ผมได้รับเชิญจากบริษัทเน็ตแอพ ประเทศไทย ให้มาร่วมงานสัมมนาใหญ่ประจำปีของบริษัท NetApp Insight 2015 ที่เมืองลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา จึงนำข้อมูลจากในงานมาฝากกันครับ
ก่อนอื่นต้องแนะนำบริษัท NetApp ก่อน เพราะคนที่ไม่ได้อยู่ในโลกไอทีองค์กร (แถมต้องเป็นสายสตอเรจด้วย) อาจไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน
จริงๆ แล้ว บริษัท NetApp ก่อตั้งมานานตั้งแต่ปี 1992 เข้าตลาดหุ้นในปี 1995 มีธุรกิจหลักคือฮาร์ดแวร์ด้านสตอเรจสำหรับลูกค้าองค์กร ถือเป็นบริษัทสตอเรจรายใหญ่รายหนึ่งของโลกไอทีฝั่งองค์กร (Blognone เคยสัมภาษณ์ คุณวีระ อารีรัตนศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย NetApp มีรายละเอียดพื้นฐานพอสมควร แนะนำให้อ่านกัน)
งานสัมมนา NetApp Insight ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของบริษัท ที่เชิญพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า จากทั่วโลกจำนวนหลายพันคนมาชุมนุมกันที่ลาสเวกัส เพื่อประกาศเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงช่วยให้ทุกคนเข้าในทิศทางที่บริษัทกำลังจะมุ่งไป
ธีมหลักของงาน NetApp Insight ประจำปี 2015 คือ Data Fabric ซึ่งผมแปลเป็นไทยว่า "ผืนข้อมูลเดียวกัน" ซึ่งก็สะท้อนทิศทางที่ NetApp ระบุว่าตัวเองกำลังมุ่งไป
ในอดีต ธุรกิจของบริษัทสตอเรจตรงไปตรงมาคือการขายฮาร์ดแวร์สตอเรจให้ลูกค้าองค์กร แต่พอมาถึงยุคของคลาวด์ การเก็บข้อมูลซับซ้อนมากขึ้น เรามีทั้ง private cloud ใช้ในองค์กร, public cloud จากผู้ให้บริการคลาวด์ในประเทศ และ hyperscale cloud บริการสุดอลังการจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง AWS, Azure, Google Cloud Platform, IBM SoftLayer
เมื่อลูกค้าไม่จำเป็นต้องซื้อสตอเรจเองอีกต่อไป หันไปเช่าคลาวด์แทนได้ คำถามคือบริษัทสตอเรจแบบ NetApp จะปรับตัวอย่างไร
คำตอบคือถึงแม้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องซื้อสตอเรจเองโดยตรง แต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้งานสตอเรจอยู่ดี ดังนั้น NetApp จึงหันมามองภาพให้กว้างขึ้นกว่าเดิม มีความยืดหยุ่นให้กับลูกค้ามากขึ้น ลูกค้าจะซื้อสตอเรจแล้วไปวางในศูนย์ข้อมูลของ cloud provider ก็ได้ หรือจะเช่าเครื่องของ cloud provider ก็ได้ ทาง NetApp มองว่าสถาปัตยกรรม Hybrid Cloud ที่ดึงพลังประมวลผลจากทั้งในและนอกองค์กร คืออนาคตของสถาปัตยกรรมพื้นฐานด้านไอที
ปัญหาที่ตามมาคือเมื่อลูกค้าองค์กรเริ่มมีงานไปรันบนคลาวด์ ควบคู่ไปกับงานเดิมที่อยู่ในศูนย์ข้อมูลของบริษัท เมื่อ "ข้อมูล" ที่เป็นหัวใจสำคัญของงานฝั่งองค์กรถูกกระจายไปอยู่หลายที่ ก็เริ่มจัดการยากขึ้นมาก เราอาจไม่รู้ว่าข้อมูลอยู่ตรงไหน หรือรู้แต่ย้ายข้อมูลระหว่างแต่ละจุดได้ยาก การทำงานจึงขาดความคล่องตัว
แนวทางแก้ปัญหาของ NetApp คือคำว่า Data Fabric หรือการจัดการข้อมูลที่กระจายกันอยู่ตามจุดต่างๆ ของโลก ให้ดูต่อเนื่องเหมือนเป็นข้อมูลผืนเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีหลายอย่างของ NetApp ร่วมกันทำงาน เช่น การย้ายข้อมูลระหว่างศูนย์ข้อมูล 2 แห่ง ถ้าย้ายที่ระดับแอพพลิเคชัน (layer 7) อาจช้าและเสีย overhead ในการส่งข้อมูลมาก ตรงนี้ถ้าใช้ระบบสตอเรจของ NetApp ทั้งสองจุด ก็สามารถย้ายข้อมูลในระดับ layer ที่ต่ำกว่า ช่วยให้การส่งข้อมูลรวดเร็วขึ้นมาก
วิดีโอแนะนำ Data Fabric
งานสัมมนา NetApp Insight ช่วงหลังจึงเน้นยุทธศาสตร์ Data Fabric อย่างจริงจัง การที่บริษัท NetApp ทำแต่สตอเรจเพียงอย่างเดียว (ต่างจาก Dell/HP ที่ทำอย่างอื่นด้วย) ทำให้สร้างพันธมิตรได้ง่ายกว่ามาก พันธมิตรใกล้ชิดของ NetApp คือ Cisco และ Microsoft แต่ก็ยังมีบริษัทอื่นๆ อีกมาก
วิสัยทัศน์ Data Fabric เริ่มประกาศเมื่อปีที่แล้ว (2014) เวลาผ่านมาหนึ่งปี มีความคืบหน้าจากฝั่งลูกค้าที่เห็นประโยชน์ของ Data Fabric จำนวนมาก
ที่ผ่านมามีผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลก (ที่ NetApp เรียกว่า Hyperscale Cloud) 3 รายที่ให้บริการเช่าใช้สตอเรจของ NetApp ได้แก่ Amazon Web Services, Microsoft Azure และ IBM SoftLayer แต่ในงานนี้ NetApp ก็ประกาศผู้เข้าร่วมรายที่สี่คือ Google Cloud Platform ทำให้ตอนนี้ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ของโลก ล้วนรองรับ NetApp กันหมดแล้ว
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ประกาศในงาน ได้แก่
FlexPod เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของ NetApp ที่เดินตามแนวทาง converged infrastructure (ฮาร์ดแวร์มาตรฐานตัวเดียว มีทุกอย่างทั้งประมวลผล สตอเรจ เน็ตเวิร์ค) ซึ่งบริษัทสตอเรจทุกรายก็มีผลิตภัณฑ์แบบนี้ แต่แนวทางของ NetApp คือจับมือกับ Cisco แบบแนบแน่นสุดๆ พัฒนา FlexPod ร่วมกัน
ในตู้ FlexPod จะประกอบด้วย
ในงานมีตัวแทนของ Cisco มาขึ้นเวทีด้วย เขาบอกว่าตอน Cisco เริ่มทำ UCS ใหม่ๆ ก็โดนคนหัวเราะเยาะเยอะ พอมาทำ FlexPod ในปี 2010 ก็มีคนปรามาสไว้เยอะเช่นกัน แต่เวลาผ่านมา 5 ปี โลกเห็นแล้วว่า Cisco กับ NetApp ทำได้
FlexPod จะพัฒนาต่อไป เริ่มนำระบบสตอเรจแบบแฟลชล้วนๆ มาใช้งาน ("เมื่อคุณใช้แฟลชแล้ว คุณจะถอยกลับไม่ได้อีก") และรองรับ OpenStack มากขึ้น
เขายังอธิบายวิสัยทัศน์ของ "การวิเคราะห์ข้อมูล" ว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่การวิเคราะห์ข้อมูล "ยุคที่สาม" จากยุคแรกที่เป็น structured data ทั่วไป เข้ามาสู่ยุคที่สอง Big Data ที่เป็นข้อมูลแบบไร้รูปแบบ (unstructured) และในอนาคตการประมวลผลผลข้อมูลจะกระจายจากจุดศูนย์กลางขององค์กร ไปยัง "ขอบ" หรือ edge ขององค์กร ซึ่งก็หมายถึงข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IoT ทั้งหลายนั่นเอง
สถาปัตยกรรม FlexPod ที่เกิดจากความร่วมมือของทั้งสองบริษัท จึงต้องปรับตัวเพื่อให้พร้อมเข้าสู่ยุค Edge/IoT ดังแผนผังในภาพครับ
ที่มา - NetApp
Comments
Azmaon => Amazon ไม่ก็ Azure ครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ขอบคุณมากๆเลยครับ แต่ใจนึงก็มึนๆนิดๆว่าเราจะพัฒนาตัวเองยังไงจากที่อยู่ตรงนี้ เหมือนจะตามไม่ทัน 555
..: เรื่อยไป
ขอบคุณค่ะ