พวกIntel core i3, i5, i7 ราคาขายต่างกันเยอะอยู่ แต่ดูจากตัวเทคโนโลยี น่าจะวิจัยมาร่วมกัน โฆษณาก็ไปด้วยกัน กระบวนการผลิตก็ไม่น่าต่างกันมาก เลยสงสัยอยู่ว่าราคาที่ตั้งต่างกันนี่เป็นเรื่องการตลาดหรือเปล่าครับ
ถ้าหมายถึงต้นทุนการผลิตอย่างเดียว ไม่รวมถึงต้นทุนเทคโนโลยีก็ต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญครับ ในกรณีที่แยกกันผลิตนั้น cost ที่เกิดจากจำนวน transistor+yieldrate(ที่ต่ำลงจากจำนวน transister+clock ที่สูงขึ้น) มันจะเป็นกราฟ exponantial ครับ(ส่วนมากไม่มากผมถือว่าเป็น subjective นะ)
อย่างไรก็ตามการผลิต CPU ในในปัจจุบันนั้น บางส่วน(บอกไม่ได้เหมือนกันว่ามากหรือน้อยหรือทั้งหมด)จะเป็นแบบแยก bin ครับ ยกตัวอย่างสมมติ(ไม่ได้เกิดขึ้นจริง) เช่น สายการผลิต core i7-6700K แล้วส่วน SMT บางส่วนเสียหาย และ/หรือส่วน cache L3 บางส่วนเสียหาย ก็จะถูกจับแยกไปเป็น core i5-6600K เป็นต้นครับ ซึ่งในกรณีนี้ cost ในการผลิตจะเท่ากัน(@i7-6700K) แต่ราคาขายที่ได้จะแตกต่างกันไปในแต่ละ bin ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi. someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
จะว่าใช่ก็ได้ แต่ก็ไม่ทั้งหมด เอาง่ายๆ ถ้านับที่ สถาปัตยกรรม และกระบวนการผลิตเดียวกันเช่น skylake 14nm
i3 i5 i7 อาจจะแยกสายกันผลิต ทำให้เวเฟอร์ 1 แผ่น จะได้จำนวนชิปไม่เท่ากัน พวกรุ่นสูงที่แคชใหญ่ๆ GPU ยูนิตเยอะๆ ก็กินที่มาก ได้ชิปต่อแผ่นน้อย ต้นทุนต่อชิปก็แพงกว่า
แต่ถ้าในคลาสเดียวกัน ต่างกันแค่ความเร็วนี่ต้นทุนเท่ากันแน่ๆ
สิ่งที่ใช้คัดเกรดก็คือ ชิปนี้รันได้ความถี่สูงเท่าไหร่ โดยใช้พลังงานตามที่กำหนด คัดแล้วก็ปั๊มความเร็วออกขาย (เป็นสาเหตุที่เวลา overclock ชิปห่วยๆต้องเพิ่มไฟ)
และอย่างข้างบนบอก ส่วนไหนใช้ไม่ได้ก็ปิดการทำงานไป แล้วขายเป็นรุ่นถูก เช่นพวก pentium, celeron
ราคาขายก็ว่ากันอีกที จากที่ผลิตทั้งหมด ชิปที่ใช้งานได้มีเท่าไหร่ รันได้เร็วมีเท่าไหร่ และเวลาผ่านไปปรับปรุงกระบวนการผลิตกันไป yield rate มันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีชิปรุ่นเดิมที่เร็วขึ้น และราคาก็ลดลง
แต่ชิปอีกหลายๆแบบ เช่นชิปเซตในมือถือ มักจะกำหนดความถี่มาเลยว่ารันที่เท่าไหร่ แล้วส่วนพลังงาน เป็นเรื่องของภาคจ่ายไฟไป ทำให้ความเร็วเท่ากันหมด แต่กินไฟไม่เท่ากัน เพราะถ้าได้ตัวดีก็กินไฟนิดเดียว ได้ตัวไม่ดีก็กินมากหน่อย (แต่ก็ต่างกันน้อยมากๆ)
แบบประเด็นชิป A9 ใน iPhone 6s นี่ชัดเจน (ทั้งๆที่เมื่อก่อนไม่มีคนสนใจ)
สรุป. มะม่วงลูกสวยๆ ใหญ่ๆ เขาต้องตั้งราคาแพงกว่า ลูกเล็กๆ เบี้ยวๆ ดำๆ อยู่แล้ว แม้ว่ามันจะมาจากต้นเดียวกัน ชิปก็เช่นกัน
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ ขอบคุณทุกท่าน
เมื่อก่อนอินเทลเคยเปิดเผยขนาดชิปข้างใน (die size) เช่น Core-i3 530 ก็อาจจะเดาได้ว่าจริงๆ แล้วชิปเป็นอันเดียวกันไหม แต่หลังๆ ไม่เปิดเผยข้อมูลพวกนี้แล้วครับ
ที่อินเทลเปิดเผยเช่น wafer ปกติ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร) จะสามารถผลิตชิป Atom ได้ถึง 2500 ตัว ในแง่กำไรต่อพื้นที่ซีพียูน่าจะดีกว่ามาก แต่ก็มีประเด็นอื่น เช่นการวิจัยที่แยกสายจากสายหลัก ค่าการตลาด (ต้องสู้กับ ARM) และค่าเซ็ตอัพสายการผลิต
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าหมายถึงต้นทุนการผลิตอย่างเดียว ไม่รวมถึงต้นทุนเทคโนโลยีก็ต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญครับ ในกรณีที่แยกกันผลิตนั้น cost ที่เกิดจากจำนวน transistor+yieldrate(ที่ต่ำลงจากจำนวน transister+clock ที่สูงขึ้น) มันจะเป็นกราฟ exponantial ครับ(ส่วนมากไม่มากผมถือว่าเป็น subjective นะ)
อย่างไรก็ตามการผลิต CPU ในในปัจจุบันนั้น บางส่วน(บอกไม่ได้เหมือนกันว่ามากหรือน้อยหรือทั้งหมด)จะเป็นแบบแยก bin ครับ ยกตัวอย่างสมมติ(ไม่ได้เกิดขึ้นจริง) เช่น สายการผลิต core i7-6700K แล้วส่วน SMT บางส่วนเสียหาย และ/หรือส่วน cache L3 บางส่วนเสียหาย ก็จะถูกจับแยกไปเป็น core i5-6600K เป็นต้นครับ ซึ่งในกรณีนี้ cost ในการผลิตจะเท่ากัน(@i7-6700K) แต่ราคาขายที่ได้จะแตกต่างกันไปในแต่ละ bin ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
จะว่าใช่ก็ได้ แต่ก็ไม่ทั้งหมด เอาง่ายๆ ถ้านับที่ สถาปัตยกรรม และกระบวนการผลิตเดียวกันเช่น skylake 14nm
i3 i5 i7 อาจจะแยกสายกันผลิต ทำให้เวเฟอร์ 1 แผ่น จะได้จำนวนชิปไม่เท่ากัน พวกรุ่นสูงที่แคชใหญ่ๆ GPU ยูนิตเยอะๆ ก็กินที่มาก ได้ชิปต่อแผ่นน้อย ต้นทุนต่อชิปก็แพงกว่า
แต่ถ้าในคลาสเดียวกัน ต่างกันแค่ความเร็วนี่ต้นทุนเท่ากันแน่ๆ
สิ่งที่ใช้คัดเกรดก็คือ ชิปนี้รันได้ความถี่สูงเท่าไหร่ โดยใช้พลังงานตามที่กำหนด คัดแล้วก็ปั๊มความเร็วออกขาย (เป็นสาเหตุที่เวลา overclock ชิปห่วยๆต้องเพิ่มไฟ)
และอย่างข้างบนบอก ส่วนไหนใช้ไม่ได้ก็ปิดการทำงานไป แล้วขายเป็นรุ่นถูก เช่นพวก pentium, celeron
ราคาขายก็ว่ากันอีกที จากที่ผลิตทั้งหมด ชิปที่ใช้งานได้มีเท่าไหร่ รันได้เร็วมีเท่าไหร่ และเวลาผ่านไปปรับปรุงกระบวนการผลิตกันไป yield rate มันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีชิปรุ่นเดิมที่เร็วขึ้น และราคาก็ลดลง
แต่ชิปอีกหลายๆแบบ เช่นชิปเซตในมือถือ มักจะกำหนดความถี่มาเลยว่ารันที่เท่าไหร่ แล้วส่วนพลังงาน เป็นเรื่องของภาคจ่ายไฟไป ทำให้ความเร็วเท่ากันหมด แต่กินไฟไม่เท่ากัน เพราะถ้าได้ตัวดีก็กินไฟนิดเดียว ได้ตัวไม่ดีก็กินมากหน่อย (แต่ก็ต่างกันน้อยมากๆ)
แบบประเด็นชิป A9 ใน iPhone 6s นี่ชัดเจน (ทั้งๆที่เมื่อก่อนไม่มีคนสนใจ)
สรุป. มะม่วงลูกสวยๆ ใหญ่ๆ เขาต้องตั้งราคาแพงกว่า ลูกเล็กๆ เบี้ยวๆ ดำๆ อยู่แล้ว แม้ว่ามันจะมาจากต้นเดียวกัน ชิปก็เช่นกัน
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ ขอบคุณทุกท่าน
เมื่อก่อนอินเทลเคยเปิดเผยขนาดชิปข้างใน (die size) เช่น Core-i3 530 ก็อาจจะเดาได้ว่าจริงๆ แล้วชิปเป็นอันเดียวกันไหม แต่หลังๆ ไม่เปิดเผยข้อมูลพวกนี้แล้วครับ
ที่อินเทลเปิดเผยเช่น wafer ปกติ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร) จะสามารถผลิตชิป Atom ได้ถึง 2500 ตัว ในแง่กำไรต่อพื้นที่ซีพียูน่าจะดีกว่ามาก แต่ก็มีประเด็นอื่น เช่นการวิจัยที่แยกสายจากสายหลัก ค่าการตลาด (ต้องสู้กับ ARM) และค่าเซ็ตอัพสายการผลิต
lewcpe.com, @wasonliw