เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์การแพทย์ Hollywood Presbyterian ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ตั้งอยู่ในเมือง Los Angeles มลรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ออกมาเปิดเผยว่าถูกโจมตีจาก ransomware ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล โดยการโจมตีเริ่มในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ และขยายไปทุกส่วนของโรงพยาบาล
ระบบที่ได้รับผลกระทบมีตั้งแต่ระบบเวชระเบียนคนไข้อิเล็กทรอนิกส์ (EMR) ไปจนถึงระบบ CT scans, งานด้านห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงห้องฉุกเฉินก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เจ้าหน้าที่ต้องกลับไปใช้เวชระเบียนและเอกสารบนกระดาษอีกครั้ง และร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอย่าง LAPD และ FBI เพื่อจัดการกับปัญหานี้ ส่วนคนไข้ก็ถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ
ในท้ายที่สุด โรงพยาบาลต้องเสียเงินให้กับผู้ประสงค์ร้าย เป็นจำนวน 40 บิตคอยน์ (ประมาณ 17,000 เหรียญ หรือกว่า 6 แสนบาท) เพื่อที่จะได้ถอดรหัสไฟล์ต่างๆ รวมไปถึงทำให้ระบบงานทั้งหมดของโรงพยาบาลกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม โดยระบบเวชระเบียนสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 15 ที่ผ่านมา ซึ่งซีอีโอของโรงพยาบาลออกมาขอบคุณเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของผลจาก ransomware ที่กระทบต่อระบบสำคัญ ซึ่งอาจมีผลร้ายถึงชีวิตได้
ที่มา - Engadget, แถลงการณ์โรงพยาบาล
Comments
อดคิดไม่ได้ว่ากรณี ransomware ต้องมีกลุ่มคนอยู่เบื้องหลังแน่ๆ เพราะช่วงหลังศาสตร์ด้าน com sec พัฒนาไปเร็วมาก โดยเฉพาะการเข้ารหัสที่แน่นหนาจนถอดไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ก็ยอมรับว่ากลุ่มคนพวกนั้นเลยขีดคำว่าชั่วไปไกลโขเข้าขั้นนิยามไม่ได้เลยทีเดียว แม้กระทั่งในสงคราม สถานพยาบาล โรงเรียนยังได้รับการยกเว้น #ขอโทษด้วยครับ อารมณ์ล้วนๆ
ผมก็ว่า ใครจะว่ายังไงก็ช่างผมขอลงความเห็นว่าพวกนี้เลว
คนสมัยนี้เห็นแก่เงิน จรรยาบรรณไม่สน
my blog :: sthepakul blog
ผมดูว่าพวก ransomware นี่ไม่ได้ใช้อะไรใหม่มากมายเลยนะครับ หยิบของรอบๆ ตัวมาประกอบกันให้ดีก็ได้แล้ว แต่ของรอบตัวเราตอนนี้มันแน่นหนาจนถอดไม่ได้อยู่แล้วต่างหาก
ตัวแรกๆ ที่ถอดกันได้เพราะความสะเพร่าในการประกอบของคนทำที่หลงเหลือคีย์ไว้ให้เราหาได้ครับ พอรู้ว่าพลาดตรงไหนแล้วแก้ไปเรื่อยๆ ก็จบ แต่เรายังไม่เคยถอดรหัสโดยไม่รู้คีย์หรือไป brute force เอาคีย์ออกมาได้กันเลยสักตัว
ผมสงสัยว่า system ติด ransom-ware ไปได้ง่ายๆเลยเหรอ มันต้องลงไปดูปัญหาว่าเครื่องหลักติด ติดมาได้ยังไง
ปกติคนที่โดนก็มักจะไปเข้าเว็บแปลกๆหรือติดผ่านอีเมลล์มากกว่า
ส่วนใหญ่ที่เครื่องติดไวรัสนี่มาจากความสะเพร่าของคนล้วนๆเลย
จนปัจจุบันผมยังไม่โดนพวกนี้นะเพราะเช็คเมลล์ผมดูผ่านมือถือไม่ได้ดูผ่านคอมไวรัสมันไม่ได้คอมไพล์ในรันบนมือถือได้
จริงๆ แล้วเคสนี้จะอ้างว่า "สถานพยาบาล โรงเรียนยังได้รับการยกเว้น" คงจะไม่ได้
คงต้องกลับไปดูว่ารพ. นั้นมีการติดตั้งระบบ Network และการจัดการ หรือออกแบบระบบมาได้เหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหา เช่นนี้รึเปล่า
แม้แต่ในแคลิฟอร์เนียสถานพยาบาลบางที่ก็พยายามลดต้นทุนในเรื่องนี้เยอะเหมือนกัน
แต่พวกบริษัทใหญ่ๆ เช่่น โรงงานไฟฟ้า พวกนี้จ้าง security แบบจริงจัง 1M $ ก็ยอมจ่ายดีกว่ามาเจอพวก ransom-ware
ผมว่า DNS ของโรงพยาบาลโดนแฮคก่อนครับ แล้วที่เหลือก็เข้าเว็บแล้วก็ติดตามมาเป็นกระบุง
เคสนี้ของไทยก็มีจ่าพิชิตที่โดนนะครับ แต่แฮค router เล็กๆแค่นั้นเอง (มีบังคับให้จ่าย bitcoin เพื่อแก้ router ด้วยนะ)
ความคิดแบบคุณนี่แหละครับที่ผมเป็นกังวล เคสที่คุณยกตัวอย่างต่างจากกรณีนี้ เคสนี้เห็นชัดเลยว่ามุ่งโจมตีโรงพยาบาล นี่ถ้าต่อไปรถยนต์ไร้คนขับแพร่หลาย จะเกิดอะไรขึ้นถ้า hacker หรือใครซักคนเจตนาทำให้รถซักคันเกิดอุบัติเหตุเพื่อแสดงให้เห็นอันตราย แล้วก็มาอ้างความรับผิดชอบด้วยลอจิกที่ว่า "ต่อให้ผมไม่ทำ คนอื่นก็ทำได้อยู่ดี" อีกอย่างคนที่ตายไปคิดเป็นแค่ 0.1% ของรถยนต์ไร้คนขับทั้งหมด คุณจะรู้สึกยังไงครับ
จริงๆ ไม่มีอะไรมากหรอก พักหลังผมรู้สึกว่างานด้าน com sec มันโดนชักนำด้วยเงินมากเกินไปน่ะ จนหลายครั้งหลายการโจมตีผมรู้สึกว่าคนเหล่านี้ขาดความเป็นมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ต่างจากหุ่นยนต์ตัวหนึ่งที่เขียนโปรแกรมได้ มี logical thinking ที่ดีแต่ขาด emotional และมองอะไรแค่ด้านเดียวเท่านั้น ถึงคุณจะเจอช่องโหว่แต่มันมีขั้นตอนปฏิบัติที่ดีกว่านี้ไม่ใช่หรือครับ อย่าบอกนะครับว่าเข้าได้ถึงขนาดนั้นแค่อีเมล์หรือเบอร์โทรหาไม่ได้ บางอย่างที่มันทำเพื่อการกุศลก็ละเว้นไว้บ้างเถอะครับ
ผมคิดว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือรถยนต์ไร้คนขับ เรื่องว่าคนที่พบช่องโหว่จะมีมนุษยธรรมหรือไม่เป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ ต้องป้องกันไว้ก่อนด้วยการไม่ละเลยเรื่องความปลอดภัยครับ
ผมก็เพลียกับความคิดของคุณเช่นกัน
โดยส่วนตัวผมจบทางสาย Med และมาเรียนต่อทาง IT เพราะชอบ
ผมเห็นระบบทั้งสองด้านนั่นแหละ และผมนี่กล้าถกกับพวกหมอด้วยเพราะรู้ไส้รู้พุงกัน อ่านใบสั่งยาอ่าน OPD ยังอ่านได้เลย
ส่วนข้ออ้างที่คุณพูดมันใช้ในโลกแห่งความจริงไม่ได้ มันเรื่องอุดมคติล้วนๆ
คุณต้องเข้าใจว่าการวางระบบ Network มันจะต้องรัดกุมเพราะข้อมูลของคนไข้นั้นสำคัญแม้จะไม่มีการโจมตีระบบให้ล่มหรือเสียหายแต่ถ้ามันได้ข้อมูลพวกนี้มาจะทำยังไง ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญทั้งนั้นในส่วนของเวชระเบียน
Hacker มันมีทั้ง Ethical hacker และ cracker
ซึ่งพวกหลังมันก็ไม่ต่างจากพวกก่อการร้าย คุณจะไปเอาศีลธรรมอะไรกับคนพวกนี้ เรื่องแบบนี้ผมไม่มาโลกสวยด้วยนะผมมองโลกในแง่ความเป็นจริง
คุณไปขอให้โจรบอกว่าอย่าปล้น รพ. เลย คุณไปเอาสาระอะไรกับโจรครับมันไม่สนใจหรอก
สิ่งที่เราต้องทำคือป้องกันตัวเองก่อน ไม่ใช่ไปโทษโจร
ไม่ใช่ว่าเป็นรพ. แล้วโจรมันจะปราณี พูดเป็นเล่นไปได้
ถ้าอยากลดต้นทุนใช้ Intranet ไม่ก็ offline เอาช้าหน่อยแต่ชัวร์
งานรพ. ที่ US. ไม่ใช่งานเพื่อการกุศลไม่งั้นจะซื้อประกันสุขภาพไปทำไม
คุณรู้จักระบบ รพ. ที่นี่ดีแค่ไหนกันครับ
คนที่นี่เขาก็คิดเหมือนกันว่าต้องป้องกันตัวเองก่อนดีว่าจะไปขอร้องโจรว่าอย่ามาปล้นฉันเลย
เข้ารหัสเก่งกว่าพวกที่เป็น program ลิขสิทธิ์อีก
ผมมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าการทำชั่วมันมักจะง่ายกว่าการทำความดีครับ
ทำชั่ว กับ ทำดี?
เข้ารหัสมันมีแบ่งแยกด้วยเหรอครับ ทำชั่วเขียนรหัสง่ายกว่าทำดี?
การจะสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นมันทำง่ายกว่าการทำประโยชน์หรือทำเรื่องดีๆ ครับ อย่างพวกที่ตั้งใจจะก่อกวนก็มีหลายแบบไม่ต้องเก่งมากก็ได้ เอาโค้ดที่มีแจกทั่วไป มาหลอกล่อจนติดกับก็ได้ไม่ต้องสนใจว่าโค้ดจะถูกผิดหรือต้องทดสอบอะไร ส่วนเวลาจะสร้างอะไรที่มันเป็นประโยชน์กับคนอื่นมันก็ต้องทั้งทดสอบทั้งเขียนให้ทำงานได้ดีครับ
Data server ของบริษัทเพิ่งโดน Ransomeware เข้าระหัสไฟลฺเป็น .LOCKY ไปโชคดีที่ติดบางโฟลเดอร์ ต้อง Disconnect network และ internet ออกหมด เอาเครื่องที่ติดเชื้อออก ลง restore server ใหม่ Data หายไป หนึ่งวัน antivirus ตรวจจับไม่เจอ เป็นวันที่เหนื่อยมาก
ใช้ anti virus ของอะไรหรอครับ
อาทิตย์ก่อน ที่ทำงานโดนไป ตอนเห็นหน้าจอนี่ปวดหัวเลย