ในช่วงระยะหลังมานี้ เรามักจะได้เห็นข่าวเกี่ยวกับงานวิจัย ที่ระบุถึงความไม่แม่นยำในการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของอุปกรณ์สวมใส่ต่างๆ ขณะที่ Mark Lynch อดีตผู้ก่อตั้ง Autonomy ก็ออกมาตั้งข้อสงสัยถึงอุปกรณ์กลุ่มนี้ด้วยเช่นกันว่า น่าจะสร้างความยากลำบากให้กับบุคลากรทางการแพทย์มากกว่าความสะดวกสบาย
Lynch ตั้งคำถามว่าบุคลากรทางการแพทย์ จะสามารถทำอะไรกับข้อมูล (ด้านสุขภาพที่อุปกรณ์เหล่านี้เก็บ) เหล่านี้ได้สักแค่ไหนกันเชียว เพราะทุกวันนี้บุคลากรทางการแพทย์ก็ต้องเผชิญกับข้อมูลจำนวนมหาศาล ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อยู่แล้ว ขณะที่ข้อมูลจากอุปกรณ์สวมใส่ก็ไม่รู้ว่า จะก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือประโยชน์ทางการแพทย์ได้มากน้อยแค่ไหน โดย Lynch ให้เหตุผลว่าเพราะอุปกรณ์สวมใส่ ไม่ได้ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นมาจากฐานและงานวิจัยทางการแพทย์ แต่เป็นกลุ่มทุนจาก Silicon Valley
อดีตผู้ก่อตั้ง Autonomy พูดถึงอุปกรณ์สวมใส่เหล่านี้ด้วยว่า เป็นแค่อุปกรณ์เสริมส่วนเกิน (over-instrumentation) เท่านั้น
ที่มา - Business Insider
Comments
แม่นย่ำ => แม่นยำ
ข้อมุล => ข้อมูล
คหสต.
ดูแนวโน้มของค่า เทียยกับกิจกรรมครับ
แต่ค่าของข้อมูลอาจจพนำเอามาใช้ไม่ได้
ผมว่าอย่างน้อยก็สามารถเตือนผู้สวมใส่ได้นะครับ
ว่าช่วงนี้ ค่าที่วัดได้มีความผิดปกติ คุณควรจะไปตรวจไรงี้
น่าจะเป็นผลบวกกับผู้สวมใส่มากกว่าหมอ เพราะจากประสบการณ์
ขนาดย้ายคนไข้จากโรงบาล A -> B
flim x-ray เค้ายังขอ x ใหม่เลยครับ
สำหรับผู้สวมใส่ผมเห็นด้วยครับ แต่พอดีข่าวเค้าหมายถึงแพทย์ "น่าจะสร้างความยากลำบากให้กับบุคลากรทางการแพทย์มากกว่าความสะดวกสบาย" ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับข่าว
ผมใช้มันดูข้อมูลส่วนตัว ไม่ได้ใช้ข้อมูลสำหรับทางการแพทย์
ผมเข้าใจว่าคนที่ใส่ของพวกนี้ใช้มันเป็น activity tracking มากกว่าเป็น heart rate monitor จริงๆ นะ อย่างน้อยมันก็เอาไว้เปรียบเทียบการทำกิจกรรมของตัวเองได้น่ะ
ที่จริงผมเข้าใจว่าแพทย์คงไม่เอาข้อมูลจากอุปกรณ์พวกนี้ไปใช้หรอกครับ จากประสบการณ์ตัวเองขนาดมีใบส่งตัวจาก รพ. แต่พอหมออีกที่เขาก็พาคุณไปเข้าเครื่องวัด ฯลฯ ของเขาซ้ำอยู่ดี
เขาคงห่วงเรื่องบางครั้ง User เชื่อข้อมูลจากอุปกรณ์มากเกินไป ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้มันไม่ได้รับการรับรองทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ อาจมีค่าความคลาดเคลื่อน ซึ่งในทางการแพทย์ค่าความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยก็หมายถึงชีวิต เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ , ค่าความดัน ฯลฯ ทำให้บางครั้งผู้ป่วยไม่ยอมมาพบแพทย์ ถึงมาพบแล้วตรวจจากเครื่องวัดจริง ไม่ตรงกับอุปกรณ์ก็จะโวยกันอีก เพราะมนุษย์เรากลุ่มนึง ก็พยายามหลอกตัวเองว่าไม่เป็นอะไร แล้วก็จะพยายามหาเหตุผลมาอ้างอิงกับอุปกรณ์ที่ตรงกับความเชื่อของตนเอง
ความเห็นนี้ละ ความเป็นจริงทางการแพทย์
ในวงการแพทย์ เรายอมรับ false positive ได้ เพราะเราต้อง investigate ต่อไป ว่ามันคืออะไร คนไข้ก็จะผ่านการตรวจอย่างละเอียด เพื่อหาความถูกต้อง
แต่ถ้าข้อมูลในเครื่องมือพวกนี้ มันเป็น false negative มันจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความสบายใจแบบผิด ๆ แล้วไม่ไปพบแพทย์ เพราะคิดว่าตัวเองเป็นปกติ เนื่องจากเชื่อข้อมูลจาก device ประเภทนี้
แบบนี้ อันตรายถึงตายได้ เช่น ถ้าเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ วัดค่าได้ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก แล้วผู้ใช้พยายามฝืนตัวเอง เพื่อเพิ่ม HR ให้ได้ ตามความเชื่อ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เคยได้ฟังมา ทั้ง ๆ ที HR ตัวเอง อยู่ในระดับสูงมากอยู่แล้ว แต่เครื่องมือบอกว่ายังต่ำอยู่ ก็อาจเป็นอันตรายได้
แล้วแบบนี้ระหว่างมีอุปกรณ์พวกนี้กับไม่มีอุปกรณ์พวกนี้แบบไหนถึงจะดีกว่ากันครับ ถ้าไม่มีเลยก็คือกว่าจะรู้ตัวก็ออกกำลังกายจนหนักเกินไปแล้ว ส่วนแบบที่มีอุปกรณ์คือแม้จะไม่ตรงแต่ก็ยังพอสามารถเห็นความผิดปกติได้
อุปกรณ์สวมใส่ส่วนมากวัดหัวใจแบบ optical ซึ่งมีโอกาสไม่ตรงสูง คนที่สวมมักจะดูตัวเลขที่แจ้งขึ้นมา ขณะที่คนที่ไม่สวมมักจะสังเกตตัวเองว่ายังไปต่อไหวรึเปล่านะครับ
แต่ก็นั่นแหละ อยู่ที่คนครับ
แล้วถ้าคิดไปถึงการใส่เพื่อใช้งานในชีวิตประวัน ตรงนี้ผมว่ามันน่าจะสามารถเห็นภาพโดยรวมได้ค่อนข้างดีนะครับ
พูดแล้วก็แปลกใจ ทำไมค่ายอื่นไม่ทำตัววัดหัวใจแบบ electrical pulse บ้าง ผมใช้ Jawbone UP3 อยู่ อยากลองไปใช้ค่ายอื่นบ้างละเนี่ย Feature ง่อยมาก มีดีแค่ตัววัดอย่างเดียว