จากความนิยมของการเลือกซื้อสินค้าในยุคอีคอมเมิร์ซทำให้เริ่มมีผู้ขายสินค้าผ่านช่องทางใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง แม้แต่โซเชียลเน็ตเวิร์คก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ถูกใช้ในการซื้อขายสินค้าจำนวนมาก แต่ด้วยความที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อด้านนี้โดยเฉพาะ การใช้งานจึงยังติดขัดอยู่ โดยเฉพาะการชำระเงินที่ส่วนมากยังเลือกใช้ระบบโอนเงินซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมาก
เพื่อมาแก้ปัญหานี้ บริษัท เพย์ โซลูชั่น ในเครือของอีฟราสทรัคเจอร์ (กลุ่มบริษัทตลาดดอทคอม) ออกมาเปิดตัวบริการใหม่สำหรับตอบโจทย์อีคอมเมิร์ซยุคปัจจุบันในชื่อ เพย์ โซเชียล (Pay Social) ให้คนขายสามารถสร้างบริการรับชำระเงินออนไลน์ เพื่อไปใช้กับลูกค้าได้ผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค
Pay Social เป็นระบบรับชำระเงินสำหรับผู้ขายสินค้าออนไลน์ ให้สามารถมีระบบชำระเงินที่รองรับการชำระผ่านทั้งบัตรเครดิต เดบิต รวมถึงจุดรับชำระค่าบริการต่างๆ ที่เป็นออฟไลน์ได้โดยไม่ต้องไปติดต่อกับธนาคารเพื่อวางระบบเอง ซึ่งต้องเสียค่าวางเงินมัดจำเรือนแสนเพื่อให้ได้มา อีกทั้งยังสามารถผ่อนจ่ายได้ ถัาหากมียอดชำระเกิน 3,000 บาท
หลักการทำงานของ Pay Social คือเมื่อผู้ขายสมัครใช้บริการแล้ว จะได้ลิงก์ที่เป็นตัวกลางสำหรับส่งให้ลูกค้าเข้าสู่ระบบจ่ายเงินได้ทันที (ตัวอย่าง http://pay.sn/ชื่อร้าน) ซึ่งภายในลิงก์ลูกค้าสามารถระบุสินค้าที่ต้องการพร้อมใส่จำนวนเงิน และเลือกช่องทางการชำระเงินได้ โดยมีความปลอดภัยในระดับเดียวกับธนาคารชั้นนำ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3.75% (ยกเว้นจ่ายผ่านบัตร AMEX และ PayPal จะสูงกว่าที่ 4.75%)
ตัวบริการ Pay Social เพิ่งเปิดอย่างเป็นทางวันนี้ แต่ทดลองให้บริการมากว่า 10 เดือนแล้ว ตลอดช่วงเวลาที่ทดลองมีผู้สมัครใช้ราว 1,300 ราย กว่า 1 ใน 3 ยังคงใช้งานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และมีรายการซื้อขายในระบบมากกว่า 10,000 ครั้งแล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงตัวอย่างการใช้งาน ดูได้จากท้ายข่าวครับ
สรรพคุณ Pay Social อย่างย่อ
ช่องทางการจ่ายเงินที่รองรับ (มี Bitcoin ด้วย)
ขั้นตอนการชำระเงิน
มูลค่าสินค้าเกิน 3,000 บาท ผ่อนได้
ผู้ขายเช็คยอดการชำระเงินได้ทั้งเว็บไซต์ และแอพ
ผู้ขายสามารถระบุยอดขายได้ด้วยการเพิ่มตัวเลขไปหลังลิงก์
Comments
ถ้ามีเคสเรื่องโดนดึงเงินกลับจากลูกค้า บอกไม่ได้ซื้อหรือไม่ได้รับสินค้า
เจ้าของบัตรสามารถแจ้งดึงเงินกลับภายใน 30 วันได้พวกบัตรเครดิต
คิดว่าน่ามีเคสแบบนี้บ้าง การต่อ api แบบเก่ากับแบบนี้
อันไหนน่าเลี่ยงปัญหาได้มากกว่าครับ
เอ่อ....