Lorrie Cranor ประธานนักเทคโนโลยีของ FTC (คณะกรรมการการค้าสหรัฐฯ) และยังเป็นศาสตราจารย์วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของสถาบัน Carnegie Mellon ได้เขียนบทความอธิบายว่าการที่ผู้ดูแลระบบกำหนดให้ผู้ใช้ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่บ่อยๆ ส่งผลเสียต่อความปลอดภัยของระบบแทนที่จะเป็นผลดี
Cranor มีผลการวิจัยโดย University of North Carolina at Chapel Hill มาสนับสนุนข้อเขียนดังกล่าวด้วย ผลการวิจัยชี้ว่าเมื่อผู้ใช้ถูกบีบให้ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยจนเกินไป พวกเขาจะไม่เค้นสมองเพื่อคิดรหัสผ่านใหม่อย่างเต็มที่ หากแต่มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะตั้งรหัสผ่านใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากรหัสผ่านเดิมด้วยรูปแบบที่คาดเดาได้ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับหลายคนคือการดัดแปลงหรือแก้ไขรหัสผ่านเดิมเล็กน้อย ซึ่งมักจะเป็นวิธียอดนิยมอย่างเช่น
งานวิจัยชี้ว่าการเปลี่ยนรหัสผ่านในแต่ละครั้งโดยมีรูปแบบการนำรหัสผ่านเก่ามา "แปลงร่าง" เป็นของใหม่เช่นนี้ ไม่ได้เพิ่มปัญหาสำหรับการแฮคของแฮคเกอร์เลย ในกรณีนี้หากแฮคเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลรหัสผ่านชุดเก่าแล้วการจะเดารหัสผ่านใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด สิ่งสำคัญที่แท้จริงของเรื่องนี้ก็คือทุกครั้งที่ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านใหม่ ควรตั้งด้วยรูปแบบที่หาความเชื่อมโยงกับรหัสผ่านเดิมไม่ได้
ที่สำคัญคือแม้รหัสผ่านใหม่จะไม่มีความเชื่อมโยงกับรหัสผ่านเก่าให้เห็น แต่ตัวรหัสผ่านเองก็ควรถูกตั้งให้เดาได้ยากด้วย (ยิ่งมีความยาว, ผสมด้วยอักขระเครื่องหมายพิเศษ และไม่สามารถอ่านเป็นคำได้ ยิ่งถือว่าเป็นรหัสผ่านที่ดีเพราะเดาได้ยาก) ทว่าการที่ผู้ใช้ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยเกินไปจนทำให้ไม่ตั้งใจคิดรหัสผ่าน ส่งผลให้ในหลายกรณีผู้ใช้ตัดสินใจตั้งรหัสผ่านแบบไม่ซับซ้อนจนทำให้แฮคเกอร์คาดเดาได้ง่าย (ตัวอย่างจากข่าวเก่าใน Blognone ชี้ว่าหลายคนหมดมุกคิดรหัสผ่าน จนตัดสินใจเลือกใช้คำง่ายๆ มาเป็นรหัส เช่น football, princess, welcome) หรือกล่าวอีกนัยคือนโยบายเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ กลับกลายเป็นสร้างแนวโน้มให้ระบบเปราะบางกว่าที่ควรจะเป็น
Cranor ยังอธิบายว่าหลายคนน่าจะมีความรู้สึกคล้ายกับผลการวิจัยนี้อยู่มานานแล้ว แต่การที่หลายองค์กรยังคงตั้งกฎให้ผู้ใช้เปลี่่ยนรหัสผ่านอยู่บ่อยๆ ซึ่งอาจเป็นทุกสัปดาห์, ทุกเดือน หรือทุก 3 เดือน นั่นเป็นเพราะว่าการที่ใครสักคนจะออกมาเรียกร้องว่าควรยืดอายุรหัสผ่านให้นานขึ้น อาจทำให้เขาคนนั้นถูกหัวหน้าหรือผู้บริหารมองว่าเป็นพวกละเลยไม่ใส่ใจความปลอดภัยขององค์กร หรือถูกเพ่งเล็งว่าเป็นคนเกียจคร้านถึงขนาดขี้เกียจคิดรหัสผ่าน แต่ตอนนี้มีงานวิจัยระดับดอกเตอร์มาสนับสนุนแนวคิดนี้แล้วว่า "เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยเกินไปนั้นเสียมากกว่าได้" จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีในการทบทวนมาตรการขององค์กรเกี่ยวกับเรื่องนี้
เพื่อตอบคำถามว่าเช่นนั้นแล้วนโยบายเรื่องรหัสผ่านควรมีแนวทางอย่างไรดี? ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องรหัสผ่าน Mark Burnett ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ Perfect Password เสริมในเรื่องนี้ว่าการเปลี่ยนรหัสผ่านนั้นยังจำเป็นอยู่ แต่ไม่ควรบ่อยเกินไป ความถี่ในการเปลี่ยนรหัสผ่านที่กำลังดีนั้นควรเป็นทุก 6 เดือน หรือปีละครั้ง ซึ่งนั่นจะทำให้ผู้ใช้ตั้งใจคิดรหัสผ่านที่รัดกุม ในขณะที่ Cranor เองเสนอทางเลือกอีกหนึ่งอย่าง นั้นคือการใช้แอพจัดการรหัสผ่าน เช่น LastPass หรือ DashLane เข้ามาช่วย
ทิ้งท้ายไว้สำหรับใครที่ยังคลางแคลงใจจากข้อสรุปของงานวิจัยของ University of North Carolina at Chapel Hill สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารงานวิจัยดังกล่าวได้จากที่นี่
ที่มา - Wired
Comments
หน่าน เอาแล้วสิ
ถ้าไช้ LastPass แล้ว LastPass ที่ไช้โดนหมายศาลขอ password ทั้งหมดที่คุณไช้ก็โดนสอยไปนะครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
มันเข้ารหัสไว้นิครับ แล้วเขาก็ไม่ได้เก็บรหัสผ่านล็อกอินเราไว้ด้วย ขอไปก็ไม่ได้อะไรหรอก
เรื่องจริงเลย
มีช่วงหนึ่งถูกบังคับเปลี่ยนบ่อย ก็เพิ่มเลขกันไป ฮา
+1 เช่นกัน มีอยู่กันหนึ่งของบริษัทห้ามตั้งซ้ำด้วยแต่ให้เปลี่ยนบ่อยมากกกกก ตอนนี้ เพิ่มเลขไปจาก xxx1 ตอนนี้เป็น xxx1234567890 แล้ว 55+
ผมเพิ่มเลขท้ายเหมือนกัน เปลี่ยนทีก็ +1 +1 +1 ฮ่าๆ ขี้เกียจจำว้อย
ส่วนตัวผมคิดว่าประโยคง่ายๆ เช่น My dog ate my homework but my teacher don't believe me. นั้นเป็นรหัสที่แกะยากกว่าข้อความสั้นๆ แต่หลากตัวอักษรเช่น ^hi$_b8! ทว่าเนื่องจากเปลืองพื้นที่เก็บเลยแนะนำให้ใช้แบบสั้นแต่หลากตัวอักษรมากกว่า(หลายๆ ที่จำกัดจำนวนอักษรรหัสผ่านไว้ที่ 16 ตัวอักษร) ซึ่งแบบข้อความนั้นผู้ใช้สามารถนึกประโยคอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันในช่วงเวลานั้นๆ เอามาเป็นรหัสผ่าน ง่ายกว่า แกะยากกว่า และเวลาเปลี่ยนรหัสนั้นก็จะต่างออกไปจากของเดิมอย่างสิ้นเชิง
ปัญหาคือแต่ละที่ก็จะมีฟอร์แมตของการตั้งพาสเวิร์ดแตกต่างกันออกไป ทั้งการผสมอักรขระ การจำกัดความยาว พอมันมีหลากหลายทีนี้ก็ต้องสร้างพาสเวิร์ดหลากหลายรูปแบบ ไปๆ มาก็จำไม่ค่อยได้อีก สุดท้ายก็จะเข้าลูปแบบในข่าว
ถูกทุกข้อเลย
ให้ lastpass เจนให้โลด
คงไม่มีคนนั่งจำ password ยาว 16 หลักประกอบด้วยตัวอักษรทุกแบบหรอก แถมไม่เหมือนกันทุกเวบไซต์ด้วย
ส่วนมาสเตอร์พาสเวิร์คผมเปลี่ยนทุก 1 ปี
เวลาเปลี่ยน ความรู้/ความเชื่ิอ ก็เปลี่ยน
เขาเรียกว่า ประสบการณ์
ใช่เลย ทำแบบนี้เลย
ถ้าตั้งยากเกินมันทำให้ลืมอีก
ผมตั้งมั่ว 16 หลัก มีตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายผสมกัน
แล้ว เอาปากกา เขียนรหัสใส่ฝาผนังบ้านไว้ ครับ
ถ้าโจรมันเข้ามาดูได้ ถึงในห้อง ก็ให้มันเอาไปครับ
ถ้าไม่มี LastPass คงต้องได้กด reset password บ่อยๆ แน่เลย
ผมใช้วิธีคิดประโยคภาษาไทย ประโยคหนึ่งยาวๆ แล้วพิมพ์แป้น Eng เอา รหัสเลยยาวแตจำง่าย เสียอย่างเดียวถ้าคีย์บอร์ดไม่ใช้ภาษาไทยหรือเป็นบนมือถือจะซวยเอา
ผมทำแบบนี้เหมือนกัน แต่ในมือถือผมเซฟไว้เมนูเดาคำครับ
ใช้การเพิ่มค่าของตัวเลขในรหัสผ่านชุดเก่า (บางรายใช้เปลี่ยนตัวเลขตามเดือนและปีที่ตั้งรหัสผ่าน)<<< ที่ทำงานผมบังคับเปลี่ยนทุกๆ ๒ เดือน ส่วนใหญ่เลยเปลี่ยนตามข้อนี้เลย ใส่เลขเดือนเข้าไป หรือใส่เป็น xxxxx001 xxxxx002 ...
สารภาพตามตรงรหัสเข้า Login ทุกเว็บให้ Chrome เซฟเก็บไว้หมดเลย
ถ้ารู้ Google Account ก็ได้รหัสไปหมด แม้กระทั่ง internet banking
ตั้ง 2Auth ก็ชวยได้เยอะครับ ถึงแม้จะรู้รหัส แต่ติด 2auth ก็เข้าไม่ได้เหมือนกัน
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า
ขององค์ ?
"ผลการวิจัยโดย University of North Carolina" ---> "ผลการวิจัยโดย University of North Carolina at Chapel Hill"
UNC มีหลายแห่งครับ UNC Chapel Hill (UNC), UNC Charlotte (UNCC), UNC Greensboro (UNCG) ถ้าพูดตัวย่อ UNC จะเป็นที่รู้กันว่า Chapel Hill แต่ถ้าพูดเต็มควรจะต้องบอกเมืองด้วยครับ
Ref : https://www.ftc.gov/news-events/blogs/techftc/2016/03/time-rethink-mandatory-password-changes
เปลี่ยนบ่อย แถมต้องใส่ตัวอักขระพิเศษ นรกแตก
@fb.me/frozenology@
ยิ่งพอบังคับให้เปลี่ยนทุกเดือนนะ ... พาสเวิร์ดแทบจะเหมือนกันหมดทั้งออฟฟิศ เดาได้เลย
ไม่พูดเรื่องจดรหัสติดไว้หน้าจอแฮะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ของผมใช้passwordป็นภาษาจีนแทน
มันคือเรื่องจริง
น่าจะมีตัวแสกนลายนิ้วมือแบบUniversal ที่เอาไปต่อเครื่องไหนก็ป้อนลายนิ้วมือแทนรหัสผ่านได้เลย
จริงนะ
หลังๆ ก็ + YYYYMMWW เอา
ที่ออฟฟิศ รหัสใหม่คือ ชื่อเดือนภาษาอังกฤษ 4 ตัว ตามด้วย ปี พ.ศ.
แจ่มแมว