทัลอาจต้องคิดหนักขึ้น เพราะพวกเขาไม่อาจมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูลได้เลย นอกจากนี้ก็ยังต้องกังวลถึงความเป็นอิสระในการดำเนินธุรกิจภายใต้กฎหมายไทย เพราะวันดีคือดี กปช.หรือสำนักงาน ก็อาจ “ขอความร่วมมือ” หรือสั่งให้บรรษัท กระทำการหรืองดเว้นการกระทำการใดๆ ก็ได้ พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ฯ จึงอาจกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้บรรษัทต่างๆ พิจารณาไม่ลงทุนในประเทศไทยได้
เนื่องจากร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ บัญญัติขึ้นเพื่อการจัดตั้งองค์กร จึงยังไม่มีการบัญญัติว่าการกระทำใดเข้าข่ายผิดกฎหมาย และยังไม่มีบทกำหนดโทษต่อบุคคลที่กระทำความผิด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกฎหมายเขียนไว้กว้างๆ กปช.และสำนักงานฯ จึงสามารถที่จะตีความว่าสิ่งใดเข้าข่ายอำนาจหน้าที่ของตนได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ต้องจับตามองว่า ประกาศหรือคำสั่งซึ่งจะออกมาภายหลังที่องค์กรได้รับการจัดตั้งขึ้นแล้ว จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร และจะกระทบสิทธิเสรีภาพของคนทั่วไปมากน้อยแค่ไหนด้วย
ที่มา - iLaw
Comments
เป็นช่องทางในการเล่นงานกับอีกฝ่าย อิอิ คหสต ล้วนๆ
ก็ภาวนาอย่าให้โดนกับตัวเองก็พอ คงทำได้แค่นี้
ขึ้นอยู่กับคนใช้แล้วครับถ้าเขาพุ่งเป้ามาที่เราก็จบเลย
ปรกติอำนาจเข้าถึงข้อมูลบางอย่างของพลเรือน
เค้าจำกัดเฉพาะเจ้าหน้าที่พิเศษที่ได้รับราชกิจจานุเบกษาเท่านั้นอยู่แล้วนิคับ
การเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารโดยไม่ต้องมีหมายศาล มันเป็นแค่การทำให้กระบวนการดำเนินการเร็วขึ้น เพราะปรกติก็ต้องขอหมายศาลอยู่แล้ว
ปรกติเคสที่เค้าไม่ต้องขอหมายศาลในกฎหมายเก่า ก็ระบุเรื่องกรณีที่พยานหลักฐาณสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยง่าย การขอหมายศาลหรือไม่ขอหมายศาลไม่มีผลใดๆกับการใช้อำนาจหน้าที่ เพราะทุกอย่างต้องบันทึกลงสำนวนและไปขึ้นศาลในกระบวนการพิจารณาอยู่ดี
แต่ผมสังเกตว่า กลภาษา ที่ถูกเรียบเรียงมักจะเน้นเรื่องการใช้คำที่ " คลุมเครือ " หรือ "สร้างความเข้าใจผิด" กับบุคคลทั่วไป
เช่นคำว่า "เจ้าหน้าที่" คนอ่านก็จะนึกว่า อ้าว ตำรวจที่เราเจอที่ร้านข้าวต้มจะเข้าถึงข้อมูลเราได้แล้วหรานี่ ? (ผิด)
คำว่า "ไม่ต้องขอหมายศาล" คนทั่วไปตีความว่า อ้าว งี้มันจะแฟร์หรอนี่ แปลว่าดูนู่นนี่ได้เลยดิ
(ความเป็นจริงยังไงก็ต้องมีหนังสือเป็นหลักฐาณ ลงประทับตราลายเซ็นต์ผกก)
และสำนวนทั้งหมดก็จะถูกนำไปพิจารณาในศาลในกระบวนการยุติธรรมปรกติอยู่ดี
กลายเป็นกลภาษาที่ทำให้คน FEEL ว่า "เอาผิดได้โดยไม่ต้องมีศาล"
ทั้งที่จริงๆมันก็แค่ speed up กระบวนการรวบรวมสำนวนให้เร็วขึ้นแค่นั้น
เพราะคดีคงค้างเยอะ ติดคอขวด
ไม่ได้มีผลกับกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินไปแบบปรกติ
คำว่า "น่ากังวล" พอคนอ่านแล้วจะเริ่มกังวล กังวลก็วอรี่ไปเรื่อยเปื่อย
เกิดการใช้จินตนาการ และก็เป็นทุกข์กับจินตนาการ นี่อะ อำนาจของภาษา
กฎหมายประเทศไทย ใช้ระบบประมวลกฎหมายนะครับ ต้องตีความแบบเคร่งครัด
หากเขียนไว้กว้างและคลุมเครือทำให้ตีความแบบกว้างได้ ตรงนี้แหละที่น่ากลัว
ยิ่งเผื่อที่ให้มโนได้เยอะๆ นี่แสดงว่าสามารถตีความยังไงก็ได้ตามใจชอบนะครับ
อะไรคลุมเครือแน่ คนอ่าน หรือตัว กม ?
ที่ทำให้มโนอ่ะ (บทความ) หรือตัว กม ?
กฎหมายที่ดีต้องไม่ทำให้คนอ่านคลุมเครือ และไม่ทำให้คนเขียนบทความมโนได้ครับ
อันนี้ถามตรงๆเลยนะครับ เพราะอ่านคอมเม้นต่างๆมานาน คุณชอบกฎหมายนี้ใช่ไหมครับ? ถ้าใช่คือจบ จะได้ไม่ต้องมีคอมเม้นยืดยาวใจความเดิมๆกันอีก
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ทำข้อสอบได้ 10 คะแนน ไปโทษคนออกข้อสอบว่าออกข้อสอบไรไม่รู้อ่านยากจัง สินะ
ใช่ครับ ถ้าคนปัญญาอ่อนเป็นคนออกข้อสอบก็คงต้องโดนโทษเป็นเรื่องปกติ
คุณยังไม่ได้ตอบคำถามผมนะครับ ชอบ หรือ ไม่ชอบ?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ถ้าข้อสอบถามคำถามกากส์ๆหรืถามกำกวมผมก็โทษคนออกข้อสอบครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ข้อกฎหมายสิครับ เขียนคลุมเครือเปิดโอกาสให้ตีความแบบกว้างได้ แบบนี้คนออกกฎหมายเขียนไม่ดี พอๆกับการออกบทลงโทษที่ขัดแย้งหรือไม่สัมพันธ์กับกฎหมายอื่นๆ เช่นกฎหมายทารุณกรรมสัตว์ ที่บทลงโทษสูงกว่าการทำร้ายมนุษย์ แบบนี้แหละที่เรียกว่า คนเขียนกฎหมายมั่วๆ และมักจะออกมาช่วงรบ.ทหาร ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยทั้งนั้น
อ้อผมอ่านร่างฯฉบับเต็มมาแล้ว ไม่ต้องบลัฟว่ายังไม่ได้อ่าน
เห็นด้วยกับความเห็นของคุณ Fourpoint ครับ เนื่องจากประเทศไทยใช้กฏหมายแบบ Civil law ตีความตามตัวบท กม. ครับ ไม่ใช่ Common law ที่จะตีความตามความเห็นลูกขุน การขอหมายศาลให้ทันเวลาเป้นากรยากเกินกว่า (หรือช้าเกินไป) ในการจะปฏิบัติได้หรอครับ ถ้าการขอนั้นยาก มันก็ไม่ใช่เรื่องของ กม. แล้วครับ แต่มันเป็นเรื่องของศาล ปัญหาติดที่ศาล ไม่ได้ติดที่ข้อ กม.
กลภาษา.. หรืออำนาจล้นฟ้า?
(ความเป็นจริงยังไงก็ต้องมีหนังสือเป็นหลักฐาณ ลงประทับตราลายเซ็นต์ผกก)
ความเป็นจริงที่ว่านี่เอามาจากไหนเหรอครับ? เกิดจากการใช้จินตนาการรึเปล่า? แล้วถ้าสิ่งที่กังวลมันเกิดขึ้นมาจะทำอะไรได้ครับ ในเมื่อกฎหมายเองก็ไม่ได้ห้าม ถ้าจะทำสักอย่างจะทำไม ใครจะเอาผิดได้ครับ?
นี่ละ ผมบอกแล้ว คนอ่านบทความ จินตนาการจำลองตัวเองเป็นตัวละครในเรื่อง และผลสุดท้ายก็เอาความชั่วของตนเอง [หากฉันอยู่ในสถานการณ์นั้น ฉันทำแบบนั้นได้] [หากฉันทำฉันจะทำแบบนั้น] สุดท้ายเราก็จะเห็นแค่กระจกสะท้อนตัวคนกล่าวกันซะเยอะ เป็นการสารภาพจิตใต้สำนึก ล้วนๆ ไม่ได้เกี่ยวอัลไลกับสิ่งที่มีมาตั้งนานแล้วเล้ย
ไม่เคยอ่านระเบียบอื่น ไม่ทราบว่ามีกลไกใดควบคุมซ้อนอยู่อีก
จิ้นตัวเองทั้งนั้น
ก็แล้วไอ้การลัดขั้นตอนของศาลนี่มันมีกลไกอะไรที่ควบคุมกันล่ะ กว่าจะขึ้นศาลกว่าจะพิจารณาคดี ถ้ายกฟ้อง งี้คนที่โดนจับนี่ไม่โดนจับเข้าคุกฟรีเหรอครับ?
ความยุติธรรมที่เชื่องช้า ก็คือความไม่ยุติธรรมนะครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ตอบคำถามผมก่อนสิครับ คุณเอาความจริงที่ว่ามาจากไหน
แล้วไอ้ที่บอกว่าจินตนาการเอาความชั่วตัวเองบลาๆๆนี่เอามาจากไหนครับ จินตนาการอีกแล้ว? ที่บอกว่าไม่เคยอ่านระเบียบอื่นนี่ก็จินตนาการอีกแล้วนะครับ ผมมั่นใจว่าคุณนั่นแหละอ่านน้อยกว่าผมอีก
เลิกจินตนาการเอาจินตนาการของตัวเองไปใส่จินตนาการของคนอื่นว่าคนอื่นจินตนาการอย่างที่ตัวเองจินตนาการได้แล้วนะครับ พ่อหนุ่มนักจินตนาการ
แล้วก็ "หลักฐาน" สะกดแบบนี้นะครับ ยอมรับได้รึยังว่าอ่านระเบียบมาน้อยกว่าผมอีก เลิกจินตนาการว่าตัวเองเป็นผู้รู้เถอะนะครับ
เค้าจำกัดเฉพาะเจ้าหน้าที่พิเศษที่ได้รับราชกิจจานุเบกษาเท่านั้นอยู่แล้วนิคับ
ต่อให้จำกัดเอาไว้โดยเฉพาะ แล้วเจ้าหน้าที่คนนั้นคือใครเหรอครับ จะไปไว้ใจได้ยังไงในเมื่อใหญ่ระดับนายกยังโกงจนถูกถอดถอนได้เลย เจ้าหน้าที่คนนี้เป็นอรหันต์มาจากไหนถึงไว้ใจได้ไม่ต้องกังวล? ถ้าเจ้าหน้าที่คนนี้ใช้อำนาจในทางมิชอบเพื่อเรื่องส่วนตัวจะมีใครรู้บ้างครับ ในเมื่อไม่ต้องมีหมายศาล ไม่ต้องมีคนอื่นร่วมรับรู้นึกจะทำก็ทำ อะไรที่ทำให้คุณคิดว่าไว้ใจได้ครับ จินตนาการรึเปล่าครับ?
ยอมรับได้ยังว่ารู้น้อยกว่าจินตนาการ ไปอ่านซะ เล่มละ 350
จะให้พวกผมจินตนาการจากสวรรค์วิมานไหนล่ะครับว่าหนังสืออะไร
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
จินตนาการอีกแล้วนะครับ ยอมรับเถอะครับถ้าตอบไม่ได้ก็เลิกจินตนาการคำตอบห่วยๆเถอะ ประจานตัวเองเปล่าๆ
55555555+
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ตรรกะเดียวกับคนดี ย่อม(ไม่)ทำอะไรไม่ดีครับ พิเศษนี้เส้นใหญ่มากเลยครับ:P
ก็ผกก. เซ็นต์นี้ไม่ใช่หรอครับที่ น่ากลัว มันอารมณ์เดียวกับจับคนไปขัง 7 วันโดยไม่ต้องตั้งข้อกล่าวหาเลย ก็ในเมื่อหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์มันมีกฏหมายระบุอยู่แล้วว่าต้องเก็บรักษาไว้ 90 จะขอหมายศาลไม่ได้หรอครับ หมายนึงไม่น่าเกิน 90 วันนะครับ(หรืออยากจะค้นพัสดุ EMS หว่าเลยทำเลยไม่ต้องขอหมายศาล) แล้วส่วนส่งจดหมายขอความร่วมมือได้ทุกบริษัทนี่ไม่น่ากังวล หรือครับ ก็ท่านผู้นำบอกว่าไปตามจับคนหมิ่น คงไม่หมายถึงว่าไปขอข้อมูลเร็วๆเพื่อไปไล่จับแฮกเกอร์กระมั่ง
ปล.ผมสงสัยว่าถ้าอยากให้กระบวนมันเร็วเนี่ย สรุปจะขอหมายศาลไปเพื่ออะไรครับ ไม่ใช่เพื่อความเป็นธรรมของผู้คนหรอครับ
อ่านเมนต์คุณแล้วผมโคดงง ทำไมมันจับฉ่ายงั้น ตกลงจะเอาประเด็นไรมาคุย
ปรกติกฎหมายเดิมๆ ก็มีข้อยกเว้นไม่ต้องขอหมายศาลอยู่แล้วคับ คือ
'กรณีที่วัตถุพยานสามารถถูกเคลื่อนย้าย ซ่อนเร้น หรือทำลายได้โดยง่าย'
การยกเว้นหมายศาลกับพยานที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องเขาเคยทำมาตั้งนานแล้ว
เพราะมันไม่ใช่รถยนต์ ไม่ใช่มีด ไม่ใช่วัตถุที่สามารถ forensic ได้ทางนิติวิทยาศาสตร์
และกรณีที่คนร้ายหรือกลุ่มบุคคลเป็นแฮกเกอร์ ก็สามารถทำลายได้
การ adap จุดนี้ เพราะเกิดการขยายตัวของระบบคอมพิวเตอร์ จนแทบจะกลายเป็นปัจจัย 4
มันก็สมเหตุผลแล้ว เพราะลดภาระขั้นตอนการรวมพยานหลักฐาณของเจ้าหน้าที่ ลดคอขวด
หมายศาลเพื่อขอพยานหลักฐาณ ไม่ใช่หมายศาล(หมายจับ) ตีความกันซะหลุดโลกเลยทีเดียว
ลายเซนต์ผกก ก็เซนต์เพื่อรับรองความรับผิดชอบหมาย ขอหลักฐานเขาก็เซนต์กันทุกหมาย นี่จิ้นเป็น เดธโน้ตไปสะงั้น
บอกแล้ว ลองได้จิ้นแล้วจะฟินกันทั่วหน้า เรากำลังสู้กับหมอกๆ
"หลักฐาน" สะกดแบบนี้นะครับ
คุณละครับงง ค้นบ้านก็ต้องมีหมายครับ ส่วนกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็มีกฏหมายอยู่ต้องเก็บกี่วันถ้าจะบอกช้าเดี๋ยวแฮกเกอร์มาลบมันก็คนละประเด็นกับการดักฟังประชาชนตัวเองโดยไม่ต้องขอหมายศาลแล้วครับ คำว่า"อาจจะ"มันใช้ได้กับทุกคนนะครับ ผกก.ที่คุณบอกเซนต์ได้ไม่ขอหมายก็แค่ไปดักแล้วก็บอกไม่มีอะไรไม่เจออะไรก็จบแต่ผมอะโดนแล้วแบบไม่รู้ตัวด้วยเหอะๆ ผมนะส่วนตัวไม่มีอะไร แต่ถ้าผกก.คนนั้นสนิทกับบริษัทคู่แข่งแล้วมันดันมาค้นข้อมูลเครื่องบริษัทผมเพราะอาจะมีลูกน้องหมิ่น แต่ไม่มีอะไร แต่บริษัทนั้นได้ข้อมูลผมไม่แล้ว ไม่มืดเกินไปหรอกครับเพราะมันมี
หากวัตถุพยานเคลื่อนย้ายได้โดยง่าย ค้นโดยไม่ต้องมีหมายศาลได้คับ บอกหลายรอบแล้ว ตัวอย่างมีมาเป็นชาติแล้ว
เฮ้อ
เฮ้อ ...
ที่ประเทศไทยมีปัญหาวุ่นวายไม่รู้จบจนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะการอนุญาติให้ใช้ดุลพินิจได้ตามอำเภอใจเนี่ยแหละครับ
ถ้านึกไม่ออก ลองมองดูองค์กรอิสระบางองค์กรน่ะครับ ที่ชอบใช้ดุลพินิจแบบตามใจฉันจนเกิดคำถามและความไม่เชื่อมั่น ความคลางแคลงใจมากมายตามมา
ไม่ต้องขอหมายศาล ยังไม่รู้ว่าคุณผิดจริงก็สามารถมาดูข้อมูลได้เลย สมมติว่าถ้าข้อมูลนั้นเป็นความลับของลูกค้าแล้วเค้ามาขอคุณดูแล้วพอดูแล้วไม่เจอความผิดอะไร กว่าจะพิสูจน์ว่าได้ว่าไม่มีความผิดอะไร ตรงนี้ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ในกฏหมายก็ไม่ได้ระบุความรับผิดชอบไว้ด้วย
คอขวดอยู่ที่ศาล แทนที่จะแก้ที่ศาล ดันแก้กฎหมายซะงั้น
ระหว่างหลักข้อกฎหมาย และหลักปฏิบัติ คุณแน่ใจถึงขนาดที่ว่าการปฏิบัติจะกระทำตามหลักข้อกฎหมายและเท่าเทียมกันทุกฝ่าย?
ถือถ้าจะบอกว่า "อะไรก็ได้มาเหอะ ผมรับได้หมด" - แบบนี้คงไม่ต้องพิมพ์ยาวเป็นกิโลให้เมื่อยเลย
เรื่องกระทำโดยไม่มีหมายศาลนั้นผมเข้าใจว่าหลักประกันว่าความเป็นส่วนตัวของเราจะลดลง
เรื่องกฎหมายถ้ามีความคลุมเคลือสูง ตัวกฎหมายเองก็ไม่มีประโยชน์เพราะว่ามันจะกลายเป็นว่าขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตีความ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ อยู่ข้างเดียวกับผู้มีอำนาจ ถูกผิดไม่ต้องดูก็ได้ แล้วแน่ใจได้อย่างไรว่าผู้มีอำนาจตัดสินได้ถูก
ผมว่ามันไม่สนุกถ้าเราถูกใส่ร้าย แล้วโดนโทษแบบ Top Speed นะครับ
และผมเชื่อว่าเราน่าจะเสียใจถ้าสนับสนุนกฎหมายนี้
จีน
เกาหลีเหนือตั้งหาก :P
เท่าที่ไปอ่านมา กฎหมายจีนยังน่ารักน่าคบกว่าเยอะเลยครับ
จีนใช้ Google ไม่ได้ทั้งประเทศครับ จีนโหดกว่าเยอะ
เค้า block เลยไงครับ ไม่ใช่ให้ใช้ได้แต่แอบอ่าน
หากพ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ ทั้งบรรษัทข้ามชาติและบรรษัทไทย
บรรษัท > บริษัท
ขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้ล้วนๆ
ใช้คำว่า บรรษัท ก็น่าจะได้นะครับ
เพราะ บรรษัท คือ นิติบุคคลผู้ถือหุ้นในบริษัทหรือบรรษัทอื่นแทนบุคคล
อ้างอิง
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2380
http://th.wikipedia.org/wiki/บรรษัท
http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3799287/I3799287.html
ผมก็ทำปืนมายิง เฉพาะผู้ร้าย คุณจะกลัวอะไร
ไอ่คำว่าผู้ร้ายนี่คือ ฝ่ายตรงข้ามสินะครับ หึหึ
นี่ผมมั่นใจได้เลยสินะครับ ว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้ "เป็นคนดีจริงๆ"
บางทีผมก็เริ่มสงสัยนะครับ ว่าถ้าไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร
ทำไมต้องออกกฏหมายมากีดกันอะไรขนาดนี้
กลัวโดนยัดข้อหาครับ ถ้าคุณไม่ได้ทำอะไรผิด แต่บังเอิญเป็นฝ่ายตรงข้ามกับ "เจ้าหน้าที่" ก็คงต้องระวังล่ะครับ
เราไม่มีทางรู้ได้ครับว่า "เจ้าหน้าที่" ที่ว่าทำงานได้โปร่งใสแค่ไหน หรือเขาเหล่านั้นตั้งธงอะไรเอาไว้ในใจหรือไม่ครับ
ไม่ใช่ครับ ผมหมายถึงรัฐว่าออกกฏแบบนี้มาทำไร
กังวลอยู่ข้อเดียว จะเอาออกมาใช้จริงๆเหรอ คิดรอบคอบยัง ถ้าอีกฝ่ายขึ้นมาแล้วมาใช้บ้างจะโดนเป่านกหวีดไล่อีกไหม
กฏหมายเหมือนดาบสองคม ครับ ถ้าเราไม่ทำผิดและรอบคอบเสมอ จะอยู่ได้ อย่างมีความสุข ออกกฏหมายแรงๆ กับพวก
โกงกินให้มันแรงๆ คนที่ใช้มันจะใช้อย่างรอบคอบ เพราะถ้าใช้ผิด คนใช้มันจะโดนเอง แบบนั้น ดีกว่าครับ มีเอาไว้ปฏิบัติตามไม่ใช่ เอาไว้ วางเฉย
ผมว่า คนทั่วไปกระทบไม่มาก แต่นักลงทุนรายใหญ่หรือ บริษัทใหญ่ๆ ข้ามชาติ คงจะไม่กล้าทำอะไรหรือลงทุนอะไรกับประเทศไทยแน่ ถ้าจากมุมมองของนักลงทุนก็วิเคราะห์ค่อนข้างถูกเลยครับ เพราะมันครอบคลุมแบบกว้างมาก ถึงขนาดไม่จำเป็นต้องมีหมายศาล ถ้าขนาดนี้เกิดมีบริษัทคู่แข่ง แจ้งความใส่ร้ายมาและข้อมูลในบริษัทเกิดรั่วไหลไปถึงคู่แข่งผ่านเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจ ผมว่าบางทีไม่คุ้มที่จะลงทุน ไปลงทุนในบริษัทที่กฎหมายให้ "ความคุ้มครอง" อย่างแท้จริงคงจะดีกว่า แต่ยังไงโดยส่วนตัวไม่สนับสนุนครับ การละเมิดสิทธิส่วนตัวถึงขนาดเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวโดยไม่มีหมายค้นนี่น่ากลัวมากครับ เกิด เจ้าหน้าทีอยากยัดข้อหา ม.112 แค่เขาหยิบโทรศัพท์คุณมาแล้วเกิดส่ง sms ไปหาใครก็ไม่รู้เป็นข้อความละเมิด ไปหาใครก็ไม่รู้คราวนี้คุณก็แย่แล้วครับ น่าจะนึกคดีอากง sms ได้นะครับ ฉะนั้นไม่เห็นด้วยครับ