ช่วงหลังมานี้ ผู้ผลิตเราเตอร์ในบ้าน มักอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเข้าไปคอนฟิกอุปกรณ์ผ่านโดเมนเนม แทนการเข้าเว็บแบบ local ผ่านหมายเลขไอพีอย่างในอดีต (การเข้าเว็บผ่านโดเมนไม่ได้ออกสู่อินเทอร์เน็ตจริงๆ แต่เมื่อผู้ใช้ในเครือข่าย local เข้าเว็บดังกล่าว เราเตอร์จะส่งไปยังหน้าคอนฟิกอัตโนมัติ)
ตัวอย่างของ TP-Link ผู้ผลิตเราเตอร์จากจีน ใช้วิธีจดโดเมน tplinklogin.net และ tplinkwifi.net โดยแปะโดเมนไว้บนตัวเครื่องเลย อย่างไรก็ตาม มีคนค้นพบว่าบริษัทลืมต่ออายุโดเมน tplinklogin.net และโดเมนกลายเป็นของคนอื่นไปแล้ว (โดเมน tplinkwifi.net ยังเป็นของ TP-Link)
ปัจจุบันโดเมน tplinklogin.net ยังเป็นหน้าประกาศขายโดเมนอยู่ ฝั่งของผู้ใช้เราเตอร์ TP-Link คงไม่มีปัญหาในเรื่องนี้เพราะเราเตอร์จะส่งเข้าเว็บ local เสมอ แต่ก็มีความเสี่ยงว่าโดเมนนี้จะถูกใช้เป็น phishing ดักข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ในอนาคต
ที่มา - Computerworld
Comments
ลอง nslookup ดู ไม่รู้ผมพลาดหรือ www.routerlogin.com ของ Netgear ก็หายไปแล้วแฮะ
phising >> phishing
ผมคิดว่า ระบบบริหารโดเมน ต้องเปลี่ยนแล้ว นะครับ
ควร เริ่มจาก
1. เตือนให้ต่อ
2. พอต่อไม่ทัน ให้ ขึ้นหน้าระงับการใช้แทน อีก 1ปีเป็นอย่างน้อย
3. ถ้ายังอยากใช้ ก็ ไปต่ออายุซะ / ถ้าไม่ต้องการใช้ ก็ปล่อยให้พ้น1ปีไป
.net มีระยะระงับใช้ 75 วันนะครับ (โดเมนจะกลับออกสู่ตลาด 80 วันหลังหมดอายุ แต่ถ้าต่ออายุหลัง 45 วันจะต้องจ่ายเรทแพงมาก) แต่ผมว่าพวก registrar มากกว่าที่ต่ออายุให้เลย แล้วก็เอาไป park เอาถ้าเจ้าของจริงๆ ไม่ต่ออายุครับ