Seagate Technology เปิดตัวฮาร์ดดิสก์เกรดองค์กรความจุ 10TB รุ่นแรกของบริษัท ออกมาเจาะตลาดศูนย์ข้อมูลที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ
ฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้ชื่อมีชื่อเต็มๆ ว่า Seagate Enterprise Capacity 3.5 HDD 10TB มีทั้งอินเทอร์เฟซแบบ SATA 6Gb/s และ SAS 12GB/s, ตัวเทคโนโลยีใช้จานหมุน 7 จานและหัวอ่าน 12 หัว ภายในบรรจุก๊าซฮีเลียมเพื่อลดแรงเสียดทาน ส่วนราคาไม่ได้ระบุว่าเท่าไร
ช่วงปลายปีที่แล้ว ความจุสูงสุดของฮาร์ดดิสก์ซีรีส์นี้ของ Seagate อยู่ที่ 8TB
ที่มา - Seagate
Comments
คนเริ่มหาใช้ SSD มากขึ้นแต่ยังราคาสูงอยู่ ถ้าราคาพอๆ กัน HDD ตายแหงๆ
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า
ผมไม่เอา SSD มาเก็บงานที่ต้องอ่านเขียนตลอดเวลาแน่นอนครับ ยิ่งโดยเฉพาะ Enterprise ที่ลง ESXi นี่ไฟ HDD แทบจะค้างตลอด
ทุกวันนี้ผมใช้ไดร์ฟ C เป็น SSD ส่วนโหลดไฟล์โหลดบิท ลง Drive อื่นที่เป็นจานหมุนโลด..
SSD มีปัญหาอะไรบ้างเหรอครับ ช่วยแชร์หน่อย ยังไม่เคยใช้ แต่คิดอยากเอามาไว้ backup ข้อมูลที่สำคัญ เพราะน่าจะทนกว่า HDD แต่ไม่รู้ว่าจริงมั้ย
ถ้าเขียนใหม่เยอะมันเสื่อมไวหนะครับ พวก db ที่เขียนข้อมูลเยอะ ๆ นี่เจอเน่าบ่อย ๆ
ใช้แค่ Backup เอา ถูกๆ เน้นความจุดีกว่านะครับ
HDD ถึงมันเสีย ก็กู้ข้อมูลได้ง่ายกว่า หรือทำ Mirror ไว้ก็ยังถูกกว่า SSD ที่ความจุเท่ากันนะครับ
หรือเก็บข้อมูลบน cloud อีกทางเลือกหนึง
แล้วพวก SSD ทนๆ ระดับที่ Enterprise ใช้ นี่ราคาแพงกว่าตัวที่ใช้ตามบ้านเยอะเลย
external hard disk ตัวใหญ่ 3.5"
2 ตัว ทำสำเนา 2 ชุด แยกเก็บในตู้เอกสารของห้อง server
หรือที่ปลอดภัย สองจุดห่างๆ กันครับ
มันต้องแยกประเภทล่ะครับ งานที่ต้องการการอ่านเขียนเยอะ ๆ เช่น Database ขององค์กรที่ต้องการ Performance สูง ๆ จะใช้ SSD หรือ Flash ตอบโจทย์ตรงนี้
งานรองลงมาก็ใช้ Disk ที่ speed รอง ลงมา แล้วมาจบที่ Disk SATA ความจุสูง speed ต่ำ ไว้เก็บข้อมูลที่ไม่ ค่อยมีการเคลื่อนไหว หรือใช้ เก็บ backup ครับ
ส่วนเรื่องเสีย ไม่สนใจครับเพราะทำ Raid + Hot spare ไว้แล้ว อีกทั้งมี M/A อีก
RAID 5 หรือ 10 ครับ ใช้Server พวก DELL หรือ NAS ของ Synologyครับ
ขอโทษครับ ตอบช้า
RAID อะไรก็ได้ครับ แต่ขอให้มี hot-spare แล้วก็ อย่าลืมต่อ Hardware Maintenance.
ส่วนของ Synology ลำดับความสำคัญของ NAS คือไว้เก็บข้อมูลดังนั้น Disk SATA - SAS 10K ก็น่าจะเพียงพอมั๊งครับ spec ดีกว่านี้ดูจะไม่มีประโยชน์
อยู่ที => อยู่ที่
ร้อนมากๆจะระเบิดมั้ยครับเนี่ย 555+
He นะครับไม่ใช่ H(2)
เคมี ม.ต้น
He ขนาดอะตอมเล็กครับ คงขยายตัวไม่เท่าไหร่เวลาอุณหภูมิสูงๆ
ฮีเลียมเป็นแก๊สที่ไม่ติดไฟครับ
ปล.ไหนๆจุดประสงค์ก็คือลดแรงเสียดทานแล้ว น่าจะทำเป็นสุญญากาศไปเลย
ทำไม่ได้ครับ เพราะหัวอ่านต้องอาศัยกระแสลมในการพยุงหัวอ่าน/เขียนให้ลอยขึ้นด้วย (ไม่งั้นก็ขูดสิ)
555+ ขอบคุณครับ
อายมั้ยหละเนี่ย
เม้นเหมือนรุ่นน้องผมเลย เพิ่งคุยกันเมื่อกี๊ 555
เข้าใจว่าคงติดภาพลูกโป่งระเบิด อันนั้นเพราะใช้ไฮโดรเจนแทนฮีเลียมครับ เบาเหมือนกัน
เป็นแก๊สเฉื่อยครับ
ผมก็ยังคง 120กิ๊กต่อไป (external 500g นานนนนนนนนเสียบ)
Backup Plus 4TB ยังไม่ทันใช้ปีเดียว กิเลสมาอีกแล้ว
ถ้ามี HDD ที่ความจุเยอะขึ้นก็ประหยัดเนื้อที่สามารถใส่ config ได้เพิ่ม HDD ที่เป็นแบบ SAS 7.2k ก็ยังใช้กันอยู่ใน storage ครับใช้ในงานพวก staging หรือ dev ไม่จำเป็นต้องเอา sas 15k มาเทส เพราะไม่มีความจำเป็น ส่วนพวก flash storage นั้นเค้าจะเอามาทำ dynamic tearing คือมีทั้ง sas และ flash storage ผสมกันถ้าระบบเช็คว่ามีการใช้งานเยอะๆก็จะจัดให้ไปอยู่ใน flash tear เรื่อง hdd เสียไม่ต้องกังวลครับ มี hot spare อยู่เต็มตู้ สำหรับ disk ทุกชนิด แล้วแต่จะ config ไว้ แม้แต่ flash storage เองก็ยังมี hot spare