สำนักข่าว Reuters รายงานว่าซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ได้หยุดการผลิตโทรทัศน์ในโรงงานที่ประเทศไทยแล้วเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าสายการผลิตจะย้ายไปอยู่เวียดนาม ซึ่งเป็นโรงงานใหม่ที่ซัมซุงลงทุนไปกว่า 560 ล้านดอลลาร์ เพื่อผลิตทั้งโทรทัศน์, สมาร์ทโฟน และชิ้นส่วนหน้าจอแสดงผล
รายงานยังระบุว่าบริษัท LG ก็มีแผนจะย้ายฐานการผลิตโทรทัศน์จากประเทศไทยไปอยู่ที่เวียดนามเช่นกัน เนื่องจากค่าแรงที่ถูกกว่าและอยู่ใกล้กับบริษัทชิ้นส่วนจากประเทศจีนมากกว่า
โฆษกของซัมซุงไม่ขอแสดงความเห็นกับข่าวดังกล่าว
ที่มา: Reuters
Comments
Well Played! Samsung, Well Played!
เรามาถูกทางแล้ว
ปล.จริงๆแล้วเวียดนามได้เปรียบอีกอย่างด้วยนะครับ วันหยุดทั้งปีน้อยกว่าของไทยมากๆ
สัญญาณแห่งการล่มสลาย....ของอุตสาหกรรม ไทย
300 บาท และน้ำท่วม เป็นตัวเร่งให้เกิดวันนี้เร็วขึ้น
แล้วคนที่ออกนโยบายนี้รับผิดชอบอะไรบ้าง
ถามจริงๆเอาแค่ตัวคุณ รับค่าแรงวันล่ะ300บาทไม่รวมวันหยุด คุณคิดว่าคุณพอกินพอใช้ไหมในตะล่ะเดือน ค่าเช่าห้อง+ ค่าน้ำค่าไฟก็3000+ ค่ากินในแต่ล่ะวันก็อย่างต่ำๆ120 บาท ค่ารถอีก40-50 บาท ค่าของใช้ส่วนตัวในแต่ล่ะเดือนอีก ถ้าคิดว่า300บาทมันเยอะ รับเท่านี้ดูไหมครับ
ค่าแรง 300 ไม่น่าจะมีส่วนมากเท่าไร แต่คงเป็นเพราะปัญหาความมั่นคงภายในประเทศ ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล
ไม่มีส่วน??
http://shows.voicetv.co.th/voice-market/154452.html
นายวิษณุ ลิ่มวิบูลย์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ผลิตโทรทัศน์จอแบน ได้แก่ แอลจีและซัมซุง เตรียมย้ายฐานการผลิตออกจากไทย โดยแอลจีจะย้ายออกไปทั้งหมดในเดือนพฤษภาคมปีนี้ จากที่มีกำลังการผลิตปีละ 3 แสนเครื่อง เพื่อขยายไลน์การผลิตในเวียดนาม
ส่วนซัมซุงได้ลดไลน์การผลิตในไทยแล้ว และคาดว่าจะย้ายไลน์การผลิตเฉพาะส่วนทีวีออกจากไทย ไปใช้ฐานผลิตในเวียดนามในปีนี้ เนื่องจากเวียดนามมีค่าแรงที่ต่ำกว่าไทย และการเปิดเออีซีไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทย มีการผลิตใช้ในประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท เป็นการผลิตโทรทัศน์ 2 แสน 5 หมื่นล้านบาท ส่วนตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่า 1 แสน 5 หมื่นล้านบาท
ก่อนจะขึ้นมา 300 ค่าแรงไทยก็แพงกว่าเวียดนานอยู่แล้วล่ะครับ
น่าจะเป็นเรื่องเปิด AEC ไม่มีภาษีนำเข้ามากกว่า
ซัมซุงคงอยากไปทุกที่ ที่ทำให้ต้นทุนมันถูกสุดแหละครับ
โรงงานเสื้อผ้ารองเท้า เขาออกไปก่อนนานแล้ว
จีนกับเวียดนามเป็นคอมมิวนิสเหมือนกัน สัญญาการค้าระหว่างประเทศในเครือคอมมิวนิส
มันก็ลดต้นทุนได้มากอยู่แล้ว
ธุรกิจขยะสารพิษ อิเลกทรอนิค จะได้หมดไปจากแผ่นดินไทย
น่าจะเป็นเรื่องดี
และเรื่องอีกอย่างคือคนไทยจะได้ปรับตัว การขายแค่แรง มันต่างจากขายสมอง มากอยู่
ตบมือสิครับ รออะไร!
ลาก่อย
สงสัยหนีค่าแรง 360฿ ที่สหภาพแรงงานเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำกันอยู่ด้วยรึป่าวนะ
หากผมเป็นนักลงทุนผมก็กลัว เดี๋ยวประชานิยมรอบหน้าอาจมี 360 จริง ๆ
ไม่ต้องประชานิยมหรอก แค่วันแรงงานที่ผ่านมาเรียกร้องสี่ร้อยกว่าบาทต่อวัน ขนาดซัมซุงยังหนีแล้ว SMEsไม่ตายเหรอ
ดูจากที่เตรียมการรองรับไว้ขนาดนี้คาดว่าคงตั้งใจย้ายฐานตั้งแต่ 300บาทรอบที่ผ่านมาละครับ
มีความจริงว่า Samsung ตั้งโรงงานใหม่เมื่อปีที่แล้วครับ
300 บาทต่อวันไม่น่าจะเป็นปัญหาเท่า โดนตัดสิทธิพิเศษทางภาษีหลังจาการรัฐประหาร หรือยอดขายทีวีลดลงเป็นปัญหามากกว่า
... จริงๆ ค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน คือ 9000 ต่อเดือน (ไม่มีวันหยุด) หรือ 6500 ต่อเดือน (หยุดสัปดาห์ละ 2 วัน) โรงงานส่วนใหญ่จ่ายใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แล้วรู้หรือไม่ครับว่ามีโรงงานจำนวนมากปิดกิจการหลังจากค่าแรง 300 โรงงานที่เหลือยู่ปรับตัวด้วยการลดพนักงาน และ/หรือ งดโอที และ/หรือ ลดเงินเดือนแลกกับการเพิ่มวันหยุด มีบ้างที่ใช้ระบบจ้างให้ออกโดยสมัครใจ :-)
รู้ค่ะ และหลังรัฐประหารก็รู้ว่า
การท่องเที่ยว หรือ รายได้หลัก กระทบหนัก บริษัทประกันต่างประเทศไม่รับทำประกัน เนื่องจากกฎอัยการศึกที่ผ่านมา
ล่าสุดก็มา ม.44 นักท่องเที่ยวที่เห็นแทบจะเรียกว่าเสี่ยงภัยมาเอง เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยว ย่านค้าส่ง ย่านการค้า โรงแรมต่างๆ ก็แทบจะเรียกได้ว่าอยู่ในขั้นกลืนเลือด
การส่งออก ซึ่ง โดนมาตรการกดดันจากกลุ่มประเทศประชาธิปไตยต่างๆ ซึ่งหลายประเทศในนั้นไทยเราได้ดุลการค้าอยู่หลายประเทศ แต่ตอนนี้ส่งออกหลักๆได้แค่ให้จีน ญี่ปุ่น ซึ่งไทยเราเสียดุลการค้าให้กับสองประเทศนี้สุดๆ
ด้านอุตสหกรรม ไทยกลายเป็นประเทศที่ไม่น่าลงทุนในภาคอุตสากรรม เนื่องจากรัฐบาลไม่มีสเถียรภาพโดนภาวะที่เรียกว่าแทรกแซงบ่อย เลยทำให้นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ แทรกแซงทีโดนประเทศนั้นประเทศนี้แบนที จะส่งออกก็ลำบาก ไหนจะโดนเล่นเรื่องภาษี
ส่วนเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ หลายความเห็นข้างล่างก็ยกตัวอย่างไว้แล้ว กรณีของ ไต้หวัน มาเลเชีย ที่มีค่าแรงสูงกว่าไทย แต่ทำไมโรงงานใหญ่ๆยังไม่ย้ายหนี เพราะประเทศเหล่านี้ไม่โดนแทรงแซงทางการเมือง รัฐบาลมีสเถียรภาพ นโยบายต่างๆถูกสานต่อ มีนโยบายในการบริหารเพื่อพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานอย่างชัดเจน นักลงทุนก็เกิดความมั่นใจ เค้าก็ไม่ย้ายหนี เค้าก็กล้ามาลงทุน ยกตัวอย่างโครงการจัดการน้ำ พอมาอีกรัฐบาลก็เปลี่ยนอีกล่ะ
SME ธุรกิจขนาดเล็กนี่ไม่ต้องพูดถึง
สรุป เศรฐกิจซิบหาย เสียหายไปทุกหย่อมหญ้า ล่วงเป็นกระจุกเหมือนขนหน้าแข้งโดนแว็กซ์เลยค่ะ
งั้นแสดงว่าถ้าเรามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (ซึ่งมีมานานมากแล้ว แล้วก็ออกนโยบาย สลายพลังมามากมาย ดีๆ ทั้งนั้น) คงจะทำให้มันดีไม่ใช่ทรงกับทรุดใช่ไหมครับ
ผมรู้แต่ว่าโรงงานของผมเจ้งไปแล้ว(ผมเป็นเจ้าของกิจการ) โดนขาดทุนสะสมจนน็อก ทุกวันนี้ผมต้องมาตั้งต้นเป็นโปรแกรมเมอร์เนี่ย
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ขายไรอะคับ
ถ้าเป็นปัญหาค่าแรง 300 แก้ไม่ได้แล้วโดนน็อค
มาเป็นโปรแกรมเมอร์ก็เตรียมโดนไล่ลงเวทีตั้งแต่ยกแรกได้เลย
ทำไมมันถึงจะต้องเป็นอย่างนั้นต้องโดนไล่ลงตั้งแต่ยกแรกล่ะครับ
รัฐประหาร? ขอยืนยันว่า เกิดก่อนนานแล้วครับ
แถมเพึ่มวันหยุดอีกด้วย ปกติวันหยุดไทยก็เยอะกว่า เวียดนาม อยู่แล้ว
ตัดสินใจถูกแล้ว
ค่าแรงเวียดนามเขาแค่ประมาณ 120 บาท/วันเอง
ของไทย 300 บาท/วัน แพงกว่ามากกว่าเท่าตัว แล้วจากที่เพิ่มค่าแรงคุณภาพแรงงานก็ไม่ได้มีการพัฒนาแม้แต่น้อย จะเอาไว้ทำไม
http://www.nwpc.dole.gov.ph/pages/statistics/stat_comparative.html
Sony ยังมีผลิตอยู่ที่ไทยนะ //ไม่ค่อยเชียร์เล้ยยย
ก็เลยขาดทุน 555
เห็นข่าว ว่า ไปสร้างโรงงานที่เวียดนามนะครับ
ซัมซุง เริ่มก่อสร้างศูนย์วิจัยพัฒนาในเวียดนาม วงเงิน 1.4 พันล้านดอลลาร์ บนพื้นที่ 70 เอเคอร์ ชื่อว่า ซัมซุง ซีอี โฮจิมินห์ ซิตี้ คอมเพล็กซ์
ผมว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาตินะ ประเทศที่พัฒนาขึ้นค่าแรงแพงขึ้น บริษัทก็ย้ายฐานการผลิตออกไป เราจึงต้องปรับรูปแบบการผลิตคือ เป็นผู้วิจัยมากขึ้น
+1 แต่ปัญหาคือเราติดอยู่กับกับดักประเทศรายได้ปานกลาง คงต้องใช้เวลาหน่อยกว่าจะออกได้อ่ะครับ
ผมยังไม่เห็นทางออกนะครับ คือบ้านเราอ่อนเรื่องของงานวิจัยมาก และไม่ส่งเสริมเรื่อง technology transfer เท่าไหร่ด้วย จะรอดจาก middle income trap ที่ว่านี่คงต้องเร่งตรงนี้ก่อน แต่กลัวว่าภาคอุตสาหกรรมเราจะตายซะก่อน
งานวิจัยโดนตัดงบตั้งแต่สมัยไหนแล้ว เน้นให้ต่างชาติมาผลิตในไทย อุตสาหกรรมไทยโตช้า อุตสาหกรรมไม่โต ก็ไม่สนับสนุนงานวิจัยเพราะเน้นซื้อของเขามาใช้ ทำแค่รับจ้างผลิต ไม่มีเทคโนโลยีตัวเอง ก็นะ เลือกกันเข้ามาเอง กลัวกระสุนเอง คนอ่อนแอก็ทำอะไรไม่ได้
แต่การที่ผูกขาด ก็ทำให้บางบริษัทโตขึ้นมาได้พรวดๆ เริ่มมีงานวิจัยออกมามากขึ้น อย่าง ptt ส่วนผลประโยชน์จะเข้าประเทศ หรือเข้ากระเป๋าบอร์ด ก็อีกเรื่องนึง
แนวคิดดีครับ เห็นภาครัฐประกาศอะไรทำนองนี้มาหลายปีแล้ว ส่วนภาคเอกชนก็ก้มหน้าก้มตารับจ้างเขาผลิตกันต่อไป...
การวิจัย หรือการสร้างนวัตกรรมมันไม่ง่ายเหมือนเขียนแถลงการณ์หรอกนะครับ
ราคาทีวีก็คงปรับขึ้นสินะ จะมีลดหนักๆเหมือนที่ผ่านๆมาอยู่มั้ย
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ไทยเราน่าจะมีคนคิดสร้างทีวีเองบ้างนะ ซื้อเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศก็ได้ เคยได้ยินว่าไทยเคยมีทีวียี่ห้อธานินเดี๋ยวนี้หายไปไหนแล้ว
ตอนนี้ก็มียี่ห้อ Provision อยู่นะ
มีก็ขายยากคับ
เครื่องใช้ไฟฟ้าของคนไทย Tanin (ธานินทร์) ที่ลงหลุม เพราะประเทศไทยไม่ชาตินิยม
ปัญหาทุกอย่างแก้ได้โดยการเลือกตั้งครับ
ถ้ารูปแบบการปกครองประเทศยังเป็นแบบนี้มีแต่คนจะย้ายออกไป
ผมว่าไม่น่าจะใช่นะครับ
ไม่เชิงนะ ไทยโดนตัดสิทธิพิเศษทางภาษีหลังจาการรัฐประหาร
ถ้าใด้สิทธิพิเศษทางภาษีคืนมาหลังเลือกตั้ง ก็น่าจะช่วยใด้ระดับหนึ่ง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมเชียร์เรื่องเลือกตั้งนะครับ แต่ "รูปแบบการปกครอง" ไม่สำคัญเท่านโยบายครับ คือถ้ารัฐบาลทหารมีหัวพัฒนาจริงๆ ส่งเสริมการวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี ใช้กลไกภาษีกระตุ้นการวิจัย ฯลฯ ต่อให้ผมจะไม่เห็นด้วยกับการปกครองแบบนี้ ก็ต้องยอมรับว่านโยบายน่าจะไปได้ดี แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นเท่านั้นเอง บรรดาผู้นำบ้านเราดูไม่มีหัวด้านเทคโนโลยีเท่าไหร่เลย
ถ้าบอกว่าเป็นประชาธิปไตยแล้วไม่เกิดเรื่องแบบนี้ ผมไม่เห็นด้วยครับ เรื่องการเมืองจะเป็นแบบไหน นักลงทุนไม่สนหรอก จีน เวียดนาม ก็คอมมิวนิสต์หลายๆประเทศก็ไปลงทุนกัน
ป.ล ผมก็อยากให้เลือกตั้งเร็วๆนะ
ย้ายไปประเทศคอมมิวนิสต์เลยทีเดียว
เรื่องบางเรื่องไม่ค่อยเกี่ยวก็ยังจะโยงได้นะครับ ระวังประสาทจะกิน แล้วที่ซัมซุงย้ายไปนี่ประเทศประขาธิปไตยหรอครับ แหม่ เพลาๆบ้างเถอะครับ ผมว่าบางทีมันก็ไม่มีสาระอะไรนอกจากอยากจะแขวะอะนะ
เอิ่มผมไม่ได้แขวะนะครับ อันนี้ผมคิดแบบนั้นจริงๆ ถ้าตอนนี้เป็นประชาธิปไตยอยู่ต่างชาติคงไม่กล้าลงทุนอะไรมาก ถ้าหากเลือกตั้งเร็วๆ เดี๋ยวทุกอย่างมันก็เข้ารูปเข้ารอยเอง
ผมก็งงนะ ย้ายฐานผลิตไปเวียดนาม ดังนั้นเราต้องเลือกตั้ง งง ลืมหรือเปล่าจีนกับเวียดนามเขาปกครองแบบไหน แสดงว่าตัวแปรว่าด้วยการปกครองไม่ใช่ครับ ตกประเด็นนี้ไปแน่นอน
เค้าก็เลย ย้ายไปประเทศคอมมิวนิสต์ ที่ไร้เทวดามาแทรกแซงไงค่ะ
ไม่ว่าจะปกครองประเทศด้วยระบอบอะไร แต่ถ้าการเมืองหรือรัฐบาลมีสเถียรภาพมันก็น่าลงทุน
ใครเค้าจะมาลงทุนกับประเทศที่โดนแทรกแซงทางการเมืองบ่อยๆ ทุกๆ 2 ปี 4 ปี
จะปกครองระบอบไหนก็ไม่ชัดเจนสักอย่าง เหนียมอาย แอบอยู่ข้างหลัง กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา
นโยบายหรือการลงทุนต่างๆของภาครัฐ โดนรัฐบาลหาร โดยแทรกแซงหรือเปลี่ยนรัฐบาลที
โครงการต่างๆก็แทบจะเปลี่ยนหมด
และหลังจากรัฐประหาร ก็โดนกลุ่มประเทศ(โลกที่หนึ่ง)ที่ประชาธิปไตยจ๋า เค้าเล่นงานอย่างที่เห็น
ไม่ว่าจะการท่องเที่ยว การลงทุนจากต่างชาติ การส่งออก พวก SME ชิบหายหมด
ทรยศประชาชน
ใช่ครับ คุณibeauty ประเทศจะปกครองด้วยระบอบอะไรไม่เกี่ยว นักลงทุนก็พร้อมแต่ขอให้มีเสถียรภาพก็พอ ยิ่งเผด็จการยิ่งดีรัฐบาลเดียวไม่ต้องพูดยาก แบบไทยถ้าไม่นับทักษิณสมัยแรกที่อยู่ครบ4ปี ก็ไม่เห็นใครจะอยู่ครบ เฉลี่ยสองปีเปลี่ยนรัฐบาลที ต้องวิ่งไปคุยนโยบายใหม่อีก เหนื่อยนะครับ ยิ่งจะลงทุนเป็นพันเป็นหมื่นล้านยิ่งต้องการความมั่นคงมากๆเลย
ก็ถ้าแนวโน้มส่อว่าจะเลวและโกง ก็ไม่น่าจะให้อยู่ครบวาระนะ
คอมเมนท์นี้ดีมากจริงๆครับ คือมันใช่
+365
I like the "words" at the first paragraph. damn.
+1 ผมว่าระบอบการปกครองมันเป็นเพียงแค่ขนบที่สร้างขึ้นมา แบบไหนจะดีหรือแย่กว่ากันนี่มันอยู่ที่คุณธรรมจริยธรรมของคนล้วนๆ
ว้าว ชอบจัง
+++
สหรัฐเลือกตั้งประชาธิปไตยตลอด ก็เจอซับไพรม์ได้นิครับ ตั้งแง่อย่างกับวิกฤติเศรษฐกิจจะเกิดเฉพาะกับรัฐบาลที่ีไม่ได้มาจากการเลือกตั้งซะงั้นแหละ
อ่อ ลืมไป กรีซก็ประชาธิปไตย อาร์เจนติน่าก็น่าจะด้วย -- เอ๊ะแล้วจีนที่เศรษฐกิจกำลังรุ่งๆ นี่ปกครองระบอบอะไรกันนะ ไม่เอาไปลองใช้สมองดูสักนิดเหรอครับ
เค้าก็บอกว่าไม่ว่าจะปกครองด้วยระบอบอะไร
ไม่ใช่เหรอครับ
....
จุดจุดจุด
อ่านหนังสือยังไม่ "แตกฉาน" ยังริจะมาแซะมาแขวะคนอื่นอีกน่ะคะ
นี่ขนาดใช้ภาษาไทยง่ายๆ!!
เชื่อแล้วล่ะคะ อิพวกรายงานที่บอกว่า คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยไม่เกินปีละ 8 บรรทัด
และ คุณภาพการศึกษาของไทยอยู่เกือบที่โหล่ของอาเซี่ยน
เชื่อแบบสนิทใจก็คราวนี้แแหละข่ะ!
//me สังเวช
อันนี้พูดถึง ฐาปนีย์ ใช่ป่ะ
เค้าพูดถึงประเทศที่น่าจะไปตั้งฐานการผลิตครับ มีใครอยากไปตั้งฐานการผลิตที่อเมริกามั่งอ่ะ =_=
ผมว่าคุณยกตัวอย่างได้แย่นะ มองไปรอบๆ ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยคุณภาพชีวิตดีกว่าอย่างเห้นได้ชัดนะครับ แล้วจีนที่คุณยกตัวอย่างมันก้ไม่เข้าพวกด้วย ด้วยจำนวนประชากร และความขัดแย้งภายในสูง
ผมว่าเปลี่ยนรัฐบาลก็เปลี่ยนนโยบายนะครับ ทั้งมาจากการเลือกตั้งและไม่ได้เลือกตั้ง
ดิชั้นก็คิดอย่างนั้นแหละค่ะ ขี้เกียจขยายความมาก
พอดีว่าเดี๋ยวมันจะเกิน 8 บรรทัด!
นี่ย่อให้แล้วน่ะคะ มันเลยเป็นอย่างที่เห็น
หนีไม่ประกอบไทยก็ไม่จำเป็นต้องเลือกซื้อ เครมยากเหมือนเดิม
อันนี้สงสัยเฉย ๆ โทรทัศน์ยี่ห้อธานินทร์ของไทย ทำไมถึงเจ๊ง ที่จริงรัฐและห้างร้านต่าง ๆ น่าจะสนับสนุนนะ
โทรทัศน์บางตำแหน่งบางที่ทาง ไม่น่าจะต้องสนใจ brand name ก็น่าจะช่วยกันสนับสนุน เช่น ตามหน่วยงานของรัฐ ทีวีประกาศจอใหญ่ตามที่สาธารณะ ทีวีตามโรงแรม แม้แต่ตามห้างสรรพสินค้าที่ใช้ประชาสัมพันธ์เรื่องต่าง ๆ
อืม แต่มันเจ๊งไปหลายปีแล้วใช่ไหม เห็นซัมซุง แอลจี ทีไร ผมนึกถึง ธานินทร์ ทุกทีเลยสิ
เคยอ่านบทความเขาว่าเจ๊งเพราะวิกฤติค่าเงิน บวกกับการเข้ามาของเครื่องไฟฟ้าจากญี่ปุ่นครับ เจ้าของเป็นหนี้หลายร้อยล้านพยุงต่อไม่ไหวสุดท้ายก็ขายกิจการไป เห็นว่าผันตัวไปรับจ้างผลิตแทนครับ
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
กรณีศึกษาการบริหารระบบครอบครัวของตระกูลวิทยะสิรินันท์ ซึ่งใช้เวลา 32 ปี สร้างเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ"ธานินทร์" แต่ประสบความล้มเหลวในการปรับตัวให้อยู่รอดภายใต้วิกฤตผลกระทบจากการลดค่าเงินบาทปี 2527 จนกระทั่งถูกเทกโอเวอร์จากสหยูเนี่ยน เหลือไว้เพียงความทรงจำ
หลังวิกฤตการณ์ลดค่าเงินบาทปี 2527 การล่มสลายของธุรกิจครอบ ครัวของตระกูลวิทยะสิรินันท์ก็เกิดขึ้น เนื่องจากธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้ ยี่ห้อ"ธานินทร์"ประสบปัญหาขาดทุน อันเกิดจาก ต้นทุนชิ้นส่วนที่ประกอบเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้า"ธานินทร์ฯ"ขายไม่ออก เพราะคนนิยมซื้อสินค้าของญี่ปุ่นมากกว่า และมีปัญหาหนี้ค้างชำระของร้านค้าตัวแทนจำหน่ายจำนวนมาก
แต่เหตุผลที่ลึกลงไปกว่านั้น สาเหตุมาจากความล้มเหลวในการบริหารจัดการภายใน และขาดการวางแผนด้านการตลาดระยะยาวของเจ้าของกิจการ ตลอดจนผลกระทบจากวิกฤตลดค่าเงินบาท ปี 2527 และนโยบายจำกัดสินเชื่อ 18%ก่อให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรง
อุดม วิทยะสิรินันท์ ผู้ก่อตั้งธานินทร์อุตสาหกรรม เริ่มต้นสร้างตัวเองจากผู้ประกอบการร้านขายวิทยุเล็กๆ จนกระทั่งกลายเป็นเจ้าของโรงงาน ธานินทร์อุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จ ในการผลิตและขายวิทยุ ทรานซิสเตอร์ราคาถูกยี่ห้อ"ธานินทร์"ขายชาวบ้านซึ่งเป็นตลาดระดับล่าง แล้วขยายไปผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าครบวงจร เช่นโทรทัศน์ขาว-ดำ โทรทัศนสี พัดลม หม้อหุงข้าว และขณะนั้นมีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับที่สามรองจากยี่ห้อเนชั่นแนลและโซนี่
กลยุทธ์การตลาดในยุคแรกที่ชัดเจน คือการวางตำแหน่งสินค้าสำหรับตลาดระดับล่าง และกลยุทธ์ราคาก็เน้นที่ราคาถูกกว่าคู่แข่ง จนประสบ ความสำเร็จ
ปี 2517-2523 ธานินทร์อุตสาหกรรมขยายธุรกิจมีบริษัทในเครือ 4 แห่ง คือ ธานินทร์อิเลคทรอนิคที่เชียงใหม่ ธานินทร์อินเตอร์เนชั่นแนล ธานินทร์ คอนเดนเซอร์ และธานินทร์การไฟฟ้า ต่อมามีห้างอุดมชัยเป็นกิจการตัว แทนจำหน่ายโดยอนันต์ วิทยะสิรินันท์ น้องชายอุดมเป็นผู้บริหารการตลาด
แต่ถึงปี 2524 -2525 สินค้าโทรทัศน์ขาว-ดำของธานินทร์ค้างในสต็อก มาก หลังจากที่ส่งออกไปขายยุโรปสู้ราคาคู่แข่งอย่างซัมซุงของเกาหลีใต้และไต้หวันไม่ได้ จนต้องหาตลาดใหม่ที่ประเทศจีน แต่สู้สินค้าที่ผลิตจาก โรงงานฮิตาชิที่ลงทุนตั้งในจีนไม่ได้ ทำให้สินค้าค้างสต็อกสูง ขณะเดียวกัน ตลาดในประเทศ การปรับภาพพจน์สินค้าสู่ตลาดระดับบนก็ล้มเหลว เพราะยี่ห้อธานินทร์ยังไม่เป็นที่ยอมรับด้านเทคโนโลยีและความทันสมัย
ในที่สุดเมื่อมรสุมเศรษฐกิจปี2527 มีการลดค่าเงินบาทและจำกัด เพดานสินเชื่อ 18% ทำให้ธานินทร์อุตสาหกรรมถึงกับล้มทั้งยืนจากยอดหนี้ 630 ล้านบาท บริษัทต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการระยะ 5 ปีของธนาคารและเจ้าหนี้อื่นๆ 13 ราย โดยมีเงื่อนไขไม่ฟ้องบริษัทใน 5 ปี และธนาคารต้องอัดฉีดเงิน 100 ล้านเพื่อฟื้นฟูให้มีกำลังเดินเครื่องหาเงินมาชำระหนี้คืนทุกงวด 6 เดือน งวดละ 20 ล้านบาท งานนี้แบงก์ส่ง ดร.ชวลิต ทิสยากร อดีตผู้จัดการโรงงาน ปัญจพลไฟเบอร์ เป็นผู้จัดการทั่วไปของธานินทร์ฯ และกรรณิการ์ เลิศขันติธรรม จากแบงก์กสิกรไทยมาเป็นผู้จัดการฝ่ายการเงิน
แต่แผนฟื้นฟูของบริษัทธานินทร์อุตสาหกรรมภายใต้การจัดการหนี้ของธนาคารเจ้าหนี้ล้มเหลว
พฤษภาคม 2532 บริษัทยักษ์ใหญ่สิ่งทอไทย"บริษัท สหยูเนี่ยน"เข้าเทคโอเวอร์บริษัทธานินทร์อุตสาหกรรม โดยการตั้งบริษัทใหม่ 2 บริษัทคือ บริษัทธานินทร์ยูเนี่ยนอุตสาหกรรม ซึ่งมีหน้าที่เป็นโรงงานผู้ผลิต และบริษัท ธานินทร์ยูเนี่ยนเซลส์แอนด์เซอร์วิสดูแลด้านการตลาดและบริการ
อย่างไรก็ตาม อุดม วิทยะสิรินันท์ ยังคงเป็นประธานบริษัทอยู่ หลังจาก ที่ดำหริ ดารกานนท์ แห่งสหยูเนี่ยนได้ช่วยซื้อที่ดินหลายแปลง เพื่อให้อุดมเอาไปชำระหนี้ธนาคารบางส่วน
วิสัยทัศน์ของ ดำหริ ดารกานนท์ ในการเข้าไปเทคโอเวอร์ธานินทร์ อุตสาหกรรม มองไปไกลถึงอนาคตที่จะใช้ธานินทร์ฯเป็นฐานการผลิตสินค้า อิเลคทรอนิคส์ที่ไฮเทค เช่น จอมอนิเตอร์ ไอซี หัวอ่านคอมพิวเตอร์ เพื่อป้อน ยักษ์ใหญ่ไอบีเอ็ม เพราะเห็นแนวโน้มการลงทุนจาก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และ สหรัฐอเมริกาซึ่งย้ายฐานการผลิตมาที่ไทยเพราะแรงงานราคาถูก
หลังเซ็นสัญญา ทีมงานบริหารนำโดย เผ่าเทพ โชตินุชิต อดีตผู้บริหาร นิคมอุตสาหกรรมบางชัน และกรรมการผู้จัดการ บริษัทยูเนี่ยนพลาสติค เมื่อ ปี 2527 เป็นผู้จัดระบบกุมสภาพบริษัทใหม่ทั้ง 2 เพื่อมิให้เกิดปัญหารั่วไหล โดยเฉพาะกรณีการสั่งซื้อวัตถุดิบของโรงงานบริษัทธานินทร์ยูเนี่ยนอุตสาหกรรม ทางสหยูเนี่ยนเป็นผู้เปิดแอลซีให้และเมื่อบริษัทธานินทร์ยูเนี่ยนแอนด์เซลส์จะขายก็ต้องผ่านสหยูเนี่ยนอีกเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมข้อมูลการบริหารทั้งการเงินและการผลิต
"ในการผลิตต่อไป เราอาจจะขยายโรงงานรับจ้างผลิตยี่ห้ออะไรก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า หรืออาจจะร่วมทุนกับบางยี่ห้อของญี่ปุ่น หรือชาติไหนยังไม่แน่ ผลิตไปขายทั่วโลก ทำให้เราเรียนรู้พัฒนาโนว์ฮาวไป เรื่อยๆ ในที่สุดเราอาจจะหายี่ห้อที่เป็นสากลส่งไปขายต่างประเทศได้... ไม่แน่นะ อีก 5-10 ปี เราอาจจะโตไม่แพ้ซัมซุงก็ได้
" นี่คือแผนที่ดำหริกำหนดไว้สำหรับบริษัทใหม่นี้
แต่วันนี้ ธุรกิจของบริษัททั้งสองที่สหยูเนี่ยนเทคโอเวอร์มา ได้เปลี่ยนมือไป ไม่มีเค้าของโฉมหน้าเก่า ที่ล้าสมัยทั้งผลิตภัณฑ์และการบริหารระบบครอบ ครัวสมัยตระกูลวิริยะสิรินันท์ได้สร้างเอาไว้ นี่คือตวอย่างหนึ่งของการปรับตัว ไม่ได้ของเจ้าของธุรกิจดั้งเดิม ภายใต้แรงกดดันจากวิกฤตการณ์
หมายเหตุ จากเรื่อง"ธานินทร์ยูเนี่ยนอุตสาหกรรม ก้าวแรกของซัมซุงเมืองไทย" โดย นพ นรนารถ ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 69 เดือนมิถุนายน 2532
จากเรื่อง"ธานินทร์อุตสาหกรรม ฤาจะพ้นพงหนาม" ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 58 เดือนกรกฎาคม 2531
จากเรื่อง"ธานินทร์อุตสาหกรรม เนื้อแท้ของปัญหาที่ไร้คนมอง" โดย ทรงเกียรติ ชาติวัฒนานนท์ ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 41 เดือนกุมภาพันธ์ 2530
ขอบคุณครับ แต่ถ้าเยอะอย่างงี้ ให้ลิงก์มาดีกว่า
นำเข้าอุปกรณ์จากจีนมาประกอบ เรียกว่าโรงงานประกอบมากกว่า ทักษะเรายังไม่ถึงขั้นจีนเลย
ประเทศเราโดนตัดสิทธิพิเศษทางภาษีหลังจาการรัฐประหารครับ ไม่ว่าจะเป็นจากกลุ่มอียู ออสเตรเลีย อเมริกา รวมทั้งโดนมาตรการที่มีขั้นตอนยุ่งยากมากขึ้นในการส่งออกสินค้าไปขายในกลุ่มปรเทศเหล่านั้น ทำให้อุตสาหกรรมส่งออกในบ้านเราต้องย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นครับ
ใครมีลูกค้าเป็นโรงงานอุตสาหกรรมจะทราบดีครับ
+1 จริงครับ
+1 ครับ
เรื่องค่าแรงผมว่าไม่ใช่ประเด็นหลักเท่าเรื่องนี้
+1
ค่าแรง ผมเห็นโรงงานพวกนี้จ่ายเยอะกว่าสามร้อยมาตั้งนานแล้วนะครับ
อาจจะเป็นอย่างที่ความเห็นนี้ว่าไว้ เราโดนตัดสิทธิหลายอย่าง จนผู้ประกอบการเริ่มประสบปัญหา
+1
ได้มากกว่า 300 นานแล้วครับ
+++
เรื่องไทยโดนตัดสิทธิพิเศษทางภาษี จากประเทศนำเข้าสินค้าจากไทย เรื่องนี้น่าจะใช่ และเขามองว่าไทยไม่ใช่ประเทศที่ยากจนอีกแล้วจึงไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี ส่วนค่าแรงสามสิบบาทไม่ได้ทำให้ถึงกับเจ๊งหรอก อย่างมากก็กำไรลดลงนิดเดียว
(ลบ)
หลายคนห่วงเรื่องค่าแรง เอาจริงๆทำไม มาเลเซีย ไต้หวัน ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ได้ ทั้งๆที่ค่าแรงเขาแพงกว่าบ้านเราอีก? และอย่างที่เคยบอกไป อุตสาหกรรมอิเล็คฯ รอบๆกทม.ค่าแรงเกินสามร้อยมานานแล้ว
ปัจจัยที่จะทำให้อยู่ คือแรงงานมีทักษะ แต่ปัจจัยหลักที่จะทำให้คิดย้ายไป คือเรื่องน้ำท่วม แผนจัดการน้ำล้มหมด การเมืองไม่นิ่ง แผนพัฒนาไม่ชัดเจน โดนตัดสิทธิพิเศษต่างๆ รวมไปถึงข้อจำกัดด้านการลงทุนกับรบ.ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วใครที่ไหนจะมั่นใจ?
น่าเสียดายทีวีLCDบ้านเราเคยถูกที่สุดในภูมิภาค เพราะโรงงานอยู่ในประเทศเอง อินเดียมาเที่ยวไทยแบกTV LCDกลับกันคนละเครื่อง คงไม่มีอีกแล้ว?
ยังมีเจ้าไหนยังผลิตในไทยอยู่ไหมครับ?
ดังๆ ก็ Nikon ...
Nikon กำลังจะย้ายไปลาว
ห้ะ!
ย้ายไปบางส่วนครับ ไลน์ผลิตหลักๆ ยังอยู่ที่ไทย
มีอีกเยอะครับ ... :)
ยังไงค่าแรงก็ต้องขึ้นตามสภาพเศรฐกิจอยู่ดี
โรงงานอิเลคโทรนิคใครเขาเอาคนงานค่าแรงขั้นตำ่ไปทำงานกันฮะ
ค่าแรงมันปรับเป็นขั้นบันไดครับ
ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นถ้าไปเฉียดแรงงานฝีมือ คนสูงกว่าก็ต้องปรับขึ้นตามครับ
ขอมัด ตอบรวมกับรีพลายข้างล่างน่ะคะ
ก่อนประกาศค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300
หลายๆโรงงานแถวบางปู แม่บ้านก็ได้เกินวันละ 300 แล้วค่ะ วุฒิ ป.6 ด้วยซ้ำ
แม่บ้าน ไม่ใช่แรงงานฝีมือด้วยค่ะ
จะธุรกิจ SME (ที่บ้านทำอยู่) ชินกับค่าแรงลูกจ้างเกินวันล่ะ 300 มาก่อนจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้วค่ะ
สุดท้าย นางยิ่งลักษณ์ ได้หน้า เพราะค่าแรงมันเกิน 300 อยู่ก่อนแล้ว
ถ้าในโซนอุตสาหกรรม ฐานค่าแรงสูงกว่าอยู่แล้วครับ
แต่โรงงานตามต่างจังหวัดอื่นๆ ก่อนประกาศยังไม่ถึงนะครับ
ที่ผมเจอเองเลยคือเรื่องความไม่พอใจของระดับพนักงานประจำกับรายได้ของพนักงานชั่วคราว
แต่ก่อนยังมีช่องว่างมาก พอปรับเป็นสามร้อยค่าแรงใกล้กันก็เริ่มมีความไม่พอใจ ก็ต้องมีการปรับฐานของพนักงานประจำขึ้นแหล่ะครับ
และอย่างที่บอกล่ะครับ รายใหญ่ผมไม่ห่วงครับ รายใหญ่สายป่านยาว ผลกำไรเดิมสูงก็แค่ขาดทุนกำไรครับ แต่รายเล็กๆที่กำไรต่อหน่วยต่ำและจำนวนสินค้าไม่มากพลาดมานี่ล้มง่ายๆเลยครับ เพราะปรับกันกระโดเร็วไป
+1 ที่มีประสบการณ์คือว่า พอปรับค่าแรงขึ้น ก็บีบคนออก 25% แล้วเอางานส่วนนั้นมาให้คนที่อยู่ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็บีบออก (แถวๆ โคราชครับ แต่ไม่ใช่ซีเกท นะ)
ผมว่า TV ไม่ใช่สินค้าที่กำไรดี อีกต่อไปแล้วนะครับ
ราคาขายทุกวันนี้ ผมยังสงสัยเลยว่าขายเข้าไปได้ยังไง
ตลาดทีวีเดี๋ยวนี้ท้าทายนะครับ แม้แต่พวกที่มีโรงงานในจีนเองก็ยังมีปัญหา จะมาโทษว่าเป็นเพราะขึ้นค่าแรงก็ไม่ถูกเสียทีเดียว สิทธิ์พิเศษเรื่องภาษีต่างหากที่จูงใจให้คนหันไปตั้งโรงงาน และบางทีบริษัทเองก็อยากลดภาระค่าใช้จ่ายลง อันนี้ต้องถามกลับว่าโรงงานพวกนี้ปกติในไทยเขาให้ค่าแรงเท่าไหร่?
อีกเรื่องคือถ้าให้ผมเดา ปกติสินค้าพวกนี้ก็ต้นทุนชิ้นส่วนสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะพวกหน้าจอนี่ก็เป็นต้นทุนหลัก แถมยังต้องมาแข่งด้านราคากับเจ้าอื่นอีก บางทีก็ลดภาระเรื่องค่าแรงลงบ้างก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีเมื่อสิทธิ์พิเศษทางภาษีหดหาย
ทีวีในปัจจุบันต้องลดต้นทุนเพราะตลอดอิ่มตัวและความต้องการต่ำลงครับ เทคโนโลยีเติบโตขึ้นแต่กำลังการซื้อไม่ได้เติบโตตาม หลายๆเจ้าต้องควบรวมกิจการและปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในตลาด แต่จะเติบโตหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจำกัดต้นทุน/เลือกใช้เทคโนโลยี/การบริหารการขายให้ดีมากกว่าเพิ่มยอดขายหน้าร้านเพียงอย่างเดียวครับ
ไม่ค่อยแปลกใจหากจะมีการย้ายครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ค่าแรงมันเกิน 300 บาท ตั้งแต่หนูเป็นติ่ง F4 แล้วค่ะ
สมัยนั้นปิดเทอมเพื่อนสาวมันกลับบ้านเกิดมัน มันไปรับจ๊อบกรีดยางที่ใต้ก็ได้ตั้ง 320
อีกคนที่ตัดอ้อยที่สกลนคร ก็เห็นมันได้ 250 และอีกคนไปขุดมันที่โคราชก็ได้ 280 บาท
จำได้แม่นเลย พวกมันโทรมาอวดทุกวัน
สมัย F4 ไต้หวันฟีเวอร์ มันนานมาแล้ว ก่อนจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 อยู่มากโข
และอีกอย่าง คนที่บอกว่า 300 มันแพง เค้าเลยย้ายหนี งั้นต้องได้วันละเท่าไหร่ดีค่ะ
แรงงานไทยก็มีลูกมีเต้า มีภาระ มีค่าใช้จ่าย น่ะคะเทอว์ขา
แล้วคุณๆ ท่านๆ ที่อยู่ ณ ที่นี้ ได้ค่าแรงกันวันละเท่าไหร่ค่ะ
ปล. เห็น Users(เติม s เพราะมากกว่า 1) แต่ละท่าน ที่อยากให้มีการเลือกตั้งเร็วๆแล้ว ใจมันชื้นขึ้นมาเลยค่ะ คิๆ
ผมว่าเลือกตั้งใหม่ก็ไม่หายวุ่นวายหรอก เดี๋ยวก็มีประท้วงปิดถนน เป่านกหวีด ตีนตบ มือตบ ... มาอีกแน่ๆ
มันไม่หายค่ะ แล้วก็ไม่มีประเทศประชาธิปไตยประเทศไหนที่ไม่เกิดการประท้วง
แต่ข้อดีของมันคือ มันไม่โดนตัดสิทธิ์นั่นตัดสิทธิ์นี่ หรือ โดนพวกประเทศประชาธิปไตยจ๋าเล่นงานไงค่ะ
ประเทศเรา(ไทย : Thailand) รายได้หลักคือส่งออก และ ท่องเที่ยวค่ะ
ก่อนประกาศ ค่าแรงเกินสามร้อยเฉพาะแรงงานบางกลุ่มงานครับ
พวกที่ค่าแรงมากกว่า เดิมจะเป็นงานที่ไม่ค่อยมีคนอยากทำเพราะงานมันหนัก ต้องล่อใจด้วยค่าแรงสูงกว่าฐาน
กับพวกที่มีฝีมือเฉพาะทาง เช่น ช่างฝีมือ พวกนี้ค่าแรงเกินฐานไปไกลโขแล้วครับ
การเพิ่มค่าแรงแบบก้าวกระโดดมันกระทบจริงๆครับ
เพราะมันไม่ค่อยเป็นค่อยไป ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ค่อยทันหรอกครับ
ยิ่งถ้าเป็นรายย่อยยิ่งกระทบเยอะเพราะรายใหญ่สายป่านยาวครับ
เห็นจำนวนคอมเมนต์ในหน้าแรกแล้ว เดาแนวทางคอมเมนต์ไม่ผิดเลยจริงๆ...
แนวไหนหรอครับ?
แนวนอนครับ
ยังทำแนวตั้งไม่ได้
อ่านอันนี้ ฮาเงิบเลย
ิก็ตามที่เห็นนี่หล่ะครับ หึหึ
Ton-Or
เรื่องโทรทัศน์ กลายเป็นซีรีย์เรื่องยาวได้งัยเนี่ย
การเมืองกับเศรษฐกิจมันเป็นของคู่กันนี่ครับ
ตลาดมันอิ่มตัวแล้ว ห้องใครมีทีวีสองเครื่องบ้าง ทีวีซัมซุงเค้าดั้มราคา ลดแลกแจกแถม ทำการตลาดหนักกว่ายี่ห้ออื่น แค่กำไรก็ยังยาก อีกอย่างคือการย้ายไปเวียดนาม ใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่า ต้นทุนถูกกว่า แล้วพอเปิด AEC เค้าสามารถส่งขายได้ทั่วอาเซียนอยู่แล้ว อย่างโตโยต้า มิตซูเวียดนาม ยังพิจารณาจะเลิกประกอบรถในเวียดนาม แล้วหันมานำเข้าทั้งคันจากประเทศที่ต้นทุนถูกกว่า เช่นไทย เพราะภาษีนำเข้ากำลังจะลดลงเป็น 0% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ปล ผมไม่ใช้สินค้าซัมซุงอยู่แล้ว เพราะมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยประทับใจ ยกเว้นสินค้ายี่ห้ออื่นที่ไส้ในเป็นซัมซุง
ที่บ้านผมมี 4-5 เครื่องได้ครับ (จำจำนวนแน่นอนไม่ได้แล้วว่ามีเครื่องไหนเสียไปบ้าง พักหลังกลับบ้านไปไม่ค่อยได้ดูโทรทัศน์) แต่อายุเกินยี่สิบปีน่าจะไม่ต่ำกว่าสองเครื่อง :p
ข่าวสั้นๆ แต่คอมเม้นยาวววว อ่านเพลินเลย
จากยุทธศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ประเทศไทย ก็รู้อยู่แล้วว่าจะต้องเป็นแบบนี้สักวันหนึ่ง เราเคยคิดว่า จะพัฒนาประเทศอยู่ช่วงหนึ่งจากการรับจ้างผลิตที่จุดแข็งคือค่าแรง และจะพัฒนาไปเป็น ประเทศที่ R&D เป็นเจ้าของแบรนด์ จนกระทั้งถึงวันนี้ ก็ยังไม่สำเร็จ ยังไม่ไปถึงไหน ด้วยเหตุผลทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น เป็น Loop วนเวียน SME ไทยส่วนใหญ่ก็จะซื้อมาขายไปสินค้าจากจีนซะส่วนใหญ่
เราเน้นผลิตข้าว ขายข้าวครับ อุ้มกันจังชาวนา ต้นทุนสูงกว่าราคาขาย ก็ยังปลูกกันเข้าไป กลัวไรขาดทุนก็ประท้วง ราคาข้าวต่ำ 555
ไม่อุ้มก็ไม่ได้ เสียงดังสุด
ถามจริงๆเถอะครับก่อนที่จะมีมาตรการค่าแรงสามร้อยบาทออกมาค่าจ้างคนงานเท่าไหร่
ผมขอบอกเลยครับเกินสามร้อยบาทนานแล้วครับ
เอาง่ายค่าจ้างช่างก่อสร้างในช่วงก่อนมีนโยบายนี้จ้างสามร้อยคนงานไม่มาทำงานให้นะครับต้องสี่ร้อยบาทขึ้นไป
ผมเบื่อพวกที่ออกมาบ่นเรื่องค่าแรงสามร้อยบาทเพื่อนผมทำงานที่ WD สมัยก่อนเลือกตั้งค่าแรงชั่วโมงละสามสิบห้าบาทนะครับทำงานหนึ่งวันรวมสวัสดิการก็เกินสามร้อยบาทแล้ว
ผมค่อนข้างรังเกียจคนไม่เคยทำงานแล้วมาพูดว่าวันละร้อยห้าสิบก็พอกินผมนี่แทบอยากไปคว้าคอเลยครับแล้วให้มาดูราคาอาหารด้วยขนาดเป็นนศ.กฎหมายในช่วงนั้นร้อยห้าสิบบาทนี่ล่อมาม่าไปสองมื้อกับข้าวอีกจานนะครับช่วงนั้นสองร้อยยังต้องเขียมๆเลย
แล้วพนักงานที่ต้องจ่ายค่าไฟค่าเช่าบ้านคุณจะให้เขาไปนอนกลางทุ่งนาหรือไงครับ
เงินมันเฟ้อไม่รู้ตัวอีก
แล้วที่สำคัยไปดูค่าเช่าบ้านค่าอาหารบริเวณรอบๆนิคมอุตสาหกรรมนะครับว่ามันแพงไหม
หมอบางคนก็พูดแบบไม่คิดบอก 150 บาท พอกินอยากจะลากแกให้มาอยู่หอด้วยกันซื้อกับข้าวกินเองบ้างทำกินเองบ้างยังเกินมื้อละ40บาทเลยครับ สามมื้อ 120 เหลือ 30บาทนี่ค่ารถค่าน้ำมันไปทำงานยังไม่ได้เลยครับที่ต้องสามร้อยเพราะต้องให้เขามีเงินเหลือวันละร้อยไว้เก็บครับถ้าทำงานแล้วค่าใช้จ่ายแพงกว่าจะทำไปทำไมกลับไปปลูกผักอยู่บ้านน่าจะโอเคกว่า
พวกที่บ่นค่าแรงสามร้อยบาทส่วนใหญ่ไม่เคยลงไปอยู่พื้นที่ใกล้ๆโรงงานไปเคยไปสำรวจราคาอาหาร ค่าเช่าบ้าน
ค่าแรงสามร้อยบาทนี่แค่พอกินนะครับไม่มีเงินเก็บเลยสำหรับคนที่มีครอบครัวเงินเหลือร้อยให้เมียให้ลูกก็หมดแล้วครับ
ส่วนเรื่องปลูกข้าวผมว่าถ้าศึกษาข้อมูลมาไม่ดีพอนี่กลับไปศึกษาใหม่ครับว่าทำไมต้นทุนการผลิตแพง ผมเองเคยลงมือทำเพื่อให้ลดต้นทุนลงมา ต้นทุนปลูกข้าวไม่เท่าไหร่หรอกแต่ข้าวสารที่พวกคุณหุงกินกันมันแพงเพราะพ่อค้าคนกลางล้วนๆแล้วพวกนี้ก็ไม่อยากให้ข้าวเปลือกแพงเพราะทำกำไรยาก ปลูกข้าวน่ะถ้าผสมปุ๋ยเองเป็นรู้จักใช้ยาฆ่าแมลงที่สกัดได้จากพืช ต้นทุนไม่แพงหรอกครับ แต่ปัญหาหลักคือขี้เกียจจะซื้อแต่สารเคมีอย่างเดียวลองปรับลดส่วนนี้ลงมากำไรเพียบ
เรื่องข้าวสารบ้านผมเขาไปซื้อจากชาวบ้านที่เขาสีขาวเองกับโงสีของหมู่บ้านทั้งถูกและปลอดสารพิษไม่ได้แพงเหมือนที่บ่นๆกันเลยที่ผมพูดนี่คือเมื่อสามปีที่แล้วนะครับ
ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน จะกินอยู่อย่างไรใน 1 วัน
- ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ข้าวมันไก่ (ธรรมดา) บรรจุกล่อง 1 กล่อง 33.25 บาท (x3 มื้อ = 99.75 บาท)
- ส้มเขียวหวาน พันธุ์สวนทั่วไป ขนาดเล็ก(น้ำหนักผลละ 50 - 60 กรัม) 1 กก. 55.00 บาท
- น้ำดื่มบริสุทธิ์ \ บรรจุขวดพลาสติกใส 600 ซีซี \ ตราคริสตั ขวดพลาสติกใส ขวดละ 6.33 บาท (x3 มื้อ = 18.99 บาท)
- กล้วยบวดชี/ ใส่ถ้วย 1 ถ้วย 12.60 บาท
- ค่าเดินทาง(รถเมล์)เฉลี่ย 8 บาท (ไป-กลับ) 16 บาท
- ค่าที่พักราคาประหยัด 2,500 บาทต่อเดือน เฉลียวันละ 83.33 บาท
= รวม 285.67 บาทต่อวัน เหลือเก็บ 14 บาท
หมายเหตุ : ยังไม่รวมราคาเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เครื่องใช้สอยในครัวเรือน กิจกรรมนันทนาการ ค่าน้ำ-ไฟ ค่าแสวงหาความรู้ หนังสือ หนังสือพิมพ์ ค่าผ่อนชำระหนี้สินดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่นๆ
อันนี้เคยเห็นนานแล้ว ขำมาก ยังอุตส่าห์เอามานะครับ
แรงงานค่าแรงขั้นต่ำกินส้มวันละกิโล
555555
2 ความเห็นสุดท้ายพีคมากค่ะ
ก็ถามอยู่ว่า ถ้าคิดว่าค่าแรงขั้นต่ำ 300 มันแพงจนเค้าต้องย้ายโรงงานหนี
แล้วแรงงานไทยควรจะได้ค่าแรงขั้นต่ำวันละเท่าไหร่ดี ก็ยังไม่เห็นมีใครมาตอบ
ค่าครองชีพมันก็ขึ้นไปตามกลไกของมันเรื่อยๆ แต่ค่าแรงขั้นต่ำต้องอยู่ที่ 100-200 เท่าเดิม?
/me ปิดกระทู้ที่ รีพราย 100 สวยๆ
จริงๆนักลงทุนเค้าก็ต้องหาที่ๆทำกำไรให้ได้เยอะที่สุดอยู่แล้วล่ะ
สิ่งที่บ้านเราต้องคิดคือถ้าหากว่าการเป็นฐานผลิตให้ประเทศอื่นๆมันไม่ใช่อุตสาหกรรมหลักอีกต่อไป เราจะอยู่จะกินกันยังไง
..: เรื่อยไป
ก่อนมีปัญหาการเมือง หลายๆเจ้าก็ไม่เข้ามาไปหาเพื่อนบ้านหมด ผมเลยมองว่าปัญหาการเมืองเกี่ยวน้อยมาก
พยายามหาข่าวต่างประเทศก็บอกประมาณนี้ เรื่องค่าใช้จ่าย เรื่องแรงงาน มองยาวๆเราแพ้หมดทุกด้าน
เห็นหลายคนบอกว่าค่าแรง 300 บาทมันไม่มีผลอะไร ขนาดชาวบ้านๆ แบบเราน้ำมันขึ้นลงแค่หลักสตางค์ก็ยังเฮยังโอดโอยกันซะขนาดนั้นผมว่าในเสกลใหญ่ต้นทุนแม้มันจะขึ้นมาไม่กี่บาทผมว่ามันก็มีผลต่อการตัดสินใจด้วยเหมือนกันนะครับ เพียงแต่มันอาจจะไม่ใช่ปัจจัยอันดับต้นๆ ที่จะเอามาเป็นตัวชี้ขาด
" LG ก็มีแผนจะย้ายฐานการผลิตโทรทัศน์จากประเทศไทยไปอยู่ที่เวียดนามเช่นกัน เนื่องจากค่าแรงที่ถูกกว่าและอยู่ใกล้กับบริษัทชิ้นส่วนจากประเทศจีนมากกว่า "
ก็ตามข่าวนะ "ค่าแรงถูกกว่า" LG ก็บอกเหตุผลนะ แต่คนที่มีอคติก็ยังมีอคติอยู่ดี
เค้าย้ายไปเพราะเรื่องต้นทุน ในเมื่อกำไรมันเริ่มต่ำลงเรื่อยๆ ก็ต้องทำให้ต้นทุนถูกลง ถึงมีรัฐประหาร หรือไม่มีรัฐประหาร ผมว่ายังไงเค้าก็ต้องไป เพราะประเทศไทยก้าวขึ้นมาจากประเทศรายได้ต่ำเป็นประเทศรายได้ปานกลางแล้ว ถ้าจะให้คุ้มในมุมมองคนลงทุนคือ ต้องมีสินค้าที่ทำกำไรได้สูงกว่าค่าแรงที่จ่ายมากขึ้นครับ ใจผมอยากให้บ้านเราส่งออกเครื่องจักรอุตสาหกรรมมั่ง ทุกวันนี้นี่นำเข้ามาซะเยอะเลย
เรื่องการเมืองมันก็เป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องกันครับ เพื่อให้เห็นภาพผมอยากให้ลองนึกตาม สมมุติประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองมันก็จะทำให้เกิดคำถามที่ว่า ถ้ากำลังสั่งผลิตของตามออเดอร์ของลูกค้าอยู่แล้วต้องส่งให้ทันเวลา แล้ววันดีคืนดีก็มีประท้วง วันดีคืนดีก็มีปิดถนนก่อรัฐประหาร วันดีคืนดีก็มีเคอร์ฟิว สนามบินโดนปิด การคมนาคมถูกจำกัด คนไม่กล้าออกมาทำงาน วัตถุดิบก็เอาเข้ามาโรงงานไม่ได้ ของที่ผลิตแล้วก็เอาออกไปส่งไม่ได้ ดังนั้นควรจะเลือกวิธีไหนเพื่อเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ดีครับ ตรงนี้เป็นอีกมุมมองหนึ่งของผมถ้าผมเป็นผู้ประกอบการนะครับ
พอมาดูแล้วทั้งเรื่องต้นทุนทั้งเรื่องการเมือง ผมว่ามันก็สมเหตุสมผลที่จะย้ายฐานการผลิตนะ
เอ......เห็นหลายๆคนชอบพูดกันแค่"ค่างแรงกลุ่มนี้เกิน300นานแล้ว เพราะงั้นไม่เกี่ยว"นี่ แกล้งลืมกันไปรึเปล่าครับว่าถ้าค่าแรงขั้นต่ำขึ้น ค่าแรงทั้งระบบมันก็ขยับตามกันขึ้นมาหมด
เอาง่ายๆ ถ้าแรงงานธรรมดาที่เคยได้วันละ 150-200 บาทโดดพรวดขึ้นมาเป็น 300 กลุ่มแรงงานทักษะที่เคยได้ 350 - 400 จะยอมรับเท่าเดิมรึเปล่า?
จริงๆไม่ต้องพูดถึงเรื่องนี้ ในข่าวก็อุตสาห์พูดโคตรชัดว่าเหตุผลนึงที่ย้ายเพราะค่าแรงเราแพงกว่า ก็ยังจะบอกว่าไม่เกี่ยวอีก
แน่นอนว่ามันก็ไม่ใช่สาเหตุเดียว เรื่องเสถียรภาพทางการเมืองก็เป็นสาเหตุที่มีส่วน(และอาจมีส่วนมากกว่าด้วยซ้ำ)แต่ก็ไม่ใช่"ข้ออ้าง"ที่จะเอามาบอกว่ามันไม่มีผลอะไรเลยนะครับ
ค่าแรงกรรมกร ก่อสร้างเมื่อปี 2011 ก็ 400 บาทนะครับ
ผมใช้ค่าแรงกรรมกรเป็นฐานเพราะงานพวกเขาเบสิคสุดล่ะครับผสมปูนยกของเน้นใช้แรง ไม่รวมพวกงานฉาบที่เน้นงานฝืมือครับพวกนี้ 500+ ต่อวันครับ นโยบายค่าแรง 300 บาทนั้นเริ่มในปี 2013
คนงานตามนิคมอุตสาหกรรมก็เกิน 300 บาทมาตั้งนานแล้วครับ
ที่เขาปรับเพราะเงินมันเฟ้อมานานมากแล้ว แต่ในความจริงค่าจ้าง 300 นั้นสามารถนำสวัสดิการมันลดหย่อนออกได้ เช่นมีข้าวกินที่โรงงานทำให้ฟรี ที่โรงงานจัดหาที่อยู่ให้ก็สามารถหักรวมเป็นค่าแรงได้
ที่ผมเคืองคนพวกชอบมาพูดว่าแค่ 150 บาทก็พอกิน สมัยนั้นผมนี่เขียมสุดในหอแล้วใช้วันละ 120 ชาวบ้านเขา 200+ ไปเรียนขี่จักรยานไปประหยัดทุกอย่างยัง 120 แล้วชาวบ้านคนอื่นล่ะครับ จะให้กินข้าวเหนียวจิ้มน้ำพริกสามมื้อหรืออย่างไร 120 นี่คือหุงข้าวเองแล้วซื้อเฉพาะกับข้าว 20บาท + ผัก + ผลไม้ มากิน น้ำนี่เอาน้ำกินของฟรีที่หอ
ผมเลยสรุปว่าคนที่พูดไม่รู้จักค่าใช้จ่ายประจำวันในการดำรงชีวิตถ้าบ้านคุณไม่มีข้าวเป็นของตัวเองไม่มีปลาในบ่อ ไม่ได้ปลูกผักไว้เอง 150 บาท/วัน นี่ไม่รอดหรอกครับ ผมก็ไม่รู้ว่าคนๆนั้นจบหมอมาได้ยังไงมันน่ายึดคืนใบปริญญาให้หมด เพราะผมเองจบป.ตรีสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่นกันบางวิชาตำราเล่มเดียวกันด้วยซ้ำ
สมัยก่อนตอนผมจบตรีใหม่ๆ เงินเดือน start 7000 เองครับและแน่นอนว่าไม่พอกินไปหางานที่ได้เป็นหมื่นก็งานหนักมาก
ผมไม่ได้มีปัญหาเรื่องปรับค่าแรงพื้นฐานครับ จะปรับเป็น 300 400 ถ้ามีเหตุผลอันสมควรก็ปรับไปเถอะ(แต่เท่าที่พยายามอ่าน ยังไม่เคยเจอเหตุผลว่าทำไมต้อง 300 ไม่ใช่ 250 หรือ 350)
ประเด็นคือปรับแล้วมันย่อมมีผลกระทบครับ จะบอกว่าปรับแล้วดีต่อคนค่าแรงต่ำ ดังนั้นมันจึงไม่ส่งผลต่อระบบโดยรวม มันคนละเรื่องกัน
150 บาท/วัน ผมสามารถซื้อไก่ได้ 1 กก. ผักประเภทหัว (ผักกาด กะหล่ำ) อีก 2 หัว พร้อมผักปรุงยิบย่อย โดยมีเงินเหลือครับ
และที่ว่ามาข้างบนสามารถทำอาหารเลี้ยงคน 3-4 คนได้ 1 วันโดยเหลือเศษนิดหน่อยครับ
ถ้ากินแค่คนเดียว จำนวนวันจะขยายออกไปเป็น 3-4 วันแทน
Point of View ของผมอาจจะต่างกับคุณตรงที่การ "ทำอาหาร" ได้หรือไม่ได้
แต่ที่ผมจะสื่อคือ ตัวเลขของคุณไม่ครอบคลุมทุกกรณีครับ
ป.ล. อยู่หอผมก็เคยอยู่นะ 120 บาทผมอยู่ได้มากกว่า 1 วันเหมือนกันครับ โชคดีที่ผมทำอาหารได้เพราะมีเตาไฟฟ้าและตู้เย็นไว้ถนอมวัตถุดิบ
เรื่องค่าแรง กรรมกร เกิน ขั้นต่ำนี่แย้งฮะผมวนๆ อยู่สายก่อสร้าง กรรมกร ได้แค่ขั้นต่ำครับ นอกจากจะ OT พวกที่เกินขั้นต่ำคือพวกช่าง เช่นงานปูนก็จับเซื้ยมเป็น ปรับค่าแรงพวกสัญญายาวๆ อ๊วกครับช่วงนั้น เพื่อนๆ ผมยอมโดนยืดงานไปเลยก็มี ทำต่อมันไม่คุ้ม พอขึ้นให้พวกกรรมกร ช่างก็ต้องปรับขึ้นไปอีก สนุกสิ
Ton-Or
ยังมีคนไม่ทำความเข้าใจอีก
ค่าแรงในธุรกิจอุตสากรรมอิเล็คฯ เกินสามร้อยนานแล้วครับ เพราะเขาเน้นแรงงานมีทักษะ
ที่กระทบแน่ๆคือธุรกิจที่ใช้แรงงานไร้ทักษะครับ กลุ่มนี้กระทบจริง ต้นทุนพุ่ง แต่ส่วนใหญ่ทยอยย้ายไปเวียดนามนานแล้ว เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า พวกนี้ทยอยย้ายไปตลอดสิบปี
แต่ปีสองปีนี้ กลุ่มอิเล็คฯเริ่มย้ายบ้าง มันมาจากปัจจัยอื่นไงครับ เพราะค่าแรงเขาเกินอยู่แล้วกระทบจริงแต่ไม่มากเท่าธุรกิจอื่น แต่ปัจจัยหลักมาจากเรื่อง การเมือง การบริหารจัดการน้ำที่ไม่คืบ ข้อจำกัดในการทำธุรกิจ(อย่างที่บอกไปมันมีข้อกฎหมายเพิ่มเยอะ เพราะรบ.ทหาร ส่วนเวียดนามแม้จะเป็นคอมฯ แต่เขาก็ไม่ใช่เผด็จการเบ็ดเสร็จแบบไทยตอนนี้ครับ)
และหลายคนก็แกล้งมองข้าม โรงงานในมาเลเซีย ค่าแรงกลุ่มอิเล็คฯเขาเฉลี่ยมากกว่าเราเกิน10%มาเป็นสิบปีล่วงหน้าแล้วครับ เขายังอยู่ได้เพราะอะไร? จ่ายแพงแถมนำเข้าแรงงานจากอินโดฯมาด้วยนะ ถ้าคุณไม่ทราบก็หาข้อมูลเพิ่มเติมซะ อย่ามัวแต่ท่องสามร้อยๆ ทั้งๆที่ตัวเองไปนั่งปิดสนามบิน นั่งshutdownหน่วยราชการกันอยู่เลย
แต่ละธุรกิจมีปัจจัยแตกต่างกัน อย่ามองแคบสั้นเพียงแค่ไม่กี่เรื่อง ตอนปิดสนามบินน่ะคุณรู้ไหม ว่ากลุ่มธุรกิจเหล่านี้เขา"เหนื่อย"แค่ไหน?(ที่ผมยกเรื่องนี้เพราะคนกลุ่มที่shutdownก็คือกลุ่มเดียวกับที่เคยปิดสนามบินล้วนๆ)
บอกเลยต่อให้ลดค่าแรงเหมือนเดิม(ซึ่งมันคงเป็นไปไม่ได้) เขาก็ยังย้ายอยู่ดีครับ
พูดได้ตรงประเด็นมากครับ
คุณก็แกล้งข้ามเรื่องการกระทบชิ่งของค่าแรงเหมือนเดิมนั่นแหละ
ยังไม่เคยเห็นตอบได้เลยว่าในเมื่อค่าแรง"ขั้นต่ำ"เพิ่มขึ้น ทำไมแรงงานทักษะถึงจะไม่ขอเพิ่ม? แล้วคุณจะอ้างอะไรถ้าจะไม่เพิ่มให้เค้า?
ลองมาเลเซียปรับค่าแรงขั้นต่ำพรวดเดียว 20-30% ถามว่าจะเจอปัญหารึเปล่า? ให้การเมืองนิ่งๆด้วยเอ้า
ถ้าเจอ(ถ้าว่าไม่เจอเลยคงอาการหนักละ) แล้วมีนโยบายอะไรที่ช่วยบรรเทาปัญหาบ้าง
แล้วถ้าจะเอามาเลเซียเป็นตัวอย่าง ลองยกนโยบายโดดเด่นหน่อยสิครับว่ามีอะไรที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเรา"พัฒนา"ไปถึงจุดนั้นบ้าง
ยังมีเรื่องค่าครองชีพที่ผมสงสัยอีก เช่นอาหาร ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปุ๊บ"รายใหญ่"ก็พร้อมขึ้นราคาตามแล้วอ้างว่าต้นทุนเพิ่ม
สรุปว่าแค่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำช่วยเรื่องค่าครองชีพจริงเหรอ? ผมเห็นคนงานก็บ่นเรื่องเงินไม่พอใช้เหมือนเดิม
การปรับค่าแรง"ควร"ค่อยๆปรับเพื่อให้ทั้งระบบปรับตัวตามได้ทัน แน่นอนว่าถ้ามีเหตุผลที่ดีและมีนโยบายรองรับที่ดีพอ การปรับเลยก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้
แต่ที่พยายามถามกองอวยมายังไม่เห็นมีใครตอบได้เคลียร์ๆซักคน เอะอะก็โบ้ยไปเรื่องปิดสนามบินตลอด(ถ้าถามอีกฝั่งซักประเด็นก็จะเป็นเผาเมือง) ยังกะโรคอุปทานหมู่
ปิดสนามบิน ยึดสภา ประกาศเผาเมือง ปฏิวัติ พวกนี้"ร้ายแรง"กว่าขึ้นค่าแรง 300 เยอะครับ(จริงๆอยากใช้คำว่าพินาศ แต่ค่าแรง 300 มันไม่ได้ติดลบแบบนั้น อย่างน้อยมันก็เพิ่มรายได้ให้คนหาเช้ากินค่ำจริง)
แน่นอนว่าเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองก็มีส่วนสำคัญ และมีผลมากกว่าด้วยซ้ำ รัฐบาลชุดนี้ก็......เอ่อ นั่นแหละ ผมเห็นเหมือนกับคุณเลยละ
แต่เราไม่ได้คุยกันเรื่องการเมืองรึเปล่าครับ? แล้วถึงมันจะแย่กว่า มันก็ไม่ได้ทำให้นโยบายนี้(และนโยบายร่วมซึ่งไม่ค่อยเห็นมี)ดีขึ้นรึเปล่าครับ?
อันนี้ผมว่ามันเป็นปัญหาจากการบริหารแบบ centralization ครับ
รายได้ขั้นต่ำของประชากรในกรุงเทพ/ปริมณฑลจริงๆมันควรเลย 300 บาทต่อวันก่อนปรับนานแล้วครับ เพราะมันไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพที่สูงจริงๆ ถามว่ามันมีกระทบไหม มันมีผลกระทบครับแต่มากหรือน้อยนี่ไม่รู้ อย่างไรก็ตามผลกระทบตรงส่วนนี้มันเป็น acceptable impact ครับเพราะมัน'จำเป็น'
ส่วนรายได้ขั้นต่ำของประชากรในจังหวัดอื่นๆมันยังไม่ควรปรับครับ และมันสร้างผลผลกระทบบางส่วนที่เป็น unacceptable impact
อย่างไรก็ตาม ผมยังเห็นว่าค่าแรงนั้นควรปรับขึ้นครับ แต่ปัญหามันอยู่ที่การบริหารแบบ centralization ทำให้กฎหมายต่างๆมันครอบคลุมทั้งประเทศไป
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อันนี้ผมเห็นด้วยเลยนะ นโยบายปรับค่าแรงตามพื้นที่/ประเภทอุตสาหกรรม
ซึ่งเอาจริงๆ ผมเห็นด้วยว่าค่าแรงต้องปรับได้แล้ว แต่ควรปรับเท่าไหร่ ยังไง และมีนโยบายรองรับผลกระทบต่อภาคส่วนอื่นรึเปล่ามากกว่าที่ยังไม่เห็นด้วย
หรือเอาจริงๆคือยังไม่เห็นเลย และยังไม่เคยเห็นฝ่ายสนับสนุนชี้แจงตรงนี้เลยด้วยซ้ำ
ค่าแรงขั้นต่ำช่วยแค่ให้พอกินแค่นั้นแหละครับ
แล้วคนไทยก็ลืมง่ายมากเพราะตอนก่อนเลือกตั้ง2พรรคใหญ่เกทับกันเรื่องนโยบายค่าแรงขั้นต่ำด้วยซ้ำแล้วพรรคที่เอามาแขวะเรื่อง 300 บาทเองก็หาเสียงว่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำซึ่งดูๆแล้วเรทขั้นต่ำก็แทบไม่ต่างจากอีกพรรคเลย
พูดง่ายๆเรื่อง 300บาท นี่วาทกรรมแขวะตีกินล้วนๆ
ส่วนค่าครองชีพพอเงินเดือนข้าราชการเพิ่มปุ๊บราคาอาหารขึ้นทันทีแต่ค่าแรงขั้นต่ำเท่าเดิม
ที่เขาขั้นค่าแรงขั้นต่ำเพราะมันต้องขึ้นครับ
รัฐขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ชาวบ้านช้ำสินค้าราคาพุ่ง
ความแตกต่างคือ......อีกพรรคนั่นเชื่อถือไม่ได้ครับ หาเสียงแล้วคลอดจริงมีซักกี่นโยบาย(ฮา) ยิ่งหากินกับฐานเสียงชนชั้นกลาง-คนรวยมาแต่ไหนแต่ไร มีเหรอจะกล้าหักดิบฐานเสียงตัวเองจริงๆ
ความแตกต่างอีกอย่างคืออีกพรรคไม่มีปัญญามาเป็นรัฐบาลครับ เลยไม่ได้ออกนโยบาย แต่ถ้าสมมติออกจริงก็จะโดนวิจารณ์แบบเดียวกันนี่แหละ ก็เรากำลังคุยเรื่องนโยบายกันอยู่รึเปล่าครับ?
พูดถึงเรื่องต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ลองไปดูทัศนะนักลงทุนระดับโลกเกี่ยวกับการเพิ่มรายได้ขั้นต่ำกันมั้ยครับ จะได้ไม่จมอยู่แต่กับเรื่องการเมือง Buffett Says Minimum Wage Increase Isn’t Answer to Income Gulf
โอเคอีก เงินเดือนข้าราชการเพิ่มนี่"รายใหญ่"ก็หาเรื่องเพิ่มราคาสินค้าจริง แล้วเพิ่มเงินเดือนขั่นต่ำรายใหญ่ไม่ขึ้นราคาเหรอครับ? แล้วถ้าการเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำก็เพิ่มค่าครองชีพอยู่ดี การยกเงินเดือนข้าราชการมาคืออยากจะบอกอะไรผมล่ะ หรือจะบอกว่าเพื่อไล่กวดค่าครองชีพที่ขึ้นจากเงินเดือนราชการ (แต่ตัวมันเองก็ทำให้ค่าครองชีพขึ้นอีก?)
โอเค "ต้องขึ้น" (สมมติว่าเพื่อไล่กวดค่าครองชีพข้างบน และฝันไปว่าค่าครองชีพพื้นฐานจะไม่ขึ้นตาม)แล้วทำไมโดดทีเยอะขนาดนั้นครับ? ไม่ใช่มั่วๆได้ราคามาเป็น 300 ถูกมั้ย แล้วการประเมินผลกระทบกับ SME/แรงงานเองล่ะเป็นยังไง ถ้าปล่อยให้ SME ปรับตัวเองก็ต้องลดคน/ใช้แรงงานต่างด้าว แล้วตัวแรงงานเองกระทบมั้ย มีนโยบายรองรับกลุ่มนี้รึเปล่า?
อีกประเด็นให้เข้ากับหัวข้อข่าว การที่ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นมันไม่ส่งผลกับค่าแรงทั้งระบบหรือ? ถ้าส่ง มันก็ไปเร่งปัญหาว่า"ค่าแรงเราแพงกว่าประเทศรับจ้างผลิตทั่วไป แต่เทคโนโลยีเราด้อยเกินกว่าจะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์" ก็จะเป็น"สาเหตุหนึ่ง"ของข่าวนี้รึเปล่า
น่าตลกตรงพอพูดถึง"ข้อเสีย"ของ"นโยบาย" จะต้องมีกองอวยมาบอกว่า อีกพรรคก็ทำ หรือไม่ก็ยาวไปปิดสนามบินโน่น
ผมก็ถามซ้ำคำเดิมนั่นแหละ ถ้าอีกพรรคก็ทำ แล้วมันทำให้นโยบายนี้ดีขึ้นเหรอครับ? กะแค่จะอธิบายนโยบายที่ตัวเองเห็นด้วยยังต้องใช้ ad hominem มาเพิ่มน้ำหนัก นี่คือเชื่อมั่นในนโยบายแล้วจริงเหรอครับ?
แล้วถ้าผมบอกว่าผมเลือกเฮียชู ไม่อกแตกตายกันหมดเหรอครับ
ข้อเสียของนโยบายน่ะมีครับ เรื่องตจว.ขึ้นมากไปอันนี้เห็นด้วย และทำลายความได้เปรียบในการดึงดูดอุตสาหกรรมไปตั้งรอบนอกด้วย
แต่ปัจจัยอื่นมันกระทบรุนแรงกว่าไง
ที่ต้องย้อนไปถึงปิดสนามบิน เพราะผลกระทบมันต่อเนื่องยาวนาน และกลุ่มที่โจมตีเรื่องค่าแรง มักเป็นกลุ่มที่เคยไปปิดสนามบินเสียด้วย อาจจะพูดเหมารวมไปหน่อย แต่เวลาเจอพวกที่เคยไปนั่งshutdownศูนย์ราชการ แล้วบ่นว่าทำไมบ.ใหญ่ๆและภาครัฐยกเลิกprojectเพราะรัดเข็มขัด หรือคนปิดสนามบิน บ่นว่าทำไมโรงงานข้ามชาติที่ตัวเองทำลดโบนัส มันcontrast สุดๆครับ
เรื่องค่าแรง ค่าครองชีพ ผมมองว่ายังไงก็ต้่องขึ้น ประเทศที่เจริญแล้วไม่มีที่ไหนค่าแรงหรือค่าครองชีพถูกกว่าบ้านเรา แต่เขาอยู่ได้ แถมคุณภาพชีวิตดี เพราะเขามีองค์ความรู้ ok บ้านเราคงไกลไปที่จะไปเทียบกับมหาอำนาจเจ้าขององค์ความรู้ แต่ผมพยายามยกตัวอย่างมาเลเซีย ไต้หวัน เพราะเราดำเนินนโยบายเลียนแบบเขาก็ว่าได้ คือรับจ้างผลิต อย่างไต้หวัน รับจ้างจนสร้างbrandได้เอง ส่วนมาเลเซียแม้จะผ่านช่วงยุคทองที่สุดไปแล้ว แต่เขาก็ยังประคับประคองอยู่ได้ เพราะเขาก็แรงงานที่มีองค์ความรู้ ทำให้ยากที่จะทิ้งไป ค่าแรงขั้นต่ำเขายังต่ำกว่าเรา แต่ค่าแรงงานมีทักษะเขามากกว่าเราตลอดสิบปีครับ
ผมเสียดาย ฝีมือแรงงานมีทักษะบ้านเราเก่งและมีวินัยอันดับต้นๆของเอเชียครับ ผ่านโรงงานหลายแห่ง เห็นผลงานดีๆเมื่อเทียบกับsiteตปท.มาไม่น้อย แต่ทำไมเราถึงต้องโดนกด โดนบังคับ และไปต่อไม่ได้ ทั้งๆที่มีศักยภาพเหนือกว่าเพื่อนบ้าน
ผมว่าอย่างอเมริกาหรือหลายๆ ประเทศในยุโรปที่ผมเรียกว่าประเทศที่เจริญแล้วเนี่ย เงินเดือนสูง ค่าแรงสูง แต่คนตกงานเพียบครับ
มันชัดเจนตั้งแต่เนื้อหาแล้วนะครับ
เนื่องจากค่าแรงที่ถูกกว่า
นอกนั้นคือมโนล้วนๆครับ
มันเป็นของ LG ไม่ใช่จาก Samsung ครับ
อย่ามโนครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เห็นข้างบนพูดคล้ายๆว่าโรงงานจ่ายเกิน 300 อยู่แล้วน่าจะไม่กระทบ แต่ผมว่ายังงัย 300 ก็เกี่ยวและกระทบนะเพราะ
1.พอ 300 บาทมา ต่อให้บริษัทพวกนี้เคยจ่ายมากกว่า 300 อยู่แล้วเค้าก็ต้องเพิ่มให้อยู่ดี เพราะค่าครองชีพโดยรวมสูงขึ้น เช่น เคยจ่าย 400 มันก็ต้องเพิ่มไปอีก สรุปต้นทุนค่าแรงมันก็สูงขึ้นอยู่ดีไม่งั้นพนักงานก็ลาออกไปอยู่โรงงานที่ขึ้นให้สิ เพราะงั้นโดยรวมแล้วก็ขึ้นกันทั้งหมดแหล่ะค่าแรง ธุรกิจไหนกำไรหนาก็อยู่ได้ ส่วนใครกำไรบางเฉียบก็กระทบหนักหน่อย
2.พอขึ้น 300 แล้วมันไม่ใช่แค่ค่าแรงอย่างเดียวจบนะ อย่าลืมว่าโรงงานพวกนี้ก็มี supplier อีก supplier ก็โดน 300 เค้าก็ต้องขึ้นราคา ทำให้ cost โดยรวมของโรงงานสูงขึ้นอีก
ถ้าไม่มองว่าชอบรัฐบาลไหนมากกว่ากัน การขึ้น 300 ไม่ได้ช่วยมากอย่างที่คิดเลยเพราะสุดท้ายค่าครองชีพวิ่งตาม ไอ้ที่ได้มาเพิ่มก็ไม่พอใช้เหมือนเดิม เขาถึงต้องมาขอเป็น 360 400 กันอีกไง
แต่ปัจจัยอื่นๆผมก็เห็นด้วยว่ามีผลนะเรื่องการถูกตัดสิทธิทางภาษี เพราะบริษัทที่ใหญ่ๆที่เน้น volume กำไรบางเฉียบ โดนตัดภาษีบางทีกลายเป็นขาดทุนไปเลยก็มี
ประเด็นเรื่องเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยๆ ผมว่าก็มีผลแต่ก็ไม่เกี่ยวหรอกว่าเป็นเพราะทหารหรือใคร ปกตินักการเมืองเลือกตั้งก็มีผลประโยชน์ที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้บริษัทพวกนี้เสมอแหล่ะ เค้าก็มองทหารเป็นนักการเมืองเหมือนกัน อยู่ที่ว่าใครอำนวยความสะดวกให้เค้าได้มากกว่ากันแค่นั้นแหล่ะ
The EU now excludes Thailand, China, Ecuador and the Maldives from its GSP because the World Bank has defined them as upper-middle income countries from 2011 to 2013.
The European Union informed Thailand and other trading parties of the decision in December 2012 and had Thailand adjust for the change last year.
TNA 2015-01-07 (http://www.thaivisa.com/forum/topic/789725-eu-cuts-thailands-gsp-privileges-due-to-trade-policy-changes/)
GSP Factsheet
http://trade.ec.europa.eu/doclib/docs/2012/december/tradoc_150164.pdf
ประเทศไทยเสียความได้เปรียบด้านการส่งออกเพราะถูกตัดสิทธิ GSP ทำให้ไม่ได้ลดหย่อน/ยกเว้นภาษีสินค้าที่ส่งออกไป EU ครับ แต่ก็ต้องดูด้วยว่ามีสินค้ากี่ชิ้นถูกกระทบ ส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเล ชิ้นส่วนรถยนต์ ผมจึงเห็นว่าการที่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์จะย้ายสายการ "ประกอบ" ไปอยู่ประเทศอื่นไม่น่าจะมีปัจจัยจากเรื่องนี้ครับ
นอกจาก GSP ของ EU เรายังโดนกาหัวเรื่องการค้ามนุษย์จาก US จัดอยู่ในกลุ่ม Tier3 และปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ถูกขึ้นบัญชีเป็น notorious market สินค้าประมงก็โดนเรื่อง IUU แล้วยังมีมาตรการกีดกัดอื่น ๆ ที่เป็น non-tariff barrier อีกมากครับ
ผมคิดว่ามูลเหตุที่ทำให้เราไม่ได้สิทธิพิเศษทางภาษี แล้วยังโดน non-tariff barrier มากมายเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกไม่ได้เกิดขึ้นวูบวาวในเวลาเพียงแค่ 1 - 2 ปีที่ผ่านมา แต่เป็นปัญหาหมักหมมเรื้อรังของประเทศมานานแล้วครับ และไม่มีรัฐบาลไหนจะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แม้แต่ใบเหลืองสินค้าประมง ลึกๆแล้วประเทศไทยรู้ตัวมานานมากครับ แต่ไม่มีใครแก้และฝีแตกตอนรัฐบาลทหารพอดี อันว่าความจริงแทบไม่ต้องเดินขบวนประท้วงขับไล่ใดๆ รอให้ขึ้นปีใหม่ 2558 รัฐบาลจากการเลือกตั้งก็อยู่ลำบากแล้วครับ ยกเว้นใช้ล๊อบบี้ยิสต์ซื้อเวลาการคว่ำบาตรต่อไป
รัฐประหารอาจมีส่วนขัดขวางการแก้ปัญหาบ้างเช่นตอนนี้ EU พักการเจรจา Thai-EU FTA ไป ทำให้เราไม่มีไม้ตายใหม่มาบรรเทาปัญหาการตัดสิทธิ GSP แต่ถึงเป็นรัฐบาลเลือกตั้งก็ไม่ได้การันตีว่ากรอบเจรจา TEUFTA จะสำเร็จ เพราะคุยกันมานานมากแล้วแต่ยังไม่สมประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายเสียที ผู้มีอำนาจของทั้งไทยและ EU จึงยังไม่ลงนามครับ
คราวนี้ถามว่าขึ้นค่าแรง 300 บาท เป็นแรงจูงใจให้บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ย้ายฐานออกจากประเทศไทยมั้ย ก็อาจมีส่วนอยู่บ้างแต่ไม่ทั้งหมดครับ สาเหตุเพราะอุตสาหกรรมการผลิตที่ย้ายฐานออกไปเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไม่ได้ใช้นวัตกรรม ไม่จำเป็นต้องมีการ R&D ก็อยู่ได้ ทักษะแรงงานธรรมดาก็ผลิตได้ ดังนั้น ย้ายไปในประเทศค่าแรงถูก แล้วถ้าแถมมาด้วยแรงงานมีศักยภาพสร้างนวัตกรรมก็น่าจะดีกว่า เวียดนามเป็นประเทศเป้าหมายเหล่านี้ครับ ตอนนี้ค่าแรงถูกมาก อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบที่จีน แถมแรงงานมีศักยภาพเพราะเป็นที่ตั้งศูนย์วิจัยของบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง เริ่ม R&D ที่เวียดนาม สั่งของจากจีน ผลิต/ประกอบที่เวียดนาม แรงงานพบปัญหา ส่งกลับ R&D สร้างนวัตกรรม แล้วผลิต โมเดลไม่ซับซ้อนและเป็นไปได้ ไทยอยากชนะต้องทำให้ได้เปรียบเรื่องทรัพยากรมนุษย์ครับ เพราะเราเสียเปรียบด้าน Logistic ไปแล้ว แล้วเราจะเอาอะไรไปชนะเขาครับ
ขนาดปัญหาการตัดสิทธิทางภาษีก็มีเชื้อให้รู้ตัวล่วงหน้าตั้งหลายปี ส่งคำเตือนอย่างเป็นทางการมาปลายปี 2012 ยังไม่คิดจะหาทางป้องกัน เผลอๆเพราะขึ้นค่าแรง 300 บาทนั่นแหละทำให้รายได้ต่อหัวของคนไทยสูงขึ้นจนหลุดคุณสมบัติประเทศที่ได้ GSP ไม่ได้คัดค้านเลยเรื่องขึ้นค่าแรง ไม่ได้เชียร์ว่าจะต้องกดค่าแรงให้ต่ำ แต่ต้องสร้างผลิตผลให้คุ้มค่าเมื่อเทียบกับชาวพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามซิครับ ถ้าคุ้มกว่าถึงค่าแรงวันละ 1000 แต่สร้างกำไรให้นายจ้างได้ 2000 เขาจะไม่จ้างเราเชียวเหรอ หรือถ้าเป็นคนผลิตได้เสียเอง จะแคร์อะไรกับค่าจ้างรับจ้างประกอบครับ
สำหรับปัญหาซัมซุง คิดแบบติดตลกว่าคงเป็นเพราะคุณภาพการผลิตทีวีในไทยมันห่วยมากจึงต้องย้ายฐานรึปล่าว เพราะขึ้นชื่อว่าทีวีซัมซุงนี่ครอบครัวญาติพี่น้องผมซื้อมาใช้ 4 เครื่อง หมดประกันพังหมดทุกเครื่อง
หัวหอกเครื่องจักรเศรษฐกิจของเราพึ่งพาส่งออกสินค้าคงยากแล้วครับ เพราะคิดสินค้าเองไม่ได้ รับจ้างเขาผลิตพอเขาทิ้งเราเราก็ไม่มีอะไรไปส่งออก อยากจะให้บริโภคในประเทศเป็นตัวหมุนระบบก็ยากอีก ก็ในเมื่อของที่คนไทยอยากบริโภคมันผลิตเองในประเทศไม่ได้ ก็ต้องนำเข้าอย่างเดียว เอาเงินไปให้ต่างประเทศอีก เหลืออยู่แต่ภาคบริการกับการลงทุนภาครัฐนั่นแหละ แล้วตอนนี้ก็อยากได้ Digital Economic อยากเปลี่ยนจากส่งออกสินค้าเป็นส่งออกนวัตกรรม แต่กฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอล 10 ฉบับกลับแทรกกฎหมายครอบงำความคิดยุคดิจิตอล ขัดแย้งกันเองซะงั้น หวังพึ่งรัฐลำบาก อนาคตมืดมนครับ
ธุรกิจทีวี ตอนนี้กำไรน้อยมากทุกเจ้าครับ ทั้งLG SAMSUNG กำไรจากภาคธุรกิจจอทีวีน้อยจนแทบขาดทุน(ถ้าจำไม่ผิดขาดทุนต่อเนื่องมาสองสามปีแล้ว) ถ้ามองในแง่นี้ก็ไม่แปลกที่เขาจะพยายามลดต้นทุน ด้วยการย้ายไปที่ค่าแรงต่ำกว่า แม้จะมีความเสี่ยงเรื่องคุณภาพแรงงานมีทักษะก็ตาม
ขนาดต้นแบบนวัตกรรมทีวีแบบPhilips ยังขายส่วนธุรกิจทีวีออกไปเลยครับ มันหมดยุคทองของทีวีแล้วล่ะ(จริงๆเป็นยุคทองของผู้ซื้อนะเพราะถูกลงมากแต่ก็แลกกับความคงทนที่ด้อยไป)