คนไทยโดยทั่วไปอาจจะชินกับการซื้อโทรศัพท์แล้วย้ายค่ายไปมา แต่ในสหรัฐฯ เครื่องล็อกเป็นเรื่องปกติ แม้จะใช้งานครบสัญญาแล้วก็ไม่สามารถนำเครื่องไปใช้งานในเครือข่ายอื่นได้ เมื่อปีที่แล้ว FCC หรือกสทช. สหรัฐฯ ร่วมมือกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือให้สมัครใจปลดล็อกเครื่องโทรศัพท์ในเครือข่าย และมีผลตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป
แนวทางของ FCC เอื้อต่อผู้ให้บริการมากกว่าแนวทางของไทยที่ไม่ยอมให้ผู้ให้บริการล็อกเครือข่ายได้เลย แม้จะมีประเด็นบ้าง เช่น ทรูที่ขายเครื่องลดราคาแต่ล็อกซิมในปีที่แล้ว และต้องร้องเรียนเป็นกรณีไป ในกรณีของ FCC อนุญาตให้ผู้ให้บริการกำหนดเงื่อนไขในการปลดล็อก เช่น ต้องเครื่องแบบรายเดือนต้องใช้ครบสัญญาก่อนจึงปลดล็อกได้ หรือเครื่องแบบพรีเพดต้องใช้ไประยะเวลาหนึ่งไม่เกินหนึ่งปีจึงปลดล็อกได้
ตอนนี้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือประกาศนโยบายปลดล็อกเครื่องออกมากันแล้ว เช่น AT&T นั้นจะในกรณีลูกค้ารายเดือนต้องจ่ายเงินครบสัญญา หรือจ่ายเงินยกเลิกสัญญาก่อน, T-mobile จำกัดการปลดล็อกเครื่องไว้ที่ปีละไม่เกินสองเครือง และเครื่องต้องใช้งานไปแล้วไม่น้อยกว่า 40 วัน
เท่าที่ผมสังเกตตลาดในสหรัฐฯ โปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือมักจะแพงกว่าบ้านเรามาก และคนส่วนมากก็ใช้งานโดยซื้อได้รับโทรศัพท์ฟรีหรือรุ่นแพงในราคาถูกแลกกับการติดสัญญาและโทรศัพท์ไม่สามารถนำไปใช้เครือข่ายอื่นได้ หลังจากแนวทางนี้ตลาดในสหรัฐฯ น่าจะมีอิสระขึ้น
ที่มา - FCC, GitHub: FCC, Consumerist
Comments
สองเครือง => สองเครื่อง
มี Lumia 1520 บิตมาจากญี่ปุ่น ติดล็อค AT&T (อเมริกา) อยู่พอดี
ได้ข่าวว่ารุ่นนี้ใช้ Qi Wireless Charging ไม่ได้นินา (จากคนใช้ Lumia 1520 รุ่นขายในไทยมี Qi Wireless Charging)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
มาลงชื่อ
ของทรูเรื่องของทรูเกิดจากฝ่ายโอเปอเรเตอร์ไม่ได้พูดความจริงกับลูกค้านี่ครับ ในใบโฆษณาไม่รู้จะมีไหม ถ้ามีก็เล็กนิดเดียวต้องใช้แว่นขยายอ่าน
ไม่เกี่ยวกับจริงไม่จริงครับ ประกาศกทช. (ออกมาก่อนสมัยกสทช.) คือ "ห้ามล็อก" ไม่ใช่ว่าบอกลูกค้าว่าจะล็อกแล้วล็อกได้ สมัยก่อนที่กสทช. จะห้ามล็อกทุกค่ายก็บอกก่อนทั้งนั้นว่าล็อก
lewcpe.com, @wasonliw
ในทางกลับกัน ล็อคบ้างก็ได้นะ แต่คิดค่าเครื่องถูกๆให้ผมหน่อย
คือผมจงรักภักดีต่อแบรนด์นะ ฮ่าๆๆ
ใช้ค่ายนึงติดต่อหลายปี แล้วก็ไม่คิดจะย้ายสักเท่าไหร่ เพราะใช้ไปเรื่อยๆตามความเคยชิน
ของไทยก็มีระบบสัญญาครับ ได้ส่วนลดค่าเครือง ค่าบริการกันเป็นปกติ
การล็อคเครื่องมีข้อเสียหลายอย่าง เครื่องเอาไปใช้งานต่อหลังหมดสัญญาได้ยากขึ้น กลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์
ผมมองว่าห้ามล็อกเป็นกฎที่สมเหตุสมผลต่อสังคมโดยรวมนะ
lewcpe.com, @wasonliw
น่าจะหมายถึงรุ่นใหม่ๆ ลดเหลือสัก 199, 299 เหรียญอะไรแบบนี่มั้งครับ ^ ^
ผลที่ตามมาคือโปรขั้นต่ำ 60 ดอลลาร์ (ลองกดแบบ 2-year contract) ได้ data มาใช้ 300MB เปลี่ยนค่ายไม่ได้ในระยะเวลาสองปี นี่คือแก้หลังประกาศนี้ เมื่อก่อนครบสองปีแล้วถ้าอยากเปลี่ยนค่ายโทรศัพท์เครื่องเดิมยังเอาไปใช้ไม่ได้
ถ้าไม่อยากจ่ายก้อนแรกหนักๆ บ้านเราผ่อนได้เยอะไปครับ สุดท้ายก็โดนบังคับจ่ายเหมือนกัน เลือกโปรผ่อน โปรมือถือ ได้ตามใจเองด้วย ผ่อนๆ ไปอยากลดค่าใช้จ่ายไปใช้โปร 199 บาทต่อเดือนบ้านเราก็ไม่มีใครบังคับ
lewcpe.com, @wasonliw
เพิ่มเติมนิดหนึ่งครับ ก่อนประกาศฉบับนี้ ในกรณีของ AT&T เมื่อใช้ครบ 2 ปีตาม contract ผู้ใช้สามารถส่งเรื่อง request เพื่อขอ unlock เครื่องได้ตามเวบนี้ (https://www.att.com/deviceunlock/) ซึ่งทำให้เครื่องที่ติดสัญญาสามารถไปใช้ในเครือข่ายอื่นได้ อย่างกรณีของ iPhone เมื่อ unlock แล้วก็ sync กับ iTune ก็จะขึ้นแจ้งว่า carrier ได้ทำการปลดล็อกแล้ว
iphone ล็อคทั้งหลายก็น่าจะปลดได้ง่ายขึ้น
เผื่อใครอยากอ่านประวัติศาสตร์การต่อสู้ปลดล็อกค่ายมือถือ เมื่อสิบกว่าปีก่อน มีทั้ง ล็อคซิม (เครื่องใช้กับมือถือค่ายอื่นไม่ได้), ล็อคอีมี่ (เครื่องเครือข่ายอื่นเอามาใช้ในเครือข่ายไม่ได้ เพราะเมื่อก่อนขายเครื่องกำไรสูงมาก)
ค่ายมือถือค่อยๆ ปลดทีละอย่าง กินเวลารวมๆ ประมาณหนึ่งปี ช่วงปี 2545 ถึง 2546 กว่าจะปลดทั้งหมด อยากเอาไปใช้ที่ไหน อยากซื้อเครื่องที่ไหนก็ได้
lewcpe.com, @wasonliw
แม้แต่ตอนนี้ True ก็ยังคงขายมือถือล็อคซิมอยู่เหมือนเดิม โดยเฉพาะ Smart Series และผมว่ามันไม่ควรมีการล็อคชิมมาตั้งแต่แรกด้วย รวมถึงมือถือที่ชอบกักคลื่นความถี่เฉพาะด้วย
Get ready to work from now on.