เว็บไซต์ The Intercept ยังคงเผยแพร่เอกสารจาก Edward Snowden อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เผยแพร่เอกสารที่ระบุว่า NSA ของสหรัฐและหน่วยงานสืบราชการลับของอังกฤษ (GCHQ) ร่วมกันแฮกเอากุญแจเข้ารหัสจาก Gemalto ผู้ผลิตซิมการ์ดราว 2 พันล้านใบต่อปี ให้ AT&T, T-Mobile, Verizon และ Sprint ในสหรัฐฯ และผู้ให้บริการอื่นกว่า 450 รายทั่วโลก
กุญแจดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายและซิมการ์ดสำหรับการระบุตัวตนครั้งแรกและเข้ารหัสตลอดการสื่อสาร การแฮกกุญแจนี้จึงทำให้ทั้งสองสามารถดักฟังการสื่อสารได้โดยไม่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ให้บริการเครือข่ายและรัฐบาลโดยไม่ทิ้งร่องรอยการดักฟังไว้ในระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการเครือข่ายที่ถูกดักฟังแต่อย่างใด และสามารถใช้แกะข้อมูลการสื่อสารที่ถูกบันทึกไว้แต่ไม่สามารถแกะได้ด้วย
รายละเอียดทั้งหมดดูได้จากเว็บไซต์ The Intercept ครับ
ที่มา: The Intercept ผ่าน The Verge
Comments
เมื่อจำเป็นก็ต้องใช้ จะประเทศเสรี จะเป็นประเทศคอมมิว ก็ต้องใช้เมื่อจำเป็น
ปัญหาคือใครจะเป็นคนตัดสินใจได้ว่าเมื่อไรจำเป็น และจำเป็นสำหรับใคร?
แล้วจะลำบากเข้ารหัสไปทำไม?
ความน่ากลัวของ USA คือรู้ทุกเรื่องโดยที่เราไม่รู้ตัว น่ากลัวจริง ๆ หมายความว่าเดี๋ยวนี้ตอนนี้ ผมก็ถูกดักฟังอยู่ใช่ไหม
มีคนรู้ซะตั้งหลายคน แล้วมันจะเป็นความลับได้ยังงัย?
มันแฮกได้ง่ายๆ เหมือนในหนัง Marvel's Agents of S.H.I.E.L.D หรือเปล่านะ?
ที่แบบว่าเทคโนโลยีเพรียบพร้อมสำหรับการแฮกมากๆ
ผมล่ะนึกภาพขั้นตอนการทำงานของ NSA เหมือนในซีรีย์นี้เลย ฮ่าๆ
อ่านเพลินเลย เหมือนว่าผู้ให้บริการในไทยก็ใช้ของเจ้านี้ด้วย (มีใครเช็คได้มั่ง)
ดูๆแล้วก็ไม่ได้ง่าย ต้องดักการสื่อสารระหว่างที่ gemalto ส่งคีย์ แล้วก็มีเฝ้าดูทั้ง email facebook (มีพูดถึงพนักงานในไทยของบริษัทนี้ใช้ PGP เค้าเลยคิดว่าอาจมีความลับก็เลยคอยติดตามด้วย)
เค้าบอกการ hack เอาคีย์ดีสุด ไม่งั้นก็ต้องรบกวนสัญญาณ 3g,. ให้กลับมาใช้ 2g ซึ่งจะมีร่องรอย
เห็นบอกว่ากว่าจะเปลี่ยนเทคโนโลยีได้คงใช้หลายปี
ข่าวบอกให้ใช้พวกการเข้ารหัสชั้นถัดไปช่วย เช่น อีเมลล์ (แต่มันก็ถูกดักนิ ?) > มีใครแน่ใจบ้างว่าอีเมลล์ที่ถูกใช้จะไม่ถูก NSA ดัก (อันนี้ถามจริงๆนะ ผมไม่รู้)
ขนาดประเทศที่ได้ชื่อว่ามีสิทธิ เสรีภาพดีทีุ่สดในโลกจากคนในประเทศและกลุ่มคนจากประเทศอื่นที่ชื่นชมและถึงขั้นเทิดทูน 2 ประเทศนี้ ทำไมยังมีการแอบดักฟังข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสื่อสารของประชาชนอยู่เลย
เป็นปกติอยู่แล้วที่ทุกประเทศจะทำเพื่อความั่นคง(ของใครก็ตามแต่)แต่ประเด็นระหว่างแอบทำกับทำต่อหน้าต่อตามันต่างกันเยอะครับ แอบทำมันแล้วจับได้ทำให้เราไม่ยอมรับการกระทำได้แล้วผลักดันให้เลิกทำได้ แต่การกระทำต่อหน้าต่อตาที่บังคับเราได้ มันก็มัดมือชกละครับ
ปล. NSA นี้จำได้ว่าเอาไว้ดักต่างชาตินิครับ มีข้อบังคับห้ามดักฟังพลเรือนตัวเองอยู่ถ้าจำไม่ผิด ไม่แน่ใจข้อมูลนะ?!?
ปล2. การชื่นชมประเทศประชาธิปไตย เราไม่ได้ไปชื่นชมรัฐบาลกับระบบราชการของรัฐ(เช่น NSA)นั้นนิครับ แต่ชื่นชมความคิดของผู้คนและหลักการทำเปิดกว้างความเท่าเทียม
"ขนาดประเทศที่ได้ชื่อว่ามีสิทธิ เสรีภาพดีทีุ่สดในโลก" อันนี้คุณน่าจะจินตาการเองนะครับ ผมหาการวัดดัชนีเสรีภาพที่ดังๆ ไม่เคยเห็นสหรัฐฯ ได้อันดับต้นๆ นัก (แม้จะอยู่ในกลุ่ม "เสรี" ก็ตาม) อย่าง Press Freedom Index ปีที่แล้วสหรัฐฯ อยู่อันดับที่ 46 จาก 180 อันดับ การวัดอันดับเสรีภาพส่วนมากจะวัดจากหลายปัจจัย ตั้งแต่ การนำเสนอข้อมูลแล้วถูกจับโดยรัฐฯ ถูกทำร้ายไม่ว่าจะโดยรัฐหรือไม่ใช่รัฐ กฎหมายไม่ประกันเสรีภาพ กระบวนการทางกฎหมายไม่น่าเชื่อถือ ฯลฯ การดักฟังเป็นประเด็นแน่ขึ้นกับดัชนีไหนให้น้ำหนักเท่าไหร่ แต่โดนจับ โดยทำร้าย หรือโดนฆ่า คงมีผลมากกว่า
ผมเขียนข่าวเรื่อง NSA มาเยอะพอสมควร การเปิดเผยรอบนี้ NSA ไม่ได้ถูก "ชื่นชม" หรือ "เทิดทูน" สักเท่าไหร่นะครับ นับตามกระแสข่าวที่ผมเห็นคงเรียกว่าไม่มีเลย
เท่าที่ตามมา ผลของการกระทำแบบนี้คือบริษัทไม่ยอมให้ความร่วมมือทางเทคโนโลยี จากที่เมื่อก่อนยอมรับว่าคนของ NSA มีความสามารถสูงด้านการเข้ารหัส และมีความร่วมมือการกำหนดมาตรฐานกันมากพอสมควร ตอนนี้กลายเป็นเสียความไว้วางใจ
ในแง่ของการบังคับใช้กฎหมายเอง บริษัทต่างๆ ในสหรัฐฯ เองต้องออกมาแสดงท่าทีไม่ให้ความร่วมมือกันมากขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการขอข้อมูลที่ไม่ใช่การดักฟัง ต่อให้ขอข้อมูลผ่านกระบวนการศาล (FISA ซึ่งถูกโจมตีไม่น้อยกว่าตัว NSA เองสักเท่าไหร่) ก็ถูกโต้กลับ อุทธรณ์ ฯลฯ มากขึ้นเรื่อยๆ ที่โต้กลับไม่ได้ก็มีหลายกลุ่มพยายามเดินหน้าให้เปิดเผยข้อมูลออกมา ตัวโอบามาเองก็ต้องยอมถอย declassified เอกสารออกมาหลายชุดทั้งที่อายุเอกสารไม่กี่ปี
ไม่นับว่า การค้าส่งผลกระทบ หลายชาติเลือกให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีท้องถิ่นมากขึ้น
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ถ้าไม่ได้ทำอะไรผิด จะกลัวทำไม #ประชด