Anna Fang ซีอีโอของ ZhenFund บริษัท Venture Capital ของจีน ขึ้นเวทีงานสัมมนา Converge ของหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ที่ฮ่องกง
พิธีกรถามเธอว่าถ้ารัฐบาลจีนอยากให้นวัตกรรมเติบโตขึ้น 10 เท่า และสามารถทำได้เรื่องเดียว รัฐบาลควรทำอย่างไร คำตอบของ Anna คือขอให้รัฐบาลอยู่เฉยๆ (stay away) จะดีที่สุด
เธอยกตัวอย่างกรณีการกู้เงินแบบ P2P (P2P lending) ซึ่งรัฐบาลไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือกำกับดูแลเป็นระยะเวลาหนึ่ง ผลออกมาดีเพราะปล่อยให้ตลาดจัดการตัวเอง
เธอยังวิจารณ์ระบบการศึกษาของจีนว่ายังไม่เตรียมคนให้พร้อมรับความไม่แน่นอน (uncertainty) ซึ่งเป็นสิ่งที่สตาร์ตอัพต้องพบเจอ วัฒนธรรมเอเชียยังไม่สอนให้คนยอมรับความผิดพลาด ซึ่งต่างจากวัฒนธรรมในซิลิคอนวัลเลย์ อย่างไรก็ตาม ในอีก 5 ปีข้างหน้า สถานการณ์น่าจะดีขึ้น เพราะผู้ประกอบการหลายคนจะเริ่มกิจการที่สองของตัวเอง ซึ่งมีประสบการณ์ผ่านความผิดพลาดในรอบแรกมามากแล้ว
ที่มา - Wall Street Journal, ภาพจาก ZhenFund
Comments
stay away!
เจอแชร์ชม้อย 2016 แล้วจะหนาว
นี่เค้าบอกประเทศเค้าหรือบอกประเทศอื่นนะ
"วัฒนธรรมเอเชียยังไม่สอนให้คนยอมรับความผิดพลาด" ใครก็ได้อธิบาย ขยายความ ผมที
เข้าใจว่า
เกี่ยวกับเรื่องกลัวเสียหน้าของเจ้าตัว ถ้าทำอะไรพลาดซักอย่าง
ประกอบกับจะโดนรุมกระซวกว่าเก่งไม่จริงจนแทบเสียคน
กลายเป็นสภาพสังคมที่สำนึกแบบ ผิดไม่ได้ พลาดไม่เป็น (ไม่งั้นเละ)
ทักษิณซื้อดาวอังคารละมั่ง!?
น่าจะสอนให้คนไม่กล้าเสี่ยงกับซ้ำเติมเมื่อทำผิดพลาดน่ะครับ
เคยเจอสถานการณ์เช่นนี้ครับ ขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับ project IT ต่างชาติที่เคยเจอ
คืองานที่รับเป็น project ที่ค่อนข้างใหญ่ หลายล้าน เมื่อเราทำไปถึง 8/10 ส่วนแล้ว กลับมาค้นเจอว่างานออกแบบมีปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้น ตอนนั้นใช้วิธีแก้ไขที่ปลายทาง แต่เมื่อปิดรูรั่วที่นึง กลับเจอรูรั่วอีกที่นึงโผล่ขึ้นมา และแก้ไขอยู่นานประมาณ 6 เดือน ความคืบหน้าก็ยังเป็น 8/10 เหมือนเดิม จน project มีปัญหา และไม่สามารถส่งมอบได้ ถึงขั้นผู้มีอำนาจตัดสินใจเปลี่ยนทีมพัฒนาทั้งชุด ซึ่งหลังจากนั้นผมไม่รู้แล้วว่าเป็นอย่างไร
ในทางกลับกัน หากยอมรับถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แล้วย้อนกลับไปแก้ไขตั้งแต่รากฐานของมัน อาจจะต้องไปเริ่มตั้งแต่ 4/10 แต่ปลายทางมันอาจจะถึงฝั่งฝันได้
นั่นคือ วัฒนธรรมเอเชีย มักยืนกรานปลอบใจตัวเองว่าสิ่งที่คิดและออกแบบมามันถูกต้อง และดันทุรังทำต่อไปโดยละทิ้งมุมมองที่ไม่สวยงามซึ่งการทำแบบนี้มันไม่จีรัง
ต่างจากพวกบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ ที่เรามักได้ยินข่าวอยู่บ่อยครั้ง ว่าแผนกหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่สร้างกำไร เขาก็มักจะยุบแผนกนั้นทิ้งไปเลย หรือบริษัทที่ take over มาราคาแพง ๆ แต่ไม่เป็นอย่างที่หวัง ก็สามารถยุบลงได้ แล้วโอนย้ายคนมีความสามารถไปในส่วนอื่น
ไม่ใช่เอเชียก็น่าจะมีน่ะครับ มันอยู่ที่ความรู้ ความสามารถ ทัศนะคติ ความชำนาญ ของคนคุมโปรเจคมากกว่า บางทีลูกน้องบอกปัญหา แต่มองปัญหาไม่ขาด และเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่และบังเอิญว่าตัดสินใจผิดทาง เอวัง เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าฟังเสียงลูกน้องบ้างก็ดี ลูกน้องบางทีก็คิดและฉลาดกว่าหัวหน้าถมไป
ego ไงครับ ไม่ยอมรับว่าตัวเองผิดพลาด ใครมาติ/ว่า/บลาๆ แล้วยังบลาๆๆ ปัดโถ่ๆๆๆ
ประมานนั้นครับผม อิอิ
ลองดูสังคมญี่ปุ่นกับเกาหลีดูครับ ทั้งชีวิตจริงและละครหรือภาพยนตร์ของเขา แล้วคุณจะเห็นภาพและเข้าใจเอง
Get ready to work from now on.
ศักดิ์ศรีค้ำคอ เสียได้ทุกอย่างแต่ไม่ยอมเสียหน้า
คงหมายถึงวัฒนธรรมตะวันออกอย่างพวกญี่ปุ่นละมั้งครับ
ที่มีแนวคิด เมื่อทำพลาดแล้วต้องลงโทษตนเองอย่างหนัก จนบางครั้งมันมากเกินไป
ส่วนในแถบนี้ผมว่าไม่ใช่วัฒนธรรมแบบนั้น เพราะเราแทบจะไม่เคยทำอะไรผิดพลาดเลย
สำหรับบ้านเรากำลังหนีความจริงไปวันๆ ไม่ยอมรับความเป็นจริง แถมไม่รับความเห็นต่างด้วยเนี่ยสิ
Get ready to work from now on.
ฮาประโยคสุดท้าย :D