มีความเคลื่อนไหวเรื่องอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของประเทศเพื่อนบ้านมาฝากกันครับ
เมื่อสามวันก่อน มีเรื่องของรัฐมนตรีกระทรวง Communication and Multimedia ของมาเลเซีย Datuk Seri Dr Salleh Said แถลงว่า ประชากรมาเลเซียใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำเพราะราคาย่อมเยา ทั้งที่สปีดของบรอดแบนด์มีให้เลือกหลายสเปก แต่ 71% ของประชากรยอมจ่ายที่ความเร็ว 384Kbps ถึง 1Mbps เท่านั้น และมองว่าทางการฯ โฟกัสไปที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไปทั่วประเทศในราคาที่เอื้อมถึง ซึ่งเป็นการแย้งกลับถ้อยแถลงของ Lim Kit Siang หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน (DAP) ที่วิพากษ์ถึงระบบอินเทอร์เน็ตประเทศนี้ว่าช้าไป อัตราการเติบโตของความเร็วอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศวัดโดย Akamai อยู่ที่ 17% รั้งอันดับ 70 จากทุกประเทศบนโลก (ต่อด้านในครับ)
ที่มา - Lowyat.net, The Star
ล่าสุดวันนี้มีเรื่องราวเพิ่มเติมจาก MCMC (Malaysian Communications and Multimedia Committee) ชี้แจงหนุนคำแถลงของรัฐมนตรี ว่าที่ประชากรมาเลเซียเลือกใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำเพราะคอนเทนต์บนพื้นที่นี้ยังไม่น่าดึงดูดใจพอให้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
Apparently, Malaysians choose slower internet speeds because there is a lack of compelling content on the internet.
"การที่แอพและคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ไม่ดึงดูดใจผู้คนให้เข้ามาใช้มากพออาจเป็นปัจจัยสำคัญเทียบเท่ากับการกระจายบริการดิจิทัลให้ทั่วถึงครอบคลุมทั้งประเทศทั้งด้านการศึกษา สุขภาพ และธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์ ที่จะช่วยผลักดันความต้องการให้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น เมื่อถึงจุดนั้นผู้ให้บริการจึงเห็นโอกาสพัฒนาความเร็วและลดราคาค่าบริการลงมาได้" MCMC กล่าว
ในขณะเดียวกัน MCMC ก็กำลังหาแนวทางร่วมกับ ISP รายต่างๆ ในการปรับลดราคาบรอดแบนด์ ให้ผู้คนได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ความเร็วสูงขึ้น ในราคาถูกลง ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของหน่วยงานนี้ที่จะทำให้บรอดแบนด์ครอบคลุมพื้นที่ 95% และเร็วขึ้นในระดับ 100 Mbps ในเขตเมือง และ 50% ของเขตต่างจังหวัดได้ใช้ความเร็ว 20 Mbps ภายในปี 2020
ราคาแพคเกจบรอดแบนด์ที่ MCMC ยกตัวอย่างมา ยี่ห้อ Streamyx ซึ่งเป็น ISP แบบ fixed line รายเดียวของประเทศ ตอนนี้สปีด 30 Mbps (บวก Internet TV 8 Mbps) อยู่ที่เดือนละ 199 ริงกิต (ประมาณ 1,648 บาท) คิดเป็นเมกะบิตละ 5.25 ริงกิต (ประมาณ 43.5 บาท)
ราคาแพคเกจบรอดแบนด์ของ Streamyx
ไม่รู้ว่าสังคมที่นั่นแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร แต่ช่องคอมเมนต์ของข่าวนี้ในเว็บไซต์ Lowyat ก็ดุเดือดใช้ได้ทีเดียว
Comments
เนตมาเลแพงจริงครับ ครั้งก่อนไปซื้อซิมมาเล ได้ data 1gb ราคา 50RM ราวๆ 500 บาท ไม่ Unlimited ด้วยครับ
ซึ่งถามในร้านกาแฟ ก็บอกว่าเนตในมาเลแพงจริง ถ้าเทียบกับความเร็วที่ได้
สัญญาณไม่ดีด้วยครับ ขนาดตามแนว monorail กลางเมืองยังติดๆดับๆ
ไม่ใช่เลือกอันถูกเพราะไม่มีคอนเทนต์หรอก เกี่ยวกับเรื่องราคาล้วนๆ ถ้าลดราคาลงมาใครล่ะจะอยากใช้แบบความเร็วที่ต่ำกว่า
รู้ละ ทำไมเน็ตแพง ความเร็วต่ำ
ลองใช้ single gateway ดูครับ เผื่อราคาจะถูกลง :P
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ความคิดเห็นส่วนตัว
เอาตรงๆ ก็คือแพงไปสำหรับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ท่านรัฐมนตรีจะมาเบี่ยงประเด็นว่าคอนเทนต์ในอินเตอร์เน็ตมันไม่ดึงดูดเพื่ออะไร ศักยภาพในการจ่ายของประชากรมาเลเซียมันกระจุกอยู่ที่คนกลุ่มนึงเชื้อชาตินึงเท่านั้น แล้วคนกลุ่มนี้ยึดครองเศรษฐกิจมาเลเซียด้วย
ธุรกิจที่ผูกขาดตลาด ราคาสินค้าก็จะแพงกว่าแบบที่มีการแข่งขันกัน เป็นปกติอยู่แล้วครับ
ถึงต้นทุนจะถูกแค่ไหนเขาก็ไม่ลดราคาให้หรอก เพราะเขาถือว่าได้เป็นส่วนต่างกำไรของบริษัทไป
ราคาอาจจะแพงไปนะครับ บ้านเราถ้าเนต 5 เมก 5000 ผมก็ไม่จ่าย
ท่าไม้ตายคล้ายๆ กันของคนจากรัฐคือหาเหตุผลได้ตลอด แต่คิดที่มันฟังขึ้นหน่อยก็ไม่ได้
ผมใช้ของ Hotlink 30RM ได้ 1.5+1.5 GB ไอ้ 1.5 หลังคือใช้หลังเที่ยงคืนถึง 7 โมงเช้า ..ซึ่งปรกิติอยู่ห้อง
ที่ห้อง ใช้ Net ของ Maxis Fiber 20/20 เดือนละ 190RM อลังการตรง Upload นี่หล่ะ
เน็ตความเร็วใช้ได้แต่หลุดบ่อยไปหน่อยครับ แต่อยู่คอนโด ไวไฟตีกันกระจาย จำใจต้องไปซื้อ Router 5GHz AC
มาใหม่ตัวนึง ปัญหาหายเป็นปลิดทิ้ง แต่ Wan ก็ยังหลุดเป็นพักๆ
ราคาโดยรวมๆ แพงกว่าที่ไทยเยอะครับ
แถมผมดูคร่าวๆ เหมือนคนที่นี่เลือกของตามราคา โดยไม่รู้จริงนักครับ
มีคนใช้ เน็ตมือถือแทนเน็ตบ้านเยอะมาก เพราะขี่เกียขติดวุ่นวาย แล้วก็บ่นว่าเน็ตหมดเร็ว ดูหนังได้นิดหน่อยเน็ตก็หมดแล้ว
ราคา เน็ตบ้านสองเจ้าใหญ่เทียบกันครับ
http://www.highspeedbroadband.com.my/
ผมเป็นคนต่างชาติ โดนค่ามัดจำไป 500RM งืดมาก แต่ติดตอนนี้แถม Chromcast รุ่นแรกฟรี แถมสุดท้าย TM unifi ราคาเท่ากันปรับเป็น 30MB ให้อีก ช้ำใจสุดๆ
http://www.lowyat.net/ แถมให้ เวปบอร์ดไอทีที่ใหญ่ที่สุดของมาเลครับ เป็น Eng หมด เข้าไปสำรวจเพื่อนบ้านได้
หมายเหตุ Plaza Lowyat เป็นชื่อห้าง it ที่ใหญ่ที่สุดในกัวลาลัมเปอร์ครับ นัยว่าเหมือน Pantip
ขอบคุณที่แชร์กันครับ '')b
ผมชอบห้างนี้ครับ สะอาดไม่รกเลย เที่ยวเพลินดี
ตัวห้าง สะอาดครับ ห้องน้ำต้องจ่ายเงินแต่ก็สะอาดจริงๆ
พวกของต่างๆ มีแตกต่างจากไทยบางอย่าง เช่นพวก Mouse Keyboard มียี่ห้อที่ไทยไม่มีครับ
ถ้าทน หรือปล่อยผ่านการชวนซื้อของ แบบ Hardcore ได้ ก็เป็นห้าง IT ที่เดินง่ายดีครับ
บันไดเลื่อนอยุ่ติดๆ กัน ถ้าต้องการเดินเร็วๆ ก็ไปจุดที่ต้องการได้สะดวก
ชวนซื้อของแบบฮาร์ดคอร์นี่ใช่แบบ "โป๊ ไหมพี่" ลักษณะแบบนี้ไหมแบบเข้าจู่โจมถึงตัวกันเลย
ประสบการณ์ตอนไปเดิน Pantip ผมนี่อึ้งแล้วมองหน้า+ถามว่า "พี่เห็นผมหื่นขนาดนั้นเลยเหรอ?"
เท่าที่ผมเจอคือพวกคนจีนที่ตะโกนชวนลูกค้าเข้าร้านตู้ครับ เหมือนร้านตู้ในไทยนี่แหละครับเพียงแต่ว่าแอคทิฟกว่ามากๆ
30 MB 1600 ก็ ราคาปกติของ Fiber บ้านเรานะครับ (อาจจะแพงกว่า ในหลักร้อย)
แต่ที่พูดว่า "คอนเทนต์บนพื้นที่นี้ยังไม่น่าดึงดูดใจพอให้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง" ผมว่าไม่ใช่นะครับ
Youtube ก็ต้องการเยอะพอสมควรแล้ว ที่เป็นไปได้คงเป็นเรื่องราคา + คุณภาพ แหละครับ 555+
ทุกคนต้องการที่มันเร็วๆครับ แต่ราคาก็ต้องพอจ่ายได้ด้วย
มาเลมียูทูเบอร์เยอะนะครับ ผมตามดูผลงานพวกเขาอยู่ คนตามก็หลักแสนด้วย อ้างอย่างนี้มั่วสุดๆเลย
ติจิทัล มาเลเซีย เน็ตไม่แรงแต่ทั่วถึงสินะ
คอนเทนต์ในประเทศไม่ดีก็ได้ แต่ระดับโลกมีดีๆเยอะนะ
คือปกติผู้ใช้ก็เลือกแพกเกจต่ำสุดเป็นปกติอยู่แล้ว บ้านเราส่วนใหญ่ก็ติดแพกเกจต่ำสุดกัน
ผมว่าเข้าพูดจริงครับ content ส่วนใหญ่ในสากลโลกนี้ 70% เป็น content ด้านความบันเทิง เพื่อนบ้านเราตามหลังเราอยู่เกือบ 30 ปี ทั้งเพลง ภาพยนต์ นิยาย ดารา เมืองเขาเนี้ยแทบจะน้อยมากๆ ส่วนใหญ่ในเน็ตเขา เป็นเรื่อง BIZ กับ GOV เป็นส่วนใหญ่ครับ
ใน youtube มีคนประเทศเขาด้วย และบอกว่ามีคน follow หลักแสน แต่ขอโทษครับ ในบ้านเราเอง คลิปนักร้อง คลิปเพลง คลิปโฆษณา คนดูหลัก 20 ล้าน++ 15 ล้าน ++ หมายความว่ายังไง?
หมายความว่า content บ้านเรามันจับกลุ่มมากกว่า ในประเทศก็มีมากแล้ว ต่างประเทศก็มีมากด้วย และ coomunity ในบ้านเราก็ค่อนข้างแข็มแข็ง บาง website ในไทยถือว่าเป็น community ใหญ่ๆในเอเซีย
ลองมาดูพื้นฐานก่อน ประชากรบ้านเขาน้อยกว่าเรา 5 เท่า ประชาชนที่เข้าถึงจริงๆ มีอยู่ 30% แค่นั้น เทียบกับประเทศไทยแล้ว ประชากรเข้าถึงนี่เกือบ 60% แล้วนะครับ ถ้าเอาข้อมูลจาก operator มาดูกันยอด active จริงๆ ไม่ใช่หน่วยงานราชการที่ขอสำรวจพอไปที
บ้านเราระบบพวกนี้ไปไกลแล้วครับ ใน SEA เรารอง SG ในเอเซียเรารอง JP KR HK เท่านั้น
เปรียบเทียบผิดฝาผิดตัวนะครับ ที่ผมพูดกันนี่คือกรณีในมาเลเซีย สำหรับในมาเลฯแค่นั้นก็ถือว่าเยอะแล้วนะครับ ยอดติดตามและยอดวิวระดับแสนเนี่ย แต่มันจะไปไกลได้กว่านี้อีกถ้าเน็ตดีขึ้น ถูกลง และที่สำคัญสุดคือคนเข้าถึงได้เยอะ เพราะงานของพวกเขามีคุณภาพในระดับดีตอบโจทย์คนมาเลย์ไงครับ
เป็นรองไต้หวันด้วยครับเน็ตที่ไต้หวัน50เม็กนี่จ่าย5-6ร้อยบาทไทยเอง