Twitter เปิดประมูลของหลายร้อยชิ้นจากออฟฟิศในซานฟรานซิสโก ซึ่งมีทั้งของตกแต่งอย่างรูปปั้นโลโก้นกสีฟ้าของ Twitter ขนาดใหญ่ ทั้งรูปปั้นสัญลักษณ์ @ และเฟอร์นิเจอร์พร้อมอุปกรณ์เครื่องใช้ทั่วไปอย่างอุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์ในครัวอย่างตู้แช่เย็น เครื่องทำกาแฟ โดยจะเปิดประมูลในเดือนหน้าผ่านทางบริษัท Heritage Global ที่เขียนบรรยายภาพสิ่งของว่าเป็น “ทรัพย์สินองค์กรส่วนเกินของ Twitter”
การนำของมาเปิดประมูลสืบเนื่องมาจากนโยบาย Twitter 2.0 ของ Elon Musk ที่บอกว่าจะมีวัฒนธรรมการทำงานแบบฮาร์ดคอร์ เพราะจากของที่นำมาประมูลดูเหมือนว่าจะเป็นของในโซนพักผ่อนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบอกเป็นนัยว่าพนักงานจะต้องทำงานมากขึ้น และมีเวลาพักและพูดคุยกันน้อยลง
ต้นแบบเครื่อง Apple-1 หรือก็คือต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่บริษัท Apple สร้างขึ้นเมื่อปี 1976 ได้ถูกประมูลไปแล้วด้วยราคา 677,196 เหรียญ หลังปิดการประมูลไปเมื่อวันที ่18 สิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ผู้ชนะการประมูลคือนักสะสมใน San Francisco ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม
ต้นแบบ Apple-1 เครื่องนี้กล่าวกันว่าเป็นของ Steve Jobs และมันคือเครื่องที่ถูกนำไปสาธิตให้ Paul Terrell เจ้าของร้าน Byte Shop ดู ก่อนที่ในเวลาต่อมา Byte Shop จะตกลงสั่งซื้อเครื่อง Apple-1 ไปวางขายที่ร้านเป็นเจ้าแรกจำนวน 50 เครื่องในราคาเครื่องละ 500 เหรียญ
ConstitutionDAO กลุ่มชาวคริปโตที่รวมตัวกันเฉพาะกิจ และระดมเงินบนเชน Ethereum ได้กว่า 40 ล้านดอลลาร์ เพื่อประมูลหนึ่งในกระดาษพิมพ์ต้นฉบับของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกากับ Sotheby’s เกิดปัญหาหลังแพ้การประมูลจนต้องเตรียมปิดตัวลง แต่การจัดคืนเงินทำได้ลำบาก เนื่องจากค่าแก๊ส หรือค่าบริการที่ผู้ใช้ต้องจ่ายเพื่อโอนเงินบนเชน Ethereum นั้นแพงมาก
RR Auction บริษัทประมูลในบอสตัน เตรียมประมูลสินค้าประวัติศาสตร์ของ Apple หลายรายการ ตั้งแต่เครื่อง Apple-1 จากคอลเล็กชั่นของนักสะสม Roger Wagner ที่ถูกซ่อมจนใช้งานได้โดย Corey Cohen ผู้เชี่ยวชาญ Apple-1 และได้คะแนนความสมบูรณ์ 7/10 คะแนน
Apple-1 เครื่องนี้มาพร้อมคีย์บอร์ดออริจินัล คู่มือ 11 หน้าพร้อมลายเซ็น Ronald Wayne ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple Computer เครื่องอ่านเทปแคสเซ็ตต์ (Cassette Interface), เทปแคสเซ็ตต์, เครื่องเล่นและอัดเทปแคสเซ็ตต์ของ Panasonic คีย์บอร์ด Apple II และอื่นๆ
ตลาดนักสะสมเกมเก่า เป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีนักสะสมเงินหนา พร้อมทุ่มเงินให้กับของที่ตัวเองต้องการในระดับราคาหลายล้านบาท หลังก่อนหน้านี้เครื่อง Wii ทองคำที่ THQ พยายามส่งให้พระราชินีอังกฤษ ถูกนำมาขายใน eBay ในราคา 300,000 ดอลลาร์ หรือราว 9.8 ล้านบาท (แม้ยังขายไม่ออก)
เราเห็น AIS แถลงหลังการประมูลว่ามีคลื่นเยอะที่สุดในไทย รวมกัน 1420MHz ทิ้งห่างอันดับสองเกือบ 1.5 เท่า ฝั่งของ True ที่แถลงข่าวทีหลัง ก็โต้กลับด้วยการชูประเด็นว่ามีย่านความถี่เยอะกว่าคือ 7 ย่านความถี่ (band) ในขณะที่คู่แข่งทั้ง AIS และ dtac มีกันคนละ 6 ย่านความถี่
ย่านความถี่ที่ True มีคลื่นใช้งานในปัจจุบัน (วิธีการนับของ True นับรวมคลื่นจากพาร์ทเนอร์ด้วย) ได้แก่
ช่วงเช้าวันนี้ AIS และ dtac เข้าไปจ่ายเงินค่าคลื่น 5G งวดแรกกับสำนักงาน กสทช. แล้ว
ส่วนช่วงบ่าย AIS ยังประกาศกดสวิทช์เปิดบริการ 5G คลื่น 2600MHz ทันทีในบางพื้นที่ของกรุงเทพ และ 5 เมืองทั่วไทยคือ เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา ชลบุรี นครปฐม เพื่อชิงกระแสการเป็นเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์รายแรกในไทย
จากการประมูลคลื่นย่าน 5G ของ กสทช. เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วันนี้ AIS แถลงข่าวสรุปความสำเร็จจากการประมูล (AIS ได้คลื่นครบทั้ง 3 ย่าน เยอะที่สุดในบรรดาผู้เข้าร่วมประมูลทั้งหมด)
ประเด็นหลักที่ AIS นำเสนอคือ AIS เป็นโอเปอเรเตอร์ที่ถือครองคลื่นความถี่ 4G+5G เยอะที่สุดในไทย คือคลื่นทั้งหมดมีความกว้างคลื่นรวมกันถึง 1420MHz (ในจำนวนนี้มาจากคลื่นย่าน 26GHz ที่เพิ่งประมูลมาได้ 1200MHz (AIS เรียกคลื่นก้อนนี้ว่าเป็น Super Block ขนาด 400MHz จำนวน 3 ก้อน) โดยจำนวนนี้ยังไม่รวมคลื่นที่จับมือร่วมกับพาร์ทเนอร์ (เช่น TOT)
ในการประมูลคลื่นย่าน 5G ของ กสทช. เมื่อวานนี้ เราเห็นโอเปอเรเตอร์ที่คุ้นชื่อกันดีทั้ง AIS, dtac, True เข้าประมูลและได้คลื่นกันไปตามความคาดหมาย
สิ่งที่เป็นของใหม่ในการประมูลรอบนี้คือ รัฐวิสาหกิจทั้ง CAT และ TOT (ที่อยู่ระหว่างการควบรวมกันตามมติ ครม.) ต่างก็เข้าประมูลและได้คลื่นติดมือกลับไปเช่นกัน (CAT ชนะประมูลย่าน 700MHz จำนวน 10MHz ส่วน TOT ได้ 26GHz)
กสทช. แถลงรายละเอียดของผลการประมูลคลื่นความถี่ 700MHz, 2600MHz และ 26GHz หรือที่เรียกรวมกันว่าประมูลคลื่น 5G ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้
โดยผลการประมูลคลื่น 700MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต กสท โทรคมนาคม (CAT) ได้ 2 ชุด และ แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ (AIS) ได้ 1 ชุด ราคาใบอนุญาตละ 17,153 ล้านบาท
ส่วนคลื่น 2600MHz จำนวน 19 ใบอนุญาต ราคาใบละ 1,956 ล้านบาท นั้น AIS ได้ 10 ชุด และ ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล (TrueMove H) ได้ 9 ชุด
จบลงไปเรียบร้อยสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 5G ชุดสุดท้ายคือคลื่นความถี่ 26GHz ที่มีทั้งหมด 27 ใบอนุญาต เสนอได้สูงสุดรายละ 12 ชุด มีผู้ร่วมประมูลทั้งหมด 4 ราย ได้แก่ ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล (TrueMove H), แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ (AIS), ทีโอที (TOT) และ ดีแทค ไตรเน็ต (dtac)
โดยหลังผ่านการเคาะราคาไปเพียงรอบที่ 1 การประมูลก็จบลงทันที เนื่องจากมีการเสนอเข้ามารวมทั้งหมด 26 ชุด ไม่ครบจำนวนที่จัดสรร ทำให้มูลค่าใบอนุญาตอยู่ที่ใบละ 445 ล้านบาท
ทั้งนี้กสทช. จะประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลทั้งคลื่น 700MHz, 2600MHz และ 26GHz ในลำดับถัดไป
การประมูล 5G ในช่วงที่สอง เป็นการประมูลคลื่นความถี่ 2600MHz ซึ่งมีจำนวน 19 ใบอนุญาต ผู้ร่วมประมูลแต่ละรายเสนอได้สูงสุด 10 ชุด ได้จบลงแล้ว หลังผ่านไปเพียง 2 รอบ โดยราคาต่อใบอนุญาตจบลงที่ใบละ 1,956 ล้านบาท
ผู้เข้าร่วมประมูล 2600MHz รอบนี้ ประกอบด้วย ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล (TrueMove H), แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ (AIS) และ กสท โทรคมนาคม (CAT) รวม 3 ราย
ทั้งนี้ในการประมูลรอบแรก มีผู้เสนอรวม 25 ชุด แต่ในรอบที่สอง จำนวนเสนอรวมได้ลดลงมาที่ 19 ใบอนุญาตพอดี จึงเป็นอันยุติการประมูล
กสทช. ได้จัดการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700MHz, 2600MHz และ 26GHz ในวันนี้ โดยเริ่มต้นที่การประมูล 700MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบละ 2x5MHz มีผู้ร่วมประมูลคือ ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล (TrueMove H), แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ (AIS) และ กสท โทรคมนาคม (CAT)
โดยการประมูล 700MHz ได้จบลงไปแล้วหลังผ่านไป 20 รอบ จากราคาเริ่มต้นที่ใบละ 8,792 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 440 ล้านบาท จบลงที่ราคาใบอนุญาตละ 17,153 ล้านบาท
ทั้งนี้ในการเสนอความต้องการรอบแรก มีการเสนอเข้ามารวมทั้งหมด 6 ใบอนุญาต จาก 3 ผู้ประมูล จึงชัดเจนว่ามีผู้ร่วมประมูลบางรายที่ต้องการมากกว่า 1 ใบอนุญาต อย่างไรก็ตาม กสทช. จะประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลหลังสิ้นสุดการประมูลครบทั้ง 3 คลื่นความถี่
กสทช. สรุปข้อมูลผู้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700MHz, 1800MHz, 2600MHz และ 26GHz ซึ่งเรียกรวมกันว่าเป็นการประมูล 5G โดยมีผู้มายื่นทั้งหมด 5 ราย ได้แก่ (1) บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (2) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (3) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (4) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ (5) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด
คลื่นความถี่ที่นำออกมาประมูลครั้งนี้ ประกอบด้วย คลื่น 700MHz 3 ใบอนุญาต, 1800MHz 7 ใบอนุญาต, 2600MHz 19 ใบอนุญาต และ 26GHz 27 ใบอนุญาต
นายชารัด เมห์โรทรา ซีอีโอคนใหม่ของ dtac ที่เพิ่งมารับตำแหน่งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เข้ายื่นเอกสารกับ กสทช. เพื่อประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคม (multiband auction) หรือที่เราเรียกว่าความถี่ 5G ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้
การยื่นเอกสารครั้งนี้ช่วยสร้างความมั่นใจว่า dtac จะเข้าร่วมประมูล หลังมีข่าวออกมาว่านางอเล็กซานดรา ไรช์ อดีตซีอีโอที่เพิ่งลาออกจากตำแหน่ง มีปัญหากับบอร์ดของ dtac เพราะนางอเล็กซานดราอยากให้ dtac เข้าร่วมประมูล ในขณะที่บอร์ดมองว่าราคาประมูลแพงเกินไป
กสทช. ประกาศวันที่ประมูลคลื่นสำหรับ 5G เป็นวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ ประกอบไปด้วยคลื่นย่าน 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz และ 26 GHz รวมทั้งหมด 56 ใบอนุญาต มูลค่า 1.6 แสนล้านบาท
เบื้องต้น กสทช.คาดการณ์รายได้จากการประมูลครั้งนี้อยู่ที่ราว 5.46 หมื่นล้านบาทจากผู้เข้าประมูล 5 รายคือ AIS, dtac, True, TOT และ CAT Telecom
ที่มา - eFinanceThai
กูเกิลประกาศผลผู้ชนะการประมูล เพื่อให้แสดงผลสำหรับเป็นตัวเลือกเสิร์ชเอนจินค่าเริ่มต้น (default) ใน Android ที่เปิดใช้งานในยุโรป เพื่อแก้ปัญหาหลังถูกตัดสินจากสหภาพยุโรปว่าผูกขาดที่กำหนดกูเกิลเป็นเสิร์ชพื้นฐาน กูเกิลจึงต้องแก้เกมโดยหารายได้ทางนี้เสียเลย
ช่วงนี้ กสทช. เริ่มเดินหน้าเตรียมการประมูลคลื่นสำหรับยุค 5G โดยมีแผนนำคลื่น 4 ย่านความถี่ออกมาประมูล ได้แก่ 700 MHz, 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563
นายมาร์คุส แอดอัคทูสเซ่น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร ของ dtac ออกมาเสนอประเด็นว่า กสทช. ควรนำคลื่นย่าน 3500 MHz ออกมาร่วมประมูลด้วย เพราะในทางเทคนิค คลื่นความถี่ย่าน 2600 และ 3500 MHz มีคุณสมบัติที่ทดแทนกันได้ และในหลักปฏิบัติสากล จะมีการนำคลื่นย่านความถี่กลาง (Mid-band) ทั้งสองย่านดังกล่าวมาจัดสรรพร้อมกัน เพื่อป้องกันในกรณีที่เผชิญความขาดแคลนของจำนวนคลื่น
ท่ามกลางการประมูลคลื่น 700Mhz ที่ใกล้เข้ามา รวมถึงคลื่นความถี่สำหรับ 5G ในอนาคต GSMA หรือสมาคม GSM ได้ออกเอกสาร "แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการประมูล" ก่อนการประมูลคลื่นในไทย รวมถึงเตือนด้วยว่า การจัดประมูลคลื่นความถี่ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภคโดยตรง
เอกสารข้างต้นได้แสดงข้อกังวลหลักๆ หลายข้อจากการประมูล 4G และ 5G ทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาจากการที่รัฐบาลต่างๆ บีบให้ราคาคลื่นความถี่สูงขึ้น หรือการตั้งราคาเริ่มต้นการประมูลที่สูงมาก สร้างความเสี่ยงในการจำกัดการลงทุนเพื่อขยายเครือข่ายในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภค การจำกัดจำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการสามารถมีได้ด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งสัดส่วน การคัดเลือกกลุ่มคลื่นความถี่สำหรับการประมูลที่ไม่เหมาะสม
หลังจากที่ดีแทคประกาศจะเข้าร่วมประมูลคลื่น 900MHz ในวันนี้ (วันที่ 28 ตุลาคม 2561) ซึ่งเป็นวันประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ตามที่ทางกสทช.เคยแถลงไปแล้วนั้น ทางผู้บริหารดีแทคได้เดินทางมาประมูลตามที่ได้เคยแถลงไว้
การประมูลเริ่มต้นขึ้นในเวลา 09.45 น. โดยดีแทคเคาะเพิ่มเพียง 1 ครั้ง จากราคาที่กสทช.กำหนดไว้ที่ราคา 37,988 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 76 ล้านบาท สิ้นสุดที่ราคา 38,064 ล้านบาท การประมูลสิ้นสุดเวลา 10.40 น. ทำให้ดีแทคคว้าคลื่น 900MHz ในประมูลครั้งนี้ไปครองในที่สุด
ครบกำหนด 1 สัปดาห์ หลังจากไม่มีผู้ยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz รอบใหม่ ทำให้ กสทช. ต้องขยายเวลารับเอกสารออกไปอีก 1 สัปดาห์ จากที่ก่อนหน้านี้ ทรู และเอไอเอส ประกาศไม่เข้าร่วม ทำให้ดีแทคที่เหลือเพียงรายเดียว และประกาศก่อนหน้านี้ว่าขอเวลาตัดสินใจ ซึ่งวันนี้ก็มาถึงกำหนดวันยื่นคำขอแล้ว
ดีแทคแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทฯ จะทำการยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมประมูลและเพื่อขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900MHz ต่อสำนักงาน กสทช. ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2561)
คณะกรรมการบริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค มีมติหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาว่า บริษัทจะเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28 ตุลาคมนี้
เนื่องจากวันพรุ่งนี้ (9 ตุลาคม 2561) เป็นวันกำหนดยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz รอบใหม่ ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายเริ่มออกมาแถลงข้อสรุปว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ โดยล่าสุด ทรู คอร์ปอเรชั่น ก็ได้ชี้แจงผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วว่า บริษัทจะไม่เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz นี้
ทั้งนี้ ทรูไม่ได้ชี้แจงสาเหตุที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูล แบบที่เอไอเอสอธิบาย ตอนนี้ก็เหลือดีแทคว่าจะมีข้อสรุปอย่างไรออกมา
กรณีมีผู้ยื่นเข้าร่วมการประมูล 1 ราย หรือไม่มี กสทช. จะขยายระยะเวลาออกไปอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ ทำให้กำหนดวันประมูลจะเลื่อนออกไปเป็น 28 ตุลาคม 2561
เอไอเอสได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช้าวันนี้ ว่าตามที่ กสทช. ได้จัดประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่ ซึ่งกำหนดการประมูลในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ บริษัทได้ตัดสินใจจะไม่เข้าร่วมการประมูลดังกล่าว
คำอธิบายของเอไอเอสคือ เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไข รวมถึงราคาของการประมูลในครั้งนี้ โดยมีการประเมินความคุ้มค่าทางการเงินและการลงทุน ประกอบกับการคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับเป็นสำคัญ เมื่อพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลแลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แล้วนั้น จึงตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูล
หลังจากไม่มีโอเปอเรเตอร์รายใดเข้าประมูลคลื่นย่าน 900MHz ที่ กสทช. จัดประมูลเมื่อเดือนสิงหาคม
เมื่อวานนี้ (19 ก.ย.) บอร์ด กสทช. ได้อนุมัติร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่ และประกาศวันที่จัดประมูลคือวันที่ 20 ตุลาคมนี้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในการประมูลรอบใหม่คือ