Tags:
Node Thumbnail

ทิศทางของโลกสตอเรจในช่วงหลังเริ่มมีอุปกรณ์จำพวก converged infrastructure หรือ CI เข้ามามากขึ้น อุปกรณ์แบบนี้คือการผนวกเอาหน่วยประมวลผล สตอเรจ เครือข่าย และระบบจัดการเข้ามาเป็นเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวเพื่อให้ง่ายแก่การดูแล เริ่มมีลักษณะเป็นอุปกรณ์สำเร็จรูป (appliance) มากขึ้นกว่าเดิม ข้อดีของอุปกรณ์แบบ CI คือบริหารจัดการง่าย ติดตั้งง่ายเหมือนต่อเลโก้ พังก็เปลี่ยนทั้งตัวเลย ส่วนข้อเสียคือปรับแต่งได้น้อย ทำให้ไม่เหมาะกับงานบางประเภท

เดือนที่แล้ว เจ้าพ่อสตอเรจอย่าง EMC เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ VSPEX Blue (อ่านว่า วีสเปก บลู) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ EMC เรียกว่า hyper-converged คือมีลักษณะเป็น appliance แบบสุดตัว ปรับแต่งแทบไม่ได้เลย แต่ก็สะดวกในการติดตั้งมากยิ่งขึ้นไปอีก แค่ต่อสายไฟ กดปุ่ม ก็แทบจะใช้งานได้ทันที

No Description

เดิมทีนั้น EMC มีอุปกรณ์สาย CI อยู่บ้างแล้วคือ VSPEX (รุ่นไม่มี Blue ต่อท้าย) และ VBLOCK แต่ในปี 2015 ก็มีอุปกรณ์เตรียมเปิดตัวอีก 2 รุ่นคือ

  • VSPEX Blue ที่เป็นอุปกรณ์ hyper-converged (เปิดตัวแล้ว)
  • อุปกรณ์กลุ่ม rackscale system สำหรับรันคลาวด์ที่ปรับแต่งได้มากขึ้น (เปิดตัวครึ่งหลังของปีนี้)

No Description

อุปกรณ์แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียต่างกัน โดย VSPEX และ VBLOCK เป็นช่วงเริ่มต้นของอุปกรณ์สาย CI ที่ผู้ขายเริ่มรวมฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นเข้าด้วยกัน (EMC แต่เดิมไม่ได้ขายเซิร์ฟเวอร์หรือเครือข่าย พอมาทำ CI ก็ต้องทำด้วย) จุดเด่นของมันคือเป็นชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ที่ EMC ทดสอบแล้วว่าทำงานด้วยกันได้ดี มีเสถียรภาพ แต่ก็ยังมีความยืดหยุ่นอยู่บ้าง

ส่วน VSPEX Blue ฉีกแนวไปอีกทางคือเน้นความง่าย ปรับแต่งอะไรไม่ได้เลย แต่ราคาถูก ตัดสินใจซื้อได้ง่าย และถ้าอยากขยายขนาดก็สั่งซื้อเพิ่มมาต่อกันได้

No Description

VSPEX Blue อยู่ในร่างของเซิร์ฟเวอร์ขนาด 2U หนึ่งตัว เซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวประกอบด้วย 4 node แต่ละ node กำหนดสเปกมาให้เรียบร้อยแล้ว (เปลี่ยนไม่ได้) คือเป็นซีพียู Intel Ivy Bridge, ช่องเสียบแรม 8 ช่อง, Gigabit Ethernet, ใส่ดิสก์ขนาด 2.5" ได้ 4 ลูก

No Description

จุดเด่นของ VSPEX Blue คือมีรุ่นย่อย (SKU) เพียงรุ่นเดียว ดูแลง่ายในระยะยาว และถ้าต้องการขยายขนาด (scale) เพิ่มก็สามารถซื้อ VSPEX Blue มาต่อกันได้สูงสุด 4 ตัว (รวม 16 node) เหมาะกับองค์กรที่อยากได้สตอเรจ แต่ยังไม่กล้าตัดสินใจทุ่มเงินก้อนใหญ่ ก็สามารถซื้อเครื่องเดียวมาทดสอบก่อนได้

No Description

ทีมของ EMC Thailand บอกกับผมว่าฟีเจอร์ของ VSPEX Blue ที่เหนือกว่าคู่แข่งคือระบบบริหารจัดการ และบริการซัพพอร์ต

ส่วนของระบบบริหารจัดการ มีซอฟต์แวร์ VSPEX Blue Manager ที่เป็นร่างอวตารของ VMware EVO:RAIL (บริษัทในเครือ EMC) มาให้ คนที่คุ้นกับระบบของ VMware อยู่แล้วสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องหัดใหม่ นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์เสริมที่ช่วยด้าน recovery/backup/ต่อเชื่อมกับ public cloud ให้เสร็จสรรพ

ส่วนบริการซัพพอร์ตใช้บริการของ EMC Global ที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง (ย้ายศูนย์บริการไปทั่วโลกตามพระอาทิตย์)

No Description

No Description

ข้อเสียของ VSPEX Blue ก็เป็นมุมกลับของข้อดี คือเนื่องจากมันเน้นความง่าย ปรับแต่งอะไรไม่ได้เลย มันจึงเหมาะสำหรับงานบางประเภท เช่น แอพพลิเคชันธุรกิจทั่วไป หรือ สตอเรจสำหรับ Virtual Desktop (VDI) ของพนักงานในองค์กร แต่ถ้ามีความต้องการพิเศษอย่างต้องรันงานที่ใช้ GPU เยอะๆ ก็คงต้องไปใช้โซลูชันเฉพาะทางอย่างอื่นแทน

ที่มา - EMC

Get latest news from Blognone

Comments

By: kezuke
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 7 March 2015 - 03:01 #797029
kezuke's picture

2U 4 Node ผมนี่คิดถึง Nut_n_x เลยครับ

By: sangson.tan
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 7 March 2015 - 08:11 #797040
sangson.tan's picture

ก็คงมาจาก Concept เดียวกันกับ Nutanix และครับ แต่แข่งด้วย Feature Software

By: mk
FounderAndroid
on 7 March 2015 - 08:55 #797052 Reply to:797040
mk's picture

เข้าใจว่าทำกันทุกเจ้านะครับ NetApp ก็มี FlexPod เพียงแต่ EMC มีข้อได้เปรียบตรงเป็นเจ้าของ VMware นั่นล่ะครับ