หญิงชาว UAE คนหนึ่งถูกศาลตัดสินสั่งปรับเงิน 150,000 เดอร์แฮม (ประมาณ 1.5 ล้านบาท) พร้อมลงโทษเนรเทศ หลังจากที่เธอยอมรับในศาลว่าเธอได้แอบเปิดเช็กโทรศัพท์ของสามีโดยไม่ได้รับอนุญาต
คดีนี้เป็นเรื่องราวของคู่สามีภรรยาชาวอาหรับที่อยู่กินกันมานานกว่า 30 ปี โดยทางภรรยานั้นรู้สึกสงสัยว่าสามีจะแอบไปมีชู้ จึงเปิดโทรศัพท์ของสามีเพื่อตรวจสอบและพบการส่งรูปวาบหวิวให้กันกับหญิงคนอื่น เธอจึงส่งรูปภาพเหล่านั้นผ่าน WhatApp ไปยังโทรศัพท์ของเธอเอง โดยหวังจะใช้รูปภาพนั้นเป็นหลักฐานในการเอาฟ้องร้องเอาผิดสามีฐานนอกใจ ทว่าฝ่ายสามีนั้นไม่ใช่ราชสีห์ที่จะยอมให้กวางน้อยมาขย้ำเล่นได้ง่ายๆ จึงจัดการฟ้องร้องฝ่ายหญิงฐานละเมิดความเป็นส่วนตัว และก็ชนะคดีเสียด้วย
คดีนี้ถูกนำขึ้นสู่ศาลอาญา Ajman ซึ่งฝ่ายภรรยาก็ยอมรับตรงไปตรงมาว่าได้แอบเปิดโทรศัพท์ของสามีและส่งรูปผ่าน WhatsApp จริงดังที่ถูกกล่าวหา ศาลจึงตัดสินว่าเธอมีความผิดอาญาตามกฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ โดยกฎหมายระบุว่า
ผู้ใดใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ/หรือระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดเพื่อการรุกล้ำสิทธิ์ส่วนบุคคลของผู้อื่นนอกเหนือไปจากกรณีที่กฎหมายได้อนุญาต พึงได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และปรับไม่น้อยกว่า 150,000 เดอร์แฮม แต่ไม่เกิน 500,000 เดอร์แฮม หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ศาลได้พิจารณาปรับเงิน 150,000 เดอร์แฮม และสั่งเนรเทศ ด้วยเห็นว่าควรลงโทษเนรเทศจึงจะเหมาะสมกว่าลงโทษจำคุก โดยการตัดสินโทษนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนเรื่องความผิดเรื่องการคบชู้ของฝ่ายสามีนั้นไม่มีรายงานว่ามีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันอย่างไร
นอกเหนือจากตัวอย่างคดีใน UAE แล้ว กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ในประเทศซาอุดีอาระเบียซึ่งกำลังร่างกันอยู่นั้นก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยโทษที่ถูกกำหนดไว้สำหรับภรรยาที่แอบเช็กโทรศัพท์มือถือของสามีนั้นมีทั้งโทษโบยและโทษจำคุก โดยโทษเหล่านี้เป็นการปรับใช้กฎหมายละเมิดความเป็นส่วนตัว ทั้งนี้เป็นเพราะการกระทำผิดเรื่องการแอบตรวจข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์มือถือนี้ไม่อาจปรับให้เข้ากับกฎหมายศาสนาอิสลามได้โดยตรง
Al-Temyat ที่ปรึกษาด้านกฎหมายซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกดำเนินงาน Family Security Programme (โปรแกรมหนึ่งของกระทรวงพิทักษ์ชาติของซาอุดีอาระเบียซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางสังคมได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น) ได้กล่าวถึงกฎหมายอันเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในขณะนี้ว่า การกระทำผิดเรื่องการแอบเช็กโทรศัพท์นี้เป็นลักษณะที่ไม่มีการกล่าวถึงในกฎหมายศาสนาอิสลามโดยตรง ดังนั้นการพิจารณาคดีตัดสินโทษนั้นอาจมีได้หลายระดับ อาจเป็นการจำคุก, โบย, การลงชื่อยอมรับผิด หรืออาจไม่โดนลงโทษใดเลยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายจากการกระทำผิดนั้น เขายังบอกด้วยว่ากฎหมายนี้ย่อมมีผลบังคับใช้ทั้งกับฝ่ายภรรยาและสามี
ข่าวนี้น่าสนใจในหลายแง่ ถึงแม้ว่าเนื้อหาหลักนั้นคือเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์เพื่อการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้คน ทว่าในเวลาเดียวกันการบัญญัติและบังคับใช้กฎหมายที่ว่านี้ก็ดูหมิ่นเหม่ต่อสายตาสังคมเหลือเกิน เสียงจากด้านหนึ่งร้องออกมาด้วยความหวั่นวิตกว่ากฎหมายนี้จะถูกนำไปใช้โดยเลือกปฏิบัติแบบแบ่งเพศ ในขณะที่เสียงจากอีกทางหนึ่งบอกถึงความไม่เห็นด้วยกับการเอากฎหมายมาสร้างเกราะกำแพงกั้นกลางระหว่างคู่ชีวิตสามีภรรยา ซึ่งควรจะใช้ชีวิตร่วมกันแบบปราศจากความลับต่อกันโดยสิ้นเชิง
Comments
สิทธิสตรีประเทศเหล่าหาได้น้อยจริงผมเป็นผู้ชายอ่านแล้วยังรู้สึกเจ็บปวดแทน แบบนี้สามีคนไหนอยากมีใหม่ก็แค่ให้ภรรยาแอบดูโทรศัพท์ตัวเองก็เนรเทศได้เลย...
"เขายังบอกด้วยว่ากฎหมายนี้ย่อมมีผลบังคับใช้ทั้งกับฝ่ายภรรยาและสามี"
ฉะนั้น ผมว่าไม่น่าเกี่ยวกับสิทธิสตรีนะ
เชื่อจริง ๆ เหรอครับว่าในระดับปฏิบัติจะไม่มีความเหลื่อมล้ำเรื่องเพศ ผมไม่เชื่อครับ
ผมเชื่อว่าถ้ากลับกัน (ผู้หญิงถูกสงสัย ชายเปิดมือถือดู) เรื่องจะจบด้วยการผู้หญิงโดนเนรเทศ เอาสิ
+1024
อย่างน้อยๆ ข้อกฎหมายก็ให้ความเท่าเทียมนะครับ
ถึงในทางปฏิบัติ เขาจะให้ผู้ชายเหนือกว่า
แต่ความเท่าเทียมหลายๆอย่างมันเริ่มจากกฎหมายนี่แหละครับ
แต่มันต้องใช้เวลา
มันน่าสงสัยตรงบทลงโทษว่าไว้ว่าให้จำคุกแต่ปรับเป็นเนรเทศแล้วครับ บท กม. อาจไม่แบ่งเพศแต่คนเอาไปใช้นี่แบ่งแน่ๆ
แม้จะดูไม่เกี่ยวแต่ด้วยสภาพสังคมและวัฒนธรรมผมกับคำบอกเล่าจากประสบการณ์ตรงของเพื่อนร่วมงานชาวตะวันออกกลางที่เคยเล่าให้ผมฟังผมว่าเกี่ยวครับ ซึ่งก็ไม่แปลกใจเลยที่ตัดสินจะออกมาแบบนี้
เกิดเป็นผู้หญิงแถวตะวันออกกลางก็อยู่ยากแบบนี้หล่ะครับ ต้องทำใจจริงๆ
ในบ้านเราอาจตรงกันข้าม lol, เพียงแต่คนลงโทษไม่ใช่รัฐ แต่เป็นศรีภรรยา
โดนเนรเทศไปอยู่ที่ไหนละเนี่ย บางทีมันก็ไม่เท่าเทียมสำหรับผู้หญิง ถ้าสามีแต่งงานอยู่กินกันแบบนี้แล้วเนี่ย
กฎหมายตัวนี้มันหนิ่มเหม่และไม่สอดคล้องกับชีวิตในความเป็นจริงเลย โดยเฉพาะคู่แต่งงานตามกฎหมาย
Get ready to work from now on.
เป็นปกติของประเทศที่มีแนวคิดบุรุษนิยมครับ ทั้งจีน และ ประเทศที่มีกฏหมายอิสลาม จะมาแนวๆนี้หมดเลย
นั่นสิครับ สงสัยว่าจะเนรเทศไปไหน ไม่ใช่ชาวต่างชาตินี่นา จะได้เนรเทศกลับบ้านไป
ประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม สิทธิสตรีต่ำเตี้ยเรี่ยดินอยู่แล้วครับ
ผมว่าก็เพราะศาสนามีข้อบังคับและข้อจำกัดแบบนี้ไงครับ คนถึงเกลียดศาสนานี้มากพอสมควร และอาจเป็นต้นตอของสงครามศาสนาในอดีตด้วย
Get ready to work from now on.
ไม่ว่าศาสนาใดถ้าไม่แยกกฎหมายออกจากศาสนาก็มีปัญหาโน่นนี่นั้นอยู่ดีอ่ะครับ
ศาสนานี้คิดยังไงถึงได้บัญญัติอะไรที่เอื้อให้เกิดกรณีแบบนี้ไว้ เหมือนวางกับดักไว้ให้มนุษยชาติเลย
ต้องย้อนกลับไปดูประวัตศาสตร์ครับ ว่าศาสนาอิสลามเกิดขึ้นมาเพราะอะไร แล้วจะเข้าใจครับ
ซาอุดิอาระเบีย =>ซาอุดีอาระเบีย
เช็ค => เช็ก
ข้อูล => ข้อมูล
ประเทศอะไระนะ อ่านผ่านๆเขาให้ สิทธิในสตรีด้วยเหรอ ลองคิดกันดู
ถ้าสามีแอบดูมือถือภรรยาก็ต้องโดนด้วยเหมือนกันนะครับต้องทำให้มันเท่าเที่ยม
มีเรื่องศาสนาทีไร มนุษย์มักเข้าข้างศาสนาตัวเองเสมอ...
สงสารผู้หญิงจัง
ยอกย้อนดีเนาะ
เขาไม่ถือว่าคู่สามีภรรยาเป็นบุคคลเดียวกันเหรอ
งงเนาะ เหมือนจะสนับสนุนสถาบันครอบครัวมาก ๆ แต่ในทางกลับกันเหมือนปกป้องผู้ชายอยู่ฝ่ายเดียว แม้ผู้ชายจะผิดขนาดไหนก็ตาม หรือว่า ... ผุ้พิพากษาจะมีชู้ด้วย...? อิ ๆ