ในอดีต SSD หรือ Solid-State Drive มีราคาแพงมาก และราคาเพิ่งลดลงมาอยู่ในระดับที่จับต้องได้เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว แต่ก็ยังถือว่าราคาต่อ GB ยังสูงมากเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ ขณะนี้มีรายงานออกมาว่าแนวโน้มราคาของ SSD กับฮาร์ดดิสก์กำลังเข้าใกล้กันแล้ว
ในปี 2012 ราคาเฉลี่ยของพื้นที่ 1GB ของ SSD อยู่ที่ 99 เซ็นต์ ในขณะที่ของฮาร์ดดิสก์อยู่ที่เพียง 9 เซ็นต์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาดังกล่าวในฝั่ง SSD กำลังลดลงอย่างมาก โดยในฝั่งฮาร์ดดิสก์แทบไม่ขยับเลย ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2017 ราคาต่อ GB ของ SSD จะอยู่ที่ 17 เซ็นต์ และของฮาร์ดดิสก์จะอยู่ที่ 6 เซ็นต์ โดยไม่ลดลงเลยตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป นี่หมายความว่า SSD ขนาด 1TB จะมีราคาเฉลี่ยราว 170 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6000 บาทเท่านั้น
แนวโน้มราคาต่อ GB ของ SSD และฮาร์ดดิสก์ || รูปจาก DRAMeXchange
นอกจากนี้ อัตราส่วนที่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจะใส่ SSD เข้ามาในผลิตภัณฑ์ของตนก็กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อปีที่แล้วโน้ตบุ๊ก 21% ของทั้งโลกมี SSD และคาดว่าในปี 2017 อัตราส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 42% และในทางกลับกัน เมื่อปี 2012 โน้ตบุ๊ก 79% มีฮาร์ดดิสก์ติดตั้งอยู่ แต่คาดว่าจะเหลือเพียง 59% เท่านั้นในปี 2017
แนวโน้มอัตราส่วนที่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจะใส่ SSD และฮาร์ดดิสก์เข้ามาในผลิตภัณฑ์ของตน
เทคโนโลยีแฟลชที่นำมาใส่ใน SSD ยังคงพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยต่อไปความจุจะมากขึ้น ทำงานเร็วขึ้น กินไฟน้อยลง และเมื่อดีมานด์มากขึ้นราคาก็จะลดลง อีกทั้งขณะนี้ผู้ผลิตจากจีนก็เข้ามาเล่นตลาดนี้กันมากขึ้นเยอะ
หากใครได้ลองใช้ SSD แล้ว คงจะเห็นตรงกันว่ามันเป็นสิ่งที่ "ขาดไม่ได้" ไปซะแล้ว
ที่มา - Computerworld
Comments
ขอสอบถามหน่อยครับ ว่าระหว่างเอาHarddiskมาโหลดบิท กับSSDมาโหลดบิท อะไรจะอายุสั้นกว่ากันครับ?
เหมือนจากที่อ่านมาถ้าเอาSSDมาโหลดบิทนี่พังเน้นๆ มันมีวิธีแก้บ้างรึเปล่าครับ?
ใช้ HDD ปกติดีกว่าครับ เพราะว่าตัวชิบ SSD มีรอบการเขียนข้อมูลที่จำกัดและน้อยกว่า HDD ทั่วไปมาก และความจุของ SSD ยังน้อยอยู่เมื่อเทียบกับ HDD ทั่วไป
ถ้าจะเน้นเก็บข้อมูลต้อง HDD แต่ถ้าจะเน้นการใช้งานที่เร็วก็ต้อง SSD ครับ
Get ready to work from now on.
คำถามคือทำไมต้องเอา SSD มาโหลดบิทครับ มันไม่ได้ต้องการความเร็วระดับนั้น เว้นเสียแต่อินเทอร์เน็ตคุณเร็วเกินความเร็วในการเขียนของฮาร์ดดิสก์น่ะนะ
แต่ถ้าจะตอบคำถามนี้ผมก็ว่า SSD คงพังเร็วครับ มันมีอายุการเขียน/อ่านของมันอยู่ ซึ่งน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
อาจเพราะมีโน้ตบุ๊คอยู่เครื่องเดียวก็ได้นะครับ
ใช่เลยครับ
ผมมีแค่ NB เครื่องเดียว ตอนนี้
แล้วโหลดบิทบ้าง มีไดรฟ์เดียว SSD ออนบอร์ดด้วย
แนะนำให้หา External HDD มาใช้ก็น่าจะดีครับ หรือหา HDD 2.5" ใส่ Enclosure ก็น่าจะได้นะครับ
Get ready to work from now on.
SD Card ก็พอครับ ผมซื้อ 16GB แล้วก็ตั้งให้ย้ายไฟลลง hdd เมื่อ bit เสร็จ
ที่มันทำร้าย hdd ค่อนข้างมากเพราะมันไม่ใด้เขียนและอ่านไฟลเป็นก้อนๆ แต่เป็นการเขียนและอ่านแบบ random ทำให้อายุการไช้งานของ hdd ลดลง (คำสั่ง seek เยอะ เลยทำให้ hdd หมุนหานาน)
แต่ ssd ไม่มีปัญหาตรงนี้ (คำสั่ง seek มีผลกับ ssd น้อย)
ความจริง bit torrent บน ssd มันมีค่าเท่ากับเขียนไฟลครั้งเดียว ไม่น่ากระทบอายุการไช้งานของ ssd มากนะครับ เพราะการเขียนเท่านั้นที่กระทบอายุการไช้งานของ ssd ที่จะมีปัญหาคือการตั้งให้ไช้ ntfs compression ที่ทำให้เกิดการเขียนไฟลหลายรอบ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ไอเดีย ดีเลิศ ครับ ขอนำไปใช้
อันนี้เป็นความจริงแค่ครึ่งเดียวนะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เรื่องเกี่ยวกับมาตรการการถนอม hdd ที่นิยมไช้กันอยู่เป็นเรื่องที่ผมรู้อยู่แล้วครับ ... ถึงอย่างนั้นเรื่อง ssd โดนผลกระทบน้อยกว่าก็ยังจริงอยู่ดี
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
มันไม่ใช่มาตรการถนอม HDD อะไรเลยครับ เพราะ HDD ไม่มีผลจากการอ่านเขียนแบบ random อยู่แล้ว (อ่าน/เขียน มันเป็น magnetic ไม่ได้ใช้การสัมผัส) สิ่งที่ทำให้ harddisk พังคืออุบัติเหตุที่หัวอ่านดันไปสัมผัสผิวหน้า platter ทำให้เกิดเป็นรอยขูดขีดขึ้นมา หรือระบบไฟฟ้ากับตัวชิพต่างๆขัดข้อง
สิ่งที่มีผลจากการอ่านเขียนคือถ้า HDD ทำงาน มันจะต้องหมุนตลอดเวลา (ไม่เกี่ยวว่าจะ sequential หรือ random) ซึ่งใน drive ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานตลอดเวลา เช่น WD Green หรือ external drive การทำให้ HDD ทำงาน(หมุน)โดยไม่ได้ idle เลยเป็นการเพิ่ม wear level ให้กับมันและทำให้มันเสื่อมเร็วขึ้นครับ
นอกจากนี้ใน external ยังเสี่ยงจากระบบไฟไม่เสถียร(รั่ว/ตก) แรงสั่นสะเทือน(shock)ที่มากกว่า internal drive(ลดได้โดยการใส่ซองฟองน้ำที่แถมมาด้วย)
สรุปประเด็นคือ
ไม่จริงครับ อันนี้คุณต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า SSD ไม่ได้ทำงานแบบ bit by bit แต่มันประกอบไปด้วย pages และ block(of pages) การเขียนข้อมูลจะต้องเขียนพร้อมกันทั้ง page และการลบข้อมูลจะต้องลบทั้ง block
เห็นปัญหาของ SSD กับ random write หรือยังครับ?
ทีนี้ลองดูข้อ 2-8 นะครับ หากเราตัดว่า torrent เป็นแบบ pure-random และไม่มีระบบ cache อะไรเลยจะเกิดอะไรขึ้น (คิดแค่ 2 piece นะ)
ซึ่งถ้านับดูแล้วตัว cache เนี่ย SSD ได้อานิสงค์มากกว่า HDD เยอะครับ cache สำหรับ HDD ก็แค่กันคอขวดจาก seek time เพื่อเพิ่มความเร็จและไม่ให้เกิด overload แค่นั้น
ผมว่าคุณไม่รู้ตั้งแต่ใช้คำว่าถนอม HDD แทนที่จะเป็นถนอม SSD แล้วหล่ะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เดี่ยวนะ ... read/write เดี่ยวนี้ไม่ต้องหมุนจาน hdd แล้วเหรอ อ่านไปอ่านมา hdd ไม่มี cache บน os เสียอีก
แล้ว random read/write ทำให้เกิด seek บ่อยกว่า หรือทำให้จาน hdd หมุนนานขึ้นก็ถูกแล้วนิ
แล้วอะไรเนี่ย
HDD หมุนที่ความเร็วสูงสุดเป็นปกติอยู่แล้ว การอ่านและเขียนแบบ random ก็แค่เพิ่มระยะเวลา seek ของ HDD ครับ ไม่ได้ทำให้ HDD อายุการใช้งานลดลง และไม่ต่างอะไรกับการเกิด fragmentation ของ HDD
...
HDD wear level ไม่ได้เกิดจากการ random read/write แต่เกิดจากการหมุนโดยไม่ได้พัก(idle) และปัจจัยอื่นๆ
สรุปว่าจะเปิดตำราเล่มใหน spin up / spin down ตามความเหมาะสม กับ spin up ตลอดเวลา
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
read/write มันต้องหมุนครับ แต่มันก็หมุนเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวว่าจะ random หรือไม่ random เข้าใจไหมครับ? seek หรือไม่ seek HDD มันก็หมุนด้วยความเร็วสูงสุดตลอดเวลาอยู่แล้วจนกว่าคุณจะเลิกใช้มันเป็นระยะเวลาหนึ่งๆนั่นแหละแล้วแต่รุ่น เช่น 10 นาที หรือ 3 นาที
spin up spin down มันก็แค่ spin เพิ่อเข้า/ออก idle(stand by) ครับ ไม่ได้เกี่ยวกับ random หรือไม่ random อะไรเลย
อันนี้คุณไปหาหลักฐานมาดีกว่า ว่าทำไม HDD random read/write แล้วจะเสียเร็ว เมื่อ'เทียบ'กับ SSD random read/write แล้วเป็นยังไง 'ขอเป็น link มาเลยนะครับ' อย่าคิดเองเออเอง
ถ้าหามาไม่ได้ ก็ลองอธิบายเหตุผลมาครับ ว่า random read/write ต่างจาก sequential read/write ยังไงบน HDD ทำให้เกิด wear level ต่างกันได้ยังไง อยากหาข้อมูลไหมครับ? ผมทำ link ให้
ผมจะ'เห็นด้วย'กับคุณ ถ้าคำพูดของคุณกล่าวว่า
ไม่ใช่คำพูดที่ว่า
มันคนละเรื่องกันครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
Notebook ของผมเป็นลูกผสม ระหว่าง ssd120+hdd320 ทุกวันนี้ก็ใช้โหลดบิตตลอดครับ ผมเน้น performance โดยรวมมากกว่า ถ้ามันใกล้จะพังก็เปลี่ยนใหม่ แค่ขยัน backup ก็คงพอ
เพิ่มเติมเล็กน้อย
ผมเคยใช้ Ext HDD เสียบ USB คาไว้โหลดบิทแล้วครับ
มันก็อยู่ไม่ค่อยยืดนะครับ หลังๆ เอ๋อๆ มากเลย
คิดว่าเพราะมันเป็น External เลยมีโอกาสที่จะอยู่ไม่นิ่งด้วย
ส่วน SD Card นี่เป็นทางเลือกที่ดีครับ (ลืมไปเลย)
ส่วน SSD ตอนนี้ยังอยู่ดีครับ เพราะไม่ได้โหลดบ่อย หรือโหลดจริงจัง
ค่อนข้างมั่นใจว่า SSD คุณภาพดีด้วย
เป็น Onboard ของ VAIO (มันถอดเปลี่ยนไม่ได้)
โหลดไปเถอะครับ 3ปีไม่พังหรอกเน็ตบ้าน
ผมกลัวว่าเค้าจะเอาไปใส่ในเครื่องที่วาง co-location น่ะดิครับ ถ้าแบบนั้น ปีเดียวพังแน่ๆ
เอาจริงๆถ้าใช้เองคนเดียวจะมีอะไรให้โหลดขนาดไหนครับ เอา 64 ไปใช้วางก็คงไม่น่ามีใครทำ
ที่ว่าพังเร็วกลัวๆกันนี่รุ่นถูกๆในตลาด cell มันเขียนได้ไม่ใช่หลักพันนิดๆนะครับ ถ้าไม่เอาไปเบิร์นเล่นหรือให้บริการคนเช่าจริงจังแล้วบ้าโหลด+ขับรถไปดูดมาตลอดมันไม่น่าพังได้ใน2-3 ปีหรอกครับ ผมก็ใช้มาตั้งแต่สมัย 4-5 ปีก่อนหลายอันอยู่ ไม่นับพวกมีบัคชิปตอนนั้นยังไม่พังซักอันเลยครับ กลัวกันเว่อไป
ผมพูดในภาพรวม ถ้าใช้คนเดียวก็แล้วแต่สะดวกครับ
แต่ที่ไปวาง co-location มักไม่ได้ใช้ส่วนตัวนี่ดิ แถมที่เอาไปใช้ใน data center ผมพังไปหลายตัวแหละ หลายยี่ห้อ Intel ที่ว่าทนๆ ก็พังมาแล้ว หรือ OCZ นี่ก็พังเยอะเหมือนกัน
เราไม่สามารถบอกได้หรอกว่ามันจะพังเมื่อไหร่ กลัวกันไปก็ไม่แปลก ข้อมูลทั้งนั้น คนแนะนำก็แนะนำไป คนที่ได้รับผลกระทบก็รับผิดชอบตัวเองไป คนแนะนำก็ไม่ได้รับผิดชอบด้วยนิครับ
ถ้าจริงจังจานหมุนก็พังครับ ผมวางใช้กันเองกับเพื่อน 2-3 คน สมัยเรียนมหาลัย วันแรกๆ ใส่ HDD ไปหลายลูกอยู่ไม่รู้เรื่องปล่อยวิ่งเต็มตลอดท่อมันเกินความเร็ว HDD มันก็ทำงานหนักติดกันยาวๆ 24 ชม. พัดลมก็ระบายดีอยู่ระดับนึงขึ้นไม่เกิน 50 องศาแน่ๆ แต่จำตัวเลขจริงๆไม่ได้นะครับนานแล้ว คือใช้ไม่กี่วันพังเรียบ พังแบบพังไปเลยต่อไม่ติดหลายตัว ทำงานหนักๆ HDD มันก็ไม่ทนครับอายุไม่ถึงรับประกันแน่นอน ถ้า SATA ผมใช้มาพังตั้งแต่ Green ยัน Enterprise ส่วน interface อื่นๆเกินนั้นไม่รู้ครับไม่เคยเอามาใช้งานแบบนี้
กลัวมันจะพัง backup เถอะครับใช้อะไรก็ไม่ปลอดภัย raid ไปเลยครับท่าเดียวที่พอเชื่อถือได้ ถ้ากลัวมากก็ Backup แยกรายวันเพิ่มอีกลูก คือถ้าเอามาใช้ bit โดยธรรมชาติมันไม่ใช่อะไรที่ควรจะซีเรียสพังไม่ได้อยู่แล้ว ส่วนถ้าจะเก็บยาวๆ จะเก็บใน SSD ตัวที่ใช้โหลดหรอครับ ผมไม่ได้พูดถึงกรณีนี้นะราคามันยังแพงเป็นใครก็คงซื้อจานหมุนเก็บถ้าทำได้และโหลดเยอะจริงจัง
กรณีแบบที่ว่ามันเกิดน้อยถึงน้อยมากครับ ส่วนมากคนให้บริการระดับที่มีคนใช้เยอะๆความรู้ต้องดีระดับนึง เห็นสมัยนี้โคโลบิทเจ้าใหญ่ๆปรับแต่งมาอย่างหรูเลยเปิดแชร์ขายไปทื่อๆห่วยๆไม่น่ามีคนเช่าเยอะๆแล้วครับ
ไอ้ที่พังเรียบนี่เพราะระบบไฟด้วยหรือเปล่า เพราะใช้มา ผมยังไม่เจอพังแบบเรียบ 10 ลูก ผมว่าแปลกแหละ ไม่ใช่ที่ HDD ห่วย หรือความร้อนเกินระดับ 50 องศาหรอก มันออกแบบมาให้ทำงาน 50 องศาได้ในช่วงพีคสบายๆ คือส่วนตัวใช้ HDD ใส่ใน Server มาน่าจะครึ่งร้อย พังไม่กี่ลูกเองมั้ง ผมว่ามันพังช้ากว่าใช้ตามบ้านอีก คือควบคุมระบบไฟ มีแอร์โคตรเย็น (เย็นกว่าตามบ้านแน่ๆ) ของผมนี่ทั้ง SATA และ SAS ก็คอกเดียวกัน มีพังทั้งสองแบบ ที่พังส่วนใหญ่เกิดจากระบบไฟเป็นหลักเลย (มักพังหลังจากระบบไฟฟ้าล้มเหลว) นานๆ เจอขึ้น HDD failed สักตัว งานที่ใช้นี่ก็ Database ทั้งนั้น ดีว่าผมทำ raid และ backup อยู่แล้วเลยไม่ได้รับผลอะไร แค่หัวเสียนิดหน่อยน่ะ ใน data center ผมไม่ได้ใช้พวก Green นะ ใช้ Blue/Black หรือไม่ก็ RE ไปเลย
หลังๆ มาใช้ SSD พวก enterprise เพิ่ม เพื่องานที่ต้องการเร็วๆ เพราะ SSD พวก OCZ 4-5 เดือน พัง กับ Intel ตัว consumer ปีกว่าๆ พัง คือนี่พังเร็วกว่า HDD ทำงานปรกติแน่ๆ เพราะงานเดียวกับตอนใช้ HDD แต่ตอนหลังเล่น enterprise นี่นิ่งขึ้นเยอะ
มันอยู่ใน IDC ก็เชื่อถือได้ระดับนึงครับ และรอบนั้นลูกที่ลง OS ในเครื่องเดียวกันไม่พังครับ แต่ไอ้ที่โหลดบิทพัง อาการมันบ่งชี้แบบนั้นไม่สามารถมองเป็นอย่างอื่นได้ ผมใช้ทุกแบบครับพอดี HDD ของหลายคนตามงบกันไป
server นี่ปีน้ำท่วมใหญ่ผมซื้อ 20 ลูกพังไป 12 ไม่รู้มันหลุด QC หรือยังไงอันนี้ใช้งานธรรมดาไม่หนัก แต่ RE รอดนะคิดว่าที่เหลือสงสัยตอนนั้นโรงงานมันโดนน้ำท่วมยังไม่ฟื้น อาจ QC มาต่างกันไม่ก็ผลิตคนละล็อตหรือยังไงซักอย่าง Black เองก็ไม่ค่อยพังแต่ก็มีบ้าง จากผลลัพธ์มันก็ไม่น่าไว้ใจอยู่ดี
คืออะไรพังเร็วจริงๆก็คงมีตัวแปรเยอะ สำหรับผมที่ผ่านมามันพังทุกอันถ้าจะใช้หนัก แต่ถ้าจะจัดกับโนตบุคผมใช้ 4 เครื่อง HDD ธรรมดารอดไม่เคยเกินปี SSD ยังรู้สึกปลอดภัยกว่า เราไประวังกับ SSD มันก็ไม่ใช่คำตอบ อย่างที่ผมทำผมก็เสียบ SSD ทำ Raid แล้วก็คอย Backup ลงอีกเครื่องไว้มันตอบโจทย์ผมกว่า HDD ธรรมดา
ถ้าถึงขั้นต่อไม่ติดนี่น่าจะเกิดจากระบบไฟฟ้าแล้วหล่ะครับ การพังของ HDD มีหลายแบบครับ แต่เกือบทุกแบบจะยังเชื่อมต่อ interface ได้ ยกเว้น circuit failure ที่เป็นปัญหาจากระบบไฟฟ้าครับ
ปัญหาของการจ่ายไฟไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ IDC อย่างเดียวหน่ะครับ แต่หลายๆปัจจัยก็ขึ้นอยู่กับตัวเครื่องด้วย เช่น PSU เสถียรพอหรือเปล่า ถ้าเป็นแบบ double rails ได้ balance power ให้ดีหรือเปล่า ใช้ SATA controller แบบไหน ถ้าแบบการ์ดแยกไฟที่จ่ายให้ตัว controller เสถียรพอหรือเปล่า หรือไฟที่จ่ายให้ตัว mainboard เสถียรพอหรือเปล่า คุณภาพของภาคจ่ายไฟของตัว mainboard เป็นอย่างไร รวมถึงเรื่องไฟรั่วว่าไฟได้ต่อลง ground หรือเปล่า เกิด ground loop หรือเปล่าเป็นต้นครับ
เรื่องไฟรั่วจาก ground loop นี่หลายๆครั้งสำคัญครับ บางครั้งผู้ให้บริการห้อง/ชั้น(ที่เช่ามาจาก IDC อีกที)เมื่อนำมาให้บริการตั้งเครื่องเพื่อการบิตโดยเฉพาะจะลดต้นทุนลง(เพื่อเอาไปเพิ่มต้นทุน bandwidth ที่สูงขึ้น) เช่น PC tower หลายเครื่องใช้ power strip ร่วมกัน แถมยังเอา switch(share ไม่ใช่ core) ไปใช้ร่วมกับ power strip เดียวกันอีก กรณีนี้นี่ถ้าเครื่องไหนใน strip ภาคจ่ายไฟแย่ๆไฟรั่วเยอะๆ strip นั้นก็จะซวยตามไปด้วยครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
คำว่าไม่ติดของผมคือมันจิ้มไปเจอก็ hardware ครับแต่เครื่องมันเปิดไม่ขึ้นถ้าจำไม่ผิดมันขึ้น unregcognize หรืออะไรไปประมาณนั้น
คือผลที่เกิดขึ้นตอนนั้นนะครับ HDD กลุ่มที่พังคือตัวที่เอามาโหลดบิท ส่วนพวกที่รอดคือลง OS กับใช้เก็บไฟล์อย่างอื่น ซึ่งมันก็ไม่ได้เกิดขึ้นตัวเดียวแต่มีผลในทิศทางนั้นหมดเลย ทั้งหมดมันอยู่ในเครื่องเดียวกัน PSU ก็ใช้ของดีอยู่ครับไม่ใช่อันติดเคสแน่นอน(ขออภัยจำไม่ได้จริงๆนานมาก) จากสถิติที่เกิดกับตัวผมก็ต้องสรุปตามนี้ครับเพราะมันบ่งชี้แบบนี้ ส่วนความจริงมันอาจจะใช่ไม่ใช่ยังไงบอกไม่ได้ครับ หลังจากนั้นมีประสบการณ์ผมก็ระวังๆไม่เคยเกิดแบบนั้นอีก
จริงๆ 2 IDC ที่มันอยู่คนละที่กันเลยผมก็เจอ HDD พังเรื่อยๆพอกัน ส่วนตัวเลยสรุปว่าจะ SSD ที่บอกเขียนบ่อยๆพังไว หรือจะจานหมุนธรรมดา ไม่น่าไว้ใจพอกันครับ แต่ถ้าเอามาโหลดบิทไม่ต้องไปซีเรียสมันหรอกหายก็โหลดใหม่ ถ้าอันไหนหาโหลดยากอยากเก็บเอามา Backup ไว้ครับไม่ใช่ไปไว้ลูกหลักที่ทำงานตลอดแบบนั้นลูกเดียว สำหรับโหลดบิทความเร็ว HDD ธรรมดามันไม่ตอบโจทย์ครับมันเขียนกระจายมากความเร็วตกเละเทะเลย และอายุการใช้งานมันก็ไม่ได้ทุเรศขนาดที่เอามาโหลดวันสองวันจะพังครับ อย่างน้อยๆจากจำนวนรอบมันไม่น่ามีใครใช้พังในครึ่งปีเพราะคงไม่มีใครโหลดเต็มวิ่งไปก็อปที่เครื่องทุกๆวัน
+1
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อยากใช้ SSD โหลดบิท เพราะเวลาโหลดไฟล์ full rip 30-40GB แล้วคอมแฮงก์ มันจะต้อง recheck นานมาก นานพอๆกับเริ่มโหลดใหม่ตั้งแต่ต้นเลยครับ ถ้าเป็น SSD น่าจะช่วยได้เยอะ (สั่งมาแล้วด้วย Sandisk Ultra II 960GB ตอนราคา $199 ครับ)
ถ้าคอมแฮงบ่อยๆ แนะนำว่าแก้ที่คอมดีกว่าครับ
ของผม ตอนเป็น win7 ไม่มีปัญหา
พออัพมาเป็น win10 เอ๋อบ่อยครับ
ต้อง restart หรือ shutdown ทุกวันเลย
ถ้าไม่ทำ ทุกวัน จะมีปัญหา ถึงขึ้นต้อง RESET เลยครับ
ไม่ก็ไม่บ่อยขนาดนั้นหรอกครับ ปีละห้าหกครั้ง แต่ว่าแทบทุกครั้งคือต้องการรีบใช้งานตลอด เลยซนนู่นนี่ แล้วมันก็เลยค้างครับ ถ้าราคามันยังต่างกับ hdd ธรรมดามาก ก็คงไม่จำเป็น แต่ 960GB $199 นี่รับได้อยู่ครับ
ตอบเรืองค่าทนก่อน SSD ซื้อดูที่ระบุ Endurance Rating สูงๆ ครับ ทำได้แค่นั้นแหละครับ ใน tech spec เดี่ยวนี้จะมีบอก เป็นค่า Terabytes written (TBW) แต่ยิ่งมีค่านี้สูงเท่าไหร่ ราคายิ่งแพง และส่วนใหญ่มักช้ากว่ารุ่นทั่วไป เพราะพวกนี้เป็น บางครั้ง IOPS หาย 1 ใน 10 เลย
แต่หากเอามาใช้ให้ถูกงาน ผมแนะนำเอา HDD ดีกว่าราคาต่อความจุยังห่างไกลกับ SSD มากอยู่
ทางออกที่ดีที่สุดคงต้องเป็น OS SSD แต่ Bit ลง HDD ครับ
ถ้า laptop คงต้องหา เครื่องที่รองรับ MSATA/M2 คงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับกรณีนี้ครับ
คอมผม เล่นเกมส์ โหลดบิต ทุกวัน ssd ใช้มา2 ปี ไม่มีปัญหาอะไร แต่เปิด ปิด copy เร็วกว่า แต่เก็บหนังไว้ใน ex hdd นะ
ปรับ bit client ให้ catch เยอะๆครับ จะได้เขีนอ่านน้อยๆ ปรับซัก 64 -128 MB ก็ได้
สิ่งที่ "ขาดไม่ได้"
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ขอบคุณครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
เซ็นต์ => เซนต์
ปี 2017 นี่มีรวมกัน 42 + 59 = 101 Dalmatians เลยทีเดียว
ที่เกินมานี่อาจจะเป็นไฮบริดแบบ fusion drive ของ iMac
นั่นสินะครับ
แต่ VAIO อายุ 8 ปีผมก็ hybrid drive ติดเครื่องมานะครับ ;)
คิดไกลมากครับ 5555 อาจจะแค่ 41.5 + 58.5
หลังจากได้ลองใช้งานเมื่อไม่กี่เดือนก่อนก็รู้สึกว่า "ขาดไม่ได้" จริงๆครับ
ใช้มาประมาณ ๓ ปีแล้ว พอไปจับเครื่องที่ไม่ใช้ SSD ทำไมมันช้าเยี่ยงนี้
จริง แต่ก่อนก็ "จะสักแค่ไหนกันเชียว" เดี๋ยวนี้ถ้าไม่ SSD เลิกมองรุ่นนั้นเลย.
คนที่ไม่เคยลอง SSD และยิ่งถ้ายิ่งไม่ใช่กีค จะมองว่า SSD สิ้นเปลืองทั้งนั้นครับ ผมชวนเพื่อนเปลี่ยน SSD มาหลายคนไม่มีใครสนใจเลย มีคนนึงดูถูกด้วยว่าแค่เปิดวินโดวส์เร็วขึ้นไม่คุ้มค่าเปลี่ยน
แต่มีเพื่อนผมคนนึงลองให้ผมเปลี่ยน (Zotac ถูกๆ) บอกว่าเหมือนได้คอมเครื่องใหม่ ชีวิตเปลี่ยนไปเลย
ถูกต้องอย่างถึงที่สุดเลยครับ
เพื่อนผมขนาดก็มีเล่นเกมทั่วๆ ไป (เกมออนไลน์พวก LOL MOBA สัก 90%) ยังมอง SSD ว่าต้องซีเรียสจำเป็นจริงๆ ถึงจะใช้
ผมเลยบอกจะรู้ว่าจำเป็นไม่จำเป็น ลองใช้ 1 เดือน แล้วกลับไปใช้ HDD ดูสิจะรู้ว่าจำเป็นหรือเปล่า
อย่างของผม Notebook 2 เครื่อง
เครื่องแรกอายุ 6 ปีราคาตอนใหม่ๆ 23900 สเปก core2 2.0 GHz แรม 4 GB Win10 + ssd
เครื่องสองอายุ 4 ปีราคาตอนใหม่ๆ 38000 สเปก i7 2630qm 4 core 2.0 GHz แรม 8 GB Win 7 + hdd
ถ้าไม่ได้เล่นเกม บอกได้เลยว่าเครื่องเก่านั้นพริ้วมากๆ แทบจะเร็วกว่าเครื่องใหม่ เวลาทำหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน ถ้าตอนเครื่องเก่าต้องรอก่อนเปิดโปรแกรมใหม่ แต่พอเป็น ssd คลิกๆ ต่อได้เลย แต่อาจมีช้าเพราะ cpu เก่าแรมน้อย
เคยไปช่วย Build PC ให้แฟนเครื่องนึง ตอนเลือกสเปคก็บอกว่า เอา SSD แฟนก็บอกเปลืองเงิน ไม่เห็นจำเป็นเลย หลังใช้ผ่านมาปีนึงถามว่าเป็นไง ปรากฎบ่นหนักกว่าเดิมอีกว่า เดี๋ยวนี้เลยหงุดหงิดทุกครั้งที่เปิดเครื่องที่ทำงาน (เป็น HDD ธรรมดา) แทน
/sob
ชอบตรงที่พับหน้าจอแล้วสลีปทันที หิ้วไปไหนมาไหนได้เลย ถ้าเป็น HDD ต้องไฮเบอร์เนต ต้องรอ ต้องนู่นนั่นนี้ กว่าจะรอบูตกลับมา กำ ไฟล์พัง....
โน๊ตบุคตัวต่อไปเล็ง SSD แน่นวล
ตอนนี้เครื่องที่ใช้ HDD มันยังไม่พังอ่ะ
เอาจริงๆ ใช้ notebook รุ่นที่เปลี่ยน HDD ได้ง่ายๆ และสามารถใส่ SSD และ HDD ได้พร้อมกัน ซึ่งจากที่ใช้งานมา มีความสุขดีกับ SSD 256GB + HDD 500GB แต่หลังๆ หา notebook รุ่นที่ใส่อะไรแบบนี้ได้น้อยลง
+1 ครับ
ทุกวันนี้ MSATA 256GB + HDD 1TB ใช้ชิวมาก
แต่ถ้าหารุ่นใหม่นี่กุมขมับเหมือนกัน
กลับกันผมกลับเจอ notebook m.2 SSD + Hdd เยอะขึ้นกว่าแต่ก่อนแหะ จากเมื่อก่อน msata เจอได้แต่ใน thinkpad บางรุ่น
M.2 SSD มันไม่มี 512GB นี่ดิครับ มีแต่ 256GB แถมพวก m.2 ที่เอามาขายๆ กันความเร็วและ perform แย่กว่า SATA 2.5" ปรกติ แถมราคาแพงกว่า บางครั้งจ่ายแพงกว่าได้ของแย่กว่าก็ทำใจซื้อยากนะครับ
ที่ผมใช้อยู่นี่ ThinkPad T420 ใส่ SSD 2.5" ผ่าน Internal Slot ทำงานร่วมกับ HDD 2.5" ผ่าน BAY ครับ
+1 เห็นด้วยครับ ราคาแพงมาก แต่ 512GB มีนะครับ ราคาแพงแต่ว่าแรงกว่านะครับ ระดับ Read 2000 MB/s write 1400 MB/s
Samsung 950 Pro มีขนาดความจุ 256GB : 7,990 บาท , 512GB : 13,900 บาท
แต่ไม่รู้โนตบุคมันจะรับ NVMe ได้รึเปล่า ถ้าไม่งั้นก็ต้องไปพวก M6e แต่ก็เช่นกัน ราคาลากเลือด Performance งั้น ๆ มีดีที่ยิงตรงเข้า CPU
T420 นี่มีช่อง mSATA ด้วยนี่ครับแต่แค่ Sata II
แต่ผมว่า ถ้าใส่ SSD 2.5 + Bay แบบเอา DVD ออก รุ่นไหนที่มี DVD ก็ทำได้หมดนะครับ
mSATA ผมใส่ WWAN 3G ไปแล้วน่ะครับ เลยต้องใช้ Bay น่ะครับ
ราคาเริ่มใกล้กันเพราะ SSD มันถูกลงเรื่อยๆ แต่ HDD กลับเริ่มนิ่งแล้วรึเปล่าครับ?
ผมเช็คราคา HDD อยู่เรื่อยๆ สังเกตว่าปีสองปีที่ผ่านมานี่ราคาแทบไม่ขยับลงเลยนะ
สมัยที่ซื้อลูกละ 3GB, 80GB นี่ซื้อปุ๊บแทบจะหลังหักทันที
อย่าได้เริ่มเข้ามาในโลกของ ssd
MBP ผมใส่ SSD 256 GB + HDD 2TB ใช้ได้อีกยาว แต่ถ้าราคา SSD 1T ลงมาแตะ 8000 เมื่อไรมีแววได้เปลี่ยน
ราคา ssd 480GB แค่ 4,500-5,000 บาทเองครับ ใน lazada
ซื้อคอมมาใหม่ยังต้องใส่ SSD เพิ่ม สองพันกว่าบาทเลยครับ รุ่นถูกๆ ก็เร็วมากละสำหรับงานเบาๆ
ผมว่า ssd นี่ละคือ keyword ของคำว่า "คอมเร็ว" "คอมแรง" ที่ end user กว่า 90% เข้าใจ
เพราะความแรงของ ssd นั้นแทบจะได้สัมผัสตั้งแต่กดสวิตช์เปิดเครื่องเลย ความแรง cpu ถ้าไม่เจอโหลดจริงๆ ก็แทบไม่มีผล
แต่พอแนะนำแบบนี้ไป end user ทั่วไปก็จะบ่นกลับมาว่าแพงอย่างโน่นอย่างนี้ แล้วก็เอาเงินไปลงกับ i7 (แต่ 2 core) กับการมีการ์ดจอแยก ที่ฟังแล้วแสนสวยหรู
ปล. อาจเพราะเรามีคอขวดขนาดยักษ์ที่ hdd มาตั้งแต่เริ่มต้นยุค pc พอมี storage ที่เร็วเพราะมันเป็นอิเล็กทรอนิกส์เต็มตัว คอขวดที่เคยมีก็หายไป ผิดกับฝั่ง cpu gpu ที่มันไม่ค่อยมีคอขวด และเป็นการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป เราจึงเห็นว่า ssd มันเร็วผิดหูผิดตา
จริงๆ ถ้ากลัวข้อมูลหายก็ลองใช้ SSD ทำ RAID คู่กับ HDD ความจุเท่ากันดู แนะนำให้ทำ RAID1 และเป็น Hardware RAID นะครับ จะดีที่สุด ทำงานได้เร็วและปกป้องข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน
ปล. ไม่เคยลอง แต่เป็นแนวคิดที่น่าจะทำได้นะครับ
Get ready to work from now on.
ไหนๆ ก็พูดถึง SSD แล้ว มีใครพอจะแนะนำ SSD ที่คุ้มค่าบ้างครับ
ปล. ไม่เน้นเรื่องความเร็วมากเท่าไร แต่เน้นที่ความทนเป็นหลัก และขอขนาดซัก 240GB ครับ
คุ้มค่าสุดสำหรับผมคงเป็น Samsung EVO ครับ
ถ้าถามผมก็ zotac premium 240 GB ที่ 2980 Lazada ครับ ถึงแม้ว่าตอนเปิดตัวแรกๆมันจะแค่ 2680 ก็ตาม - -
ขึ้นราคามาเรื่อยๆ เลยแฮะจากราคา 2680 > 2880 > 2980 ขึ้นปีหน้าจะทะลุ 3000 บาท เปล่านะ
ข่าวนี้บอกว่ามีแต่จะถูกลง รุ่นนี้แหวกแนวมาเลย
ชักเป็นห่วง SSD ของตัวเอง เห็นหลายเสียงบอกว่าเขียน-อ่าน มากๆ จะพังไว
ใช้มาตั้งแต่ราวๆ ปี 2550 (ตัวแรกหิ้วมาจากญี่ปุ่น 60GB ของ BUUFALO ราคาสองหมื่นกว่าเยน ทุกวันนี้ยังใช้อยู่ ติดตั้ง Windows XP ใช้กับซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์เก่าๆ ที่ยังต้องใช้งานอยู่) เปลี่ยนคอมฯ ทุกตัวที่ใช้งานเป็น SSD หมดเมื่อปี 2556 (แม้แต่ Ext. HDD ก็เป็น SSD) และใช้งานแบบปกติไม่คิดว่ามันเป็น SSD อ่าน-เขียน สำเนาไฟล์ โหลดบิตเหมือน HDD ปกติ
คำถามคือ ถ้ามันพังไวมันพังไวขนาดไหน
ถ้าคำตอบคือ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เหมือนกับ HDD นึกอยากจะพังก็พัง นึกอยากจะทนก็ทน
ดังนั้น ระดับ User อย่างผม ผมคิดว่าก็ไม่เห็นจะต้องกังวลอะไร ใช้งานให้มีความสุขก็พอ และหมั่น Backup ก็เท่านั้นเอง
อ่านอันนี้ดูครับ
techreport.com/review/27909/the-ssd-endurance-experiment-theyre-all-dead
Get ready to work from now on.
"Over the past 18 months, we've watched modern SSDs easily write far more data than most consumers will ever need. Errors didn't strike the Samsung 840 Series until after 300TB of writes, and it took over 700TB to induce the first failures."
ไม่ค่อยเก่งภาษา แต่พอเข้าใจว่าเขาพบว่า Samsung 840 Series(ซึ่งตัวนี้ผมก็ใช้อยู่ 2 ตัว) จะเกิด Error เมื่อเขียนอ่านไป 700TB
700TB เท่ากับ 700,000GB (Google แปลงให้แฮ่ะๆ) ถ้าวันนึงผมอ่านเขียนซัก 10GB(อันนี้สมมติเว่อๆ ไปเลย) เท่ากับ 1 ปีผมอ่านเขียน 3,650GB เพราะฉนั้น ผมจะพบ Error ของการอ่านเขียนครั้งแรกในปีที่ 192 นับตั้งแต่เริ่มการใช้งาน
ดังนั้น ถ้าคิดว่าเริ่มใช้งาน Samsung 840 Series ในปีนี้ พ.ศ. 2558 จะพบ Error ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2750 ถ้าอ่านเขียนข้อมูลวันละ 10GB คำถามคือจริงหรือนี่ หรือว่าผมคิดผิด
Error จะเกิดหลังเขียนไปได้ 300TB ส่วน 700TB คือมันแสดงอาการให้เห็นชัดเจนครับ
สำหรับผมกว่าจะถึง700TB ผมคงได้ถอยคอมใหม่มาแล้วล่ะ
ทุกวันนี้128GB ยังเหลือๆอยู่เลย แทบไม่ได้โยกออกExHDD
พังไวเฉพาะเขียนครับ อ่านไม่พังครับ
แล้วอาการเสียมันคือ เขียนทับไม่ได้ครับ แต่อ่านได้ เพราะฉะนั้นข้อมูลก็ปลอดภัยไม่หาย พังก็ซื้อใหม่ครับ
แสดงว่าถ้ามันเสียขึ้นมาเราก็สามารถเอามาต่อBox แล้วโอนลงลูกใหม่ได้ใช่มั้ยครับ
รู้สึกอุ่นใจขึ้นมานิดนึง
ใช้ ocz 64gb รุ่นแรกๆเลย ทำเป็น writeback เขียนวันละหลายสิบกิ๊กบางวันเขียนเต็มความจุ ตอนนี้ก็เขียนเกินที่มันลิมิตไว้มากแล้วหลายเท่าเลย แต่ก็ยังทำงานได้ปรกติ ค่าความคงทนต่างๆมันก็เป็นค่าทางทฤษฎี ใช้งานจริงๆมันก็แล้วแต่ปัจจัย
ถึงตอนนี้ผมว่า ssd มันก็ทนทานในระดับหนึ่งทีเดียว ตอนนี้ถ้าจะซื้อ ssd ความกังวลด้านอายุการใช้งานหรือความทนทานไม่เป็นอุปสรรคในการตัดสินใจของผมแล้ว(ใช้งานทั่วไป) ที่ยังติดอยู่คือยี่ห้อแล้วผลรีวิวเท่านั้น
ส่วนโปรแกรมที่ใช้เชคอายุและสถิติการทำงานของ ssd ของผู้ผลิต ผมไม่ลงไว้ เพราะผมถือ กลัวว่ามันจะวางยา เมื่อครบลิมิตแล้วกลัวว่ามันจะสั่งทำลายตัวเอง ฮ่าๆๆๆ คิดมากไปป่าวหว้า
มันไม่ได้ไวขนาดนั้น ที่ว่าพังไวๆ เห็น cell มันเขียนอ่านได้เกิน 5000 รอบทั้งนั้น(ไม่แน่ใจนะตัวเลขคร่าวๆที่เห็น บางตัวก็มีหมื่น ยิ่ง SLC นี่ทะลุไปไกล) ก็ลองคิดว่าถ้า chip มันไม่ bug วนบล็อคดีๆ ขนาดคูณซักพันเท่าไปไม่ใช่ช่วงสั้นๆหรอกจะใช้เยอะขนาดนั้น
อะไรสำคัญ backup ครับเก็บไว้ที่อื่นที่ไม่ได้ต่อไฟเลยครับ ไม่ต้องเขียนอ่านบ่อยๆหรอกแค่ถ้าฟ้าผ่ามาถึงทีเดียวมันก็พัง UPS บ้านๆกันไม่ได้หรอกผมเคยมาแล้วไฟแลบออกหน้าคอมเลย อย่าไปเชื่อถืออะไรที่มีอันเดียวทั้งนั้น มันไม่ใช่ใช้ครั้งสองครั้งจะพังและจะใช้อะไรมันก็พังได้ การกังวลแล้วใช้ไม่เต็มที่ให้คุ้มราคาผมว่าขาดทุนกว่าใช้มันจนพังอีก
ผมก็มี SSD นะครับ แต่เก็บไว้ใช้แค่วินโดวส์และโปรแกรมที่ทำงานแค่นั้น (120 GB เอาอยู่เหลือเฟือ) ส่วนเกม ความบันเทิงและ ฯลฯ ยังเอาไว้ใน HDD ปกติอยู่ ก็ 3TB แบบ HDD ราคาแค่สี่พันนิดๆ ก็หาได้แล้ว แต่ถ้าเป็นแบบ SSD 3TB นี่ออกมอไซด์ได้คันนึงเลย สรุปคือ ณ ตอนนี้เอาไว้ใช้เฉพาะด้าน เฉพาะอะไรที่ต้อง "อ่าน" บ่อยๆ ครับ ส่วนอะไรที่ต้อง "เขียน" บ่อยๆ เน้น Volume เอาไว้ใน HDD เหมือนเดิมดีกว่า
ถ้าเปิดโปรแกรมแนวๆที่วิดวะใช้นี่ได้เห็นความสำคัญแน่ๆ พวก matlab หรือ CAD ที่ไฟล์ใหญ่ๆทั้งหลายอะ
บางทีเปิด matlab ประมาณ3นาทีก็หมดอารมทำงานแล้ว 55555
กำลังจะจัด SSD M.2 มาใส่ Notebook เหมือนกัน 256GB ราคาพอจับต้องได้แล้ว
อันนี้ไม่รู้จริงหรือเปล่านะครับแต่ผมเคยไปอ่าน Tom's Hardware เรื่องที่ว่ายิ่ง Ram เครื่องเยอะก็จะยิ่งช่วยให้ SSD มีอายุการใช้งานนานขึ้น
เพราะเขาบอกว่าข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการทำงานจะถูกเขียนลง RAM แล้วจะลง Hard Disk เมื่อถึงเวลานึง ถ้า RAM เยอะจะทำให้จำนวนครั้งทีต้องเขียนข้อมูลลง HD น้อยลง
นั่นคือการปิด Page File ครับ
ผมเพิ่งอัพมาใช้ ssd เมี่อไม่กี่อาทิตย์เองครับ ssd ชุบชีวิตให้คอมผมเลยครับ ฮา (ขนาดคอมผมรองรับแค่ sata II นะ แต่ก็เร็วกว่า HDD ผมโขเลย)
คอมผม SATA รุ่นแรกด้วยซ้ำครับ 555
ใครพอจะมีรีวิว SSD M.2 สำหรับโน๊ตบุคบ้างครับ ตอนนี้มีตัวไหนน่าสนใจ
Vertex 4 128GB ร้านความจำวันนี้บอกเสียเปลี่ยนตัวใหม่ ประกัน5ปี ผ่านมา4ปีแล้วยังไม่งอแงแม้แต่น้อย(เขียนไปราวๆ10TB render file) โชคดีอย่างคอมผม จอฟ้าปีละไม่เกิน2ครั้งบางปีไม่เป็นเลย
ปล.ก็เค้าอยากได้ SS EVO บ้าง อะไรบ้าง เคลมเป็นรุ่นใหม่บ้าง ก็มันไม่พังอ่ะ -_-
The Last Wizard Of Century.
จากที่ใช้มาวันๆนึงทำแค่ดูหนังตามเวปต่างๆ เปิดyoutube 1k - 4k วันนึงอย่างต่ำก็เขียนประมาณ 20gb+ ผ่านไป2ปีนิดๆ plextor m6s พังไป2รอบแล้ว ส่วนอีกเครื่องเป็น samsung 840pro ยังปกติดี
ความรู้ใหม่นะเนี่ยว่า hdd ทนกว่า ssd
เพิ่งรู้เหมือนกันครับ = =
อันนี้เปรียบเทียบไม่ได้นะครับว่าอะไรทนกว่าหรือไม่ทนกว่า เพราะการ wear ของอุปกรณ์ทั้งสองแบบแตกต่างกันครับ
อย่าง SSD ถ้า write amp เยอะก็เน่าเร็ว ส่วน HDD นี่ขึ้นอยู่กับการผลิตและดวงครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ทนในแง่ของการอ่านเขียนซ้ำๆ น่ะครับ
ผมใช้เครื่องมา 5ปีกว่า WD Green 500GB 2ลูกติดเครื่องมา ไม่เคยเสียเลย
แต่ ซื้อ SSD OCZ ARC100 480GB มาใช้ 2วัน พัง
ตัวใหม่ เคลมมา ใช้มาหลายเดือน ยังโอเคอยู่
ตอนซื้อดู Endurance Rating สูงๆ ครับ ทำได้แค่นั้นแหละครับ ใน tech spec เดี่ยวนี้จะมีบอก เป็นค่า Terabytes written (TBW) แต่ยิ่งมีค่านี้สูงเท่าไหร่ ราคายิ่งแพง และส่วนใหญ่มักช้ากว่ารุ่นทั่วไป เพราะพวกนี้เป็น บางครั้ง IOPS หาย 1 ใน 10 เลย
ใช้ใน Notebook มาตั้งแต่ปี 2010 ตอนนั้นเพิ่งรู้จักกับ SSD จากในเว็บ OCZ ตอนไปซื้อ ร้าน Compute & More บอกหมด ไป Busitek เจ้าของร้านถามว่าเอาไปใช้งานอะไรเป็นหลัก เราก็ตอบไปว่าใช้ Photoshop น่าจะเร็วขึ้น ร้านบอกมาว่าใช้ HDD จะดีกว่า
แต่ผมก็ยืนยันที่จะซื้อ ตอนนั้น Intel รุ่นที่ซื้อ Write แค่ประมาณ 100MB/sec เองมั๊ง แต่พอตอนมาใช้จริงนี่ โอ้โห ทำไมมันเร็วมากๆ ตอนหลังเลยทุกเครื่องต้องเป็น SSD หมดเลย ไม่งั้นจะรู้สึกช้ามาก
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
Ps ae pr เร็วทั้งเปิดโปรแกรม+โหลดฟร้อนท์ และ render/export ไฟล์ลง ssd แบบเห็นได้ชัดเลยครับ
แม้ว่าเครื่องทำงานเป็น hdd แต่ผมก็ไม่ได้มีปัญหาหงุดหงิดว่าช้ากว่าไม่ทันใจเลยนะครับ ก็แค่ทำตามที่ประสิทธิภาพอำนวย คือถ้าหัวผมมันไม่แล่นไอเดียไม่เกิดหรือฝีมือไม่ถึงมี ssd ก็ไม่ช่วยหรอกครับ
The Last Wizard Of Century.
เป็นไปได้ Black Friday US
SSD 1 TB ลดเหลือ 200$
ถ้าน้ำไม่ท่วมตอนนั้น ตอนนี้อาจจะเท่ากันไปแล้วหรือเปล่า
ไม่น่านะครับ ถ้าน้ำไม่ท่วม HDD น่าจะถูกกว่านี้ไปพอควร
ตอนนี้ผมใช้ SSD 128 GB อยู่มันเหมือนจะพังแล้ว เพราะทุกครั้งที่ถอดไฟเลี้ยงออกไม่กี่นาที ข้อมูลในนั้นจะหายหมดเลย หากยังเปิดคอมทิ้งไว้ ข้อมูลก็จะยังไม่หายไป รีบูตเครื่องมาก็ยังมี แต่ถ้าถอดไฟออกแล้วไม่เกิน 5 นาที เปิดมาอีกทีข้อมูลไม่มีเลยครับ พึ่งซื้อมา ประมาณ เกือบ 3 ปีแล้วครับ รุ่น TS128GSSD340 ซื้อมาตอนนั้นประมาณ 1800
ทุกวันนี้เอาไว้พักข้อมูลเฉยๆ เช่น โหลดบิททิ้งไว้ โหลดเสร็จก็ค่อยมาก๊อปลง HD อีกทีนึง
หากท่านใดเคยเจอปัญหาแบบนี้ ช่วยแนะนำวิธีแก้ไขให้หน่อยก็จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
นี่ปี 2018 แล้วครับ หกพันซื้อได้แค่ 500GB เอง 1TB ยังต้องรอต่อปายย