ช่วงเช้าวันนี้ เวลา 4:39น. จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ได้พาดาวเทียมไทยคม 8 (Thaicom 8) ปล่อยสู่วงจรสำเร็จเรียบร้อย โดยส่วนของจรวดในขั้นแรกได้กลับลงสู่พื้นโลกสำเร็จอีกเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ของ SpaceX
ดาวเทียมไทยคม 8 มีน้ำหนัก 3,100 กิโลกรัม ผลิตโดยบริษัท Orbital ATK โดยส่งขึ้นวงโคจรที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ตำแหน่งเดียวกับไทยคม 5 และไทยคม 6 รองรับการออกอากาศและบริการข้อมูลในพื้นที่ เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกา
ที่มา: BusinessWire
Comments
แอบแปลกใจไม่มีคนไทยไปถล่มเม้น.. Heh
ไม่มีการโปรโมทในสื่อหรือเพจเฟซบุคดัง ๆ เฉย ๆ ครับ เลยไม่มี ww
ก็ดีแล้วนี่ครับ จะได้ไม่ต้องปวดหัวกับนักเลงคีย์บอร์ดปะทะกับต่างชาติ
Get ready to work from now on.
ถ้าโปรโมท มันก็จะมีคนโยงเข้าการเมืองอีก
บางส่วนก็จะบอกว่าเอางบไปกระจายให้ชาวบ้านต่างจังหวัดดีกว่า
เคาะขวา INTUCH รัวๆ :D
วันเสาร์ตลาดปิดครับ ฮ่าๆ
ไม่เคาะ THCOM รึครับ ราคาถูกเลยช่วงนี้
ดาวเทียมดวง 1 อายุ สักกี่ ปีครับ
15ปีครับ
15-17 ครับ
อยากรู้ วงโคจรนี่ต้องประมูลมั้ย
รู้แต่ว่าต้องจองใว้และส่งดาวขึ้นไปถ้าปล่อยให้ว่างจะเสียสิทธิ์ให้คนอื่นไปคนอื่น
ไม่ได้ครับ ต้องประสานขอจองผ่านองค์กรกลางอย่าง ITU
มันจะมีวงโคจรว่างอยู่ครับ ซึ่งถ้าจำไม่ผิดจะมีการประชุมของ ITU ที่จะให้แต่ละประเทศอ้างสิทธิของวงโคจรได้ครับ และเมื่อได้สิทธิมาก็ต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์คือมีดาวเทียมอยู่ในวงโคจร ถ้าไม่มีภายในระยะเวลาที่กำหนดก็จะต้องคืนวงโคจรกลับไป ให้ประเทศอื่น ๆ ได้ใช้งานครับ
แต่ส่วนใหญ่แล้วเมื่อประเทศได้วงโคจรมาก็จะให้เอกชนบริหารต่อ หรือเอกชนอยากได้วงโคจรก็ต้องยื่นให้รัฐบาลไปอ้างสิทธิ
แต่ก็ไม่ใช่ว่าอยากจะยิงขึ้นไปก็ยิงนะครับ ต้องไปคุยกับเจ้าของวงโคจรข้างเคียงอีก คือวงโคจรมันจะห่างกัน 2 องศาได้ ถ้าคุยกันไม่รู้เรื่องก็ยิงขึ้นไม่ได้ครับ
เอาง่าย ๆ ถ้าเพื่อนบ้านข้างเคียงที่อยู่ก่อน ไม่โอเคก็ยิงขึ้นไม่ได้
แล้วถ้าเข้าใจไม่ผิด คุยกันแล้วก็ต้องไปออกแบบดาวเทียมแล้วกลับไปคุยกับเพื่อนบ้านอีกรอบ ว่าแบบนี้รบกวนคุณมั้ย รวมถึงถ้าจะให้คุ้มก็ต้องไปประสานงานแต่ละประเทศด้วยว่าความถี่นี้อนุญาตให้ใช้ในประเทศคุณได้มั้ย
รายเก่าอย่างไทยคมเลยดำเนินการได้ง่ายกว่า เพราะเพื่อนบ้านก็คุยกันง่าย แถมรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็คุยกันง่าย รวมถึงความรู้มีการออกแบบพลิกแพลงมันก็ทำได้ง่ายกว่า
เพิ่งรู้เหมือนกันว่า AIS ใช้บริการส่งดาวเทียมของ SpaceX ด้วย ก่อนหน้านี้ใช้ของเจ้าไหนหว่า
Get ready to work from now on.
ไทยคม 6 ใช้ของ SpaceX ครับ รู้สึกว่าจะเป็นบริษัทเจ้าแรกๆเลยมั้งที่ได้ใช้บริการ Falcon 9 ส่วนก่อนหน้านี้ใช้บริการของบริษัทเอกชน
รัสเซียฝรั่งเศษครับไทยคม 7 ซึ่งไปเช่าดาวเทียม AsiaSat 6 มาทำการตลาด ก็ใช้บริการ Falcon 9 เช่นกัน
5 เป็น Arianespace หลังจากนั้นเป็น SpaceX หมดเลยครับ
ดาวเทียมไทยคมเป็นของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ไม่ใช่ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) ซึ่งทั้งคู่เป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ครับ หรือก็คือเป็นบริษัทเครือเดียวกัน
ไทยคมกับ AIS เป็นคนละบริษัทนา
ดีมากเลยที่ไม่โยงเข้าการเมืองเสื้อสี
มีใครวิเคราะห์สิ่งที่ได้ประโยชน์เพิ่มไหมครับ
แบบเอามาใช้อะไรได้เพิ่ม
คมชัดระดับ HD
ดาวเทียม 1 ดวงมี Bandwidth ในการให้บริการจำกัดครับ ถ้าต้องการภาพที่คมชัดมากขึ้นหรือรองรับผู้บริการมากขึ้น ก็จำเป็นต้องมี Bandwidth เพิ่ม
แต่ด้วยความที่ดาวเทียมปล่อยแล้วปล่อยเลยครับ Upgrade ไม่ได้ ทำได้อีกทางคือ ส่งดวงใหม่ที่ดีกว่าขึ้นไปนอกจากนี้ ยังรองรับกรณีที่ว่าดาวเทียมเก่าเกิดมีปัญหา ก็จะมีดวงใหม่สำรองทำงานต่อได้เลยครับ
ในช่วงที่มีปัญหาคุณภาพสัญญาณอาจจะดรอปลงไปแต่ก็ยังใช้ได้ทั้งหมดครับ
แต่อีกแง่หนึ่งคือที่ไทยคมส่งดาวเทียมดวงใหม่เรื่อย ๆ เพราะดวงเก่าใกล้หมดอายุ อีกทั้งยังเป็นดาวเทียมในสัญญาสัมปทานอีกต่างหาก การทำกำไรต่าง ๆ ทำได้ไม่สุดครับ แต่พอเป็นใบอนุญาตมันทำตลาดได้ง่ายกว่า ประกอบกับการรองรับ ทีวีดิจิตอล และ Content HD หรือ UHD ผ่านดาวเทียมครับ
นอกจากนี้มันไม่ใช่แค่ประเทศไทยครับ ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคด้วยครับ
ถ้าเข้าใจไม่ผิดไทยคม 8 มีพื้นที่ครอบคลุมถึงแอฟริกาด้วย ซึ่งก็สร้างรายได้อย่างนึงครับ
ส่วนที่ไทยจะได้อีกแรงคือเมื่อไทยคมมีรายได้มากขึ้น จะมีการจ้างแรงงานมากขึ้น มีการจ่ายภาษีเข้ารัฐมากขึ้นครับ
งดงามจริงๆ
landing เทพมาก!!
ดูแล้วปลื้มมาก
เจ๋งตรงจรวดท่อนแรกกลับมาลงจอดนี่แหละ
จะได้มีช่อง HD จาก ดาวเทียมเพิ่ม
จะได้มีช่อง HD จาก ดาวเทียมเพิ่ม ซ้ำ
แล้วตอนนี้ ไทยคม ดวงก่อนๆยังทำงานไหมครับ หรือตกไปแล้ว
ดาวเทียมไทยคม 1 2 3 ถูกปลดระวางไปแล้วครับ (ดาวเทียมสื่อสารจะไม่ตกครับ แต่เป็นการ De-orbit คือดีดตัวเองออกจากวงโคจรไปสู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้นแทน)
หรือไม่ก็โดนแรงดึงดูดโลก ดึงกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศและถูกเผาจนไม่เหลือซากแทน
Get ready to work from now on.
ดาวเทียมไทยคมทุกดวงจะอยู่วงโคจรค้างฟ้า (36,000 กม.) ซึ่งไกลเกินกว่าจะเอากลับชั้นบรรยากาศได้ ต้องดีดทิ้งออกไปอย่างเดียว
จะมีแต่พวกอยู่วงโคจรต่ำที่จะเอากลับเข้าชั้นบรรยากาศได้ครับ
คำว่า "วงจร" อ่านแล้วแปลกๆ
น่าจะเป็น "วงโคจร" มากกว่านะครับ
แก้ไขแล้วนะครับ
อยากถามว่า ใครเป็นเจ้าของ ไทยคม คับ
ไทยคมเป็นบริษัทมหาชน มีบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ครับ
ที่เหลือก็ตามส่วนครับ แน่นอน ผมก็เป็นเจ้าของด้วย อยู่ 100 หุ้นแหน่ะ
ข้อมูลจาก SETTRADE.COM