นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้เปิดเผยหนังสือด่วนจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ผ่านบัญชี Twitter ของตน ซึ่งพูดถึงการขอให้ กสทช. พิจารณาข้อเสนอขอรับช่วงคลื่น 900MHz จาก AIS ด้วยความรอบคอบ
ทาง สตง. ได้ให้ความเห็นต่อประเด็นต่างๆ ที่ทาง AIS ได้เสนอมา ซึ่งมี 3 ประเด็นคือ ขอซื้อต่อคลื่น, ขยายเวลาคุ้มครองลูกค้า 2G จนกว่าจะชำระเงิน และดูแลคลื่นรบกวนที่ติดกับ 850MHz ของดีแทค โดยสรุปได้ดังนี้
- การให้ AIS ได้คลื่นโดยไม่มีการประมูล อาจมองได้ว่าหลีกเลี่ยงการแข่งขัน และเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดรายหนึ่ง รวมถึงการระบุว่าหากเริ่มต้นการประมูลที่ราคา 75,654 ล้านบาท จะไม่มีผู้เข้าประมูลนั้น เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอ เพราะ AIS ย่อมเข้าประมูลแน่นอน และดีแทคก็อาจเข้าร่วมด้วย
- ประเด็นที่ AIS ขอให้คุ้มครองลูกค้า 2G เดิมบนคลื่น 900MHz สตง. มองว่าหาก กสทช. ให้ความร่วมมือหรือออกมาตรการคุ้มครองใดๆ เพิ่มเติมอีก ก็เป็นการดำเนินการที่ขัดกับประกาศคุ้มครองฯ และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายฟ้องร้องได้
- สตง. ยังให้ความเห็นว่า ปัจจุบัน AIS มีลูกค้า 2G อยู่ประมาณ 4 แสนเลขหมาย ขณะที่เป็นผู้ใช้โรมมิ่งอยู่ 7.8 ล้านเลขหมาย ซึ่งอาจเป็นกลุ่มที่โอนย้ายอย่างผิดกฎหมาย
- สุดท้ายข้อเสนอเรื่องการดูแลคลื่นรบกวน สตง. มองว่าควรเป็นความรับผิดชอบของผู้ได้รับใบอนุญาต ไม่ใช่ กสทช. เนื่องจากการประมูลครั้งที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายก็ทราบประเด็นปัญหานี้อยู่แล้ว รวมทั้งทราบว่าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการป้องกันปัญหาคลื่นรบกวนเอง
ที่มา: @TakornNBTC และสำนักข่าวอินโฟเควสท์

Comments
ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
แล้วตอนเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทรูล่ะ
+2553 ก็ลองให้ทรูเป็นฝ่ายที่ AIS เป็นมั่ง ผลก็คงไม่ต่างจากตอนนั้นที่เอื้อประโยชน์แหงๆ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ผลประโยชน์...... ส่วนเราที่ทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องอยู่กันอย่างนี้ต่อไปเรื่อย......
Get ready to work from now on.
รวมถึงการระบุว่าหากเริ่มต้นการประมูลที่ราคา 75,654 ล้านบาท จะไม่มีผู้เข้าประมูลนั้น เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอ เพราะ AIS ย่อมเข้าประมูลแน่นอน และดีแทคก็อาจเข้าร่วมด้วย---------------[แล้วถ้าไม่เกิดขึ้นจริง สตง. รับภาระค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ครับ]
อันนี้สงสัยเหมือนกันอะ มันก็เป็นแค่ข้อคาดการณ์ล่วงหน้าของ สตง เหมือนกันนี่ครับ
อันนี้ รู้สึกว่า สตง กล้าฟันธงมาแบบนี้ เกิด AIS DTAC ไม่มาประมูลตามที่คาดไว้ ใครจะรับผิดชอบ ของแบบนี้ ใครว่าแน่นอนก็ไม่เห็นจะแน่ซะที
+1 เหมือนกัน ต่างคนต่างคาดนะเนี่ย
ข้ออื่นเฉยๆ แต่ข้อสุดท้ายนี่ การที่พ่อค้าขายของที่รู้ทั้งรู้ว่ามีข้อบกพร่องให้ลูกค้าในราคาเต็ม แถมยังบอกลูกค้าว่าไปหาทางทำให้ใช้ได้ดีเอาเองนี่มัน...
ผมว่าไม่ผิดนะที่จะขายของที่มีข้อบกพร่องโดยแจ้งให้ทราบชัดเจนว่ามันมีข้อบกพร่อง เว้นแต่ข้อบกพร่องที่ว่าจะเกี่ยวกับความปลอดภัยครับ
เพิ่มเติมรายละเอียดจากเอกสาร สตง. ส่วนนี้ให้แล้วครับ
ถ้าพูดถึงสินค้าทั่วไป กรณีแบบนี้ก็คือขายของมีตำหนิ ปกติก็จะลดราคาให้นะ
มันไม่เชิงของมีตำหนิอะครับ มันคือของไม่ครบ เหมือนซื้อแชมพู ข้างขวดเขียน 500 มล. แต่ใช้ได้จริงแค่ 375 มล.
อันนี้คิดหาทางออกให้ว่าผู้ประมูลจะประมูลได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้ แต่รัฐควรเก็บจริงแค่ 75% หรือเท่าแบนด์วิธที่ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพจริงๆ ของล็อตนี้ ผู้ประมูลจะได้เอาเงินที่เหลือไปจัดการกับส่วนที่มีปัญหา ประโยชน์ก็ประชาชนได้
ก็ประมูลสิ ทรูเข้าไม่ได้ jas ห้ามเข้า
AIS กับDtac น่าจะคุยกันมาแล้ว
ลงท้ายก็น่าจุะราคาไม่ต่างจากเดิม
ถ้าเขาคุยกันมาแล้วจริงก็แสดงว่าล้มประมูลแน่ๆสิครับ ราคาจะได้เหลือพอๆกับตอนประมูลคลื่น 1800 โดย AIS อาจจะให้ผลประโยชน์กับ Dtac ผ่านสัญญาโรมมิ่งเพิ่มเติมก็ได้
ก็ประมูลซิครับ กสทช. ก็มีสิทธิ์จัดการประมูล ทรูก็โดนสั่งห้ามแล้ว แจสก็โดนตัด แข่งขันกันซิ
ถ้าให้ประมูลกว่าเขาจะได้ประมูลลูกค้าเขาก็โดนตัดสัญญาณหมดแล้วเป็นผมๆก็ไม่เอาแล้วถึงเวลานั้นมันคงจะสายไปทั้งอะไรหลายๆด้าน
คือเค้าประมูลไม่ได้ตั้งแต่ตอนแรกซึ่งลูกค้าที่ใช้คลื่นนั้นก็ต้อมซิมดับมั้ยครับ และตอนนี้ ศาลแค่ยืดเวลาคุ้มครองให้อยู่ หรือผมเข้าใจไรผิดไปครับ
นั่นแหละครับ พอซิมดับไปแล้ว ais ก็คงไม่เอาแล้ว เพราะราคานี้ เป็นราคายอมรับได้ในตอนที่ซิมยังไม่ดับ เมือซิมดับไปแล้ว ปัจจัยเปลี่ยนความต้องการก็เปลี่ยน
ไม่เห็นด้วยกับข้อสุดท้าย เพราะกสทช.มีหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ แล้วที่ลดguard bandลงก็กสทช.ทำเอง แต่มาบอกว่าไม่ใช่หน้าที่ของกสทช.ในการมาดูแลเรื่องคลื่นรบกวนนี่มันไม่ใช่แน่ๆ
เพิ่มเติมรายละเอียดจากเอกสาร สตง. ส่วนนี้ให้แล้วครับ
สตง. ไปเอาความมั่นใจผิดๆ นั่นมาจากไหน =3=" //ขัดกฎหมายอะไรเดี๋ยวก็โฟตี้โฟตี้โฟตี้ฟาย...อยู่แล้วล่ะมั้งถ้าจะทำให้ได้จริงๆ =.=
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ข้อนี้ผมกลับเห็นด้วยนะครับ เพราะ AIS ประกาศออกมาแล้วว่าจะขอซื้อที่ราคานี้ นั่นหมายถึงนี้คือราคาขั้นต่ำที่ AIS รับได้แน่นอน ดังนั้นถ้าจัดประมูลอย่างถูกต้องตามกติกา AIS ย่อมเข้ามาประมูลแน่นอน ส่วนDTACจะมาร่วมประมูลหรือไม่มานั้น ผมมองว่ายังไงรัฐก็ได้ประโยชน์อยู่ดี
ถ้าDTACไม่ร่วมประมูล AISก็จะได้คลื่นไปในราคาแรกที่ AISขอเสนอซื้อคือ 75,654 ล้านบาท
ถ้าDTACร่วมประมูล ราคาคลื่นก็จะถีบตัวสูงขึ้นกว่า 75,654 ล้านบาท สุดท้ายแล้วเงินก็เข้ารัฐฯ 75,654 ++ อยู่ดี
จึงไม่มีความจำเป็นเลยที่ต้องขายคลื่นตรงๆให้AISแล้วเสี่ยงต่อการขัดกับกฎหมายบางประการที่ต้องศึกษากันวุ่นวาย ส่วนเงินการจัดประมูล กสทช ก็สามารถเรียกจาก JAS ได้อยู่แล้วไม่ต้องเสียอะไรเพิ่มสักบาท
ราคาที่เขาจะซื้อนี้ คือ เขาต้องการจะซื้อตอนนี้ เพื่อช่วยให้ลูกค้า SIM ไม่ดับด้วยทันเวลา ถ้าดับไปแล้ว เขาก็ต้องไปหาทางเลือกอื่น ซึ่งก็ต้องจ่ายเงินซ้ำซ้อน หรือมีผลกระทบไปแล้ว ไม่มีการการันตีใดๆ ว่า หลังจาก SIM ดับ (และใช้วิธีทางแก้ทางอื่นไปแล้ว) เขาจะยังยอมจ่ายตังค์ในราคานี้อีกหรือไม่ เพราะเขาลงทุนในการแก้ปัญหาทางอื่นไปแล้ว ดังนั้น จะมาหรือไม่มา ไม่สามารถตอบได้ เพราะกว่าจะประมูลอีกตั้ง 2 เดือน ดับหรือ roaming หรือลูกค้าหนีไปแล้วครับ ส่วนจะยอมไม่ยอม ก็ตามกฏหมายเลยครับ แต่ตอนนี้ตอบไม่ได้หรอกว่า จะมีคนเข้าประมูลกี่ราย จนกว่า ไปไล่ถามเป็นรายๆ ไป
มองอีกมุม ถ้าซิม 2G ของ AIS ดับลูกค้าหายไปหมดแล้ว AIS อาจไม่เข้าประมูลในราคา 75,654 ล้านบาท
+1
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ถึงซิมดับ แต่คลื่น 900 มันก็มีประโยชน์อย่างอื่นนะ ยังไง ais ก็มีคลื่น 900 ไว้ใช้ตามชนบท
ใช่ฮะ แต่ถ้าไปเอาทีหลังเพื่อประโยชน์อย่างอื่น AIS อาจไม่ยอมจ่ายราคานี้
+1 มองแบบนี้เหมือนกันครับ
ที่ AIS ขอซื้อตอนนี้ ก็เพื่อเลี่ยงปัญหาซิมดับ ถ้าอีกสองสามเดือนมันดับแล้ว AIS อาจจะไม่เข้าประมูลเลยก็ได้
ผมว่า AIS มองไกลกว่าเรื่อง sim ดับครับ เพราะเรื่องลูกค้า 4 แสนรายที่เหลืออยู่ เป็นพวก 2G ตามชนบทอยู่แล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ให้ผลกำไรสูงพอให้ AIS ต้องยอมลงทุนถึง 75,654 ล้านบาทหรอกครับ
แล้วเรื่อง sim ดับเนี่ยเอาจริงๆ ต่อให้ กสทช ยอมขายราคานี้เลย กว่าจะทำสัญญาอะไรกันเสร็จก็ไม่น่าทันวันที่ 14 เมษานี้หรอกครับ ดีลมูลค้า 75,654 ล้านบาท ไม่ใช่จะมาตกลงซื้อขายกันใน 3-7วัน เพราะAISก็ต้องไปขอ Bank การันตีก่อน เว้นแต่จะมี ม44 มาคุ้มครองลูกค้าไม่ให้ซิบดับในวันที่ 14 เมษานี้
ผมกลับมองว่าที่ AIS ต้องการคลื่น 900 เพราะถ้า AIS ไม่มีคลื่นความถี่ต่ำแต่กำลังส่งไกลเหลือในมือเลย อนาคตAISจะลำบากกว่าเดิมมาก เพราะที่AISเป็นเจ้าตลาดได้ทุกวันนี้ก็เพราะคลื่น900ชุดนี้ครับ
ส่วนลูกค้า 4แสนรายที่กำลัง simดับ ถือเป็นของแถมที่ AIS หวังจะได้จากดีลชุดนี้ครับ
เขาต้องการอยู่แล้วครับ แต่ลากออกไปอีกหน่อยจ่ายได้ถูกกว่า
อย่าง dtac หยุดเคาะที่ สี่หมื่น แล้ว ต่อไปเอาสัก ห้าหมื่น ก็ได้คลื่น ประหยัดไปได้หลายอยู่ เพราะเหลือ แค่ 2 รายแน่ๆแล้ว
Dtac ก็ไม่สู้ราคาสูงด้วย
ประมูลใหม่ต่ำกว่า 75 แน่นอน
ครั้งหน้าไม่มีใครเข้าหรอก
แค่รออีกหน่อย set ราคาใหม่แค่หมื่นกว่าล้าน เพราะคลื่นไม่ถูกใช้ รัฐก็เสียประโยชน์ ประชาชนก็เสียนะครับ
ถ้าเอาตามเหตุผลนี้จริง เขาคิดได้ตั้งแต่รอบแรกแล้วครับ เพราะ ประโยชน์ของคลื่นความถี่ต่ำ มันไม่ได้เพิ่งจะมามีประโยชน์ช่วงนี้ มันเป็น fact ที่รู้กันมานานแล้ว แต่ที่เขายอมกลับลำ เพราะสถานการณ์ และกระแส ตลอดจนเกมส์การตลาดที่รุนแรงในปัจจุบันครับ เอาจริงๆ ราคาที่ TRUE จ่าย มันก็ไม่ใช่ราคาของคลื่นอย่างเดียว แต่มันเป็นตั๋วของ TRUE ในการเปิดเกมส์เพื่อขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 หรือ 1 ถึงได้ยอมจ่ายขนาดนั้น สถานการณ์มันเปลี่ยน impact มันเปลี่ยน เขาก็ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ครับ
ผมเห็นด้วยครับยังไงก็ไม่ทัน 14 เมษายน 59
แล้วเงินไม่ใช่น้อยๆ ถ้าเกิด AIS มีปัญหาเรื่องหาเงินหาแบงค์การันตีเหมือนที่เจสเป็นก็ไม่มีกฏกติกาอะไรมาลงโทษ
สู้ประมูลใหม่ภายใต้กฏกติกาใหม่ที่รัดกุมดีกว่า
กสทช.ก็ไม่ได้จะทำเองนี่ครับ เห็นส่งเรื่องให้นายกฯใช้ม.44เพราะรู้ตัวว่าไม่มีอำนาจ ซึ่งก็ไม่เห็นมีหน่วยงานไหนกล้าต้านกระบี่อาญาสิทธิ์เล่มนี้นี่
หนุนให้ใช้นะครับ ให้มันพังไปทั้งระบบเลย(ประชด)
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
หลายท่านในนี้อาจลืมไปว่า กสทช. บอกไม่มีอำนาจพิจารณาข้อเสนอ AIS ต้องส่งเรื่องให้ คสช. ใช้ ม.44 ดังนั้นเผือกชิ้นนี้ส่งต่อไปยัง คสช. เรียบร้อย รอแค่พวกเขานั้น จะพิจารณาอย่างไร
ตลก ยิ่งกว่าหนังสือการ์ตูนมหาสนุกอีก
ผมสงสัยจังว่า ค่าใช้จ่ายในกาจัดประมูลครั้งใหม่ เขาคำนวณจากอะไร ถึงได้รู้สึกว่ามันแพงจนต้องหาผู้รับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายเรื่องที่พักสำหรับให้ผู้มาร่วมประมูลค้างคืน? ค่าแรงเจ้าหน้าที่? ไม่ใช่ว่าของพวกนี้มีอยู่แล้วหรือต้องจ่ายเป็นปกติอยู่แล้วหรือ?
ผมว่า มันจะสองร้อย หรือสองร้อยล้าน ก็ต้องมีคนรับผิดชอบ เพราะถ้า JAS ไม่เบี้ยวตอนนั้น ตอนนี้ค่าจัดประมูลบาทเดียวก็ไม่ต้องจ่ายเพิ่มครับ
ทำไมหลายคนอยากให้ AIS ได้ซื้อคลื่นผ่านม.44 ทุกวันนี้ยังบิดเบี้ยวกันไม่พออีกหรือ ?
That is the way things are.
กสทช.เป็นผู้บอกเองครับว่าต้องพึ่ง ผมมองในนี้ไม่น่าจะเชียร์ให้ใช้กัน ซึ่งจริงๆกสทช.ทำไม่ได้ก็จบครับแต่ที่คนพูดถึงกันคือตอนนี้สตง.ไปเอาความมั่นใจมาจากไหนที่กล้าฟันธงว่าราคานี้ดีเหมาะสมแล้วต้องมันประมูลชัวร์ เขาเป็นองค์อิสระครับ การให้เหตุผลต้องมีความแน่นอนไม่ใช่คิดว่าน่าจะได้ ไม่ใช่คาดว่าจะทำผิดหรือทำถูก มันเด็กอนุบาลก็ให้เหตุผลแบบนี้ได้
กสทช.บอกว่าไม่มีอำนาจแต่แรกแล้วครับ ไม่ว่าความเห็นของสตง.จะเป็นอย่างไร กสทช.ก็ไม่มีอำนาจอยู่ดี
That is the way things are.
ผมว่าก็ถูกของ สตง. อยู่แล้วมันเป็นหน้าที่เขา ส่วนจะใช้ ม.44 หรือไม่ก็เรื่องของนายก ส่วน กสทช. เขาก็ทำหน้าที่ของเขาอยู่ ไม่เห็นมีอะไรในกอไผ่ ตอนนี้มีอยู่แค่จะ ม.44 หรือจะประมูล ส่วนถ้าประมูลแล้ว AIS หรือ DTAC จะไม่เข้าร่วมก็เป็นสิทธิของเอกขน อยู่ที่ใครจะหาที่ Landing สวยๆ ได้ดีที่สุด โดยรัฐไม่เสียผลประโยชน์
ถ้า ais มองว่า ลูกค้าซิมดับก่อน ราคา 75000 ตอนนั้นไม่คุ้มแล้ว
จะเริ่มไม่สวยแล้วครับ โยนขี้กันสนุกแน่
แจสเตรียมเจ็บ ทรูเตรียมขอลดราคามาทันที
ซิมดับวันไหนครับ แล้วเงินจำนวนเท่าไหร่ คิดว่าAIS หาทันไหม สัญญาก็ต้องใช้เวลาเขียน คิดว่าทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา สามารทำเสร็จภายใน7วันเหรอครับ
คงไม่ต้องทำอะไรเยอะครับ ถ้ามีตังมาจ่าย
แต่ถ้าเอาให้ ais แล้ว
สุดท้าย ais หาเงินไม่ได้นี่ไม่มีทางออกเลย
เพราะใช้ วิธีนอกกฏหมาย (กรณีนี้คือ กรณีที่แย่ สุดๆ)
ถ้าจะให้ประมูลโดยเริ่มต้นที่ราคา JAS, DTAC ย่อมไม่เข้าประมูลอย่างแน่นอน AIS ก็อาจไม่เข้าร่วมด้วยเพราะเซฟ 2G ไม่ทัน แต่ถึงเข้าก็อาจประมูลไม่ได้เนื่องจากมีผู้ประมูลรายเดียว
ผมสงสัยอยู่ข้อเดียว ว่าถ้า เกิดไม่มีใครมาประมูล กสทช. ใครจะรับผิดชอบต่อความเสียหาย
แล้ว สตง. เอาความมั่นใจมาจากไหนว่าเค้าเข้าประมูลอยู่แล้ว
ถ้าผมเป็น กสทช. คงต้องยื่นเรื่องไปต่อว่า ถ้าจัดประมูลแล้วไม่มีใครประมูล ใครต้องรับผิดชอบความเสียหาย (จริง ๆ คือใครก็ได้ไม่ใช่กสทช. ก็พอ)
สุดท้ายแล้วอาจจะเห็น ม.44 เพราะดูไม่ว่าทางไหนก็ดูจะผิดกฎหมายไปเสียหมด แต่จะม.44 ให้ทำอะไรนั่นอีกเรื่อง
วช้ ม44 เร่งการประมูลเร็วขึ้น
นายก บอกแล้วไม่ใช้ ม.44 กับเรื่องนี้ เพราะมันดูไม่เหมาะสมที่จะมีคำสั่งให้เอกชนรายเดียวได้รับคลื่นไห
ส่วนการประมูลใหม่ ผมไม่แน่ใจว่ามันมีข้อกำหนดว่าต้องเคาะประมูลอย่างเดียวไหม ถ้าเปลี่ยนมายื่นซองประมูลแบบที่ AIS เสนอ ก็น่าจะได้เรื่องมันจะได้จบทีเดียว ใครเสนอซองราคาดีสุดก็รับคลื่นไป เพราะอย่างไรแล้วราคามันสูงมากกว่ามูลค่าที่ กสทช. ประเมินไว้มากแล้ว ถ้าไปเคาะประมูลอีก กลัวจะเรื่องยาวอีก
น่าจะสร้างกฏหมายใหม่ ให้ประมูลก่อน sim ดับ 1-2 ปี คนใช้ และผู้ถือหุ้น จะได้เตรียมตัวถูก
ถูกของสตง.เขานะ ตามกม.เลย
ตรงนี้ผมไม่เห็นด้วยนะเพราะสิ่งที่สตง. ทำหนังสือมาบางส่วนก็เป็นเพียงการคาดการณ์ เช่นกัน จะเห็นว่า สตง. อ้างว่า "เพราะ AIS ย่อมเข้าประมูลแน่นอน และดีแทคก็อาจเข้าร่วมด้วย" สิ่งนี้ไม่ควรอยู่ในการทำความเห็นทางกฎหมายเพราะดูเหมือนจะขัดแย้งกันเอง เพราะไม่ว่าจะออกมาแบบไหนมันคือการคาดการณ์ เพียงแต่คาดการณ์คนละแบบเฉยๆ
กสทช. คาดว่าไม่มีคนปะมูล สตง. คาดว่ามีคนประมูล เพราะถ้าไม่ใช่การคาดการณ์ คงใช้คำว่าอาจ
ถ้ามีกฎหมายให้หน่วยงานที่ให้คำแนะนำรับผิดชอบร่วมในกรณีที่เกิดความเสียหายเชื่อเถอะครับหนังสือฉบับนี้จะไม่มีออกมาให้เห็น
ผมรอดูตอนคลื่นโดนดองมากกว่าทีนี้ล่ะหาคนรับผิดชอบเพียบลาก สตง. เข้ามาช่วยแชร์ความรับผิดก็ดีนะ
ส่วนเรื่องขัดต่อกฎหมายตอนที่ทางกสทช.บอกไม่อำนาจก็คือกสทช.มองว่าขัดต่อกฎหมายแต่แรกอยู่แล้ว (ไม่มีอำนาจแล้วไปทำ)
ผมไม่ชอบหน่วยงานพวกนี้เวลาทำความเห็นอะไรมาแล้วไม่ค่อยรับผิดชอบมากกว่า
แก้ไข บรรทัดที่ 5 เป็น "กสทช. คาดว่าไม่มีคนประมูล สตง. คาดว่ามีคนประมูล เพราะถ้าไม่ใช่การคาดการณ์ คงไม่ใช้คำว่าอาจ"
มันเป็นเรื่องของอนาคตก็ต้องเป็นการคาดการณ์ล่ะครับ
ก่อนหน้านี้ก็คาดการณ์กันว่าคลื่นราคานี้คงไม่มีใครสู้ราคา แต่ตอนนี้ AIS ก็สู้
แล้วผมถามหน่อยถ้าสมมุติ กสทช.รับข้อเสนอซื้อคลื่นของ AIS แน่นอนการประมูลรอบสองย่อมไม่เกิดขึ้น แต่ต่อมา AIS มีปัญหา เช่นหาเงินมาไม่ได้ หาเงินมาไม่ทัน จะทำไงครับในเมื่อมันไม่มีกติกาที่ใช้บังคับ
ทางออกที่ดีก็คือประมูลใหม่เขียนกติกาให้ชัดเจน เปิดโอกาสให้รายอื่นสู้ ถ้าอยากให้จบไวก็เลื่อนวันประมูลให้เร็วขึ้นอีก
ผมไม่ได้สนใจประเด็นนั้นครับ
ประเด็นที่ผมสนใจคือการทำความเห็นทางข้อกฎหทายไม่ควรทำหนังสือมาในลักษณะนี้
หาก สตง. ระบุมาเพียงแต่ว่าทางข้อกฎหมายมิสามารถทำได้เท่านั้นก็เพียงพอ
แต่การใส่การคาดการณ์ของตนเองลงมาด้วยทำให้หนังสือฉบับนี้คาดความน่าเชื่อถือ
ถือสอบตกเวลาเขาทำหนังสือหารือไป
เวลาเขา
อย่าใช้คำว่าเป็นเรื่องของอนาคต นี่หนังสือทางราชการ เป็นหนังสือทำความเห็นในด้านกฎหมาย
สตง. ทำแบบนี้ไม่ได้ครับ ผิดหลักอย่างมาก
ผมถึงบอกว่าต้องสตง. ลงมารับผิดร่วมด้วยหากเกิดความเสียหายจะได้ไม่ออกหนังสือชุ่ยๆแบบนี้ออกมา
อยากรู้จริงๆใครเป็นคนร่างหนังสือฉบับ
** เพิ่มเติม
เวลาเขาทำหนังสือเขาไม่ทำแบบนี้ เขาจะแจ้งมาเพียงว่าขัดต่อข้อบังคับอย่างไร แก้ไขอย่างไร เท่านั้นพอจบอย่าไประบุเรื่องของอนาคต
แต่การใส่การคาดการณ์ของตัวเองมาด้วยมันเกินหน้าที่และไม่ควรทำ
เห็นด้วยตามนั้น
มาถึงขนาดนี้แล้ว ผมว่าอาจจะต้องทำตามกฏหมายอย่างที่ สตง บอกนั้นแหละ ส่วนเรื่องความเสียหาย ที่เป็นที่ถกเถียง คงต้องเป็น กสทช ที่รับเอง เพราะผมคิดว่า ที่เรื่องมันเกิดขึ้นมา ส่วนนึงน่าจะเป็นเพราะ สกทช ลืมเคส เบี้ยวแบบนี้ทำให้ลืมตั้งเงื่อนไข หรือค่าปรับความรับผิดชอบขึ้นมา
ถ้าไม่ได้เขียนครอบคลุมแบบนี้คงอาจจะต้อง จ่ายค่าลืมกันบ้างมั้งครับ
ผมว่ามันไม่แปลกที่เขาไม่เตรียมเคสเบี้ยวประมูลไว้ เพราะการประมูลงานรัฐฯ ถ้าชนะแล้วเบี้ยวมันมีบทลงโทษคนที่มาประมูลต้องรู้อยู่แก่ใจ
แต่ มันดันมีคนเบี้ยวเกิดขึ้น กสทช. ก็ดันไม่ได้เตรียมการลงโทษไว้อีกเพราะไม่คิดว่าจะมีใครเบี้ยว คือ เชื่อใจเอกชนที่เข้ามาประมูลว่าชนะแล้วไม่มีเบี้ยวหรอก เลยไม่ได้เตรียม worst case ไว้
และมันดันประมูล 2 ชิ้นพร้อมๆกันอีก ราคามันก็จบที่ใกล้เคียงกันอีก และดันมีเอกชนจ่ายมาเจ้าหนึ่ง อีกเจ้าหนึ่งเบี้ยวอีก