เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2559 ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมงานเสวนาหัวข้อ “Lesson Learned form Overseas Thai Startups” ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในงาน Startup Thailand 2016 ณ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ว่าด้วยเรื่องราวของเทคสตาร์ตอัพหลายรายที่เป็นของคนไทย แต่ไปเติบโตในต่างประเทศ (หลักๆ คือในสหรัฐอเมริกา) โดยมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้
แม้จะล่วงเลยมาหลายวัน แต่คิดว่าสาระสำคัญยังน่าจะมีประโยชน์ จึงขอสรุปมาเล่าต่อ ณ ที่นี้ครับ
จุดเริ่มต้นที่แตกต่าง
จุดเริ่มต้นของสตาร์ตอัพแต่ละรายมีที่มาต่างกัน แต่มีพื้นฐานจากความหลงใหลส่วนตัวของผู้ก่อตั้งเป็นหลัก ดร.สารินทร์ เล่าว่าเริ่มจากโครงการนี้เป็นงานวิจัยสมัยเรียนที่ม.โคลัมเบีย สนใจเรื่องนี้ตั้งแต่ปริญญาตรี เมื่องานวิจัยน่าต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ จึงขอสิทธิบัตรจากมหาวิทยาลัยมาตั้งบริษัทเอง ใช้เวลาระดมทุน 1 ปี จากที่คิดค้นพัฒนาเรื่องผลิตภัณฑ์อย่างเดียว ก็ต้องมาเรียนรู้รอบด้าน ทั้งการหาคน หานักลงทุน สร้างแบรนด์ ฯลฯ ซึ่งก็ท้าทายดี
ด้านคุณปรัชญา จาก AdsOptimal บอกว่าหลังจากเรียนจบที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ข้อเสนอให้มาทำงานประจำที่ Microsoft และ Google ตามลำดับ และเห็นโอกาสจึงออกมาทำของตัวเอง โดยเริ่มจากทำที่อเมริกาเลยเพื่ออยากเห็นสภาพตลาดใหญ่ แต่ยังนึกภาพไม่ออกเพราะเพิ่งทำงานมาไม่นาน จนได้ลองเอง เจออุปสรรคมากเท่าไร ยิ่งแก้ปัญหาได้ไว
ส่วนคุณพรทิพย์ เล่าว่า Jitta เริ่มจากไทยด้วยความหลงใหลในการลงทุนสไตล์วอร์เรน บัฟเฟตและเริ่มเข้าตีสหรัฐฯ ด้วยแนวคิดว่าถ้าเข้าที่นี่ได้ ก็เข้าที่ประเทศไหนก็ได้ แต่อุปสรรคคือ "ความเชื่อมั่น" ที่ความเป็นไทยยังไม่โดดเด่นเรื่องเทคสตาร์ตอัพนัก จึงต้องใช้เวลาพิสูจน์ตัวเองกันสักพักรวมถึงได้ที่ปรึกษาฝีมือดีมาช่วย และให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเรื่องวิธีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ ว่าจะแน่น (density) ที่บางตลาดให้ผู้ใช้แข็งก่อน หรือจะเลือกฟู (size) กระจายไปยังทุกพื้นที่ให้ไว้ที่สุด (อันนี้ผมใช้คำเทียบเองนะครับ)
สภาพแวดล้อมเมืองนอกเอื้อต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า
คุณปรัชญา เล่าว่า AdsOptimal วางพื้นที่ตัวเองเป็นเหมือนบ้านให้เทคสตาร์ตอัพไทยรายอื่นมานั่งทำงานแลกเปลี่ยนกัน (Jitta ก็เคยอาศัยชายคานั้น) และระบุว่าเมืองที่เขาอยู่ (San Francisco) มีพลังงานบางอย่าง ไปไหนมาไหนก็เจอคนคุยแต่เรื่องไอเดียใหม่ๆ สามารถหยิบผลิตภัณฑ์ให้ผู้คนลองใช้และขอคำเสนอแนะได้ทันที และเสนอเคล็ดลับว่า "ถ้าอธิบายสิ่งที่เราทำในหนึ่งนาที (หรือน้อยกว่านั้น) ไม่ได้ ก็ส่งสัญญาณเฟลแล้ว"
จุดนี้คุณพรทิพย์เสริมว่า elevator pitch หรือการ "ขายของ" ให้นักลงทุนเข้าใจในช่วงเวลาแวบหนึ่งในลิฟต์ก็สำคัญมาก ควรฝึกใช้คำสำคัญ ประโยคหลักกระชับจับใจ
ดร.สารินทร์เล่าว่าวงการสตาร์ตอัพในมุมมองเขาเหมือนเป็นชุมชนที่คนในนี้สามารถพูดคุยกับแลกเปลี่ยนทรรศนะกันได้อย่างอิสระ บางทักษะก็หยิบยืมจากเพื่อนร่วมวงการ มีการคุยกัน ส่งต่อคอนเนคชั่นจนได้รับทุนสนับสนุนก็มี
ไทยทำอะไรได้บ้าง
นอกจากเรื่องภาษีที่ภาครัฐฯ กำลังปรับใช้แล้ว วิทยากรหลายท่านเห็นตรงกันว่าควรผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการพาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่เน้นเท่าเรื่องของลิขสิทธิ์ ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็สนับสนุนการศึกษาและความรู้ความเข้าใจของทุกภาคส่วน ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเรื่องธุรกรรมกับภาครัฐให้มากขึ้น
คุณพรทิพย์เสริมว่าเคยคิดจะไปตั้งที่สิงคโปร์ แต่กฎระเบียบที่นั่นคือต้องจ้างคนสิงคโปร์เข้ามาทำงาน บางตำแหน่งงานหาคนยากมาก และต้นทุนต่อบุคลากรค่อนข้างสูง เมืองไทยคนเก่งเยอะกว่า โอกาสหาคนมาทำงานง่ายกว่า
Comments
แต่ไปเติบโตในต่างประเทศ (หลักๆ คือในสหรัฐอเมริกา) โดยมีคนจาก
จากไหนครับ?
ผมแก้คำที่บุลเล็ต ลืมแก้หัวเลยอ่านแล้วงง ขอบคุณครับ
ผมว่านะ ถ้าเมืองตาย มันต้องเป็น ธุรกิจเกี่ยวกับ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม
ทำยังไงก็ได้ ที่เทคโนโลยี เข้ามามีบืบาทในอาชีพนี้อ่ะครับ
เราอย่าไปเน้นว่าจะต้องเป็นเทคโนโลยีสำหรับเทคโนโลยีเลย
บางทีเทคโนโลยี มันต้องทำมาให้เกิดความสะดวก สบาย รวดเร็ว ตอบโจทย์ ได้หลายๆอาชีพครับ
ผทก็งงกับเมืองตายไปพักนึงเลยครับ
เทคโนโลยีที่ลดพื้นที่การทำเกษตรเหลือ 0 นับไหมครับ ?
เมืองไทย * แก้โพสต์ไงเนี่ย 555+
พิมพ์ผิดก็ช่างมันเถอะครับ :p
"ผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการพาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่จำเป็นต้องมีผลกำไรสวยงามก่อนถึงจะเข้าได้ เพราะสตาร์ตอัพบางรายจำเป็นต้องขาดทุนในช่วงแรกเพื่อเพิ่มยอดผู้ใช้ให้มากขึ้น" ใครจะยอมผ่อนคลายกฎนี้ละครับอย่างงี้พี่ไม่ต้องมีกำไรแค่ทำ Project ออกมาให้มันดูดีขายฝันชวนเขื่อนักลงทุน เสร็จออก IPO หลังจากนั้นบริษัทพี่ขาดทุนต่อเนื่องจนเจ๊งพี่ก็คงไม่สนแล้วเพราะหลอกเอาเงินจาก IPO ไปเรียบร้อย
อ่านประโยคนี้แล้ว ก็อึ้งเหมือนกัน
ไม่แปลกใจที่ Startup จะล้มเหลวกันเยอะ เมื่อเทียบเป็น %
เห็นด้วยเลย ตลาดทุนไม่ใช่ของเล่นนะครับ ขนาดไอบริษัทใหญ่ๆหลายต่อหลายที่ดังๆ ก็ยังทำนักลงทุนเจ็บๆกันมาแล้ว
อันนี้ไม่แน่ใจ ถ้าบริษัทแสดงข้อมูลอย่างโปร่งใส ไม่บิดเบือนอะไร ไม่มีข้อมูลอินไซต์ การแสดงตัวเลขว่าไม่เคยกำไร เป็นการ "หลอกเอาเงิน" อย่างไรหรือครับ? ก็รู้อยู่แล้วว่าบริษัทไม่เคยกำไรแต่ก็ยังซื้อ?
lewcpe.com, @wasonliw
เป็นข้อสงสัยที่ดีครับ เลยไปหาข้อมูลมาเสริมเพิ่มเติม ก็น่าสนใจ ก่อนอื่นต้องอธิบายว่ากิจการใดๆ เวลาต้องการเงินทุนเพิ่มเติม เพื่อใช้ทำอะไรก็ตาม วิธีหลักมีสองอย่าง คือกู้เงิน (มีดอกเบี้ยต้องจ่าย) กับขายหุ้นบริษัทให้คนลงทุน (ไม่มีดอกเบี้ย แต่ก็มีภาระอื่นคือถูกควบคุม)
ประเด็นคือคนลงทุนเขาจะได้ผลประโยชน์อย่างไร หลักๆ ก็คือปันผล กับขายหุ้นต่อให้คนอื่นในมูลค่าที่สูงกว่าที่เคยได้มา กรณี Startup ถ้าทำกำไรด้วยตนเอง ไม่ต้องการเงินเพิ่มแล้ว เขาก็อาจปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้เรื่อยๆ ทุกคนแฮปปี้ แต่ช่องทางหนึ่งที่เร็วกว่าก็คือ ขยายโอกาสกิจการด้วยการเข้าตลาดหุ้น เพราะ (1) บริษัทได้เงินเพิ่มทุนก้อนใหญ่จากไอพีโอ (2) ผู้ถือหุ้นเดิมอาจขายหุ้นผ่านตลาดหุ้นได้ซึ่งมีสภาพคล่องดีกว่า ซึ่งย้อนกลับไปที่หลักการนะครับว่าวิธีนี้รองรับความต้องการทุกฝ่ายได้ในเวลาที่รวดเร็ว
ทีนี้กฎเกณฑ์การเข้าตลาดหุ้นของไทย พูดเฉพาะเรื่องงบกำไรขาดทุนนะ ถ้าเป็น mai (อ้างอิง) ต้องมีกำไรสุทธิเป็นบวกในปีปัจจุบันและปีก่อนหน้าที่จะจดทะเบียน กรณีบริษัทยังขาดทุนจะเข้าได้ต้อง (1) มีผลการดำเนินงานไม่เกิน 2 ปี (2) Market Cap. ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ถ้าเป็น SET เงื่อนไขจะมากกว่านั้น คือต้องมีกำไร 2-3 ปีก่อนหน้า หรือขาดทุนแล้วใช้เกณฑ์ Market Cap. ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
ทีนี้มาดูของอเมริกา เอา Nasdaq รายละเอียดเยอะกว่าหน่อย แต่คร่าวๆ มี 3 แบบ (1) มีกำไร 3 ปีต่อเนื่อง (2) กระแสเงินสดเป็นบวก 3 ปีต่อเนื่อง (3) ไม่สนกำไรขาดทุน แต่ Market Cap. ไม่ต่ำกว่า 850 ล้านดอลลาร์ และรายได้ต่อปีไม่ต่ำกว่า 110 ล้านดอลลาร์
ผมเข้าใจว่าเขาคงหมายถึงอยากให้กฎเกณฑ์มีความคล่องตัว คล้ายๆ เงื่อนไขข้อ 3 น่ะครับ ของไทยจะเห็นว่า ยังไงก็ต้องมีกำไร 2-3 ปีต่อเนื่อง ถ้าเล่นเกณฑ์ Market Cap. ธุรกิจก็ต้องใหญ่มากกว่า 5,000 ล้านซึ่งยากมาก ทีนี้ให้เห็นว่าของอเมริกา มันก็ไม่ได้ยืดหยุ่นระดับที่ว่าเขียนโครงการขายฝันได้ เพราะคุณต้องพิสูจน์ส่วนรายได้ด้วยนะครับ ทีนี้ถามว่าแบบไหนเหมาะกว่าก็ตอบยาก เกณฑ์ของไทยที่เน้นใช้กำไรเป็นหลักก็คัดกรองกิจการเข้าสู่ตลาดหุ้นได้ดี เพียงแต่มันย้อนกลับไปที่ปัญหาข้างต้นนั่นเอง
ผมว่า บริษัทไทย น่าจะหมายถึง บริษัทที่จดทะเบียนในไทย มากกว่า
ไม่ใช่ดูว่า เจ้าของเป็นคนไทย
อย่าง EpiBone, AdsOptimal และ MentorMob พวกนี้บริษัทอเมริกันทั้งนั้น
มี Jitta บริษัทเดียว ที่เป็นบริษัทไทย
(ไม่งั้น ถ้าดูตามผู้ก่อตั้ง
ไมเนอร์ กรุ๊ป ก็คงเป็นบริษัทอเมริกัน เพราะผู้ก่อตั้งเป็นฝรั่ง)
คือในบริบทนี้ กำลังเปรียบเทียบเรื่องการดำเนินธุรกิจ
ก็คงต้องแบ่งอย่างที่ผมบอก
แต่ถ้ากำลังพูดถึงวัฒนธรรมองค์กร
ก็อาจกล้อมแกล้มว่า บางบริษัทที่มีผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นคนไทย ก็คือบริษัทคนไทยได้
สตาร์ทอัพมันคือการผูกขาดชนิดหนึ่ง หากทำสำเร็จจากนั้นขายบริษัท หรือ IPO คนต่างชาติมาซื้อมาถือ
หากคิดอะไรได้ ทำอะไรขึ้นมาก็รอ อาลีบาบามาซื้อเอาก็ ขาย จบ สบายไป ที่เหลือให้มันผูกขาดคนไทยไม่ต้องสนใจอะไร
เพราะขายไปแล้ว ไม่สนใจ ต่อไปอีคอมเมิซ แท็กซี่ ส่งอาหาร เซอร์วิสต่างๆ ก็จะโดนรอซื้อกินรวบหมด
อยากแต่ให้รัฐสนับสนุนแต่ไม่มีมาตรการรองรับ อยากให้สตาร์ทอัพไปไกลแต่การศึกษาของคนไทยยังไม่ไปถึงไหน ฯลฯ