ไฮไลท์รอบนี้อยู่ที่คำสั่งย่อย git worktree
สำหรับจัดการกับโค้ดโครงการเดียว แต่มีก๊อบปี้หลายชุดครับ
โดยหลักการของ worktree นั้น เกิดจากการที่บางครั้งเมื่อต้องทำงานกับโครงการที่ซับซ้อน เราอาจต้องการ checkout รุ่นต่างๆ ในโค้ดโครงการออกมาเป็นหลายไดเรกทอรี เช่น ในขณะที่กำลังทำงานอยู่ที่กิ่ง develop
และต้องการสลับไปแก้ไขข้อผิดพลาดที่กิ่ง hotfix
แต่ไม่ต้องการ checkout มาทับงานที่ทำอยู่ในไดเรกทอรีปัจจุบัน ท่าเดิมที่ใช้อาจจะเป็นการ clone โครงการออกไปยังไดเรกทอรีใหม่แล้วเริ่มทำงานกับกิ่ง hotfix
ที่นั่น หากเปลี่ยนมาใช้ worktree คำสั่งจะหดสั้นเหลือเพียง
git worktree add -b <new_branch> <directory> <old_branch>
ความสามารถนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองครับ และมีคำเตือนว่าไม่ควรใช้กับโครงการที่มี submodule โดยเด็ดขาด
ของใหม่ที่เหลืออ่านได้ใน release note
ที่มา: GitHub Blog
Comments
เอ ปกติถ้าทำงานค้างแล้วต้องการสลับกิ่ง ไม่ได้ใช้ stash กันเหรอครับ?
ปรกติก็ทำท่า stash นั่นแหละครับ
แต่ในตัวอย่างที่เค้าให้มา มันอาจจะมีบางสถานการณ์ที่เราไม่สามารถสลับกิ่งในไดเรกทอรีเดียวกันได้จริงๆ เช่น ทำ test บน dev ค้างไว้อยู่ แล้วงานเข้าต้องสลับไป hotfix พอดี อะไรประมาณนี้
"ก๊อปปี้" > "ก๊อบปี้"
ขอที่มาหน่อยได้มั้ยครับ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
แก้ตามนั้นครับ