เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (12 พฤศจิกายน) คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้ออกมาเปิดเผยว่า หลังจากเสร็จสิ้นการประมูลคลื่น 1800 MHz แล้ว คณะกรรมการ กทค. จะเรียกประชุมด่วนเพื่อเตรียมการประมูลคลื่น 900 MHz ใหม่ทั้งหมด หลังจากที่เมื่อคืนวานนี้ต้องลงมติเร่งด่วนให้ประมูลกันแบบต่อเนื่องจนกว่าจะได้ผู้ชนะ แทนการเข้ามาประมูลใหม่ในเวลา 9.00 น. ของวันนี้
สถานการณ์ล่าสุดของการประมูลคลื่น 1800 MHz หลังยืดเยื้อครบ 24 ชั่วโมง (ณ เวลา 10.45 น.) การเคาะราคาผ่านไปทั้งหมด 73 ครั้ง ราคาเสนอล่าสุดอยู่ที่ 36,608 ล้านบาท (สล็อต 1) และ 37,006 ล้านบาท (สล็อต 2) และมีมูลค่ารวมที่ 73,614 ล้านบาท สิ่งที่น่าสนใจในช่วงเช้าคือรอบที่ 62 และ 63 ไม่มีผู้เสนอราคาเข้ามาทั้งสองรอบซึ่งการประมูลควรจะสิ้นสุด ณ จุดนั้น แต่ผลปรากฎว่าในรอบที่ 63 มีคนขอใช้สิทธิ์ Waiver ทำให้การประมูลยังไม่จบลง และมาเสนอราคากันต่อในรอบที่ 64
อย่างไรก็ตาม คุณฐากรระบุต่อว่า ถึง กสทช. จะได้เงินจากการประมูลที่สูงเกินความคาดหมาย แต่ค่าบริการในการให้บริการข้อมูลขั้นสูงต้องสอดคล้องไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประกอบการต้องรับทราบตั้งแต่ก่อนเข้าประมูลแล้วครับ
ที่มา - @pakapong_report
เลขาฯกสทช. @TakornNBTC เผยเตรียมการประมูล900MHz ใหม่ หลังประมูล1800MHz เกินคาดการณ์ ย้ำไม่เปลี่ยนสถานที่ #VoiceNews pic.twitter.com/pK8Plfm2eV
— Phakaphong VoiceTV21 (@pakapong_report) November 12, 2015
เลขาฯกสทช. @TakornNBTC เผยแม้ราคาประมูล4Gจะสูง แต่ค่าบริการต้องเป็นไปตามกำหนด ผปก.ทราบล่วงหน้าก่อนประมูล #VoiceNews pic.twitter.com/af24Al6vwt
— Phakaphong VoiceTV21 (@pakapong_report) November 12, 2015
Comments
ลดเวลาประมูล จาก 15 นาทีเหลือ 5 นาทีได้มั้ย
คนคอยลุ้นนี่หลับแล้วหลับอีกเลย
+1 คนจะเคาะมันมีราคาในใจกันอยู่แล้ว
ผมว่าเค้าคงเผื่อเวลาให้คุยกันภายในแหละครับ
เคาะทีละ 3 ร้อยกว่าล้าน เลยนะครับ 555+
งบประมาณ project นึงยังไม่เยอะขนาดนี้
555+ แต่ผมว่า 15นาทีน้อยไปนะ //นึกภาพตัวเอง นั่งกดคำนวญใส่โปรแกรมอย่างบ้าคลั่งให้ทัน 5นาที พร้อมมีผู้บริหาร นั่งคะมุงคะมุง เป็นกลุ่มอยู่ด้านหลัง ว่ามึงยังไม่เสร็จอีกเรอะ เรามีเวลาคุยแค่ 10 นาทีนะ
Weiver -> Waiver
ตัดงบการตลาดมาใส่ประมูลได้เลย ได้ 4g สร้างภาพลักษณ์ผู้นำโดยมีข่าวมานำเสนอให้ฟรีแล้ว ;)
my blog
สุดท้าย จะตัดต้นทุนบริการน่ะสิครับ
คุณภาพ ห่วยแน่นอน ถ้ายิ่งแพง เพราะหารายได้คืนทุนไม่ได้ก็ต้องตัดต้นทุน มีผลต่อคุณภาพ กลายเป็นได้ใช้ของไม่ดีไป
กลัวว่าจะแบบนี้อ่ะนะ ประมูลให้ได้ก่อน ว่างั้นเถอะ
ได้ใช้ของไม่ดี โดนประชาชนร้องเรียน กสทช. ก็โดนปรับ ร้องเรียนบ่อยๆ ก็โดนยึดใบอนุญาต ไม่คุ้มเอานะครับ
แล้วค่าบริการจะแพงตามไปด้วยเปล่า
กระทู้เก่า เห็นมีเทียบระบบ
แบบสัมปทาน "จ่ายเป็นรายปี"
แบบประมูล "จ่ายงวดเดียว"
ถ้าเอาจำนวนปีมาหาร ตัวเลขที่เราเห็นว่าเยอะๆ
จริงๆ อาจจะน้อยกว่าเดิมไปมากๆเลยด้วย
แค่ลำบากในปีแรกๆ แต่ระยะยาวกำไรบานแน่ๆ
ประมูลนี่เฉพาะค่าคลื่นนะครับ พอประกอบธุรกิจจริงก็ต้องมีจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีเหมือนกัน (แต่น้อยกว่าสัมปทานมาก) และค่าคลื่นก็แบ่งจ่ายหลายงวดด้วยครับ
ราคาประมูลที่ค้างอยู่ตอนนี้ ผมบอกเลยว่า แค่นี้กระจอกครับ
ถ้าดูจาก TOT กับ AIS เรื่องคลื่น 900
ทุกปี AIS ส่งเงินให้ "ปีละ" 25,000 ล้าน
ถ้า TOT ชนะ ได้คลื่น 900 ซึ่งผมหวังว่ามันคงเป็นไปไม่ได้
สัมปทานต่อ 10 ปี TOT เอาแปะเจี๋ยอีก 30,000 ล้าน
ช่วงมีปัญหากัน TOT ก็ฟ้อง AIS จะเอาอีก 70,000 ล้าน (อันนี้เลิกฟ้องไปแล้ว เพราะงี่เง่าเกินไป)
แถมยึดเอาเคลือข่าย เอาอุปกรณ์ เอาลูกค้าของ AIS ไปด้วย
ผมว่า เผลอๆ ซัดกันถึง 45,000 - 50,000 ล้านแต่นั่นไม่ใช่ประเด็น
ถ้าเอาแบบสะใจผมเลย อยากให้ AIS ได้ 1,800 ใบนึงแล้ว ประมูล 900 ก็ได้อีกใบนึง
แล้ว TOT ไม่ได้อะไรเลย ค่อยๆ เจ๊งแบบ ขาดทุนปีละ 20,000 ล้านทุกปีไปเรื่อย ๆๆ
ผมกลัวแบบว่าสุดท้ายร้องขอให้รัฐเข้าไปอุ้ม ละนั่นมันภาษีพวกเราทั้งนั้นนะครับ
ถ้าดูจากสไตล์บิ๊กตู่ โดนจับควบรวมกับ CAT หรือไม่งั้นก็แปรสภาพกลายเป็นหน่วยงานเพื่อให้บริการเครือข่าย&การสื่อสารแก่หน่วยงานรัฐ+รัฐวิสาหกิจแทนครับ
ทำเป็นเล่นไป ผู้ใช้บริการหลัก ๆ ที่อยู่ใต้สัมปทานก็แสบใช่เล่นนะครับ แอบจับโอนย้ายลูกค้าภายในจากในสัมปทานเป็นบริษัทของตัวเองอย่างเมามัน ลูกค้า 2G เปลี่ยนไปเป็น 3G อย่าไม่รู้อิโหน่อิเหน่
เค้าว่าต้องให้ค่าบริการถูกกว่า 3G
AIS จ่ายค่าสัมปทานให้ TOT "ต่อปี" ตามภาพด้านล่าง
แต่ใบอนุญาตที่กำลังประมูลนี้มีอายุ 18 ปี ลองคำนวนดูเองว่า ต้นทุน ลดลงขนาดไหน เมื่อเทียบกับสัมปทาน พูดง่ายๆ เงินที่จ่ายค่าสัมปทานให้ TOT 2 ปี ก็เท่ากับราคาใบอนุญาต 18 ปีแล้ว
แต่ว่า Operator ยังต้องจ่าย ส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการในอัตรา 5.25% ต่อปีด้วยนะครับ (รายได้ AIS ตีกลมๆ ปีละ 1.5 แสนล้าน 5.25% = 7875 ล้านต่อปี) แต่ก็ยังน้อยมากเทียบกับสัมปทานที่คิดเรต 15-30% (ตามแต่ตกลงกัน)
สมมติประมูลได้จบที่ใบละ 50,000 ล้าน เท่ากับ ปีละ 2,777 ล้านบาท บวกที่ต้องจ่าย กสทช ต่อปี 7875 ล้าน ก็เท่ากับ 10652 ล้านบาท
ต้นทุนลดไปเป็นหมื่นล้านต่อปีทันที แลกกับมีเครื่องการันตีว่าจะทำธุรกิจไปได้นานถึง 18 ปี เพราะในอนาคตการประมูลคลื่นมันไม่แน่นอนสำหรับบ้านเราครับ กฏหมายใหม่ออกมาอาจจะมีช่องให้ไม่ต้องประมูลอย่างเดียวก็ได้
แล้วสัมปทานลงเสาไปสุดท้ายต้องยกให้รัฐหมดหลังสิ้นสุดสัมปทาน แต่ระบบใบอนุญาต (ที่กำลังประมูล) เสาเป็นของเอกชนเต็มๆ
ส่วนแรกคือ สัมปทานเก่าไม่ใด้ยกให้รัฐ แต่ยกให้ tot ต่างหาก เงินที่ใด้จากสัมปทานเก่าก็ไม่ใด้เข้ารัฐ แต่เข้า tot ถึงจะมีเงินเข้าแบบนี้ แต่ tot ก็ยังทำให้ขาดทุนใด้เรื่อยมา ...
ส่วนถัดมาการที่ลงเสาไปแล้วสุดท้ายต้องยกเครื่องมือและลูกค้าให้ tot หมด ทำให้ไม่มีใครมั้นใจ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาประมูลในครั้งแรกต่ำแบบที่เห็น
ส่วนสุดท้ายคือค่าโทร์และค่าเน็ตที่มีเพดานต่ำลง แม้จะไม่ถึง 15 แต่ก็ไม่ใด้มีการเอามารวมคิดด้วย
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เพิ่งตื่นมาตอนเที่ยง จบยังเนี่ย
พักยกครับ ในห้องไม่ไหวแล้ว
ลุยต่อบ่ายสองครึ่ง ประกาศบ่าย 2 45 ครับ
จริง ๆ ต้องคิดถึงเรื่อง ประสิทธิภาพการใช้งานความถี่ด้วยนะครับ
ราคาค่าบริการคิดตามปริมาณ Data Transfer
ถ้าคลื่นความถี่ 4G นี้ทำประสิทธิภาพได้ดีกว่า 3G ที่ประมูลไป ก็แปลว่าต้นทุนเกี่ยวกับการใช้งานความถี่จะลดลงไปได้เหมือนกันครับ
ใช่ครับ spectrum efficientcy เพิ่มขึ้นอย่างมาก ต้นทุนลดลงไปเยอะเลย เมื่อเทียบกับ 3G
แล้วสุดท้ายจริง ๆ ผมว่าสองค่ายที่ได้ไปอาจจะตกลงใช้เสาสัญญาณร่วมกัน ก็ลดต้นทุนไปได้อีกนะครับ
จากรูปนี้ สงสัยว่า หลักจาก 10 ปีไป ทั้ง CAT และ TOT ถ้ายังอยากมีความถื่ของตัวเองก็ต้องมาประมูลแข่งกับเอกชน ถูกไหมครับ
ถ้าตามกฎหมาย กสทช. ก็เป็นอย่างนั้นล่ะครับ คลื่นเป็นของแผ่นดิน กสทช. มีหน้าที่จัดสรรคลื่นให้ใช้งาน
ถ้าไปถาม TOT/CAT ก็จะได้อีกคำตอบนึง
5555555