ในงานเสวนา "เช็ค ก่อน แชร์ ข้อมูลโซเชียลมีเดีย" ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA (เอ็ดด้า) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระบุว่า การส่งต่อข้อมูลที่ผิดพลาดลงโซเชียลมีเดียจะส่งผลกระทบต่อสังคม ซึ่งมีข้อดีคือทำให้คนระมัดระวังตัวมากขึ้น แต่ข้อเสียคือทำให้ผู้คนตื่นตระหนก ผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียควรระมัดระวังว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ เพราะหากเกิดความเสียหายใดๆ ขึ้น ทั้งคนโพสต์, แชร์ และไลค์ก็ล้วนแล้วแต่มีความผิดด้วยกันทั้งหมด
พงศกร มาตระกูล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กล่าวถึงในเรื่องนี้ว่า ถ้าคนโพสต์คือผู้กระทำความผิด คนกดแชร์ก็ถือว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด และสุดท้ายคือคนไลค์ ที่จะผิดด้วยเพราะเวลาไลค์ไปแล้ว การไลค์ดังกล่าวจะปรากฏขึ้นบนหน้าฟีดส์ของเพื่อนๆ ของเรา ทำให้เพื่อนๆ ของเราสามารถเห็นข้อความที่เราไลค์ได้ด้วย ซึ่งคนไลค์จะมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยมีความผิด 2 ใน 3 ของตัวการ
โดยความผิดอ้างอิงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ความผิดฐานหมิ่นประมาททั่วไป โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, มาตรา 328 ความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท และอาจผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 ฐานละเมิดด้วยการหมิ่นประมาท อีกทั้งอาจผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หากข้อความนั้นสร้างความเสียหายหรือสร้างความตื่นตระหนกกับประชาชน
ที่มา - Voice TV
Comments
ปรากฎ => ปรากฏ
พรบ. => พ.ร.บ.
ขอบคุณครับ
ผมคิดว่าประเด็นของข่าวนี้ต้องระบุให้ชัดนะครับว่ามันเป็นแค่ "ความเห็น" ของผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งเท่านั้น ที่ตีความว่าการไลค์มีสถานะเหมือนการแชร์ เพราะอัลกอริทึมการแสดงผลฟีดของ Facebook เป็นอย่างนั้น ซึ่งในแวดวงนักกฎหมายเองก็วิจารณ์ข่าวนี้กันว่าสร้างความตื่นตระหนกมากจนเกินควรครับ
ถ้าเป็นจริงเวลาโดนคงโดนกันเป็นร้อยเป็นพันคน แล้วเค้า(กฏหมาย)จะทำยังไงต่อครับ ใครพอมีความรู้ด้านนี้บ้าง เพราะจำนวนคนกด like หรือ share ไม่ใช่น้อยๆนะครับ
รู้สึกว่ามันปิดได้ รึเปล่าครับ ไม่ให้มันแสดงผลในหน้า feed ได้
เคยได้ยินข่าวว่า มี พนง. บริษัทแห่งหนึงไป Like Page แห่งหนึ่งที่ขายพิซซ่า จนท. ตาม IP ได้ว่า ออกมาจากบริษัทนี้ จึงไล่ตามหา พนง. ที่กด Like จนเจอตัว บริษัทจึงให้ออก แต่ไม่รู้ว่า พนง.คนนี้ ได้ไปกินพิซซ่าต่อหรือเปล่า