เมื่อปี 2011 HP (เดิมก่อนแยกบริษัท) เคยเตรียมปรับตัวเป็นบริษัทซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรแบบเดียวกับที่ไอบีเอ็มเคยทำ โดยเข้าซื้อบริษัท Autonomy จากอังกฤษ ด้วยราคา 11 พันล้านดอลาร์ แต่ซื้อไปได้เพียงปีเดียวก็ประกาศด้อยค่าทรัพยสินไป 8.8 พันล้านดอลลาร์ โดยให้เหตุผลมีการตกแต่งบัญชี วันนี้คดีก็อยู่ในศาลสูงลอนดอนแล้วโดยทาง HPE เป็นผู้กล่าวเปิดคดี
ทนายของ HPE ระบุว่านอกจาก Autonomy จะลงบัญชีรับรู้รายได้อย่างไม่ถูกต้องแล้ว ยังมีการขายฮาร์ดแวร์ในราคาขาดทุน เพื่อสร้างรายได้ให้เป็นไปตามคาดการณ์ของตลาดหุ้น
ในช่วงระยะหลังมานี้ เรามักจะได้เห็นข่าวเกี่ยวกับงานวิจัย ที่ระบุถึงความไม่แม่นยำในการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของอุปกรณ์สวมใส่ต่างๆ ขณะที่ Mark Lynch อดีตผู้ก่อตั้ง Autonomy ก็ออกมาตั้งข้อสงสัยถึงอุปกรณ์กลุ่มนี้ด้วยเช่นกันว่า น่าจะสร้างความยากลำบากให้กับบุคลากรทางการแพทย์มากกว่าความสะดวกสบาย
ย้อนอดีตไปสี่ปีก่อนเอชพีเตรียมปรับตัวเป็นบริษัทซอฟต์แวร์และบริการสำหรับองค์กร กระบวนการหนึ่งคือการเข้าซื้อบริษัท Autonomy ในปี 2011 ด้วยมูลค่าถึง 11 พันล้านดอลลาร์ แต่ผ่านไปแค่ปีเดียวเอชพีก็บันทึกด้อยค่ากิจการไปถึง 8.8 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นการขาดทุนครั้งมโหฬาร และประกาศเตรียมฟ้องผู้บริหาร Autonomy จากความเสียหาย มาถึงตอนนี้ทางเอชพีก็ยื่นฟ้องแล้ว
Michael Dell ที่เรารู้จักกันดีในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัท Dell ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับ The Sunday Telegraph ว่า เขาเคยได้รับข้อเสนอเข้าซื้อกิจการจาก Autonomy มาก่อนแล้ว แต่ได้ปฏิเสธไป ก่อนที่จะถูก HP ซื้อไปในภายหลัง
สาเหตุที่ Dell ปฎิเสธเพราะ "ราคามันสูงเกินจริงอย่างยิ่ง" โดยเขายังบอกด้วยว่า มนุษย์สติดีๆ คนอื่น ก็คงคิดเหมือนกัน
กลุ่มผู้บริหารของบริษัท Autonomy ที่ถูกเอชพีระบุว่าปิดบังข้อมูลจนกระทั่งต้องตัดมูลค่าทางบัญชีลงไปหลายพันล้านดอลลาร์ ทางกลุ่มอดีตผู้บริหาร Autonomy นำโดย Mike Lynch ผู้ก่อตั้งบริษัทก็เปิดเว็บ AutonomyAccounts.org เพื่อตอบโต้กรณีเอชพีระบุว่ามีการปิดบังข้อมูลทางบัญชี
เอชพีระบุว่าจำนวนเงินกว่าห้าพันล้านดอลลาร์ที่ต้องลงบัญชีด้อยค่าเกิดจาก การประเมินมูลค่าฮาร์ดแวร์ที่ Autonomy ขายได้ผิดพลาด, มีการรับรู้รายได้จากตัวแทนจำหน่ายอย่างไม่เหมาะสมเพื่อเร่งยอดรายได้ให้มากขึ้น, และมีการรับรู้รายได้จากสัญญาระยะยาวอย่างไม่ตรงความเป็นจริง
ปัญหาความวุ่นวายระหว่าง Autonomy และเอชพีทำให้คู่แข่งในธุรกิจเดียวกันอย่าง OpenText ก็เปิดโปรโมชั่นใหม่ให้นำไลเซนส์ของ Autonomy มาแลกเป็น OpenText ได้ในราคาเดิม
สินค้าสำคัญของ Autonomy คือ ระบบค้นหาเอกสารอย่าง iManage อีกส่วนคือระบบจัดการข้อมูลบนเว็บ (CMS) ที่ชื่อว่า Interwoven ทาง OpenText ระบุว่าสามารถใช้ eDOCS และ Web Experience Management (WEM) ของตนไปทดแทนได้ทันที่ นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์อีกหลายตัวที่สามารถทดแทนกันได้เช่นกัน
แผนการเปลี่ยนเอชพีให้กลายเป็นบริษัทซอฟต์แวร์และบริการของ Léo Apotheker กลายเป็นความวุ่นวายที่ยังไม่จบของเอชพีจนทุกวันนี้ หลังการเข้าซื้อ Autonomy ด้วยมูลค่า 11.1 พันล้านดอลลาร์ แต่ต้องลงบันทึกบัญชีขาดทุนไปถึง 8.8 พันล้านดอลลาร์ ทำให้อดีตผู้บริหารออกมาตอบโต้ว่าเป็นเพราะการบริหารที่ผิดพลาดของเอชพีเอง ตอนนี้เอชพีก็มีแถลงการตอบกลับออกมาแล้ว โดยมีใจความโดยรวมว่าเอชพีเตรียมจะฟ้องผู้บริหารเหล่านี้จากการปลอมแปลงบัญชี
ไม่กี่ชั่วโมงหลัง HP ประกาศผลประกอบการไตรมาสซึ่งขาดทุน และให้รายละเอียดว่าเกิดจากการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ที่ได้จากดีลซื้อกิจการ Autonomy เนื่องจากบัญชีของ Autonomy มีการตกแต่งให้ดูดีเกินความจริง Michael Lynch ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอของ Autonomy ก็ได้ออกมาตอบโต้ผ่านสื่อว่าข้อกล่าวหาของ HP นั้นไม่เป็นความจริงเลย
HP รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 สิ้นสุดเดือนตุลาคมตามปฏิทินบริษัท มีรายได้รวม 30.0 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยยังขาดทุนสุทธิอีก 6.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการขาดทุนต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้านี้ และยังมีสาเหตุหลักคล้ายกันด้วยคือมีการลงบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์อีก 8.8 พันล้าน (ไตรมาสที่แล้วเป็นสินทรัพย์ส่วนกิจการ EDS และ Compaq) หากไม่มีรายการนี้นั้น HP ไตรมาสนี้ก็ยังมีกำไรอยู่
สำหรับรายได้แยกเป็นกลุ่มธุรกิจนั้นก็ลดลงถ้วนหน้า โดยกลุ่มพีซีก็ยังขาลงตามอุตสาหกรรมโดยมีรายได้ลดลง 14% กลุ่มเครื่องพิมพ์ลดลง 5% กลุ่มธุรกิจบริการลดลง 6% เซิร์ฟเวอร์องค์กรลดลง 9%
HP ประกาศว่าเป็นเจ้าของหุ้นใหญ่ในบริษัท Autonomy ผู้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับระบบคอมพิวเตอร์สำนักงานแล้ว
หลังจากมีข่าวลือว่าเอชพีกำลังเตรียมเข้าซื้อกิจการของบริษัท Autonomy Corp.