PwC บริษัทบัญชี-ที่ปรึกษารายใหญ่ของโลก ออกรายงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแข่งเกมมืออาชีพ หรือที่เรียกกันว่า eSports ว่ากำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ คาดว่าวงการนี้จะมีมูลค่า 463 ล้านดอลลาร์ในปี 2016 เติบโตขึ้น 43% จากปี 2015
รายงานของ PwC ยังบอกว่าชาว eSports มักคุยกันใน Twitter เป็นหลัก ส่วนประเทศที่เป็นผู้นำในตลาดนี้ยังเป็นสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งรายได้ 38%, ผู้เล่นส่วนใหญ่ 70% เล่นเกมที่บ้าน มีเพียง 18% ที่ไปแข่งแบบเห็นหน้า
สถิติที่น่าสนใจอีกอันคือสัดส่วนผู้ชม eSports มีมากกว่าผู้เล่นมาก ในกลุ่มตัวอย่างของ PwC ระบุว่าไม่ได้สนใจเลย 80%, ชมการแข่งขันอย่างเดียว 12%, ชมด้วยเล่นด้วย 6%, เล่นอย่างเดียว 2% นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องเพศยังไม่มีผลต่อ eSports โดยผู้หญิงและผู้ชายให้ความสนใจในระดับใกล้เคียงกัน
ช่องทางการรับชมการแข่ง eSports ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือพีซี 57%, คอนโซล 46%, ทีวี 32%, สมาร์ทโฟน 26%, แท็บเล็ต 24% ส่วนหมวดเกมยอดนิยมอันดับหนึ่งคือ FPS นำห่างที่ 63%, ตามด้วย MOBA 37%, เกมไฟติ้ง 36%, MMO 28%
สถิติที่เหลืออ่านได้จากรายงานฉบับเต็มครับ
ที่มา - PwC
Comments
ผมว่า e-sport ยังเติบโตได้อีกเยอะ แต่เกมที่จะเอามาใช้แข่งขันมันควรจะเป็น open source ที่ดูแลโดยกลุ่มชุมชนผู้เล่นเองทั้งหมด และต้องไม่ขึ้นอยู่กับ บ. เกมเลยมันถึงจะไปได้ไกลกว่านี้ครับ
e-Sport FPS นึกถึงแต่เกม CSGO
MOBA ก็พวก DOTA2 LOL HON
ผมว่ายากครับ
ยากแต่ว่ายั่งยืนกว่าเกมที่ถูกพัฒนามาเพื่อขาย เพราะหากทีมพัฒนาหยุดดูแลเกมในขณะที่เกมยังมี bug/glitch อยู่ หรือสมดุลในเกมยังไม่ดีพอมันจะทำให้เกมไม่น่าเล่น แถมจะแก้ไขอะไรก็ไม่ได้เพราะติดปัญหาด้านลิชสิทธิ์ครับ แต่ถ้าเป็นเกมที่เป็น open source การแก้ไขเกมจะทำได้ง่าย จึงทำให้เกมมีความน่าเล่นมากกว่าและยั่งยืนกว่าครับ
พอเป็นOpen มันจะแก้bugช้ากว่าเยอะมากนะ
ตราบใดที่เกมมันยังฮิตอยู่มันไม่มีทางโดนทิ้งอยู่แล้ว
เรื่องที่ว่าพอเป็น open source แล้วแก้ไขช้านี่ตรงกันข้าม เพราะเท่าที่ผมเจอ open source แก้ไขเร็วกว่า close source และต่อให้ได้รับความนิยมขนาดไหน ถ้าผู้พัฒนาอยากทิ้งก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องสนใจความนิยม (ผมจะทิ้ง จะทำไม) เว้นแต่ทิ้งพร้อมประกาศ open source ครับ
ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเกมคือต้องมีคนกำหนดทิศทางครับ พอมีคนกำหนดทิศทางจะ open-source หรือ close-source ก็คงไม่ต่างกัน เพราะสุดท้ายแล้วผู้กำหนดทิศทางก็จะเป็นคนเลือกเองว่า branch ไหนควร merge ลง main branchอยู่ดี เหมือน AOSP กับ Android
@HMage
not rely on equipment provided by a single supplier (excluding proprietary games such as arena football)
e-Sports เป็น proprietary games เกมครับ แต่จริงๆแล้ว equipment ก็มาจากหลายยี่ห้อนะ แล้วแต่ว่าทีมไหนได้ sponsor ของอะไร
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1 เรื่อง open-source จะทำให้ปิดประเด็นเรื่องข้อแนะนำของ sport ที่มีอยู่ข้อหนึ่งว่า
"not rely on equipment provided by a single supplier" - ที่มา Wikipedia
แต่ก็หมายความว่า game ในกลุ่มเดียวกันจะถูกจับรวมเหลือเพียงกติกาเดียวสำหรับใช้แข่งจัดอันดับโลก เหมือนประวัติศาสตร์ของกีฬาชนิดอื่น
นึกภาพว่า MOBA แต่ละ game จะมี mode International Standard Rules คือไม่ว่าจะเล่น game ไหนก็จะใช้ทักษะเดียวกันได้โดยไม่มีความต่างเรื่องจุดเด่นของแต่ละ game ไม่มี drama LoL vs DotA2 vs HoN vs ๆๆๆ
จำได้ว่าตอน PointBlank เข้าไทยใหม่ๆ ผู้บริหาร NCsoft บอกว่าวงการ eSport ไทยไม่เอื้อให้ MMO จัดแข่งขัน (มีแต่ SF/ปังย่า/ออดิชั่น ที่บูมหนักๆ ช่วงนั้น) NCsoft ก็เคยเอา L2 จัด Battle Tournament อยู่หนนึง แต่ก็โดนมาเฟียประจำเกมล้มการแข่งขันไม่เป็นท่า (ไม่มีใครกล้าเข้าแข่งขัน) ทำให้ไม่มีจัดขึ้นมาอีก ทางแก้เลยจำเป็นต้องเอา PointBlank เข้าและก็ได้รับผลเชิงบวกมาตลอด หลังจากนั้นผู้บริหาร NCTrue คนก่อนปิดบริษัทก็เลยบอกว่า .. บ้านเราไม่เหมาะกับ MMO จริงๆ เกมใหญ่สองเกมอย่าง Aion/Blade&Soul (MMO ที่ทำเพื่อ eSport โดยเฉพาะ) เลยไม่มีสิทธิ์เข้าไทยโดยปริยาย -___-
สุดท้าย เป็นฝ่าย NCSoft เองที่ต้องหอบทุนกลับบ้านไป เหอะๆๆ
ส่วนหมวดเกมยอดนิยมอันดับหนึ่งคือ FPS นำห่างที่ 63%, ตามด้วย MOBA 37%, เกมไฟติ้ง 36%, MMO 28%
คือเกมที่นิยมดูสินะ ไม่ใช่เกมที่นิยมในเล่น
The Dream hacker..