สำหรับคนที่ออกกำลังกายไม่หนักมาก คงสนใจ หรือซื้ออุปกรณ์ประเภทสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพมาเพื่อเก็บข้อมูลการออกกำลังกายกันบ้างแล้ว แต่ผลการศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ประเภทนี้เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนอาจทำให้หลายคนลังเลก็เป็นได้ หลังจากผลลัพธ์ออกมาว่าสมาร์ทโฟนก็ทำผลงานได้ดีไม่แพ้กัน
ผลการศึกษาดังกล่าวจัดทำโดยมหาวิทยาลัยการแพทย์เพนซิลเวเนียที่ออกมาต่อเนื่องกับผลการศึกษาของนิตยสารการแพทย์ JAMA Network ที่ระบุว่าอุปกรณ์สวมใส่ประเภทสายรัดข้อมือ ช่วยปรับปรุงพฤติกรรมการออกกำลังกายได้ โดยครั้งนี้เน้นไปที่ประสิทธิภาพของการใช้งานสายรัดข้อมือกับการใช้งานแอพบนสมาร์ทโฟนเพียวๆ ว่ามีผลต่างกันมากน้อยเพียงใด
ในเคสการทดสอบนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 14 ราย เดินบนสายพานเป็นระยะ 500 ก้าว และ 1,500 ก้าว โดยสวมใส่เครื่องนับก้าวหนึ่งตัว และเครื่องวัดความเร่งสองตัวไว้ที่เอว ข้อมือสวมสายรัดเพื่อสุขภาพไว้สามตัว และในกระเป๋ามีสมาร์ทโฟนสองเครื่อง เครื่องหนึ่งรันสามแอพ และอีกเครื่องรันแอพเดียว
หลังจากการทดสอบหลายประเภท ผลการทดสอบเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่ใช้งานจริงจัง พบว่าแอพสมาร์ทโฟนให้ผลที่ค่อนข้างเที่ยงตรงกว่า โดยคลาดเคลื่อนไปราว 6% เท่านั้น ในขณะที่สายรัดข้อมือกลับคลาดเคลื่อนมากกว่าตั้งแต่ 1.5% - 22.7% ด้วยกัน
แม้จากผลการทดสอบจะเห็นว่าแอพบนสมาร์ทโฟนให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างนิ่งกว่า แต่เมื่อแยกรุ่นของสายรัดข้อมือพบว่าสองในสามอย่าง Fitbit One และ Zip ให้ผลที่ค่อนข้างแม่นยำ แม้ว่าจะไม่ต่างจากแอพบนสมาร์ทโฟนมาก ในขณะที่ Nike Fuelband (ซึ่งเลิกทำไปแล้ว) บางครั้งให้ผลที่คลาดเคลื่อนไปมากเอาเรื่อง
แม้ว่ามองผ่านๆ คนอาจเห็นว่าอุปกรณ์ประเภทสายรัดข้อมือทำผลงานค่อนข้างแย่ แต่เมื่อดูจากรุ่นที่หยิบมาทดสอบนั้นค่อนข้างเก่ามาก ทำให้น้ำหนักอาจยังไม่ดีพอจะบอกลาสายรัดข้อมือเลยทีเดียว แต่ที่พอจะมั่นใจได้คือแอพบนสมาร์ทโฟนนั้นทำผลงานได้ค่อนข้างดีทีเดียว สำหรับคนที่ไม่เคร่งออกกำลังกายเท่าไรครับ
ที่มา - EurekAlert!
Comments
คนทดสอบเหมือนจะไม่ค่อยเข้าใจความต้องการของคนที่ใช้อุปกรณ์พวกนี้เท่าไหร่ ผมว่าคนที่จะใช้พวก Activity tracker พวกนี้น่าจะเอามาติดตามการกินการนอนการใช้ชีวิตเป็นหลักหรือไม่ก็เอามาใส่เป็นเครื่องประดับ เรื่องออกกำลังกายเช่นการนับก้าวอะไรพวกนี้เป็นแค่ผลพลอยได้(ในกรณีที่ไม่มีเซนเซอร์วัด heart rate) ซึ่งจริงๆ วัตถุประสงค์หลักมันก็ทำมาเพื่อให้สะดวกต่อการพกพา ผมมั่นใจว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่ยินดีที่จะทิ้งอุปกรณ์ Activity tracker ถ้าหากว่ามือถือมันสามารถพกพาสะดวกไปได้ทุกที่ในทุกๆ กิจกรรม
การกินก็ใช้ FitnessPal
การนอนก็ใช้ Sleep Cycle
การเดินการออกกำลังก็ใช้ Moves ย้อนกลับมาดูได้ด้วยนะว่าเราไปไหนมาบ้าง ซึ่ง Fitness tracker ทำไม่ได้
มันแทนได้ทั้งหมดยกเว้นเรื่องการวัดการเต้นของหัวใจ โดยที่ลงทุนเพิ่มจากค่าเครื่องแค่เหรียญเดียว ผมว่าหลายคนก็ชักลังเลว่าจะต้องซื้ออุปกรณ์ราคาหลายพันอีกทำไม (ถ้าจะเอาให้ดีไปเลยก็หลายพัน ถึงจะวัดการเต้นของหัวใจได้)
เอาโทรศัพท์ไปแปะส่วนไหนบนร่างกายหรอครับมันถึงวัด deep sleep ได้หรือมันวัดได้จากอย่างอื่นด้วย???
Sleep Cycle วัดการขยับตัว โดยวางโทรศัพท์คว่ำหน้าไว้บนเตียงข้างตัวระหว่างเสียบสาย charge
"Heart Rate" app ก็สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้นะครับ โดยคำนวณสีของผิวหนังบนปลายนิ้มือผ่านกล้อง+แฟลช
คือผมก็เห็นด้วยกับคุณนั่นแหละครับ แต่สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกนิดนึงคือความเหนือกว่าในเรื่องของความสะดวกในการพกพาแล้วก็การเป็นเครื่องประดับ นอกนั้นมันก็แทบไม่มีอะไรที่ต่างกันเลย
ซึ่งผมก็ไม่ค่อยเข้าใจถึงตลาดตรงนี้เท่าไหร่นะครับ ว่าใครคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจริงๆ เพราะผมเองตอนนี้ก็ชัดเจนว่ากำลังมองหา Smart watch หรือ Activity tracker ที่วัดอัตราการเต้นของหัวใจได้อยู่
แอพบนสมาร์ทโฟนมีแอปอะไรบ้างครับ ส่วนตัวรู้จักแต่ google fit ตัวเดียวเลย
ผมให้ Google Fit ใน Nexus นับก้าวเดินให้ ก็โอเคนะ
งั้นคนที่เคร่งควรใช้อะไรอะครับ ในเมื่อตามข่าวแอพสมาร์ทโฟนมันเที่ยงตรงสุดแล้ว
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ใช้แบบ Heart-strap เลยครับ
Function Sleep tracker นี่สิครับ รัดข้อมือยังไงก็แม่นกว่า ที่บ้านดันนอนพื้น
แอพมีหลายตัว อยากรู้เหมือนกันว่าแอพไหนคลาดเคลื่อนน้อยสุด
ผมก็เชื่ออย่างนั้นมาตลอดนะ คือ gyroscope บนโทรศัพท์ยังไงมันก็น่าจะทำงานได้ดีกว่า ตัวเล็กๆบนข้อมือ ซึ่งยังไงก็น่าจะมีพื้นที่จำกัดกว่า ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับ app แล้วหละว่าจะตีความอกมาได้แค่ไหน