ข่าวนี้เก่าสักเล็กน้อยนะครับ Nissan Motor บริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นได้เปิดเผยข้อมูลว่าปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีจุดชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ ทั้งแบบสาธารณะและในบ้านรวมกันทั่วประเทศกว่า 40,000 แห่ง มากกว่าปั๊มน้ำมัน ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเพียง 35,000 แห่งเท่านั้น โดยนอกจากการเพิ่มขึ้นของจุดชาร์จแล้ว เว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันที่ระบุจุดหรือสถานีชาร์จก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
การขยายของโครงสร้างพื้นฐานที่รวดเร็วเช่นนี้ เท่ากับว่าญี่ปุ่นได้เตรียมพร้อมและอ้าแขนรับการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีพลังงานในรถยนต์ ที่น่าจะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักแทนน้ำมันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
ที่มา - Japan Times via World Economic Forum
ภาพจาก Pixabay
Comments
อยากให้เมืองไทยเอารถไฟฟ้ามาขายในราคาที่เอื้อมถึงบ้าง
ลองรอถึงปี พ.ศ. 2564 นะครับ
ครม.มีมติในวันที่ 14 เม.ย. 2559 ตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความสามารถในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้ได้ภายในปี 2564
จนกว่าจะถึงเวลานั้น รัฐก็ไม่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้ากันเลยสินะครับ = ="
ตอนนี้มีเริ่มกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้ากันแล้ว ครับ
เฟสบุ๊คมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า
ถ้ายังไม่มีโรงงานไฟฟ้าที่ราคาถูกอย่างเพียงพอ ไทยเราไม่เหมาะกับทางนี้หรอกครับ ค่าไฟมันแพงเกินไป ญี่ปุ่นที่ทำได้เพราะเค้ามีโรงนิวเคลียร์ครับ
ไฟฟ้ามันถูกเพราะปฏิกิริยา และต้นทุนพลังงานที่ส่งเข้าไป แต่ค่าดูแลรักษาแพงมหาศาลนะครับ
โดยรวมแล้วยังถูกกว่า ก๊าซ ที่บ้านเราใช้อยูดีครับ
อยากรู้ว่ามันจะคุ้มใหม ถ้าเอาน้ำมันมาผลิตไฟฟ้า แล้วก็มาใส่รถ
อย่างน้อยๆ ก็ใช้เครื่องปั่นไฟประสิทธิภาพสูงคู่กับการกำจัดไอเสียที่จุดเดียวนะครับ
ทำให้คุ้มได้ครับ เพราะโรงวานไฟฟ้ามีทางเลือกหลากหลายในการผลิต แสงก็ได้แก๊สก็ได้น้ำก็ได้คลื่นก็ได้นิวเคลียร์ยังได้และการสันดาษเพื่อระบบผลิตไฟฟ้าได้ประสิทธิดีกว่ารถผลิตกำลังขับเคลื่อนเยอะ แถมยังลดปัญหามลพิษในเมืองหลวง ลดอุณหภูมิได้ด้วยนะ เพราะความร้อนจากการสันดาษมันสูงมาก
ถ้าจะให้คุ้มจริงๆ คงนิวเคลียร์แหละครับ อย่างอืนต่อหน่วยแพง
โดยเฉพาะแสงแดดนี่เหมือนใช้เชื้อเพลิงฟรีๆ แต่ค่าอุปกรณ์ดันแพงมาก ราคาต่อหน่วยเลยแพงตาม
มันยังมีคุ้มด้านอื่นที่ไม่ใช่ราคาอีกครับ มลพิษแค่ให้ต้นทุนเท่ากันแต่รวมไปเผาที่เดียวแล้วกรองอากาศดีๆได้นี่ก็เป็นประโยชน์มากแล้ว บางอย่าง ณ วันนี้ก็ยังไม่คุ้มแต่มีแนวโน้มว่าจะดี สนับสนุนให้ใช้เยอะๆจะพัฒนาไวขึ้นมากแล้วก็จะนำมาซึ่งจุดที่ดีกว่าน้ำมันในวันนี้
จริงๆคงต้องศึกษาทั้ง life cycle อย่างแบตเองคงต้องดูตั้งแต่การขุดยันกำจัดว่าดีกว่าน้ำมันจริงๆไหมซึ่งยังเห็นเป็นประเด็นที่ไม่ค่อยชัดเจนอยู่ เค้าก็น่าจะศึกษากันนะแต่เหมือนก็ไม่ค่อยยกมาพูดถึงไม่รู้เพราะออกมาในทางไม่ดีหรืออะไรเลยไม่เอามาทำตลาด
+1 ถ้ายังไม่คิดต้นทุนด้านมลภาวะ พลังงานสะอาดก็คงต้องพึ่งการอุดหนุนอีกมาก ลองกำหนดภาษีคาร์บอน หรือภาษีมลภาวะอื่นๆ ขึ้นมา พร้อมดำเนินการศึกษาตลอด life cycle เปรียบเทียบกันได้เมื่อไหร่ กลไกตลาดมันก็พาไปเองแหละ
ถ้าจากวิธีอื่นก็ไม่แน่... เชื้อเพลิงไฮโดเจนก็มีปัญหาแบบนี้ละว่าจะเอาอะไรมาผลิตไฮโดเจนจำนวนมาก ไฟฟ้า->น้ำมัน-?
คหสต ผมว่าอันนี้ยังโอเคกว่าเอาเอมานอลมาผสมน้ำมันเพราะอันนั้นเหมือนเอาพื้นที่อาหารมาใช้กันเลย ผ่านอำเภอแม่แจ่มที่เชียงใหม่นี่...กำลังไล่ตามน่านไปติดๆเลย
ถ้าของกฟผ.ใช้ก๊าซธรรมชาติมากที่สุดนะครับ(69%)ส่วนน้ำมันใช้น้อยมาก สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าในระบบของ กฟผ. ปี 2558
โดยหลักการแล้วไม่คุ้มแน่นอนครับ (พลังงานเมื่อเปลี่ยนรูปย่อมมีการสูญเสีย)
เท่าที่เคยได้ยินมา
เอาน้ำมัน (หรือเชื้อเพลงอื่นเช่น LPG, CNG) มาเผาปั่นไฟ แล้วเอาไฟมาเดินมอเตอร์ ค่าพลังงานต่อ 1 หน่วยแรงม้าถูกกว่าเอาน้ำมันมาเดินเครื่องยนต์สันดาปภายในโดยตรงครับ
พอมันผ่านสายส่ง หม้อแปลง มันเกิด Loss ครับ ตรงนี้แหละที่เป็นประเด็นในสิงคโปร์อยู่ว่าทำไมรถไฟฟ้าถึงแพง
คงต้องทำแบบรถไฟที่เอาน้ำมันไปปั่นเครื่องปั่นไฟฟ้าแล้วเอาไฟฟ้าที่ได้ไปปั่นโบกี้อีกทีครับ
มันก็อีหรอบเดียวกับ solar cell ครับ loss กระจาย
solar cell> inverter (DC->AC) > transformer (AC->DC) > ic เดี๋ยวนี้เค้าเลยทำเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบ DC แทน
นี่ยังไม่รวมถึง loss ในระบบ DC ด้วยนะ ไม่รู้ว่าต้องทำแบบไหนถึงจะ loss น้อยๆ
อันนั้นไปทาง ideal ครับ ประสิทธิภาพเครื่องรถยนต์เทียบกับโรงไฟฟ้าต่างกันมาก รวมถึงเรื่องการจัดการมลพิษด้วย ทำให้แนวคิดนั้นไม่เป็นจริงครับ
ญี่ปุ่นใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ครับ
ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นก็มีการต่อต้านนิวเคลียร์สูงมาก หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวปี 2011 แถมโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคตถูกพับทั้งหมดหลังเหตุการณ์นั้นด้วย และมีแนวโน้มว่าจะถูกปิดหมดทั่วญี่ปุ่นในอีกไม่นาน เพียงแค่ตอนนี้ยังใช้โรงไฟฟ้าที่ยังใช้่งานได้อยู่แค่นั้น แล้วก็เริ่มทยอยปิดไปที่ละที่จนหมด
Get ready to work from now on.
ผมว่าสุดท้ายประชาชนนั่นแหละจะเดือดร้อนเพราะค่าไฟแพง เว้นแต่ญี่ปุ่นเค้าจะทำนวัตกรรมเปลี่ยนโลกออกมาได้
ยังมีพลังงานทางเลือกอยู่นะครับ
ชาร์จไฟมันยังนานกว่าเติมน้ำมันมาก แล้ว 40,000 จุดนี่คือ 40,000 ปลั๊กด้วยรึเปล่านะ (เห็นหลายที่ตั้งจุดเดียว) ฝั่งปั๊มนี่เห็นเขียนหน่วยเป็น gas stations ก็ไม่น่านับตามหัวจ่าย
แต่ก็เป็นแนวโน้มที่ดีครับ ขนาดตอนใช้รถน้ำมันกันเยอะๆ อากาศเค้ายังสะอาดกว่าบ้านเราเลย
บ้านเรานี่ควันดำควันขาวก็ปล่อยกันไป อ้างหาเช้ากินค่ำไม่มีเงินซ่อมบ้าง ไม่มีเวลาบ้าง ถ้าไม่มีความสามารถในการดูแลก็อย่าขับเลยครับ ความรับผิดชอบไปไหนกันหมด
อยู่ต่างจังหวัดหรือเปล่าครับ คนอยู่ต่างจังหวัดจังหวัดที่ไม่คึกคักมากๆไม่ไหวครับ เคยพยายามจะนั่งรถเดินทางเองเพราะไม่มีคนว่างก่อนจะถึงวัยที่ขับรถได้จะไปไหนรอรถประจำทางเป็นชั่วโมงเลยครับขนาดเป็นจังหวัดที่ไม่ได้ไกลกรุงเทพเท่าไหร่ ชาวบ้านก็มีความจำเป็นจริงๆครับเลือกไม่ได้ รถสาธารณบ้านเรายังเป็นข้อจำกัดมากเกินไปต้องรีบพัฒนามาทดแทนก่อนครับ ของมีคุณภาพยังทำไม่ได้อยู่ๆไปบีบให้ของที่พอจะมีใช้ไม่ได้เลยนี่ก็ไม่ไหว
มันเป็นส่วนที่ทั้งภาครัฐและประชาชนต้องร่วมกันแก้ครับ แต่รัฐก็ไม่ออกนโยบายมาแก้ มีผลทั้งเมืองใหญ่และต่างจังหวัดครับแม้จะต่างกันบ้างก็ตาม
เรื่องรอรถประจำทางเป็นชั่วโมงนี่ไม่ใช่แต่ต่างจังหวัดหรอกครับ วันนี้ผมเองก็รถรถเมล์ครึ่งชั่วโมง (คันแรกไม่จอดด้วยจ้า วิ่งขวามาเลย รอเป็นชั่วโมงก็เคย) แล้วนั่งรถเมล์อีกชั่วโมงครึ่ง ทั้งที่ท่อนนั้นปกติผมปั่นจักรยานสามสิบนาทีต้นๆ ก็ถึงแล้วครับ วันนี้ลองนั่งรถหมดไปสองชั่วโมงกว่า ระยะทางไม่ได้ไกลเลย หนำซ้ำนี่ยังมานั่งติดอยู่บรรถเมล์ท่อนที่สองอีก ไม่รู้จะใช้เวลาเดินทางทั้งหมดเท่าไหร่ ปกติผมปั่นจักรยานจากแถวเซ็นทรัลฯ รัตนาธิเบศร์ไปพระจอมเกล้าธนบุรีใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงครึ่งด้วยซ้ำ อันนี้จุดเริ่ม-ปลายทางเดียวกัน หมดไปสองชั่วโมงครึ่งแล้วยังไม่ถึงไหนเลย
รถเมล์ในสิงคโปร์ กับในญี่ปุ่นตรงต่อเวลามากๆ ครับ ป้ายรถเมล์เขาจะมีตารางเวลารถว่าจะวิ่งมาถึงกี่โมงๆ ผมไปยืนรอก็มาตรงเวลาเป๊ะ แถมจอดตรงช่องที่เขาจอดเอาไว้ ชิดกับฟุตบาทพอดีเป๊ะด้วย คนของเขาก็มีคุณภาพ ทุกคนเข้าแถวตรงช่องที่เอาสีทาไว้บนพื้นเป็นระเบียบไม่มีคนยืนออก แย่งกันขึ้นเลย
คุณภาพการบริการของรถเมล์ขสมก. ถ้าเอาไปเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วนี่ต้องเรียกว่า น่าขายหน้า เขามากจริงๆ ทั้งจอดไม่ตรงป้าย ไม่จอดป้าย จอดไม่ชิดริมฟุตบาท บางคันไปจอดอยู่เลนนอกสุด ผู้โดยสารก็ยังวิ่งตัดหน้ารถไปขึ้นกัน 555
ถ้าอยู่ ตจว. ถ้าไม่มีรถยนต์ส่วนตัวนี่เท่ากับเอาชีวิตไปฝากไว้กับมอไซค์รับจ้าง เพราะเป็นบริการที่ราคาถูก หาง่าย เร็วที่สุด แต่ก็ตายเร็วที่สุดเหมือนกัน แถวบ้านผมรถเมล์เจ๊งไปนานแล้ว เหลือแต่วินมอไซค์ตีนผีครับ
ผมก็ไม่เข้าแถวนะ เพราะมัวเข้าแถวจะโดนคนอื่นแซงและเราจะไม่ได้ขึ้นหรือไม่ก็ต้องยืนตลอดสาย
และแน่นอนเมื่อคิดแบบนี้กันทุกคนก็อย่าหวังความเป็นระเบียบกับประเทศนี้เลย
รถเมล์ญี่ปุ่นราคาก็สมคุณภาพครับ แบบเกียวโตนี่เล่นขึ้นต่อละ 70 กว่าบาท
รถเมล์เค้าวิ่งซ้ายตลอดเวลา จอดติดไฟแดงเหมือนกันแต่ก็ทำเวลาได้ค่อนข้างตรงเป็นส่วนมาก ซึ่งเอาจริงๆ คือมันวิ่งช้าเผื่อเวลาเอาไว้แล้วทำให้ใช้เวลามากกว่าที่ทำได้จริง ขณะที่ของไทยพยายามจะไปให้เร็วที่สุด แต่คือผมไม่ได้ต้องการไปเร็วที่สุดครับ ผมต้องการความแน่นอนให้ชีวิตวางแผนได้ว่าต้องออกเดินทางกี่โมงไปถึงกี่โมง
อย่าลืมนึกถึงรายได้ของคนญี่ปุ่นก็สูงสมกับค่าครองชีพนะครับ
คิดแล้วครับ
ทุกวันนี้ผมก็มาอยู่กรุงเทพครับ แต่กรุงเทพไม่มีปัญหา 10km ผมเดินประจำครับ ต่างจังหวัดมันไม่ใช่แค่ประมาณไปแต่ละที่แค่ 10 km นี่สิ ไม่มีรถเดินทางนี่หมดหนทางเลย ถ้าจะเล่นขนาดนั้นพวกอยู่ตามจังหวัดห่างไกลนี่ป่วยก็นอนรอตายอยู่บ้านได้เลย ประชาชนไม่ควรเดือนร้อนขนาดนั้นครับ เราเดินมาถึงจุดนี้แล้วจะเปลี่ยนผ่านก็ต้องมีช่วงเวลาและทำรถสาธารณะให้เพียงพอมารับช่วงต่อครับ อาจเดือดร้อนปรับตัวบ้างแต่อยู่จะทำแบบนั้นนี่ไม่ไหว
ตามประโยคสุดท้ายที่ทิ้งไว้ครับ ตอนนี้เรามีของเยอะแล้วก็ได้เวลาพัฒนาคุณภาพมันไม่ใช่อยู่ๆจะโยนของทิ้งเพราะบอกว่ามันไม่ดีทั้งๆที่ยังไม่มีอะไรมาทำงานแทน แบบนี้ไม่ไหวครับ ผมก็เป็นคนนึงที่ร่วมมือในเรื่องนี้ ปกติแทบไม่ขับรถครับถ้าไม่ซีเรียสจริงๆหรือขับไปต่างจังหวัด จริงๆกรุงเทพแค่สนับสนุนที่จอดจักรยานดีๆ จอดแล้วปลอดภัยรถไม่หายถนนจะว่างขึ้นอีกแน่ๆ อีกส่วนหนึ่งก็รอรถไฟฟ้า ณ ตอนนี้มันก็ขึ้นหลายโครงการมากละ รออีกหน่อย
เรามียุคปั้มน้ำมัน
เรามียุคปั้มแก้ส
ปั้มไฟฟ้า คงไม่ช้าแน่ๆ
ผมว่าตามห้างสรรพสินค้า น่าจะมีติดตั้งได้ นะ
ดีทุกอย่าง แต่การขุดเหมืองวัตถุดิบแบตเตอรี่ยังเป็นข้อกังขาอยู่ แต่ถ้าเคลียร์ได้นี่พลังงานใสสะอาดเลยจ้า
มันก็ต้องแลกกับพื้นที่จัดการกากของเสียของกัมมันตภาพรังสีที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเลย แถมต้องรอนานมากกว่ารังสีมันจะหมดฤทธิ์ แถมเป็นอันตรายกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตสูงมาก แม้มันจะผลิตได้สะอาดเพราะใช้การทำปฏิกิริยามาปันไฟได้มหาศาลก็ตาม และความเสียงต่ออุบัติเหตุที่สูงครับ เหมือนปี 1986 กับ 2011 แม้จะมีสาเหตุที่ต่างกันแต่ภัยก็ร้ายแรงพอสมควรถ้าได้รับเข้าไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่และประชาชนที่อาศัยใกล้เคียง และมันก็สามารถพัดไปได้ไกลมากถึงขนาดที่ว่าข้ามทวีปยังได้เลย
ปล.ผมก็อยากเห็นการนำนิวเคลียร์มาใช้ในบ้านเรานะ เพราะตอนนี้เราก็ต้องซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านบางส่วนมาจ่ายให้กับประชาชนทั่วประเทศ เราผลิตใช้เองไม่ทันแล้วตอนนี้ แต่ก็ต้องดูข้อเสียของมันอีกเช่นกันแล้วนำมาชั่งน้ำหนักกันอีกที
Get ready to work from now on.
มาไทยเถิด เก็บเงินรอแล้ว
แล้วตอนที่รถวิ่งอยู่ ถ้าเอา generator มาใส่ไปด้วยอาจจะปั่นไฟได้สักนิดบ้าง แล้วเอากลับมาใช้ใหม่อีกทีน่าจะดี
ถ้าต่อเจนฯตอนเหยียบคันเร่ง ก็เป็นโหลดของระบบ ทำให้ใช้แรง(ไฟ)มากขึ้นต่อ 1 ระยะทาง
ต้องทำแบบเดียวกับรถไฮบริดครับคือตอนถอนคันเร่ง/เหยียบเบรค
ควรใช้ตั้งนานแล้ว แต่ไม่ยอม(ให้)ทำกันซักที เนื่องจากปัจจัยแวดล้อม ต่างๆ นานา
สร้างมารอเตาปฏิกรณ์ฟิวชั่น
ถ้ามาจริง รถไฟฟ้าเกิดแน่นอน
ระ.. เร็วส์
ตั้งแต่ Tesla ออก Model 3 ก็หวังให้มีการผลักดันในไทยเกิดขึ้นบ้าง
ตอนนี้ แม้แต่รัฐบาลเองยังไม่มีใครสนใจเลยครับ คงต้องรออีกนาน อาจเป็นศตวรรษ
Get ready to work from now on.
ไม่ได้ตามข่าวรถไฟฟ้านาน
เดี๋ยวนี้จอดชาร์จกันกี่นาทีแล้วเหรอครับ
สี่หมื่นแห่งเยอะกว่าปั้มก็จริง แต่ถ้าเติมคันนึงเป็นชั่วโมงๆก็ไม่ไหวน่ะ
ต่อจากปลั๊กไฟบ้าน ใช้เวลาหลายชั่วโมง (จำไม่ได้)
ชาจที่สถาณี super charger ใช้เวลา 45 นาที
สลับแบตเตอรี่ ใช้ไม่เกิน 5 นาที เคยทดสอบเทียบกันแล้ว ไวกว่าเติมน้ำมันสองเท่า
อันนี้รถของเทสล่านะ
ในบ้านเรา เวลาเติมน้ำมันรู้สึกว่าเติมแค่ไม่กี่นาทีก็เต็มถังแล้วนะ ไม่น่าจะถึง 5 นาทีด้วยซ้ำ
Get ready to work from now on.
สรุปเติมทีเกือบชั่วโมงอยู่ดี
ถ้าสลับแบตนี่อาจเป็นไปได้ยากหน่อยนะผมว่า เพราะเจ้าของรถน่าจะกังวลในเรื่องคุณภาพของแบตที่เอามาเปลี่ยนให้พอสมควร นอกเสียจากว่าจะพัฒนาให้มีมาตรฐานกลางเหมือนๆกันทุกรุ่นทุกยี่ห้อ
ผมละกลัวจะได้เห็นรถต่อสายPowerbankจริงๆเลย 555
อาจจะทำให้มีแบต 2 ชุด เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน
1. แบตเตอรี่ที่ติดตั้งประจำตัวรถ ชาร์จได้ด้วยไฟบ้านหรือสถานีชาร์จโดยรอเป็นชั่วโมง
2. แบตเตอรี่ที่มีให้เช่า และเปลี่ยนได้รวดเร็วที่สถานี ผู้ให้บริการคงต้องเป็นบริษัทใหญ่ มีสาขาทั่วประเทศ และรับผิดชอบคุณภาพของแบตและปริมาณพลังงานที่มีในแบตเตอรี่ที่เปลี่ยน
ปกติ Supercharger จะอยู่ตามจุดพัก, ปั๊ม, ห้าง, ร้านอาหารครับ
45 นาทีนี่คือชาร์จแล้ววิ่งต่อได้ 2-300 กิโล
45 นาทีคือเวลาพักกินข้าวเข้าห้องน้ำยืดเส้นยืดสาย
แต่ถ้าจะต้องการแวะเติมแล้ววิ่งต่อเลยอีก 4-500กิโล ก็อาจจะไม่เร็วพอตอบโจทย์ล่ะมั้ง
สลับแบต ตัวแบตมาจาก Tesla (พูดถึงเทสลาอย่างเดียวละกัน ยี่ห้ออื่นผมไม่รู้ทำมั้ย) แล้วเหมือนขากลับ คุณต้องมาสลับแบตเดิมคืนไปนะ
จุดสลับแบตเปิดตัวมา แต่แทบไม่มีคนใช้ เพราะ SC มันเร็วกว่า ไม่เสียเงิน และเป็นเวลาที่คนพักอยู่แล้ว
นั่งรถทัวร์กลับบ้าน ไปรอเติม NGV/LPG 40 นาที เติมอีก 40 นาที เติม 2 รอบ เลทไปเกือบ 3 ชั่วโมง เคยถึง 6 โมงเช้า วันนั้นถึง 9 โมง หอก
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ดูแนวโน้มแล้ว มีความเป็นไปได้สูง ที่ มนุษย์เราจะเริ่มเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกใหม่ เช่น พลังงานไฟฟ้า ที่เกิดจาก พลังงานแสงอาทิตย์
อีกไม่เกิน 30 ปี บ้าน และ รถ น่าจะ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ กันหมด
หลังคาบ้าน หลังคารถ จะเป็น solar cell
ผู้คน จะแย่งกัน จอดรถ กลางแดด
ที่จอดรถ ในร่ม จะถูกจอด โดยรถใช้น้ำมัน ซึ่งถือว่า out มาก ในยุคนั้น
เราเคยตั้งคำถามกันไหมว่าเราจะไปยังจุดนั้นแล้วคุ้มได้โดยเราไม่มีเทคโนโลยีที่ผลิตได้เอง หรือมีส่วนร่วมในการผลิต/คิดค้น นำเข้าทั้งดุ้นเลยมันจะไหวหรือ