เครือข่ายพลเมืองเน็ตเปิดแคมเปญรณรงค์เข้าชื่อหยุดชุดกฎหมาย “ความมั่นคงดิจิทัล” บนเว็บไซต์ Change.org โดยตั้งข้อสังเกตกฎหมายชุดดังกล่าวที่ทางคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการไปแล้ว 10 ฉบับ และยังรอพิจารณาในขั้นตอนต่างๆ อีกอย่างน้อย 3 ฉบับ ว่าแม้บางส่วนจะเป็นประโยชน์ แต่ในภาพรวมแล้ว ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและผู้ประกอบการในหลายด้าน ผูกขาดการเข้าถึงทรัพยากร ไม่ได้ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลดังที่กล่าวอ้าง
ประเด็นหลักๆ ที่ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญของแคมเปญนี้ได้แก่
- ชุดกฎหมายเหล่านี้โดยเนื้อแท้ ไม่ใช่กฎหมาย “เศรษฐกิจดิจิทัล” แต่เป็นชุดกฎหมายความมั่นคง
- ชุดกฎหมายเหล่านี้ถูกเสนออย่างเร่งรีบ ไม่อยู่ในวาระประชุมปกติ จนน่าสงสัยว่ามีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและพิจารณาละเอียดรอบคอบเพียงพอหรือไม่
- มีร่างกฎหมายใหม่และแก้ไขเพิ่มเติมอย่างน้อย 5 ฉบับที่อนุญาตให้รัฐค้น ยึด อายัด ขอ เข้าถึง และดักรับข้อมูลได้ โดยไม่มีกลไกการพิจารณาตรวจสอบใดๆ จากหน่วยงานตุลาการที่เชื่อถือได้ หรือบางกรณีที่มีก็ไม่ชัดเจนเพียงพอ
- ร่างพ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ทำลายความเป็นองค์กรอิสระของหน่วยงานกำกับกิจการ และฉวยโอกาสดึงคลื่นความถี่กลับมาอยู่ในมือรัฐบาลและกองทัพ
- กองทุนที่มาจากค่าใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่และค่าธรรมเนียม ถูกเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไปจากเดิมเป็นอย่างมาก จากเดิมเป็นกองทุนวิจัยพัฒนาเพื่อประโยชน์สาธารณะ กลายเป็นกองทุนเพื่อให้รัฐและเอกชนกู้ยืม
- ร่างพ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ไม่แก้ปัญหาธรรมาภิบาลในการใช้งบประมาณและการใช้อำนาจ ซ้ำยังมีร่างกฎหมายใหม่ในชุดที่จะสร้างหน่วยงานที่มีโครงสร้างงบประมาณและการบริหารที่อาจเกิดปัญหาคล้ายกันขึ้นอีก 3 หน่วยงาน
- ร่างกฎหมายทั้งหมดขาดกลไกคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสิทธิผู้บริโภคที่ชัดเจน
รายละเอียดของแคมเปญแบบเต็มสามารถอ่านได้จากที่มาครับ
อัพเดต คนที่เข้าลิ้งก์ในที่มาไม่ได้ อันเนื่องจากใช้ iOS แล้วมีปัญหา ให้เข้า URL ตามนี้ครับ
https://www.change.org/p/สภานิติบัญญัติแห่งชาติ-หยุดชุดกฎหมาย-ความมั่นคงดิจิทัล
ที่มา - Change.org
Comments
ลงชื่อ!!!!!!
เข้าลงชื่อมาแล้วด้วยอีกคนคับ
ทีวี ไม่มีออกสักช่อง กับ กฏหมายนี้
เคยเห็นช่องเนชั่นเอาเรื่องกฎหมายไซเบอร์เรื่องที่ว่ารัฐสามารถเข้ามาดูข้อมูลของเราได้ในช่วงคม-ชัด-ลึกอยู่เหมือนกัน
https://www.youtube.com/watch?v=FhF-Tm4enwo
url อะไรครับ
ดูที่ท้ายข่าวครับ
search เจอแล้ว
ลงด้วยครับ
ลงชื่อได้แบบไม่ลังเลเลย
คลิกเข้าไปที่ลิงก์ กลายเป็นหน้าว่างๆเปล่าๆ
เพิ่งมารู้ทีหลังว่าพวกใช้ iOS มีปัญหา อัพเดตในข่าวให้ก็อปไปแปะได้แล้วนะครับ
ไปลงชื่อมาเรียบร้อย แถม share ใน facebook ให้แล้วด้วย
ปกติของพวกนี้ควรมีกี่ชื่อเหรอครับ? เข้าไปเห็นเป้าอยู่ 1000 เดียว เลยสงสัยครับ
ถ้าตามในสภาวะปกติ + รธน. 2550 ก็ 50000 คนครับ เข้าชื่อกันขอยื่นแก้กฎหมาย/ล้มกฎหมายที่กำลังร่างอยู่ได้ แต่ตอนนี้มันไม่มีข้อกำหนดแบบนั้นแล้ว ก็เลยเอาประมาณนี้ละกัน
ขอบคุณครับ แ่แบบนี้เข้าใจว่ายิ่งเยอะยิ่งดีเนาะ
คือเป้ามันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยอัตโนมัติอ่ะครับ อันนี้จะต่างกับพวกเว็บระดมทุนอย่าง Kick starter ที่โชว์เป้าสุดท้ายครั้งแรกเลย
สนับสนุนเต็มที่ครับ แต่ไม่รู้จะหยุดเค้าได้มั้ย
จริงๆ feeling คล้ายๆตอนที่ลงชื่อต่อต้าน SOPA/PIPA เลยนะเนี่ย
ลงชื่อด่วนๆครับ
ผมเข้าด้วยลิงก์ในข่าวไม่ได้แฮะ อันเดียวกันอันนี้ใช่ป่ะครับ https://www.change.org/p/สภานิติบัญญัติแห่งชาติ-หยุดชุดกฎหมาย-ความมั่นคงดิจิทัล
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ใช่ครับ
ลงชื่อเรียบร้อย
ฝากช่วยกันคิดด้วยครับ ได้ยินมาว่าเพราะกฎหมายบ้านเราที่ "ใครจะทำอะไรก็ได้" "การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ" เลยทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางหนึ่งของขบวนการต่างๆนานา
อยากให้มองกันให้รอบด้าน ไม่ใช้ความเห็นส่วนตัวมาตัดสิน คนไทยมักใช้ความรู้สึกนำหน้าในหลายเรื่องเลย
ประเด็นนี้เลยครับ "การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ" และการที่ออกกฎหมายนี้มาเพื่อเอื้อให้ "ผู้บังคับใช้กฎหมาย" ทำได้ตามอำเภอใจ มันจะไม่ยิ่งเลวร้ายกว่าเดิมเหรอครับ
อย่างไร กฎหมายควรจะต้องมีหลักการตรวจสอบ คานอำนาจที่ยุติธรรม ก่อน ส่วนจะทำอย่างไรให้บังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงเป็นอีกประเด็นมากกว่าครับ
ลงชื่อเรียบร้อย
Get ready to work from now on.
ลงชื่อแล้ว
ลงชื่อแล้ว
คนจัดแคมเปญยังไม่เผยตัวเลย ผมจะรู้ได้ไงว่าไม่ได้เป็นเครื่องมือของกลุ่ม อะไรซักอย่าง ?
และการลงชื่อโดยไม่มีบัตร ปชช มันจะถือเป็นประชามติได้ยังไง คนลงแยกร่างมาหรือไม่ วัดยังไง
ถ้าจะแสดงความฉลาดแบบนี้ไม่ต้องแสดงก็ได้ครับ เพราะคนอื่นๆ เขาจะมองว่าไม่ฉลาด ข้อมูลน่ะหัดหาบ้าง ไม่ใช่สักแต่ว่าฉันจะพิมพ์
ข้อความในเพจก็เป็นเวบที่เขียนขึ้นเอง เชื่อถือได้ ใช้อะไรวัด ? คนเบื้องหลังมีหรือไม่ วัดยังไง
ประชามติ ของจริงควรออกมาเป็นตัวเป็นตนกันทุกคน และควรมีดีเบต ไม่งั้นก็จะเป็นการทำประชามติบนหมอก ไม่มีข้อเท็จจริงที่หักล้างแล้ว
ก็บอกแล้วว่าข้อมูลน่ะหัดหาบ้าง รายชื่อก็อยู่ในนั้นแล้ว จะไปค้นหายืนยันตัวตนต่อก็เรื่องของคุณ แต่หัดค้นหาก่อนที่จะแสดงความไม่ฉลาดต่อเนื่องแบบนี้ออกมา
ตกลงเน็ตมีแต่ความจริงสินะ อืม
จริงไม่จริง ไปหาข้อมูลสิครับ จิ๊กซอว์ชิ้นแรกมีไว้ให้แล้ว ระดับคุณที่เชี่ยวชาญทั้งศาสตร์และศิลป์ทางประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคม กฎหมาย หาไม่ยากอยู่แล้ว ข้อมูลต้องหาทางเน็ตอย่างเดียว?
ไม่ใช่หน้าที่ของผมที่ต้องไปหาข้อมูล เพราะผู้ที่ดำเนินการแคมเปญต่างหาก ที่ต้องเปิดเผยตัวตนให้โปร่งใส
ออกมาทำเคมเปญก็คือออกมาสู่สาธารณะเป็นตัวเป็นตน ยืนยันว่าตนดำเนินการนี้จริง
การมีแค่ชื่อแปะอยู่ในเวบ เมื่อเกิดการสาวขึ้น ก็สามารถไปให้การได้ว่าตนถูกนำชื่อไปแอบอ้าง สุดท้ายหาคนรับผิดชอบไม่ได้
มุกทิ้งท้ายให้ไปค้นเองนี่อย่าเอามาใช้กับประชามติ คุณจะขอความร่วมมือจากบุคคลอื่นก็ต้องออกมาสู่สาธารณะให้เป็นเรื่องเป็นราว ประกาศสถานะความรับผิดชอบในระดับหนึ่ง ไม่ใช่เปิดช่องว่างให้สะดวกเวลาเกิดปัญหา
ิเอาจริงๆ มี 2 คนเป็นอย่างน้อยที่ผมรู้จักในคณะทำงานของเครือข่ายฯ และยืนยันได้แล้วว่าทั้ง 2 คนนั้นเป็นผู้จัดแคมเปญจริง และเปิดเผยหน้าตาตัวตนต่อสาธารณะ แต่เอาเถอะ พูดอะไรไปคุณก็จะแถไปเรื่องอื่นได้อีก เสียเวลาเปล่าๆ
อ้าว แล้วออกมาสู่สาธารณะ ประกาศความรับผิดชอบ หรือไม่ครับ ?
ตกลงจะทำประชามติกันในกลุ่มคนรู้จักของตัวเองหรือจะไปทำประชามติจากบุคคลทั่วไปกันแน่
ผมว่าผมพูดชัดแล้วนะครับ ว่าบุคคลเหล่านี้เปิดเผยหน้าตาและตัวตน "ต่อสาธารณะ" แต่คุณเป็นคนระบุเองว่าข้อมูลจากอันเทอร์เน็ต มันไม่ใช่ข้อมูลจริงทั้งหมด เชื่อถือไม่ได้ ก็ให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเองก็ถูกแล้ว (จริงๆ ข่าวเก่า ก็มี) ว่ามันจริงจริงมั้ย โดนแอบอ้างมาหรือเปล่า มีเบื้องลึกเบื้องหลังยังไง ฯลฯ
แบบนี้เวลาร่างกฏหมายใดๆ แล้วมีการทำประชามติโดยรัฐบาล รัฐบาลต้องมาสอนการตีความกฏหมาย หรือวิชา กม101 ด้วยมั้ยครับ? แล้วต้องคอยบอกด้วยมั้ยว่าของเก่าเป็นอย่างไร ต้องวิเคราะห์ให้ฟังโดยละเอียดด้วยหรือไม่ว่ามันแตกต่างกันยังไง
สงสัยอีกหน่อยในมหาวิทยาลัยจะสอนวิชาสถิติก็คงต้องสอนนักเรียนมานับเลข สอนให้รู้จักตัวเลขก่อนสินะครับ รอให้ป้อนอย่างเดียวไม่พอ ยังคอยขัดขวางคนอื่นอีก
คือถ้าไม่ทำอะไรเลยก็อยู่เฉยๆ ก็ดีครับ แต่ถ้ามือไม่พายเอาเท้าราน้ำก็ไม่ไหว
สมมติว่าลงข้อมูลส่วนตัวของผู้ทำแคมเปญ คุณก็บอกว่าข้อมูลในเน็ตเชื่อไม่ได้ งั้นให้ที่อยู่จริงคุณก็ต้องบอกว่าไม่ใช่หน้าที่ที่คุณจะต้องไปพบกับเจ้าตัวอีก
ถ้าดีแต่ขัด ไม่เสนอวิธีการอะไรใดๆ แบบนี้ผมเรียกว่ามือไม่พายเอาเท้าราน้ำครับ
จริง ๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณต้องการรู้ข้อมูล ดังนั้นเปฺ็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องหาข้อมูลเท่าที่ทำได้ก่อนมาเขียนว่าคนอื่นครับ ถ้าหากสมมติว่าคุณหาข้อมูลมาแล้วค้านอันนี้ผมก็ไม่ขัดอะไรหรอกครับ
แต่ดูจากคำถามที่คำตอบหาได้ไม่ยากหรือแม้แต่เค้าลงชื่อไปเพื่ออะไรก็ออกตัวแรงสะแล้ว อีกอย่างคือความน่าเชื่อถืออยู่ที่ความน่าเชื่อถือของเว็บครับ เพราะเค้ารับประกันระดับนึงเกี่ยวกับการรณรงค์ คนเลยเชื่อถือเว็บไซต์ครับ อันนี้ข้อมูลหาได้ไม่ยากจากหน้าเว็บครับ
ป.ล. ขอนิดนึงนะครับ ผมเห็นคุณออกตัวแรงทุกคอมเม้นเลยนะครับ แล้วช้อมูลที่คนมาแย้ง คำศัพท์ต่าง ๆ คุณก็จะสวนลูกเดียวจนผมยังไม่เข้าใจเลยว่าคุณคิดอะไรกันแน่ ต้องการเข้ามาถก หรือเข้ามายัดเยียดข้อมูลหรอครับ
ตอนร่างกฏหมายนี้ก็ไม่เห็นจะมีดีเบตเลยน่ะครับ ข้อเรียกร้องเหล่านี้ก็มีเพื่อจะขอดีเบตนี่แหละ และอีกอย่างถ้าขอเรียกร้องนี้มีชื่อเยอะพอ สุดท้ายก็ต้องมีคนจริงๆ เอารายชื่อไปยื่นให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, คณะกรรมการกฤษฎีกา, สภาปฏิรูปแห่งชาติ
ถ้าจะทำเพื่อเศรษฐกิจดิจิตอลจริงๆ กฎหมายนี้ไม่ควรมีด้วยซ้ำ ไม่มีบริษัทไหนเค้าอยากมาลงทุนในประเทศที่ถูกดักฟังกันได้ง่ายๆ หรอกน่ะครับ ลองอ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับ Edward Snowden ดูแล้วจะเห็นว่าแต่ละบริษัทที่ถูกแฉว่าโดนดักฟัง ต่างต้องสร้างมาตรการป้องกันกันทั้งนั้น
+1
ผมพึ่งรู้ว่ารัฐบาลนี้เค้าให้ดีเบต ให้ลงประชามติ รับฟังความคิดเห็นประชาชน แบบที่คุณชอบด้วย
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เป็นคำถามที่มีประเด็น แต่คุณสามารถทำให้คำถามคุณเป็นเชิงสร้างสรรค์มากขึ้นได้:
"ไม่ทราบว่าทางกลุ่ม netizen ที่จัดแคมเปญเป็นใคร และการลงชื่อเปล่าๆ ทางอินเตอร์เน็ตแบบนี้ สามารถใช้อ้างอิงได้อย่างไร มีผลทางกฎหมายหรือไม่" เป็นต้น
ถ้าคุณถามโดยสำนวน ก้าวร้าว หรือ ดูถูก อาจจะไม่ได้คำตอบที่ต้องการ ยกเว้นคุณไม่ต้องการคำตอบ มีธงอยู่แล้วในใจ อันนั้นก็อาจต้องโดนด่าไป
ตัวคุณเองยังไม่เปิดเผยตัวเลย แล้วผมจะเชื่อคุณได้ไงว่าคุณแถ เอ้ย! ไม่ได้เป็นเครื่องมือให้คนอื่น?
//อ๊ะ คุณต้องเปิดเผยตัวคุณเอง #ให้โปร่งใส นะ ไม่ใช่หน้าที่ผมต้องไปตรวจสอบดู
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมร่วมลงชื่อไปละ แต่ก็คิดว่าลงชื่อไปก็เท่านั้น รัฐบาลนี้เค้ามาเพราะถือปืนเข้ามา เค้าไม่ฟังเสียงประชาชนหรอก เค้าฟังเฉพาะเสียงของคนที่มีอำนาจอนุมัติปืนให้ก็แค่นั้นแหละ
เป็นไปได้ที่เขาจะไม่ระคายผิวครับ แต่อย่างน้อยการเข้าชื่อที่มากเพียงพอก็ทำให้ทางกลุ่มรณรงค์มีฐาน "อะไรบางอย่าง"ให้เอาไปสะกิดผู้เกี่ยวข้องหรือ "สื่อ" ได้บ้าง เพื่อให้เห็นว่า มีคนหมู่มากไม่พอใจและเห็นผลร้ายของร่างกฎหมายนี้จริงๆ
ก็ช่วยๆ กันเท่าที่เราๆ จะทำได้ครับ
แอบคิดเหมือนคุณ supasit_w คะ
สนับสนุนน่ะคะ แต่พวกเขาจะฟังเสียงเราหรอ ?
ลุยเลยครับ!
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ผมกลัวว่า รายชื่อเหล่านี้ เมื่อเข้าไปอยู่ในมือฝ่ายรัฐ แล้วอาจเกิด bias จากรัฐ เช่น รัฐอาจมองเห็นว่าบุคคลในรายชื่อเหล่านี้อาจทำให้รัฐเกิดความไม่มั่นคง, ฯลฯ
ผมรู้สึกท้อใจนะ รัฐคิดจะทำอะไรก็ทำ ไม่สนไม่ข้อความเห็นจากประชาชน จะต้านก็ไม่ได้
ตอนที่ชุดก่อน ออกพรบ เฮงซวยก็ยังออกไปค้านไม่เห็นด้วย แสดงความเห็นได้
ที่น่าแปลกดันมีคนไทยบางพวกเห็นด้วยกับกฏหมายที่ทำขนาดนี้ และไม่มีประเทศไหนเค้าออกฏหมายเพื่อดักจับข้อมูลในทางสาธารณะขนาดนี้ ฝากถึง พี่ๆน้องๆในเว็บ blognone ถ้ามีแคมเปญอะไรที่รงรงณ์ ต่อต้านพรบ.ฉบับนี้บอกด้วยล่ะกัน ผมจะยอมลางานไปช่วยเลย
ผมไปคุยกับหลายคนๆ คือยังไม่เข้าใจว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเสื้อสีและการเมืองเลยแม้แต่น้อย และที่ผมต้านก็เพราะพรบ.นี้ไม่สมควรใช้คำว่าเศรษฐกิจดิจิทัลเลยด้วยซ้ำ
ลงชื่อด้วยคนครับ
📸
นี่คือมั่นคงดีจิตัลสุดซอยซิน่ะ
ลงชื่อแบบเซ็งๆ เพราะรู้ว่าคงทำอะไรไม่ได้
ผมรอแคมเปญนี้มานานแล้ว มีคนตั้งสักที ต้องรีบไปลงชื่อเลย!